วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

จำเป็นและความสำคัญในการรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี

สุขภาพกาย และสุขภาพจิตมีความสำคัญไฉน เมื่อกล่าวถึงสุขภาพ ย่อมหมายถึง สุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมกัน ผู้ที่มีสุขภาพกายที่ดี คือ ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ เจริญเติบโตสมกับวัย ไม่พิการ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีจิตใจเป็นปกติ อารมณ์มั่นคง สามารถปรับตัวเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข สุขภาพจิตเป็นเสมือนเข็มทิศชีวิตที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของเรา พัฒนาไปได้อย่างมีทิศทางมีหลักเกณฑ์ในการปรับตัวเองให้อยู่ใน สังคมได้อย่างมีความสุขและทำให้ผู้อื่นเป็นสุขด้วย "สุขภาพจิตที่ดีต้องเริ่มที่ตนเองโดยการฝึกความคิด ให้เป็นมิตรกับตนเอง" ความหมายของสุขภาพจิตและสุขภาพกาย องค์การอนามัยโลกให้ความหมายของคำว่า สุขภาพจิต คือ ความสามารถของบุคคลที่จะปรับตัวให้มีความสุข อยู่กับบุคคลอื่น และดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสมดุลอย่างสุขสบาย รวมทั้งสมอง ความสามารถของตนเองในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงนี้ ได้โดยไม่มีข้อขัดแย้งภายในจิตใจ ทั้งนี้คำว่า สุขภาพจิต มิได้หมายความ เฉพาะเพียง แต่ความปราศจากอาการของโรคประสาทและโรคจิตเท่านั้น จะเห็นได้ว่าสุขภาพจิตเกี่ยวข้องกับการฝึกคิดความรู้สึก และ การกระทำของบุคคล ในบางครั้งผู้ที่มีสุขภาพจิตปกติ อาจจะมีสุขภาพจิต ดีขึ้นหรือเลวลงก็ได้ คนที่มีสุขภาพจิตดี จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับคนอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี แม้บางครั้งอาจขัดแย้ง หรือมีอารมณ์โกรธ หรือมีปัญหาชีวิตแต่ก็สามารถ ปรับอารมณ์และเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี โดยไม่เสีย ดุลทางจิตใจ จึงอาจกล่าวได้ว่า สุขภาพจิตก็คือความมั่นคงทางใจนั่นเอง เราสามารถสร้างเสริมสุขภาพกายและ สุขภาพจิตได้ สุขภาพจิต คือ สภาพชีวิตที่เป็นสุข มีอารมณ์มั่นคงสามารถปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีสมรรถภาพในการ ทำงาน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความพอใจ สุขภาพกาย คือ สภาวะของร่างกายที่มีความสมบูรณแข็งแรงเจริญเติบโตอย่างปกติระบบต่างๆ ของร่างกายสามารถทํางานได้เป็นปกติและมีประสิทธิภาพรางกายมีความต้านทานโรคได้ดีปราศจากโรคภัยไขเจ็บและความทุพพลภาพ สรุป ทั้งสุขภาพจิตและสุขภาพกายเป็นสิ่งสำคัญและ จำเป็นสำหรับทุกชีวิตในการดำรงอยู่อย่างปกติ เป้าหมายของการเรียนรู้ สุขภาพจิต ก็คือ การทำให้ชีวิตมีความสุข ความพอใจ ความสมหวัง ทั้งของตนเองและของผู้อื่น ส่วนสุขภาพกายความแข็งแรงของร่างกายปราศจากโรคภัยเพราะความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริญ ความสำคัญของสุขภาพจิต สุขภาพจิต มีผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์หลายด้าน ดังนี้ 1. ด้านการศึกษา ผู้ที่สุขภาพจิตดีย่อมมีจิตใจปลอดโปร่ง สามารถศึกษาได้สำเร็จ 2. ด้านอาชีพการงาน ผู้ที่สุขภาพจิตดีย่อมมีกำลังใจต่อสู้อุปสรรค ไม่ท้อแท้ เบื่อหน่าย ทำงานก็บรรลุผลสำเร็จ 3. ด้านชีวิตครอบครัว คนในครอบครัวสุขภาพจิตดี ครอบครัวก็สงบสุข 4. ด้านเพื่อนร่วมงาน ผู้ที่สุขภาพจิตดีย่อมไม่เป็นที่รังเกียจ ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี 5. ด้านสุขภาพร่างกาย ถ้าสุขภาพจิตดีร่างกายก็สดชื่น หน้าตายิ้มแย้ม สมองแจ่มใส เป็นที่สบายใจแก่ผู้พบเห็น อยากคบค้าสมาคมด้วย ความสัมพันธ์สุขภาพกายและสุขภาพจิต สุขภาพกายและสุขภาพจิตของคนย่อมมีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น เด็กที่มีความบกพร่องทางกาย เช่น หูตึง หรือสายตาสั้น อาจได้รับความลำบาก ในการปรับตัว เด็กที่มีโรคประจำตัวบางอย่างมักมีอารมณ์หงุดหงิด ทำตัวให้เข้า กับเพื่อนฝูงได้ยาก เด็กประเภทนี้จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ มิฉะนั้นสุขภาพจิตของเด็กก็มีหวังเสื่อมทรามลงไปได้มาก ๆ คนที่ขาดสุขภาพจิตมักมีสุขภาพกายเสื่อมลงไปด้วย เด็กที่เสียสุขภาพจิต ถ้าเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาก็มักเจ็บป่วยมาก กล่าวคือ เด็กจะเสียกำลังใจและตีโพย ตีพายไปเกินกว่าเหตุ อาการเจ็บป่วยธรรมดาอาจเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น กำลังใจของคนไข้เป็นส่วนประกอบอันสำคัญในการที่จะรักษาโรคให้ได้ผล ถ้าคนไข้เป็นคนขาดสุขภาพจิตแล้วก็จะทำให้การรักษาโรคลำบากยิ่งขึ้น ร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดถ้าร่างกาย เกิดผิดปกติก็จะทำให้จิตใจผิดปกติไปไม่มากก็น้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคคล และสิ่งแวดล้อมด้วย ในทางกลับกัน ถ้าสุขภาพจิตไม่ดีก็จะมีผลให้ สุขภาพกายเปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้เกิดโรคทางกายได้ ผู้ที่มีอารมณ์หวั่นไหว วิตกกังวล หรือเครียด อาจจะมีอาการท้องเดิน เมื่อเกิดความกลัวก็อาจจะมีอาการปวดศีรษะ หรือเกิดอารมณ์ทางกายอื่น ๆ เมื่อเราตื่นเต้นตกใจก็จะทำให้การหายใจเร็วขึ้น ตัวสั่น เป็นต้น ดังนั้น การที่คนเราจะมีร่างกายที่สมบูรณ์ได้ก็ควรจะต้องมีอารมณ์อยู่ในภาวะ ที่สมบูรณ์ด้วย จากความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดของร่างกายและจิตใจนี้ จึงมีผู้กล่าวว่า จิตใจที่แจ่มใสย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์ ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีมีลักษณะหลายประการ ดังนี้ 1. เป็นผู้ที่มีความสามารถและความเต็มใจที่จะรับผิดชอบอย่าง เหมาะสมกับระดับอายุ 2. เป็นผู้ที่มีความพอใจในความสำเร็จจากการได้เข้าร่วม กิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่ม โดยไม่คำนึงว่าการเข้าร่วมกิจกรรมนั้น จะมีการถกเถียงกันมาก่อนหรือไม่ก็ตาม 3. เป็นผู้เต็มใจที่จะทำงานและรับผิดชอบอย่างเหมาะสมกับบทบาท หรือตำแหน่งในชีวิตของเขา แม้ว่าจะทำไปเพื่อต้องการตำแหน่งก็ตาม 4. เมื่อเผชิญกับปัญหาที่จะต้องแก้ไข เขาก็ไม่หาทางหลบเลี่ยง 5. จะรู้สึกสนุกต่อการขจัดอุปสรรคที่ขัดขวางต่อความสุขหรือ พัฒนาการ หลังจากที่เขาค้นพบด้วยตนเองว่า อุปสรรคนั้นเป็นความจริง ไม่ใช่อุปสรรคในจินตนาการ 6. เป็นผู้ที่สามารถตัดสินใจด้วยความกังวลน้อยที่สุด มีความรู้สึกขัดแย้งในใจและหลบหลีกปัญหาน้อยที่สุด 7. เป็นผู้ที่สามารถอดได้ รอได้ จนกว่าจะพบสิ่งใหม่ หรือ ทางเลือกใหม่ที่มีความสำคัญหรือดีกว่า 8. เป็นผู้ที่ประสบผลสำเร็จด้วยความสามารถที่แท้จริง ไม่ใช่ความสามารถในความคิดฝัน 9. เป็นผู้ที่คิดก่อนทำ หรือมีโครงการแน่นอนก่อนที่จะปฏิบัติ ไม่มีโครงการที่ถ่วงหรือหลีกเลี่ยงการกระทำต่าง ๆ 10. เป็นผู้ที่เรียนรู้จากความล้มเหลวของตนเองแทนที่จะหา ข้อแก้ตัวด้วยการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง หรือโยนความผิดให้แก่คนอื่น 11. เมื่อประสบผลสำเร็จ ก็ไม่ชอบคุยโอ้อวดจนเกินความเป็นจริง 12. เป็นผู้ที่ปฏิบัติตนได้สมบทบาท รู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไรเมื่อถึงเวลา ทำงาน หรือจะปฏิบัติอย่างไรเมื่อถึงเวลาเล่น 13. เป็นผู้ที่สามารถจะปฏิเสธต่อการเข้าร่วมกิจกรรมที่ใช้เวลา มากเกินไปหรือกิจกรรมที่สวนทางกับที่เขาสนใจแม้ว่ากิจกรรมนั้นจะทำให้ เขาพอใจได้ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งก็ตาม 14. เป็นผู้ที่สามารถตอบรับที่จะเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ สำหรับเขา แม้ว่ากิจกรรมนั้นจะไม่ทำให้เขาพึงพอใจก็ตาม 15. เป็นผู้ที่จะแสดงความโกรธออกมาโดยตรง เมื่อเขาได้รับ ความเสียหายหรือถูกรังแก และจะแสดงออกเพื่อป้องกันความถูกต้อง ของเขาด้วยเหตุด้วยผลการแสดงออกนี้จะมีความรุนแรงอย่างเหมาะสม กับปริมาณความเสียหายที่เขาได้รับ 16. เป็นผู้ที่สามารถแสดงความพอใจออกมาโดยตรงและจะแสดงออก อย่างเหมาะสมกับปริมาณและชนิดของสิ่งที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจ 17. เป็นผู้ที่สามารถอดทน หรืออดกลั้นต่อความผิดหวัง และ ภาวะความคับข้องใจทางอารมณ์ได้ดี 18. เป็นผู้ที่มีลักษณะนิสัยและเจตคติที่ก่อรูปขึ้นอย่างเป็นระเบียบ เมื่อเผชิญกับสิ่งยุ่งยากต่าง ๆ ก็สามารถจะประนีประนอมนิสัยและเจตคติ เข้ากับสถานการณ์ที่ยุ่งยากต่าง ๆ ได้ 19. เป็นผู้ที่สามารถระดมพลังงานที่มีอยู่ในตัวออกมาใช้ได้อย่างทันที และพร้อมเพรียง และสามารถรวมพลังงานนั้นสู่เป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อความสำเร็จของเขา 20. เป็นผู้ที่ไม่พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงความจริงซึ่งชีวิตของเขา จะต้องดิ้นรนต่อสู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่เขาจะยอมรับว่าบุคคลจะต้องต่อสู้ กับตนเอง ฉะนั้นเขาจะต้องมีความเข้มแข็งให้มากที่สุด และใช้วิจารณญาณ ที่ดีที่สุด เพื่อจะผละจากคลื่นอุปสรรคภายนอก ประโยชน์ของการมีสุขภาพจิตดี 1. ช่วยให้สามารถแก้ไขปรับปรุงการดำรงชีวิตให้อยู่ในสังคมได้อย่างราบรื่น เหมาะสม มีความสุข รู้จักจุดอ่อน จุดเด่นของตนเอง 2. ช่วยปรับปรุง แก้ไข และป้องกันความคับข้องใจ 3. ช่วยให้เกิดความเข้าใจตนเองและผู้อื่น รู้จิตใจ ความรู้สึก อารมณ์ของคนอื่นได้ 4. ช่วยให้สามารถพัฒนาอาชีพ การงาน และครอบครัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น