วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Question-Based Learning (QBL)คืออะไร โดย พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช อธิการบดี วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

            Question-Based Learning คืออะไร และคำถามมีผลอย่างไรต่ออนาคตของการศึกษา
                        โดย พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช อธิการบดี วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

            QBL คืออะไรสำหรับวิทยาลัยเทคโนโลยีสยำม: วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามเริ่มนำแนวคิดของ Question-Based Learning (QBL) หรือ การเรียนรู้ที่ใช้คาถามเป็นศูนย์กลาง มาเป็นแนวทางในการจัดการศึกษามาช่วงหนึ่งแล้ว โดยเริ่มจากการสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมให้คณาจารย์และบุคลากรของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม และเมื่อบุคลากรมีความพร้อม ผลผลิตในทิศทางของ QBL ไม่ว่าจะเป็นตารา หรืองานวิจัย ก็จะถูกผลิตออกมาเพื่อส่งเสริม “สังคมที่มีภูมิคุ้มกันจากคำถาม” (Robert J. Brym’s Society in Question)[1]
             QBL มีควำมแตกต่ำงจำก PBL และ IBL อย่ำงไร: จากช่วงเวลาที่ผ่านมา QBL สร้างความสับสนและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเป็นอย่างมาก อาจเป็นเพราะ QBL เป็นแนวทางใหม่ที่ไม่ได้มีเป้าหมายเพียงแค่กระบวนการการเรียนรู้ที่ดีขึ้น แต่ยังเป็นกระบวนการการมอง การวิเคราะห์สิ่งต่างๆด้วยคาถามแทนที่เคยเป็นด้วยคาตอบ ซึ่งยังไม่มีการใช้ที่แพร่หลาย จึงยากที่จะค้นหาและศึกษาจากตัวอย่าง (case studies) ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่บุคลากรที่เข้าสืบค้นเรื่อง QBL จะสับสนและเข้าใจว่า QBL คือสิ่งเดียวกันกับ PBL (Problem-Based Learning/การเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน) หรือแม้กระทั่ง IBL (Inquiry-Based Learning/การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้)
              อันที่จริงหลักการทั้งสามนั้นมีพื้นฐานมาจากทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (constructivism)[2] ที่มีคาอธิบายโดยย่อที่ชัดเจนคือ “Learning by Doing” ที่มีรากฐานจากงานของ เพียเจย์ (Jean Piaget) ดูวี่ (John Dewey) วายกอสกี้ (Lev Vygotsky) เปปเปอร์ท (Seymour Peppert) และนักการศึกษาอื่นๆที่รุ่งเรืองในยุคต้นถึงกลางศตวรรษที่ 19 แต่ที่ต่างกันคือเป้ประสงค์หลักและวิธีการที่จะได้มาซึ่งความรู้ความเข้าใจ
              สำหรับ Problem-Based Learning หรือ การเรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน นั้น มีจุดเริ่มต้นจากการศึกษาในศาสตร์แพทย์ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ จากการทดลองรักษาโรคต่างๆ และเรียนรู้จากประสพการณ์ที่ได้มา[3] เมื่อนามาใช้กับการศึกษาในวงกว้าง การเรียนการสอนจะนาเสนอโดยเริ่มจากปัญหาหรือสถานการณ์ และเครื่องมือที่สามารถใช้แก้ปัญหา รวมทั้งกรอบความคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง จากนั้นให้เวลาที่เหมาะสมโดยปล่อยให้ผู้เรียนศึกษาทาความเข้าใจกับปัญหาและสภาวะแวดล้อมต่างๆ แล้วจึงแก้ไขปัญหาที่นาเสนอ โดยพุ่งเป้าไปที่ความรู้ความเข้าใจที่เกิดจากการพยายามแก้ปัญหาของผู้เรียน[4] ดังนั้น PBL จึงเป็นแนวทางการเรียนรู้จาการแก้ปัญหา สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับนอกจากความรู้ในเชิงวิชาการแล้ว ผู้เรียนจะได้ทักษะในการแก้ปัญหา และการใช้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล ซึ่งมีความคล้ายคลึงและใกล้เคียงกับ QBL เป็นอย่างมาก และในความเป็นจริง PBL ก็เป็นจุดเริ่มต้นและเป็นเครื่องมือที่ดีในการเดินหน้าสู่ QBL
อีกแนวทางหนึ่งที่ดูจะไกลจาก QBL กว่า แต่ก็ยังมีคนสับสนกับแนวทางของ QBL อยู่คือ IBL หรือ Inquiry-Based Learning หรือแปลเป็นไทยว่า การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ ส่วนที่คล้ายกับ QBL คือคาว่า “inquiry” ซึ่งมีความหมายตาม Webster Dictionary ว่า “an act of asking for information” หรือ “การถามหรือค้นหาเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล” ดังนั้นหัวใจหลักของ IBL คือการแสวงหาข้อมูล ซึ่งถือเป็นทักษะที่มีประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกที่มีข้อมูลให้สืบค้นมากมาย เช่น การค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต การเรียนการสอนในรูปแบบ IBL จะเริ่มจากการนาเสนอหัวข้อหลักที่ต้องการจะศึกษา จากนั้นจึงเปิดโอกาศให้ผู้เรียนคิด และแสวงหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหลักด้วยวิธีการต่างๆจากสื่อต่างๆ ผู้เรียนจะได้องค์ความรู้จากการค้นคว้า หาประเด็นความรู้ ซึ่งเป็นรากฐานที่สาคัญของทักษะการวิจัยที่ต้องหาข้อมูลเพื่อตอบคาถามการวิจัย (research question) ในอนาคต[5] เบล และบานชี (Bell and Banchi, 2008)[6] ได้นำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ IBL ไว้ 4 ขั้นคือ
     1. Confirmation Inquiry: การค้นหาข้อมูลเพื่อยืนยัน เป็นการนาเสนอคาถาม กระบวนการอันที่จะได้ มาซึ่งคำตอบ โดยมีคาตอบเสนอไว้อยู่แล้ว ผู้เรียนจะเรียนรู้ด้วยการค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อยืนยันหรือปฎิเสธคำตอบด้วยข้อมูลที่ค้นคว้า
     2. Structured Inquiry: ผู้เรียนจะได้รับคาถามการวิจัย และกระบวนการการค้นคว้าหาข้อมูล แต่ต้องหา ข้อมูลเพื่อที่จะได้มาซึ่งผลลัพท์ และคำอธิบายเพื่อยืนยันข้อมูลและผลลัพท์ด้วยตนเอง
    3. Guided Inquiry: ผู้เรียนจะได้รับข้อมูลเพียงคำถามการวิจัย ผู้เรียนต้องออกแบบกระบวนการหา ข้อมูลและผลด้วยตัวผู้เรียนเอง
    4. Open Inquiry: ผู้เรียนต้องคิดคาถามจากประเด็นที่ได้นาเสนอ จากนั้นจึงคิดออกแบบกระบวนการที่ จะได้มาซึ่งข้อมูลที่สะท้อนผลลัพท์ได้
     สำหรับ QBL ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามได้วางแนวทางไว้นั้น มีความคล้ายคลึง แตกต่าง และต่อเนื่องในแง่มุมที่แตกต่างกัน แต่เพื่อที่จะเข้าใจแง่มุมต่าง เป็นเรื่องที่จาเป็นที่จะต้องเข้าใจแนวทางของ QBL อย่างถ่องแท้เสียก่อน QBL แปลความหมายตรงตัวว่า การเรียนที่ใช้คาถามเป็นฐาน แต่ความหมายนั้นลึกลงไปถึงการปลูกฝังให้ผู้เรียนเข้าถึง วิเคราะห์ สังคมและสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วยคาถามแทนที่จะเป็นด้วยคาตอบ ดังนั้นแนวคิดเบื้องหลังของ QBL คือการมองโลกด้วยคำถาม (approach the world with questions) ดังเช่น อัลเบอร์ท ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ได้ระบุไว้ในหนังสือ Relativ-ity: The Special and the General Theory ว่า “Learn from yesterday, live for today, hope for tomor-row. The important thing is to not stop questioning.”[7] หรือ “เรียนรู้จากอดีต,มีชีวิตในปัจจุบัน,หวังสำหรับอนาคต แต่ที่สำคัญคืออย่าหยุดตั้งคำถาม” เป็นที่เข้าใจกันในโลกของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่า คำถามคือสิ่งที่ผลักดันไปสู่ความก้าวหน้า ไม่ใช่เพียงคาตอบ แต่การสร้างคำถามนั้นถือเป็นทักษะที่จาเป็นต้องใช้เวลาและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกฝังและฝึกฝน ซึ่งสวนทางกับการเรียนการสอนในระบบการศึกษาในปัจจุบันดังที่ Rich-ard Saul Wurman สถาปนิกและนักคิดชื่อดังได้อธิบายไว้ในด้านลบว่า "In school, we're rewarded for having the answer, not for asking a good question.”[9] หรือ “โรงเรียนให้รางวัลกับผู้ที่มีคำตอบ แต่ทำไมไม่ให้รางวัลกับผู้ที่มีคำถามที่ดี” ดังนั้น QBL จึงถือเป็นคำตอบให้กับนักคิดเหล่านั้น โดยให้รางวัลกับผู้ที่มีคำถาม มากกว่าารให้กับผู้ที่มีคำตอบโดยปราศจากคำถาม
       ดังที่ได้นำเสนอไปแล้วว่า การปลูกฝังให้มองโลกด้วยคำถาม คือทักษะที่ต้องอาศัยการปลูกฝังที่เหมาะสม จึงจาเป็นต้องสร้างสิ่งแวดล้อมที่สามารถส่งเสริมการศึกษาในรูปแบบดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนมองโลกด้วยคำถามได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมดังกล่าวประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้
       1. การดำเนินการเรียน/การสอนในห้องเรียน: การจัดการเรียน/การสอนในระบบ QBL ให้สัมฤิทธ์ผล นั้น จำเป็นต้องวางเป้าหมายและวิธีการที่สอดคล้องกับหลักการ QBL ไว้ตั้งแต่ต้น โดยการแบ่ง เนื้อหาเป็นจุดประสงค์คล้ายการดำเนินการในระะบบการศึกษาทั่วไป แต่ต้องปรับให้แต่ละจุด ประสงค์เริ่มจากคำถาม และจบด้วยคำถามเพื่อดึงความสนใจให้ผู้เรียนได้คิดถึงคำถามอันพึงจะมีในหัวข้อจุดประสงค์ดังกล่าวต่อไป และพร้อมกันนั้น ก็เป็นการปูคำถามเพื่อนำเข้าสู่บทเรียนในจุด ประสงค์ต่อไป หลักที่สำคัญที่สุดการเรียน/การสอน ต้องมีแผนที่ระบุไว้อย่างแน่นอน และต้องเริ่มทุก จุดประสงค์ ทุกบทสรุป และทุกท้ายจุดประสงค์ด้วยคำถาม เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนเข้าสู่การรับข้อมูล ด้วยคำถามแทนการรับข้อมูลด้วยคำตอบเท่านั้น และยังเป็นการปลูกฝังความเคยชินให้รับข้อมูล ใหม่ๆด้วยคำถามเป็นตัวนำอีกด้วย ผู้สอนจึงจำเป็นต้องรู้ เข้าใจ และดำเนินการตามหลัก QBL อย่างเคร่งครัด ในแต่ละจุดประสงค์ของการเรียน/การสอน ผู้สอนควรนาเทคนิคในส่วนของ PBL และ IBL เป็นเครื่องมือในการดำเนินการเพื่อให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้จากกิจกรรม และเชื่อมต่อ คำถามเริ่มต้น และคำถามส่งท้ายได้อย่างสมบูรณ์
      2. เอกสารการเรียน/การสอน และสื่อสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง: ดังที่ Ben Carson ได้กล่าวไว้ว่า “Knowledge is the key that unlocks all the doors.”[10] หรือ “ความรู้คือกุญแจที่สามารถเปิดได้
ทุกประตู” แต่ “หนังสือคือกุญแจสู่ความรู้” ดังนั้นหนังสือจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับการ
สร้าง และเข้าถึงความรู้ ซึ่งยังคงเป็นจริงแม้แต่ในยุคดิจิตอลและอินเทอร์เน็ตเช่นยุคปัจจุบัน ดังนั้น
การใช้หนังสือหรือสื่อสารสนเทศเป็นสื่อในการปลูกฝังระบบความคิดในรูปแบบ QBL จึงต้องผนวก
เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการเรียน/การสอนทั้งระบบ และต้องนำมาปรับให้เริ่มต้นบทเรียนในหนังสือ
และสื่อต่างๆด้วยคาถามในรูปแบบเดียวกับการเรียน/การสอนในห้องเรียน โดยผู้สอนต้องใช้
เอกสาร และสื่อต่างๆเพื่อใช้ประกอบการเรียน/การสอน หรือการศึกษาด้วยตนเองอย่างเคร่งครัด
หลักการของ PBL สามารถนามาใช้เป็นเครื่องมือในการวางโครงสร้างของสื่อ และตำราได้ โดย
การนำเสนอสถาณการณ์เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้กรอบทฤษฎีในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้ โดยที่ให้
เน้นเรื่องการตอบคำถาม และนำความคิดด้วยคำถาม และอาจผนวกหลักการของ IBL เพื่อขยายช่วง
เวลาความสนใจให้มากขึ้นด้วยการชี้นำให้สืบค้นเพื่อเป้าหมายในการตอบคำถามอีกด้วย
     3. กิจกรรมอื่นๆ: นอกจากการเรียน/การสอนในห้องเรียน และการนำเสนอข้อมูลในการเรียนในรูป แบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตำรา หรือสื่อสารสนเทศที่เกี่ยวข้องแล้ว กิจกรรมต่างๆก็ถือว่ามีความสำคัญ ในการที่จะสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแนวทางของ QBL ที่มี เป้าหมายเพื่อปรับการเข้าถึงสิ่งต่างๆโดยผ่านทางคำถาม ดังนั้นทุกกิจกรรมจึงจำเป็นต้องแฝงการ ปลูกฝังให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของคำถาม โดยชี้ให้เห็นผ่านกิจกรรมและหัวข้อของกิจกรรมว่า การตั้งคำถามที่ดีสามารถเป็นภูมิคุ้มกันในการตัดสินใจของผู้เรียนได้ และยังเป็นเครื่องกรองความ ถูกต้องของข้อมูลต่างๆที่สามารถเข้าถึงได้อย่างมากมายในยุคของข้อมูลข่าวสารดังเช่นปัจจุบันนี้ กิจกรรมจึงควรเริ่มและจบด้วยคาถามเช่นเดียวกัน
      จากข้อมูลที่มาและลักษณะของ QBL PBL และ IBL จะเห็นได้ว่า ถึงแม้จะมีความคล้ายคลึงในแง่ของปรัชญาทางด้านการศึกษา (epistomology) ที่ยึดหลักการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (constructivsm) แต่แนวทางทั้งสามมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน IBL นั้นจะเน้นทักษะการสืบค้น และการกรองข้อมูลที่ถูกต้อง ส่วน PBL นั้นจะเน้นไปที่ทักษะการแก้ปัญหาในกรอบทฤษฎี และ QBL คือการปลูกฝังให้ผู้เรียนเข้าถึงศาสตร์ต่างๆด้วยคำถาม โดยยึดหลักว่าคำถามจะสร้างความสนใจให้กับผู้เรียนในแต่ละประเด็นการเรียนจนสามารถศึกษาหาคำตอบด้วยตนเองได้ ในขณะเดียวกันยังเป็นภูมิคุ้มกันที่สามารถป้องกันการหลงเชื่อข้อมูลใดๆที่ไม่สมด้วยเหตุผล และยังเป็นเวทีในการสร้างทักษะการแก้ปัญหาได้เช่นเดียวกับแนวทางของ PBL อีกด้วย ดังนั้นหากวางแผนในการใช้แนวทาง QBL เป็นโครงสร้างและเป็นแนวทางที่ผนวกอย่างใกล้ชิดและชัดเจนในกระบวนการการเรียน/การสอน การสร้างตำรา สื่อ และกิจกรรมต่างๆ โดยใช้แนวทางของ PBL และ IBL เป็นเครื่องมือเพื่อส่งเสริมให้เดินหน้าไปสู่ผลสัมฤิทธิของ QBL และนั่นคือผลสัมฤิทธิ์ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามคาดหวัง และนั่นคือคำตอบของคำถำมที่ว่ำ QBL คืออะไรสำหรับวิทยำลัยเทคโนโลยีสยำม
แหล่งอ้ำงอิง
1. Brym, R. J. Society in Question. Scarborough, ON.: Nelson College Indigenous, 2006.
2. Fosnot, C. T. Constructivism: Theory, Perspectives And Practice. New York, NY, Teacher Col-lege Press, 2005.
3. Savery, J. R. (2006). Overview of Problem-based Learning: Definitions and Distinctions. Inter-disciplinary Journal of Problem-based Learning, 1, 1, pp. 9-20.
4. Hmelo-Silver, C. E. (2004). Problem-Based Learning: What and How Do Students Learn? Edu-cational Psychology Review, 16, 3,pp. 235-266.
5. OĞUZ-ÜNVER, A, ARABACIOĞLU,S. (2011). Overviews on inquiry based and problem based learning methods. Western Anatolia Journal of Educational Sciences, 1, 1, pp. 303-309.
6. Banchi, H. & Bell, R. L. (2008). Simple strategies for evaluating and scaffolding inquiry. Science and Children, 45, 7, pp 28-31.
7. Einstein, A, Lawson, R. W. Relativity: The Special and the General Theory; A Popular Exposi-tion, New York, NY.: Crown Publishers, 1961.
8. Berger, W. A More Beautiful Question. New York NY.: Bloomsbury Publishing, 2014.
9. Carson, B. Gifted Hands. Hagerstown, MD.: Review and Herald Publishing, 2009.


                                                  แนวปฏิบัติการจัดกำรเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐาน
                                                               Question-Based Learning
                                                                      ฝ่ายวิชาการ
                                                            วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

    แนวปฏิบัติการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐาน(Question-Based Learning)
         วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม มีนโยบายจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ ให้นักศึกษาคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ฝึกให้นักศึกษาตั้งคำถามเป็น ทำไม อย่างไร เพื่อความสนใจในการเรียน และหาคำตอบด้วยตนเอง กระบวนการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐาน (Question-Based Learning : QBLเป็น )
         ขั้นตอนที่จะปลูกฝังให้ผู้เรียนเข้าถึงศาสตร์ต่างๆ ด้วยคำถาม โดยผู้สอนนำเทคนิคของ PBL (Problem-Based Learn-ingเสริมสร้างทักษะในการแก้ปัญหา )และการใช้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล จะ (มงคลวนิช บทความของพรพิสุทธิ์ )สามารถประกอบอาชีพได้ ทำให้ผู้เรียนมีภาวะผู้นำทางความคิดและการแก้ปัญหาเมื่อสำเร็จการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
        การใช้คำถามเป็นเทคนิคสำคัญในการเสาะแสวงหาความรู้ที่มีประสิทธิภาพ เป็นกลวิธีการสอนที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการคิด การตีความ การไตร่ตรอง การถ่ายทอดความคิด สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี การถามจึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ที่ช่วยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาความคิดใหม่ ๆ โดยกระบวนการถามจะช่วยขยายทักษะการคิด ทำความเข้าใจให้กระจ่าง ได้ข้อมูลป้อนกลับทั้งด้านการเรียนการสอน ก่อให้เกิดการทบทวน การเชื่อมโยงระหว่างความคิดต่างๆ ส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นและเกิดความท้าทาย โดยบทบาทผู้เรียน จะเรียนรู้จากการคิดเพื่อสร้างข้อคำถามและการหาคำตอบด้วยตนเอง

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐาน
   1.ผู้สอนควรจะมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า ขั้นวางแผนการใช้คำถาม ว่าจะใช้คำถามเพื่อวัตถุประสงค์ใด รูปแบบหรือประการใดที่จะสอดคล้องกับเนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ของบทเรียน
   2. ขั้นเตรียมคำถาม ผู้สอนควรจะเตรียมคำถามที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการสร้างคำถามอย่างมีหลักเกณฑ์
  3.ขั้นการใช้คำถาม ผู้สอนสามารถจะใช้คำถามในทุกขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และอาจจะสร้างคำถามใหม่ที่นอกเหนือจากคำถามที่เตรียมไว้ก็ได้ ทั้งนี้ต้องเหมาะสมกับเนื้อหาสาระและสถานการณ์นั้น ๆ
  4. ขั้นสรุปและประเมินผล
      4.1การสรุปบทเรียนผู้สอนอาจจะใช้คำถามเพื่อการสรุปบทเรียนให้นักศึกษาเข้าใจและตอบคำถามได้ ให้บรรลุผลการเรียนรู้
     4 .2การประเมินผล ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
เทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐาน
1.ทำบรรยากาศให้ดี เป็นมิตร และปลอดภัย
   - ระวังบรรยากาศคุกคาม
   - เริ่มต้นการสอน บอกวิธีการสอน อาจารย์จะใช้การสอนแบบใช้คำถามเพื่อให้ตอบ โดยให้เกียรติผู้เรียน เรียกชื่อนักศึกษาเพื่อสร้างความประทับใจให้นักศึกษาตั้งใจเรียน
  - ใช้ ASA (Attentive, Smile, Acknowledge) = มองหน้าตั้งใจฟัง ยิ้มน้อยๆ ชมเมื่อตอบถูก (เก่งมากค่ะ ดีมากค่ะ เห็นด้วยค่ะ)
  - เมื่อตอบผิด - ทำไมคิดอย่างนั้น แก้ concept ที่ถูกต้อง เพื่อให้นักศึกษาคิดใหม่ หาคำตอบที่ดีกว่าและให้กำลังใจสำหรับคำถามคำตอบต่อไป -ให้ความเข้าใจว่า คำตอบไม่เคยมีคำตอบเดียว อาจมีมากกว่า 1 คำตอบ -ให้คิดว่า ตอบผิด ดีกว่า ไม่ตอบ
2.เลือกคำถามที่ดีที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้
   - เลือกคำถามปลายเปิด เช่น ทำไม อย่างไร เพราะเหตุใด ให้นักศึกษาคิดคำตอบเอง
   - แนะแนวการคิด guide โดยใช้คำถามที่นักศึกษาจะต้องนำความรู้พื้นฐาน (Basic Knowledge) มาประยุกต์
3. ใช้เทคนิคให้ดี
   -ถามชัดเจน ไม่กำกวม
   -เลือกคำถามกว้างๆ ปลายเปิด ---ทำอย่างไร
   - ถามทีละ 1 คำถาม อย่าถามเป็นชุด
   -ให้เวลาคิด 10 วินาที
  - เทคนิค Pose – Pause – Pounce ตั้งคาถาม---- รอคำตอบ ---- ถ้าไม่ตอบ ถามระบุคน
คำถามที่ควรหลีกเลี่ยง
   -คำถาม ใช่ ไม่ใช่
   -คำถามกำกวม
   - คำถามให้เดา
  - คำถามชี้นำ
วิธีการตั้งคำถามแบบโซเครติก( Socratic Method)
  - เป็นวิธีสอนของนักปราชญ์ชาวกรีก ชื่อโซเครติส วิธีสอนแบบนี้ใช้การตั้งคำถามให้นักเรียนคิดหาคำตอบหรือตอบปัญหาด้วยตนเอง โดยครูจะกระตุ้นให้นักเรียนนึกถึงเรื่องต่างๆ ที่เคยเรียนแล้ว
 - คำถามของครูจะเป็นแนวทางให้นักเรียนคิดค้นหาความรู้ นักเรียนจะเรียนด้วยการพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง และเป็นการเสริมสร้างสติปัญญาให้ทุกคนรู้จักแสดงความคิดเห็น อภิปรายแล้วสรุปความคิดเห็นลงในแนวเดียวกัน วิธีสอนแบบนี้เหมาะสำหรับนักเรียนที่ชอบใช้ความคิดค้นคว้าหาความรู้ในสิ่งต่างๆ

Socratic questioning มี 6 แบบ
1. Tell me more: ขอความกระจ่าง
2. Probe assumption: ขอข้อสรุป
3. Reason ขอเหตุผล
4. View point & Perspectives ถามมุมมองแง่อื่นและแนวคิด
5. Implication & Consequence การนำไปใช้และคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น
6. คำถามที่ทำให้เกิดทักษะการคิด เป็นคำถามขั้นสูง

ประโยชน์ของการจัดการเรียนรู้โดยใช้คำถามเป็นฐาน
1. ผู้เรียนกับผู้สอนสื่อความหมายกันได้ดี
2 .ช่วยให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3 .สร้างแรงจูงใจและกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
4 .ช่วยเน้นและทบทวนประเด็นสำคัญของสาระการเรียนรู้ที่เรียน
5 .ช่วยในการประเมินผลการเรียนการสอน ให้เข้าใจความสนใจที่แท้จริงของผู้เรียน และวินิจฉัยจุดแข็งจุดอ่อนของผู้เรียนได้
6 .ช่วยสร้างลักษณะนิสัยการชอบคิดให้กับผู้เรียน ตลอดจนนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียนตลอดชีวิต

อ้างอิง
วันดี โตสุขศรี.Clinical Teaching: Questioning (การใช้คาถามในการสอนภาค คณะพยาบาลศาสตร์.)
มหาวิทยาลัย วิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์มหิดล พ.ศ.2553.
เว็บไซต์เพื่อการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์การจัดการเรียนรู้แบบใช้คาถาม. (Questioning Method).
[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/khunkrunong/n12 [สืบค้นเมื่อ 22สิงหาคม
2557]
พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช.นโยบายการจัดการเรียนการสอนโดยใช้คำถามเป็นฐาน (Question-Based Learning :
QBL) อธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, 2557.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น