วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ทฤษฎีบุคลิกภาพ

ทฤษฎีวิเคราะห์องค์ประกอบ ( Factor Analytic Theory ) ของเรย์มอนด์ บี แคทเทลล์ Raymond B. Cattell เป็นนักจิตวิทยาบุคลิกภาพที่ได้พยายามศึกษาบุคลิกภาพอย่างมีระบบระเบียบ เป็นการพยายามที่จะนำวิชาบุคลิกภาพมาสู่การคิด การศึกษา การเข้าใจที่เป็นรูปธรรม มีความชัดเจนเที่ยงตรงด้วยการวัด และวิธีคิด และวิธีการทางสถิติ อันเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์อย่างจริงจัง ประวัติ และแนวคิดของเขาพอสรุปได้ดังนี้ เรย์มอนด์ บี แคทเทลล์ ( Raymond B. Cattell ) เกิดที่เมือง สตาฟฟอร์ดเชียร์ (Stanffordshire) ประเทศอังกฤษ มีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. 1905 - ค.ศ. 1998 เขาเป็นบุตรชายคนที่สองของตระกูลแคทเทล ( Cattell ) สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาเคมี เกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยคิงส์ (Kings College) ประเทศอังกฤษ เมื่อมีอายุเพียง 19 ปี หลังจากนั้นเขาได้สนใจในเรื่องจิตวิทยาในเชิงวิทยาศาสตร์ และได้ศึกษาสาขาจิตวิทยาต่อมา และสนใจเป็นผู้ช่วย นักวิจัยชื่อ Charles Spearman และเป็นผู้ให้สร้างทฤษฎีวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analytic Theory) ขณะที่เขาเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย ได้มีโอกาสเป็นผู้ช่วยในการทำวิจัย กับนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียง คือ ชาร์ล สเปียร์แมน(Charles Spearman) ศึกษาเรื่องสติปัญญา และได้ทำการทดสอบเพื่อศึกษาทางด้านสติปัญญาอย่างหลากหลายวิธีรวมทั้งได้หาค่าความสัมพันธ์ภายในของคะแนนจาก แบบทดสอบ และได้สรุปว่า ความสามารถทางสติปัญญาประกอบไปด้วยองค์ประกอบทั่วไป (General Factors) ทำให้แคทเทล รับวิธีการเหล่านี้ เป็นแนวทางในการศึกษาทางบุคลิกภาพ และความสามารถในด้านต่างๆ ทำให้การวิจัยทางจิตวิทยาเป็นระบบระเบียบมากขึ้น รวมทั้งใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แคทเทลอธิบายคำว่า บุคลิกภาพไว้ว่า "บุคลิกภาพ คือ สิ่งที่จะช่วยให้เราทำนายได้ว่าบุคคลจะทำอะไรในสถานการณ์ที่กำหนดให้" ดังนั้นบุคลิกภาพจึงเป็นเรื่องของพฤติกรรมทั้งหมดของบุคคล ทั้งพฤติกรรมที่เปิดเผย และพฤติกรรมที่ซ่อนเร้น และพฤติกรรมที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน ดังนั้นการศึกษาบุคลิกภาพจะต้องศึกษาพฤติกรรมทั้งหมดไม่ใช่ศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การพัฒนาบุคลิกภาพ (The Development of Personality) การศึกษาพัฒนาการบุคลิกภาพของแคทเทล เราต้องศึกษาเกี่ยวกับเรื่องพันธุกรรม และอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญใน การกำหนดบุคลิกภาพ และ พัฒนาการบุคลิกภาพประกอบด้วยการปรับปรุงหน่วยพลังกับเมตะเอิร์ก และการจัดระบบตัวตนทางโครงสร้าง ซึ่งการที่บุคคลจะมีพัฒนาการได้มากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับการพัฒสามารถในการทำหน้าที่ของ สติปัญญา ความพร้อมในการแข็งขัน และ ความเข้มของความจำ (Strength of Memory) การเรียนรู้ (Learning) แคทเทล จำแนกการเรียนรู้ออกเป็น 3 ประเภท และการเรียนรู้ทั้ง 3 ประเภท คือ 1. การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Familiar Classical) มีความสำคัญต่อการตอบสนองทางจิตใจ และเงื่อนไข ของสิ่งแวดล้อม 2. การวางเงื่อนไขแบบปฏิบัติการ (Instrumental Conditioning) เป็นการตอบสนองเพื่อการนำไปสู่เป้าหมายต่างๆ ให้เกิดความพึงพอใจ และการเรียนรู้ชนิดนี้มีความสัมพันธ์กับตารางการเคลื่อนไหว (Dynamic Lattice) แคทเทล เรียกการเรียนรู้แบบนี้ว่า การเรียนรู้จากการมาพบกัน (Confluence Learning) พฤติกรรม หรือเจตคติที่แสดงออกมานั้นจะแสดงความพึงพอใจมากกว่าเป้าหมาย ดังนั้นเจตคติหนึ่งจึงเกี่ยวข้องกับความอ่อนไหวทางอารมณ์หลายอย่าง และความอ่อนไหวทางอารมณ์ก็จะเกี่ยวข้องกับหน่วยพลังหลายๆ หน่วย และอาจเห็นได้จากโครงสร้างของตารางการเคลื่อนไหวนาความ 3. การเรียนรู้แบบบูรณาการ (integration Learning) การเรียนรู้แบบนี้บุคคลจะสร้างความพึงพอใจในระยะยาว และแสดงออกโดยหน่วยพลังทั้งหลาย กฎการเรียนรู้ของแคทเทล มี 2 ข้อคือ ทางเลือกที่แปรเปลี่ยน ข้อ 1 (The First Dynamic Crossroad ) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลพยายามขั้นแรกที่จะสนองความพึงพอใจของหน่วยพลังอย่างหนึ่ง ทำให้เกิดผลตามมา 4 ประการคือ 1. บุคคลได้รับการตอบสนองความปรารถนา ซึ่งเกิดจากผลของพฤติกรรมที่มีรูปแบบติดตัวมาแต่กำเนิด 2. บุคคลไม่สามารถสมปรารถนาได้ เพราะไม่สามารถใช้การตอบสนองทางด้านการเคลื่อนไหว และการรับรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อพบสภาพสิ่งแวดล้อมที่จำกัด 3. รูปแบบของพลังอาจจะได้รับการปรับปรุง หรือถูกแทนที่โดยหน่วยพลังอื่นที่เข้ามาสนับสนุนหน่วยพลังอันแรก 4. บุคคลไม่สามารถที่จะบรรลุเป้าหมายได้ทั้งนี้ เพราะมีอุปสรรคขัดขวาง ถึงแม้ว่าทางไปสู่เป้าหมายนั้นจะเหมาะสมกับบุคคลนั้น และสามารถรับรู้ได้อย่างชัดเจนก็ตามแคทเทลถือว่าปฏิกิริยาของข้อสองเป็นการตอบสนองที่กระจัดกระจาย (Response Dispersion) ในกรณีนี้บุคคลไม่ทราบว่าจะมีปฏิกิริยาตอบโต้ หรือพฤติกรรมอย่างไรจึงจะสามารถ ลดความเครียดซึ่งเกิดจากหน่วยพลังนั้น ด้วยเหตุนี้บุคคลไม่อาจทราบว่า จะมีปฏิกิริยาตอบสนอง ที่เปลี่ยนแปลงไป ได้หลายรูปแบบ และไม่อาจจะแยกแยะความแตกต่าง ในทางตรงกันข้ามบุคคลที่ประสบอุปสรรคในข้อสี่จะรู้สึกโกรธ และหาแนวทางตอบสนอง ด้วยความก้าวร้าว แคทเทลเชื่อว่า จากทางเลือก หรือการต่อสู้ทั้งสี่ข้อนี้สามารถแสดงให้เห็นความสำคัญของ การมาพบกัน (Confluence) หรือพัฒนาการ ของการตอบสนองความอ่อนไหว ทางอารมณ์ที่ช่วยให้บุคคลได้รับความพึงพอใจในหน่วยพลังตั้งแต่สองหน่วยขึ้นไป พร้อมกับการ ตอบสนองที่กระจัดกระจาย และมีความสัมพันธ์กับกฎของแรงขับซึ่งจะนำไปสู่พัฒนาการการสร้างรูปแบบพฤติกรรมใหม่ทางเลือกที่แปรเปลี่ยน ข้อ 2 (The Second Crossroad) จากทางเลือกข้อสี่ เมื่อการตอบสนองของหน่วยพลังพบอุปสรรค บุคคลจะมีแนวทางเลือกหลาย ๆ แนว เช่น เพิ่มกิจกรรมบางอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งความพอใจ ระบายอารมณ์โกรธเพื่อเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ใช้ความโกรธในรูปการทำร้ายตนเอง จนเป็นคนที่ไม่มีประสิทธิภาพ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับปัญหา หรืออุปสรรคต่างๆทางเลือกที่แปรเปลี่ยน ข้อ 3 (The Third Dynamic Crossroad) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแบบการตอบสนองต่ออุปสรรคด้วยความโกรธ แต่ไม่สามารถเอาชนะได้ ทำให้บุคคลเลือกที่จะทำการตอบสนองใน 4 ลักษณะด้วยกันคือ หมดหวัง หรือยกเลิก กลัว หรือหนี แสดงความก้าวร้าว และใช้วิธีการจินตนาการถ้าบุคคลเลือกตอบสนองจากข้อสอง และข้อสามในไม่ช้าบุคคลจะถอยหนีจากสถานการณ์นั้น หรืออาจมีพลังความสามารถ เอาชนะอุปสรรค จนประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย หรืออาจยกเลิกความพยายามโดย การปฏิเสธสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความต้องการนั้นๆ เสียทางเลือกที่แปรเปลี่ยน ข้อ 4 (The Fourth Dynamic Crossroad) เป็นการล้มเลิกหน่วยพลัง โดยที่บุคคลเปลี่ยนแปลงการปรับตัว จากลักษณะภายนอก เข้าสู่การปรับตัวภายในโดยการปฏิเสธ หรือล้มเลิกพลังความต้องการ ความวิตกกังวลมีบทบาทที่สำคัญที่สุด ในการที่จะต้องละทิ้งแนวโน้มของ หน่วยพลังนั้นๆ บุคคลมีทางเลือก 4 อย่างด้วยกัน คือ 1. เก็บกดพลังไว้ คือ การปฏิเสธด้วยความสมัครใจ และต่อต้านที่จะแสดงปฏิกิริยาที่เป็นไปตามความต้องการ 2. พยายามเก็บกดแต่เป็นขบวนการที่บุคคลไม่พอใจ ในกรณีนี้บุคคลจะต่อต้าน และขับไล่สิ่งที่ไม่ต้องการออกไปจากจิตสำนึก 3. เปลี่ยนความต้องการโดยการสร้างกลวิธานป้องกันตัวชนิดทดเทิด (Sublimate) โดยหาจุดมุ่งหมายที่สังคมยอมรับมาทดแทนอย่างรู้ตัว และรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร 4. บุคคลอาจจะกลับไปใช้พฤติกรรมที่ไม่ได้ปรับปรุงซ้ำแล้วซ้ำอีก หรือมิฉะนั้นก็พาลเกเร หรือหาจุดมุ่งหมายอื่นๆ ที่มีลักษณะต่อต้านสังคมทางเลือกที่แปรเปลี่ยน ข้อ 5 (The Fifth Crossroad) ในการเก็บกดความต้องการทำให้บุคคลเกิดการตอบสนอง 4 ลักษณะคือ 1. เพ้อฝันอย่างไม่รู้ตัว และบางครั้งก็รู้ตัว 2. เก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึก 3. เก็บกดอย่างมั่นคงซึ่งหน่วยพลังจะแสดงออกมาทางอ้อม และมีผลต่อพฤติกรรมของ บุคคลในระยะต่อมา 4. บุคคลอาจใช้การทดเกิดอย่างไม่รู้ตัวทางเลือกที่แปรเปลี่ยน ข้อ 6 (The Sixth Crossroad) เป็นลักษณะการเก็บกดที่ไม่มั่นคง และไม่ได้ผลเต็มที่ บุคคลจึงเพิ่มกลวิธานป้องกันอย่างใดอย่างหนึ่งใน 10 อย่าง ซึ่งเป็นแนวเดียวกับจิตวิเคราะห์ กลวิธานป้องกันตัว 10 อย่าง มีดังนี้ คือ การจินตนาการ (Fantasy) การทำปฏิกิริยาตรงกันข้าม (Reaction Formation) การโยนความผิดให้ผู้อื่น (Projection) การหาเหตุผลมาอ้าง (Rationalization) การเก็บกด (Repression) การเก็บกดมากยิ่งขึ้น (Further Repression) การควบคุมหน่วยพลังย่อย (Restriction of Ego) การถดถอย (Regression) การย้ายแหล่งทดแทน (Displacement) การย้ายแหล่งทดแทนโดยการสร้างอาการของโรคต่างๆ (Displacement with Symption Formation) แคทเทลถือว่า กลวิธานในการป้องกันตนเองป้องกัน 3 ประการหลัง Id เป็นตัวหนุนกำลังที่สำคัญบุคลิกภาพในสังคมระดับกลุ่ม (The Social Context) แคทเทลได้พยายามเน้นถึงอิทธิพลของวัฒนธรรม และสังคมที่ มีต่อพฤติกรรม และบุคลิกภาพของบุคคลไว้ว่า สถาบันทางสังคม ที่กล่อมเกลา หรือมีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพมีหลาย สถาบันแต่ที่สำคัญที่สุดคือ ครอบครัว และทีสำคัญรองลงมาคือ สถาบันการศึกษา สถาบันอาชีพ กลุ่มที่บุคคลเป็น สมาชิก ศาสนา พรรคการเมือง และประเทศชาติ สถาบันเหล่านี้อาจส่งผลต่อบุคลิกภาพของบุคคลได้ดังนี้ 1. สถาบันที่จงใจจะทำให้เกิดบุคลิกภาพชนิดใดชนิดหนึ่งหมายถึง ลักษณะบุคลิกภาพที่ สังคมนั้นต้องการ อาจรวมอุปนิสัย และบุคลิกภาพเฉพาะ โดยทีสถาบันนั้นจงใจผลิตลักษณะที่ต้องการขึ้น 2. องค์ประกอบทางด้านนิเวศวิทยา หรือสถานการณ์ อาจส่งผลให้เกิดบุคลิกภาพซึ่ง สถาบันในสังคมไม่ได้จงใจ 3. เมื่อเกิดรูปแบบของพฤติกรรมอันเป็นผลของขบวนการข้อใดข้อหนึ่งในสองข้อข้างต้น แต่ละบุคคลอาจพบว่าจำ เป็นต้อง ปรับปรุงแก้ไข บุคลิกภาพของเขาเพื่อการพัฒนาตนต่อไป ดังนั้นเพื่อทำความเข้าใจในเรื่องพัฒนาการบุคลิกภาพให้ดีพอ จึงมีความจำเป็นจะต้องพิจารณาถึงความสำคัญของ สถาบันทางสังคมต่างๆ ที่ส่งผลถึงบุคลิกภาพตั้งแต่สถาบันครอบครัวไปจนถึงสถาบันระดับประเทศชาติด้วย องค์ประกอบบุคลิกภาพ บุคลิกภาพของ Cattell เป็นลักษณะรวมทั้งหมดของบุคคลซึ่งประกอบไปด้วยร่างกาย และจิตใจ แสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้าทั้ง จากภายใน และภายนอก โดยมีการบูรณาการจากลักษณะต่างๆ ของพฤติกรรมครอบคลุมไปถึงสภาพทางด้านอารมณ์ ความสามารถ ความสนใจ เจตคติ ค่านิยม และสติปัญญาของบุคคล บุคลิกภาพตามทฤษฎีนี้ ประกอบไปด้วยบุคลิกภาพที่มีองค์ประกอบ 16 ด้าน โดยเรียกว่า The Sixteen Personality ได้แก่ ฮอล์ และ ลินด์เซย์ (1970 : 390) 1. องค์ประกอบ A ชอบออกสังคม – สำรวม 2. องค์ประกอบ B สติปัญญา 3. องค์ประกอบ C อารมณ์มั่นคง – อารมณ์อ่อนไหว 4. องค์ประกอบ E เป็นอิสระแก่ตน –ถ่อมตน 5. องค์ประกอบ F ทำตนตามสบาย – ถี่ถ้วนระมัดระวัง 6. องค์ประกอบ G ซื่อตรงต่อหน้าที่ – ไม่ทำตามกฎ 7. องค์ประกอบ H กล้าสังคม – ขี้อาย 8. องค์ประกอบ I จิตใจอ่อนแอ – จิตใจมั่นคง 9. องค์ประกอบ L ระแวง – ไว้วางใจ 10. องค์ประกอบ M เพ้อฝัน – ทำตามความจริง 11. องค์ประกอบ N มีเหลี่ยม – ตรงไปตรงมา 12. องค์ประกอบ O หวาดกลัว – ประสาทมั่นคง 13. องค์ประกอบ Q1 นักทดลอง – นักอนุรักษ์ 14. องค์ประกอบ Q2 อาศัยตนเอง – อาศัยกลุ่ม 15. องค์ประกอบ Q3 ควบคุมตนเองได้ – ขาดวินัยในตนเอง 16. องค์ประกอบ Q4 เคร่งเครียด – ผ่อนคลาย องค์ประกอบทั้ง 16 ด้านมีรายละเอียด The Sixteen Personality Factor Questionnaire มีรายละเอียดดังนี้ องค์ประกอบ A คือชอบออกสังคม (Outgoing) – สำรวม (Reserved) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (A+) เป็นบุคคลที่ชอบเข้าสังคม มีความรู้สึกอบอุ่น และเป็นกันเองกับผู้อื่น มีน้ำใจดี ให้ความร่วมมือดี มีความสามารถในการปรับตัว มีความเมตตา กรุณา ผู้ที่ทำคะแนนได้ต่ำ (A-) เป็นบุคคลที่มีลักษณะสำรวม เฉยเมย ชาเย็น ใจแข็ง ไม่นิยมการประนีประนอม ชอบปลีกตัว หรือชอบอยู่คนเดียว และชอบใช้สติปัญญาในการไตร่ตรองอย่างพินิจพิเคราะห์ องค์ประกอบ B คือสติปัญญา (Intelligent) ผู้ที่ได้คะแนนสูง (B+) เป็นผู้ที่มีสติปัญญาสูง (More Intelligent) มีความ สามารถในการคิดเชิงนามธรรมเฉลียวฉลาด มีความเพียรในการศึกษาหาความรู้ และเป็นผู้มีวัฒนธรรม ผู้ที่ได้คะแนนต่ำ (B-) เป็นผู้ที่มีสติปัญญาไม่เฉลียวฉลาดนัก (less Intelligent) มักจะใช้ความคิดในเชิงรูปธรรมมากกว่านามธรรมทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ ได้ช้า ขาดความมั่นคงในตนเอง และขาดความจริงจัง องค์ประกอบ C คือ อารมณ์มั่นคง (Stable) – อารมณ์อ่อนไหว (Emotional) ผู้ที่ได้คะแนนสูง (C+) เป็นบุคคลที่มี อารมณ์มั่นคง มองชีวิตตามความเป็นจริง และเป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ ไม่มีอาการเหนื่อยหน่ายทางประสาท จิตใจสงบ ผู้ที่ได้คะแนนต่ำ (C-) เป็นบุคคลที่มีอารมณ์อ่อนไหว ไม่มีความอดทนต่อสถานการณ์ยุ่งยาก เจตคติ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มีอาการเหนื่อยหน่ายทางประสาท หงุดหงิด โกรธง่าย และมีความวิตกกังวลเสมอ องค์ประกอบ E เป็นอิสระแก่ตน (Assertive) – ถ่อมตน (Humble) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (E+) เป็นบุคคลที่มีความมั่นใจในตนเอง ถือตนเองเป็นใหญ่ มีความก้าวร้าว ชอบมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น ผู้ที่ได้คะแนนต่ำ (E-) เป็นบุคคลที่มีลักษณะถ่อมตน มักจะยอมผู้อื่น ใจดี มีลักษณะความเป็นมิตร และพร้อมที่จะประพฤติตามแบบแผน องค์ประกอบ F คือทำตนตามสบาย (Happy-go-lucky) – ถี่ถ้วนระมัดระวัง (Sober) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (F+) เป็นบุคคลที่มีลักษณะตามสบาย ว่องไว ช่างคุย ร่าเริง แจ่มใส เปิดเผย และความกระตือรือร้น ผู้ที่ทำคะแนนได้ต่ำ (F-) เป็นบุคคลที่มีลักษณะถี่ถ้วนระมัดระวัง ไตร่ตรอง จริงจัง ครุ่นคิด ไม่ชอบติดต่อกับผู้อื่น และไม่ช่างคุย องค์ประกอบ G คือซื่อตรงต่อหน้าที่ (Conscientious) – ไม่ทำตามกฎ (Expedient) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (G+) เป็นบุคคลที่ซื่อตรงต่อหน้าที่มีธรรมะ มีความพากเพียร มีความตั้งใจแน่วแน่ มีความรับผิดชอบ ผู้ที่ทำคะแนนได้ต่ำ (G-) เป็นบุคคลที่มีลักษณะไม่มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน ไม่ตั้งใจเรียน ขาดความพยายาม ละเลยต่อหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติขาดความอดทน องค์ประกอบ H คือ กล้าสังคม (Venturesome) – ขี้อาย (Shy) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (H+) เป็นบุคคลที่มีลักษณะกล้าหาญกล้าเสี่ยง ชอบเข้าสังคม ร่าเริงชอบผจญภัย ชอบทดลองของใหม่ และชอบเป็นมิตรกับคนอื่น ผู้ที่ทำคะแนนได้ต่ำกว่า (H-) เป็นบุคคลที่ขี้อาย มักมีความรู้สึกด้อย พูด และแสดงออกช้า ไม่ชอบอาชีพที่ต้องติดต่อกับบุคคลอื่น ไม่ชอบสนิทสนมกับใคร ความสนใจแคบ และหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับเพศตรงข้าม องค์ประกอบ I คือจิตใจอ่อนแอ (Tender-minded) – จิตใจมั่นคง (Tough-minded) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (I+) เป็นบุคคลที่มีจิตใจอ่อนไหว เอาใจยากต้องการความช่วยเหลือ และความเห็นใจจากผู้อื่น ชอบพึ่งพาผู้อื่น และมีความวิตกกังวล ผู้ที่ได้คะแนนต่ำ (I-) เป็นบุคคลที่มีจิตใจมั่นคง จริงจังต่อชีวิต มีความรับผิดชอบ มีความเชื่อมั่นในตนเอง และแสดงพฤติกรรมต่อสิ่งที่เห็นว่าเป็นไปได้ และเป็นจริง องค์ประกอบ L คือระแวง (Suspicious) – ไว้วางใจ (Trusting) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (L+) เป็นบุคคลที่มีลักษณะไม่ไว้วางใจใคร ยึดถือแต่ความคิดของตนเองเป็นใหญ่ สนใจแต่ตัวเอง ผู้ที่ทำคะแนนได้ต่ำ (L-) เป็นบุคคลที่สามารถไว้วางใจบุคคลอื่น ร่าเริง ไม่ชอบการแข่งขัน สามารถเข้ากับคนอื่นได้ดี และเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม องค์ประกอบ M คือเพ้อฝัน (Imaginative) – ทำตามความจริง (Practical) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (M+) มักเป็นบุคคลที่ช่างฝัน มีแรงจูงใจในตนเอง ไม่สนใจสิ่งที่จะปฏิบัติได้จริง ผู้ที่ทำคะแนนได้ต่ำ (M-) เป็นบุคคลที่มีลักษณะลงมือปฏิบัติได้ตามความเป็นจริง เจ้าระเบียบ มีความกระตือรือร้น มีความตั้งใจจริง สนใจในสิ่งเป็นไปได้ และสามารถปฏิบัติงานได้โดยไม่ใช้อารมณ์ องค์ประกอบ N คือมีเหลี่ยม (Shrewd) – ตรงไปตรงมา (Forthright) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (N+) เป็นบุคคลที่ฉลาดแหลมคม หรือฉลาดแบบมีเล่ห์เหลี่ยม ช่างวิเคราะห์ มีความทะเยอทะยาน ผู้ที่ทำได้คะแนนต่ำ (N-) มักเป็นบุคคลที่มีลักษณะเปิดเผยจริงจัง ไม่มีเหลี่ยม ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีรสนิยมง่ายๆ ขาดทักษะการเข้าใจตนเอง องค์ประกอบ O คือหวาดกลัว (Apprehensive) – ประสาทมั่นคง (Placid) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (O+) มักเป็นบุคคลที่มีความหวาดกลัว มีความวิตกกังวลสูง ตกใจง่าย อารมณ์เสียง่าย มักมีอารมณ์เศร้าหมอง หงอยเหงา และขาดความรู้สึกปลอดภัย ผู้ที่ทำคะแนนได้ต่ำ (O-) เป็นบุคคลที่มีประสาทมั่นคง มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีความเชื่อมั่นในตนเอง และเชื่อความสามารถของตนเองในการทำงาน องค์ประกอบ Q คือนักทดลอง (Experimentation) – นักอนุรักษ์ (Conservative) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (Q1+) มักเป็นบุคคลที่สนใจทางด้านการทดลองเป็นนักวิเคราะห์ สนใจเรื่องการใช้สติปัญญา และการเปลี่ยนแปลง ผู้ที่ทำคะแนนได้ต่ำ (Q2-) เป็นบุคคลที่มีแนวคิดติดไปทางด้านอนุรักษ์ หัวเก่า เชื่อมั่นในสิ่งที่ได้รับการปลูกฝัง และการอบรมสั่งสอน ต่อต้าน และพยายามประวิงเวลาการเปลี่ยนแปลง ไม่สนใจการวิเคราะห์ องค์ประกอบ Q2 คืออาศัยตนเอง (Self-sufficient) – อาศัยกลุ่ม (Group-dependency) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (Q2+) เป็น บุคคลที่พึ่งตนเอง เคยชินกับการทำงานตามวิธีการของตน ไม่สนใจความคิดเห็นของสังคม มีความพึงพอใจในตนเอง ผู้ที่ทำคะแนนได้ต่ำ (Q2-) มักเป็นบุคคลที่ชอบทำงาน หรือตัดสินใจร่วมกับผู้อื่น เป็นผู้ร่วมงาน และผู้ตามที่ดี ต้องการการสนับสนุนจากหมู่คณะ องค์ประกอบ Q3 คือควบคุมตนเองได้ (Controlled) – ขาดวินัยในตนเอง (Undiscipline Self-conflict) ผู้ทีทำคะแนนได้สูง (Q3+) มักเป็นบุคคลที่ควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมของตนเองได้ดี สนใจ และเอาใจใส่ต่อสังคม มีความตั้งใจจริงผู้ที่ทำคะแนนได้ต่ำกว่า (Q3-) เป็นบุคคลที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ขาดวินัย มักมีความขัดแย้งในตัวเอง ปรับตัวยาก องค์ประกอบ Q4 คือเคร่งเครียด (Tense) – ผ่อนคลาย (Relaxed) ผู้ที่ทำคะแนนได้สูง (Q4+) มักเป็นบุคคลที่มีความเครียด ตื่นเต้น ตกใจง่าย และหงุดหงิด มีความคับข้องใจสูง ผู้ที่ทำคะแนนได้ต่ำ (Q4-) เป็นบุคคลที่ ไม่เคร่งเครียดอารมณ์เย็น รักสงบ แสดงพฤติกรรมตามความพอใจ ไม่มีความคับข้องใจ พอในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ การแสดงออกสำหรับบุคลิกภาพที่ดี เป็นการแสดงออกทางด้านพฤติกรรมของบุคคล ได้แก่ มารยาท ท่าทาง การสำรวม ล้วนเป็นพฤติกรรมทั้งสิ้น บุคลิกภาพที่ดีคือ 1. การแต่งกาย เป็นการแสดงออกทางด้านหนึ่งทางจิตใจเกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก เจตคติ รสนิยมของแต่ละบุคคล การรู้จักการแต่งกายที่ดีให้เหมาะสมกับกาลเทศะ มีความสะอาดเรียบร้อย เหมาะสมกับรูปร่าง จึงเป็นการแสดงออกถึงจิตใจที่ดี มีพื้นฐานการอบรมมาเป็นอย่างดีจากครอบครัว และสถาบันการศึกษา นอกจากนี้ยังแสดงออกถึงความมีระเบียบ 2. การมองบุคคล จะต้องใช้สายตาแสดงความเป็นมิตร ความมีเมตตา ความสุภาพ ซึ่งบุคคลที่พบเห็นก็จะแสดงความเป็นมิตรและให้การต้อนรับ 3. การพูด เป็นการติดต่อสื่อสาร สื่อความหมายได้ดีที่สุด การพูดให้ผู้อื่นฟังเกิดความรู้สึกที่ดี มีความเข้าใจ และมีความสบายใจ ผู้พูดจึงต้องรู้จักศิลปะในการพูด รู้จักสภาวะของผู้ฟัง สามารถพูดชนะใจผู้ฟังได้ 4. การเดิน ควรจะเดินให้ดูแล้วสง่างาม กล่าวคือ เดินตัวตรง รู้จักจังหวะในการเดิน เดินอย่าให้มีเสียงดัง 5. การยืน ควรยืนให้ดูมีลักษณะสวยงาม กล่าวคือ ยืนตัวตรง แขนวางลงข้างตัวตามธรรมชาติ การยืนจะต้องระวังไม่ค้ำศีรษะของบุคคลอื่น 6. การนั่ง ในขณะที่นั่งบนเก้าอี้ ควรจะสำรวมกิริยาอาการให้มาก มองดูแล้วให้เห็นว่ามีความสุภาพ เช่น นั่งตัวตรง หัวเข่าแนบชิดกัน 7. การไอหรือจาม จะต้องระมัดระวังให้มาก เมื่อจะไอหรือจาม จะต้องรู้จักใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากหรือปิดจมูก และจะต้องระมัดระวังไม่ให้ไปไอหรือจามรดหน้าผู้อื่น 8. การรับประทานอาหาร ในขณะร่วมโต๊ะอาหาร ผู้ชายต้องให้เกียรติผู้หญิงโดยเชิญรับประทานอาหารและช่วยบริการช่วยตักอาหารส่งให้โดยใช้ช้อนกลาง หรือเมื่อต้องการจะตักอาหารที่อยู่ไกลและต้องผ่านหน้าบุคคลอื่น จะต้องกล่าวคำขอโทษก่อนแล้วค่อยใช้ช้อนกลางตัก ขณะรับประทานอาหาร ระงังอย่าให้หก อย่าเคี้ยวอาหารเสียงดัง อย่าคายเศษอาหารลงบนโต๊ะ อย่าพูดเวลามีอาหารอยู่ในปาก 9. การหยิบของหรือสิ่งต่าง ๆ ไม่ควรเอื้อมมือหยิบผ่านหน้าหรือคร่อมศีรษะบุคคลอื่นที่อยู่ข้างหน้า จะต้องร้องขอด้วยคำพูดที่สุภาพ เพื่อขอให้บุคคลอื่นช่วยหยิบสิ่งของส่งให้ เมื่อได้รับแล้วจะต้องกล่าวคำว่าขอบคุณเสม ธรรมชาติของมนุษย์ ในการทำงานกับมนุษย์ เราจะต้องเรียนรู้และพยายามเข้าใจถึง การกระทำและการแสดงของเขาเกิดเนื่องจาก " ความเป็นมนุษย์ที่มี ความต้องการ" เช่นเดียวกัน ซึ่งการศึกษาเรื่องธรรมชาติและความต้องการของมนุษย์ จะช่วยให้เราเข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่นได้ดีขึ้น และนำไปสู่การยอมรับความแตกต่างของมนุษย์ได้ เพื่อจะได้อยู่ร่วมกับมนุษย์ในสังคม อย่างมีความสุข รู้และเข้าใจความ มีอยู่เป็น อยู่จริง ตามธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งจะช่วยให้เรา สามารถตอบสนองความต้องการ ของผู้อื่นได้ อย่างถูกต้อง อันนำไปสู่การมี ความสัมพันธ์ที่ดี และมีมนุษยสัมพันธ์ต่อกัน เราควรระลึกเสมอว่า คนมิใช่สิ่งของ (Man is not a thing ) หรือเครื่องจักร เพราะคนมีอารมณ์ความรู้สึก ค่านิยม ความเชื่อ ความคิดเห็น และบุคคลิกลักษณะส่วนตัว ซึ่งมีผลกระทบต่อผลผลิต และประสิทธิภาพ ขององค์การ มนุษยสัมพันธ์จึงเป็นการศึกษาใจคนเป็นส่วนใหญ่ เป็นการเข้ากับคน เอาชนะใจคน (เสถียร มงคลหัตถี , 2510 : 30) ด้วยเหตุนี้ความสามารถเข้ากับคนได้จึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการดำเนินชีวิต " ผู้ที่ล้มเหลวในการดำเนินชีวิตก็เพราะเข้ากับคนไม่ได้ แม้จะมีความรู้ความสามารถสูงสักเพียงใด แต่ถ้าไม่สามารถเข้ากับคน หรือสังคมได้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ความสามารถ รวมทั้งชีวิตร่างกายจะไร้คุณค่า สิ้นความหมาย และนั่นคือความล้มเหลวของชีวิตของคนเรา " ในโลกนี้ไม่มีอะไรสำคัญยิ่งไปกว่าคน และในตัวบุคคลไม่มีอะไรจะสำคัญยิ่งไปกว่าจิตใจ ( In the world there is nothing great but man, in man there is nothing great but mind )การที่มนุษย์มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน จะทำให้บุคคลทำงานและอยู่ร่วมกันได้อย่างมีราบรื่นดี และมีความสุข หากสัมพันธภาพเป็นไป ในทางลบ ก็จะไม่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างสงบสุข มีผลให้งานด้อยประสิทธิภาพไปด้วยและ อาจจะทำให้เกิดความแตกแยก ในที่สุด ดังนั้นจึงควรมุ่งศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ เพื่อสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล อันจะเป็นผลต่อการดำรงชีวิตประจำวัน และการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพของมนุษย์ (Ann Ellenson ,1982 : 11) ธรรมชาติได้สร้างสิ่งที่ดีที่สุดเหมาะสมที่สุดให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน โดยมีการคัดเลือกพันธ์ตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตใดที่มีความสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ สิ่งมีชีวิตนั้นก็จะสามารถอยู่รอด และถ่ายทอด ลักษณะเด่นนั้นๆ ออกมาให้แก่ลูกหลานสืบต่อเผ่าพันธ์ และสามารถดำรงเผ่าพันธ์ตนเองไว้ได้ มนุษย์เป็น สิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถ ในการปรับตัวได้อย่างดียิ่ง มนุษย์จึงยังสามารถดำรงเผ่าพันธ์ของตนไว้ได้จนถึงปัจจุบัน โธมาส ฮอบส์ ( Thomas Hobbes ) กล่าวว่า " ธรรมชาติของคนนั้นป่าเถื่อน เห็นแก่ตัว ขี้โม้โอ้อวดตน ต่ำช้า หยาบคาย เอาแต่ใจตัวเอง ยื้อแย่งแข่งดีกันโดยไม่มีขอบเขต อายุสั้น แต่ถ้าพบกับความทุกยากแล้ว คนจึงจะลดความเห็นแก่ตัวลง และสังคม จะช่วย ให้เขาดีขึ้น " วิลเลียมสัน (Williamson) ก็กล่าวทำนองเดียวกันว่า " ทุกคนที่เกิดมาเป็นเสมือนผีร้าย "( Every body is evil) แต่ จอห์น ล็อค ( John Lock ) กลับมีแนวความคิดเห็นตรงกันข้ามว่า " มนุษย์โดยธรรมชาติเป็นคนดี ไม่ได้มีความเห็นแก่ตัว ส่วนความไม่ดีนั้นเกิดจากสภาพแวดล้อมของเขา "(กฤษณา ศักดิ์ศรี, 2534 : 94 ) นอกจากนี้แล้วนักสังคมวิทยาเห็นว่า ธรรมชาติของมนุษย์ทั่วไปชอบเรียนรู้ มีความอยากรู้ อยากเห็นอยากดู ชอบที่จะรู้เรื่องของ ผู้อื่นบางคน รู้จักคนอื่นดีกว่าตนเอง เสียอีกเพราะไม่เคยสำรวจตัวเองดูบ้างเลยเพราะโดยทั่วไป คนชอบเรียนรู้เรื่อง ของคนอื่น มากกว่าตนเอง และมีความรู้สึกว่า ตนเองรู้จักผู้อื่นได้ดี แต่ถ้าหากมีคำถามย้อนกลับว่า ตัวท่านเองนั้นรู้จักตัวเองแค่ไหน คนๆ นั้นมักจะโกรธ มิใช่เพราะว่าดูถูก แต่ภายใต้จิตสำนึกนั้น คือความไม่รู้จักตัวเองแล้วทำให้รู้สึกมี ปมด้อยเกิดขึ้น แนวความคิดของนักจิตวิทยากลุ่มจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ เชื่อว่า คนเรามีลักษณะของความเป็นมนุษย์และสัตว์ผสมอยู่ด้วยกัน และเน้นว่าชีวิตของมนุษย์หล่อหลอมมาจาก ความต้องการทาง ร่างกาย แรงขับทางเพศและสัญชาตญาณของความก้าวร้าว(Id)ซึ่งเป็นส่วนที่พัฒนาขึ้นมาก่อนนักจิตวิเคราะห์กลุ่มนี้ มองมนุษย์ในแง่ของ ความเป็นสัตว์และ ความเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐ กล่าวคือ คนเรามีลักษณะเหมือนกับสัตว์ ในแง่ของความต้องการ อาหาร การขับถ่าย และความต้องการ ทางเพศ แต่คนแตกต่างไปจากสัตว์ ในแง่ที่ว่าสามารถจะพัฒนาเทคนิคการสื่อความหมายต่างๆ ในการดำรงชีวิตอยู่ ในสังคม ซึ่งสามารถแยกตนไปจาก เรื่องของ สัญชาตญาณได้ นั่นคือความรู้สึกผิดชอบชั่วดี มีคุณธรรม สามารถครอบคลุมพฤติกรรม อุดมคติ การกระทำของตนเองได้ ทฤษฎีมนุษยนิยมของคาร์ โรเจอร์ส ประวัติของผู้กำเนิดทฤษฎี คาร์ โรเจอร์ส เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1902 เป็นบุตรชายคนที่ 4 มีพี่น้อง 6 คน เกิดที่เมืองโอ็กปาร์ค (Ork Park) รัฐอิลินอยส์ (Illinois) ประเทศสหรัฐอเมริกา เขามาจากครอบครัวที่อบอุ่น มี ความรักใคร่ และใกล้ชิดกันระหว่างพ่อแม่พี่น้อง บิดามารดาของเขาเป็นผู้ที่มี ความสนใจทางการศึกษามาก และเป็นคนที่เคร่งครัดทางศาสนา จึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาของลูกๆ อย่างเต็มที่ พร้อมๆ กับการอบรมให้ลูกๆ ฝักใฝ่ในศาสนาด้วย และเนื่องจากบิดามารดา มี ความระมัดระวังไม่ให้ลูกๆ พบเห็น หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่พึงปรารถนา จึงได้ย้ายครอบครัวไปอยู่ที่ฟาร์ม ทางทิศตะวันตกของชิคาโก ทำให้โรเจอร์ส ได้ใช้ชีวิตวัยรุ่นในชนบท ที่ถือว่าเป็นช่วงชีวิตที่เต็มไปด้วย ความรู้สึกอบอุ่นปลอดภัย จากครอบครัว เขาชอบอ่านหนังสือมากและอ่านหนังสือทุกประเภท และมีผลการเรียนดีเด่นเสมอมา คาร์ โรเจอร์ส สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ในสาขาประวัติศาสตร์ และปริญญาโทในสาขาศาสนาและจิตวิทยา และปริญญาเอกในสาขา ทางด้านจิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัย โคลัมเบีย (Columbis University) ในปี ค.ศ. 1931 ในระหว่างเรียน เขาได้มีโอกาสได้ฝึกงานด้านคลีนิกเกี่ยวกับเด็ก ที่ใช้วิธีการบำบัดของจิตวิเคราะห์ และเมื่อเขาได้มีโอกาสทำจิตบำบัดครั้งแรก ก็พบว่า มี ความขัดแย้งกันระหว่างการบำบัดแบบจิตวิเคราะห์กับ วิธีการศึกษาตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่เขาได้ศึกษาจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เมื่อสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกแล้ว ได้ทำงานเป็นนักจิตวิทยา ณ สถาบันการศึกษาเด็ก เพื่อป้องกันการทารุณกรรมแก่เด็ก ซึ่งเขาได้นำหลักการทางจิตวิทยา ไปใช้ในการช่วยเหลือเด็ก ที่มีปัญหาอย่างจริงจัง และประสบผลสำเร็จอย่างดี ตลอดมา เช่น เด็กเหลือขอ อาชญากรวัยรุ่น เด็กที่ด้อยโอกาส ฯลฯ ในระหว่างปี ค.ศ. 1940 –1945 โรเจอร์ส ได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ทางด้านจิตวิทยา และสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอ (Ohio State University)และในระหว่างปี ค.ศ.1945 – 1957 ได้ย้ายไปสอน ณ มหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago) และในช่วงเวลาดังกล่าว โรเจอร์ได้ผลิตผลงานต่างๆ อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการให้คำปรึกษาเน้นบุคคลเป็นศูนย์กลาง (Person-Centered Counseling) ในระหว่างปี ค.ศ. 1957 – 1963 ได้ย้ายไปสอน ณ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน (University of Wisconsin) จากนั้น ได้ย้ายไปทำงานที่ศูนย์การศึกษาระดับสูงทางด้านทางพฤติกรรมศาสตร์ ที่แสตนฟอร์ด (Standford) และในปี ค.ศ. 1963 ได้ย้ายไป ทำงานศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับบุคคล (Center for Studies of the Person) ที่แคลิฟอร์เนีย ซึ่งเขาได้นำหลักการทางจิตวิทยา มาใช้เพื่อพัฒนาบุคคล ในวงการต่าง เช่น แพทย์การศึกษา อุตสาหกรรม รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไป ให้เกิดการพัฒนาบุคลิกภาพที่สมบูรณ์ เขาได้ใช้ชีวิตที่นั่นจนเสียชีวิตเมื่อ ปี ค.ศ. 1986 โรเจอร์ส มีผลงานต่างๆ และได้รับรางวัลทางวิจาการต่างๆ มากมาย ตลอดเวลาที่ผ่านมา เขาได้รับตำแหน่งที่สำคัญๆ ในทางจิตวิทยา อย่างมากมายเช่นเดียวกัน เช่น ประธานสมาคมจิตวิทยาแห่งอเมริกา (American Psychological Association) นอกจากนี้ เขายังได้เขียนบทความ และหนังสือเกี่ยวกับการแนะแนว และจิตบำบัด และบุคลิกภาพไว้มากมายหลาย โรเจอร์สได้ชื่อว่า เป็นนักจิตวิทยามานุษยนิยมที่สำคัญ และเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายอีกท่านหนึ่ง เขาได้รับการยอมรับว่า เป็นผู้ที่ยกระดับวิชาชีพจิตวิทยาให้ได้รับการยอมรับและเชื่อถือจากมหาชน โดยพิสูจน์ให้เห็นประจักษ์ว่า นักจิตวิทยาที่รู้จริง ปฏิบัติจริง ย่อมเป็นผู้ที่มี ความสุข และ ความสำเร็จในชีวิต ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่จะช่วยเหลือผู้ที่มี ความทุกข์ร้อนทางด้านจิตใจ และมีปัญหาทางบุคลิกภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่ได้เคยรู้จักกับโรเจอร์ส ต่างก็ยกย่องว่า โรเจอร์สว่า เขาเป็นผู้ที่มีจิตใจเต็มเปี่ยมไปด้วย ความรัก ความเมตตา ต่อเพื่อนมนุษย์ทุกคนอย่างบริสุทธิ์ใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับบุคคลที่ตกอยู่ในห้วงแห่ง ความทุกข์โศก ความสับสนและ ความเดือดเนื้อร้อนใจ ไม่ว่าเด็กและผู้ใหญ่ แม้เพียงได้อยู่ใกล้ๆ ก็ทำให้เขาเหล่านั้น มี ความสบายใจและอบอุ่นใจได้เสมอ ทั้งนี้ เพราะเห็นพลัง ความรักและ ความปรารถนาที่มีต่อเพื่อนมนุษย์และ ความเชื่อของเขาที่มีอยู่ในจิตสำนึกว่า ความทุกข์ของมนุษย์ย่อมมีหนทางแก้ไขได้เสมอ แนวคิดที่สำคัญ โรเจอร์สเชื่อว่า มนุษย์มีธรรมชาติที่ดีมีแรงจูงใจในด้านบวก เป็นผู้ที่มีเหตุผล (Rational) เป็นผู้ที่สามารถได้รับการขัดเกลา (Socialized) สามารถตัดสินใจเลือกวิถีชีวิตของตนเองได้ ถ้ามีอิสระเพียงพอ และมีบรรยากาศที่เอื้ออำนวย ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ (Full Potential) และพัฒนาไปสู่ทิศทางที่เหมาะสมกับ ความสามารถของแต่ละบุคคล อันจะนำไปสู่การตระหนักรู้ในตนเองอย่างแท้จริง (Self-Actualization) โครงสร้างทางบุคลิกภาพ ของโรเจอร์สประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ 1. อินทรีย์ (The organism) หมายถึง ทั้งหมดที่เป็นตัวบุคคล รวมถึงส่วนทางร่างกาย หรือทางสรีระของบุคคล (Physical Being) ที่ประกอบด้วย ความคิด ความรู้สึกที่แสดงปฏิกิริยาตอบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นการแสดงพฤติกรรมทั้งหมดของบุคคล โดยแสดงพฤติกรรมเพื่อตอบสนอง ความต้องการ (Needs) ที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล และทำให้มนุษย์ มีแรงจูงใจที่จะพัฒนาตนเองไปสู่การรู้จักตนเองอย่างแท้จริง (Self-Actualization) นอกจากนี้ มนุษย์จะแสดงพฤติกรรมโดยการนำเอาประสบการณ์เดิมบางอย่างที่เขาให้ ความหมาย หรือให้ ความสำคัญต่อกับประสบการณ์เดิมบางอย่าง ที่เกิดจากการเรียนรู้ และนำเอาประสบการณ์เหล่านี้มาเป็นสัญลักษณ์ในจิตสำนึกของเขา (Symbolized in the Consciousness) โดยปฏิเสธประสบการณ์บางอย่างดังนั้นผู้ที่มี ความสามารถรับรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้ ความหมายของประสบการณ์ที่ถูกต้องกับ ความเป็นจริงมากที่สุด จะเป็นผู้ที่สามารถพัฒนาได้ตามปกติ (Normal Development) 2. ประสบการณ์ทั้งหมดของบุคคล (Phenomenology Field) ที่เป็นสิ่งที่บุคคลจะรู้เฉพาะตนเท่านั้น และประสบการณ์ของบุคคลนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มพูนอยู่ตลอดเวลา โรเจอร์สอธิบายว่ามนุษย์อยู่ในโลกของการเปลี่ยนแปลง ที่มีตนเองเป็นศูนย์กลางเป็นประสบการณ์ที่อาจเกิดจากสิ่งเร้าภายนอกและสิ่งเร้าภายในตัวบุคคล สามารถแบ่งออกเป็นประสบการณ์ทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องกับจิตสำนึก และจิตใต้สำนึกของบุคคล ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเขา ทั้งเป็นสิ่งที่สื่อสารได้ และทั้งที่สื่อสารไม่ได้ ซึ่งเป็นพลังกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมต่างๆ เช่น เด็กร้องไห้เมื่อเห็นสุนัขอาจเกิดจาก เคยถูกสุนัขกัด หรืออาจเคยถูกข่มขู่ให้กลัวสุนัขจนฝังใจหรือประสบการณ์ที่อยู่ในจิตใต้สำนึกบางอย่าง บุคคลไม่สามารถสื่อสารออกมาได้ เพราะอาจถูกเก็บไว้และซ่อนอยู่ภายในจิตใจจนเจ้าตัวไม่สามารถเข้าใจได้ เป็นลักษณะของเงื่อนปมที่ฝังอยู่ภายในจิตใจ โดยทั่วไปแล้วบุคคลจะให้ ความหมาย และเลือกรับรู้เฉพาะประสบการณ์ที่สำคัญ โรเจอร์ส ให้ ความสำคัญต่อ ความสามารถในการสื่อสารประสบการณ์เฉพาะตนให้กับผู้อื่นสามารถรับรู้ และเข้าใจได้ จะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเข้าใจตนเองของบุคคล ในขณะที่ผู้ที่มี ความแปรปรวนทางอารมณ์และบุคลิกภาพ เกิดจากความไม่สามารถสื่อสารประสบการณ์เฉพาะตนอย่างเหมาะสมได้ 3. ตัวตน ( The Self ) เป็นศูนย์กลางของบุคลิกภาพ ที่เป็นส่วนของการรับรู้ และค่านิยมเกี่ยวกับตัวเรา ตัวตนพัฒนามาจากกการที่อินทรีย์มีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม เป็นประสบการณ์เฉพาะตน ในการพัฒนาตัวตนของบุคคลนั้น บุคคลจะพบว่า มีบางส่วนที่คล้ายและบางส่วนที่แตกต่างไปจากผู้อื่น ตัวตนเป็นส่วนที่ทำให้พฤติกรรมของบุคคลมี ความคงเส้นคงวา (Consistency) และประสบการณ์ใดที่ช่วยยืนยัน ความคิดรวบยอดของตน (Self-concept) ที่บุคคลมีอยู่ บุคคลจะรับรู้ และผสมผสานประสบการณ์นั้นเข้ามาสู่ตนเองได้อย่างไม่มี ความคับข้องใจ แต่ประสบการณ์ที่ทำให้บุคคลรู้สึกว่าอัตมโนทัศน์ที่มีอยู่เบี่ยงเบนไปจะทำให้บุคคลเกิด ความคับข้องใจที่จะยอมรับประสบการณ์นั้น ความคิดรวบยอดของตนเป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะบุคคลจะต้องอยู่ในโลกแห่ง ความเปลี่ยนแปลงโดยมีตัวเอง (Self) เป็นศูนย์กลางในการแสดงพฤติกรรมต่างๆ โรเจอร์ส อธิบายว่า “ตัวตน” ของบุคคลสามารถแบ่งออกเป็นลักษณะต่างๆ ได้แก่ มโนภาพแห่งตน หรือ ความคิดรวบยอดของตน หรือตัวตนตามที่มองเห็น (Self-Concept) เป็นส่วนที่ตนมองเห็นภาพของตนเอง ที่บุคคลมีการรับรู้และมองเห็นตนเองในหลายแง่หลายมุม เช่น “ฉันเป็นคนเก่ง” “ฉันเป็นคนสวย” “ฉันเป็นคนอาภัพ ด้อยวาสนา” “ฉันเป็นคนขี้อาย”เป็นต้น และสิ่งที่บุคคลมองเห็นตัวเองนี้อาจไม่ตรงกับที่ผู้อื่นมองเห็น หรือรับรู้ก็ได้ เช่น ผู้ที่เห็นแก่ตัวและชอบเอาเปรียบผู้อื่น หรือผู้ที่มี ความทะเยอทะยานสูง อาจไม่ทราบว่า ตนเป็นคนเช่นนั้น ตัวตนแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ตัวตนที่เป็นจริง กับตัวตนตามอุดมคติ ตัวตนตามที่เป็นจริง (Real Self) เป็นลักษณะของบุคคลที่เป็นไปตาม ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งบุคคลอาจรู้ตัวหรือไม่ตัวก็ได้ เช่น “เป็นคนเรียนเก่ง” “เป็นคนสวย” “เป็นคนร่ำรวย” ฯลฯ และพบว่าบ่อยครั้งที่บุคคล จะมองไม่เห็นในส่วนที่เป็นตัวตนที่แท้จริงของตนเลย ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น แตงกวา มองเห็นว่าเธอเป็นคนเรียนเก่ง กว่าเพื่อนๆ ทั้งๆ ที่ใน ความเป็นจริงแล้ว เธอไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย เธอจึงทำตัวดูถูกเพื่อนๆ ที่เรียนไม่เก่ง และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เธอไม่ค่อยมีเพื่อนเท่าที่ควร เป็นต้น ตัวตนตามอุดมคติ (Ideal Self) หมายถึง ภาพที่ตนเองอยากจะเป็น ซึ่งหมายถึง บุคคลยังไม่สามารถเป็นได้ในสภาวะปัจจุบันเช่น “น้องแดงอยากเป็นทั้งคนเก่งและคนสวยเหมือนพี่ปุ๋ย” เป็นต้น โรเจอร์สได้อธิบายถึงการทำงานของตัวตนในบุคคลว่า ต้องสอดคล้องกันอย่างเหมาะสม กล่าวคือ มโนภาพแห่งตนของบุคคลจึงต้องมี ความสมเหตุสมผล ตรงกับ ความเป็นจริงและตรงจากประสบการณ์ การที่บุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม บุคคลที่มีมโนภาพแห่งตนอย่างไร ก็จะมีพฤติกรรมไปตามแนวทางของมโนภาพที่เขามีอยู่ ถ้าบุคคลมีประสบการณ์ที่ทำให้มโนภาพแห่งตนเดิมที่เขามี อยู่ไม่ตรงกับ ความเป็นจริง หรืออาจกล่าวได้ว่า ถ้ามโนภาพแห่งตน ขัดแย้งและไม่สอดคล้อง (Incongruence) กับตนตาม ความเป็นจริงมากเท่าไร บุคคลจะเกิดการป้องกันตนเอง เกิด ความวิตกกังวล และนำไปสู่ปัญหาทางอารมณ์ จิตใจ และบุคลิกภาพมากขึ้นเท่านั้น และนอกจากนี้ ผู้ที่มีมโนภาพแห่งตน สอดคล้องกับตนตาม ความเป็นจริงนั้น ก็มักจะพอใจและมองเห็นตนตามอุดมคติสอดคล้องกันไปด้วยเช่นกัน เพราะเขาจะมี ความรู้สึกพึงพอใจกับตัวตนที่แท้จริงของเขาเสมอ ไม่จำเป็นต้องสร้างภาพตนตามที่ต้องการเป็นขึ้นมา เพราะเขาจะไม่อยากจะเป็นใครอีกนอกจากเป็นตัวเองเท่านั้น จะเป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตดีไม่ป้องกันตนเอง ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปสู่การรู้จักตัวเองอย่างแท้จริง ยอมรับตนเอง สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับ ความเป็นจริง มีการรับรู้ต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล้าเปิดตนเองออกรับประสบการณ์ใหม่ๆ เลือกตัดสินใจด้วยตนเอง โดยไม่ขึ้นอยู่กับการยอมรับของผู้อื่นและสังคม ตลอดจนเข้าใจในค่านิยมของตนเอง ในขณะที่สามารถยืดหยุ่นต่อสภาพการณ์ต่างๆ โดยไม่ยึดติดอยู่ในค่านิยมของตนอย่างยึดติดเป็นต้น พัฒนาการทางบุคลิกภาพ (Development of Personality) โรเจอร์ส ได้อธิบายถึง กระบวนการพัฒนาการทางบุคลิกภาพว่า มีกระบวนการ 4 ประการดังนี้ 1. กระบวนการพัฒนาการค่านิยม (Organizing Valuing Process) ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่า โรเจอร์สเชื่อว่า บุคคลเกิดมา พร้อมพลัง หรือแรงจูงใจ ที่จะพัฒนาตนเองไปสู่สภาวะของการรู้จักตนเองอย่างแท้จริง 2. การยอมรับจากผู้อื่น (Positive Regard from others) จะเห็นได้ว่า ตัวตน (self) ของบุคคล จะเริ่มพัฒนาเมื่อบุคคล มีปฏิกิริยาสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อม รอบตัวเขา เขาจะรับรู้ ความจริงของสภาพแวดล้อม และนำเอาประสบการณ์ต่าง มาให้ ความหมายต่อการรับรู้เรียกว่า ประสบการณ์แห่งตนเอง (Self-Experience) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างตนเอง กับบุคคลที่สำคัญที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมของเขา 3. การยอมรับตนเอง (Self-Regard) บุคคลจะเรียนรู้ที่จะยอมรับตนเองจากการที่เขารับรู้ว่าผู้อื่นแสดงการยอมรับในตัวเขาหรือไม่ อย่างไร โดยไม่คำนึงถึง ความต้องการของตนเอง แต่จะเอา ค่านิยมของผู้อื่นที่มีต่อตัวเขา เป็นเกณฑ์ในการประเมินพฤติกรรมของตนว่า ดีเลว 4. ภาวะของการมีคุณค่า (Conditions or Worth) เป็นลักษณะที่บุคคลรู้สึกว่าตน มีคุณค่า เพราะเขาสามารถยอมรับตนเองได้ โดยมโนภาพแห่งตนที่เขารับรู้สอดคล้องกับ ความเป็นจริง เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น แต่ถ้ามโนภาพแห่งตนของเขาแตกต่างไปจาก ความจริง จะทำให้เขาเกิด ความวิตกกังวลและปฏิเสธ ไม่ยอมรับตนเองตาม ความเป็นจริง ลักษณะของผู้ทีมีบุคลิกภาพที่สมบูรณ์ (Healthy Personality) ผู้ที่มีบุคลิกที่สมบูรณ์ในทัศนะของโรเจอร์ส จะมีลักษณะต่างๆ ได้แก่ เป็นผู้ที่มี ความสามารถปรับตัวได้ตาม ความเป็นจริง มี ความสอดคล้องระหว่างตัวตนกับประสบการณ์ สามารถเปิดตนเองออกรับประสบการณ์ใหม่ ๆ รับ ความต้องการที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอก ได้ถูกต้องเข้าใจตนเอง สามารถเลือกและตัดสินใจตอบสนอง ความต้องการของตนเองได้ รับรู้เกี่ยวกับตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ มีชีวิตอยู่กับปัจจุบันเป็นตัวของตัวเองสามารถนำเอาประสบการณ์ต่างๆมาพัฒนาตนเอง เชื่อใน ความสามารถของตนเอง ตลอดจนรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง และไม่ตัดสินใจที่จะกระทำสิ่งต่าง ๆ โดยขึ้นอยู่กับการยอมรับหรือการไม่ยอมรับจากผู้อื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น