วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อาจารย์กับศิษย์


 อาจารย์กับศิษย์
                       
             หน้าที่อาจารย์   มีห้าประกา ร
 หนึ่งแนะนำดี        ประพฤติให้ศิษย์  เห็นเป็นสักขี
 สองให้เรียนดี       ทั้งอ่านทั้งเขียน
 สามไม่อำพราง     ศิลปทุกอย่าง ที่ศิษย์อยากเรียน
สี่ยกย่องศิษย์         เก่งดีมีเพียร       
ห้าให้ศิษย์เรียน      รู้รักษาตน
เป็นศิษย์มีครู          ต้องกตัญญู  คุณครูทุกคน
หนึ่งเมื่อพบท่าน     ทุกแห่งทุกหน
ยืนน้อมเศียรตน      ยกมือวันทา
สองรับใช้ท่าน        เมื่อคราวมีงาน ให้ท่านหรรษา
สามท่านสอนสั่ง     เชื่อฟังวาจา อย่าได้โกรธา ถ้าท่านตักเตือน
สี่อยู่บ้านท่าน         ช่วยบริการ กวาดบ้านถูกเรือน
คอยดูแลท่าน         อย่าได้แชเชือน เที่ยวไปกับเพื่อน ผิดกาลเวลา
ห้าเวลาเรียน          ตั้งใจพากเพียร แต่ละวิชา ควรต้องจดจำ
ไว้เป็นตำรา            ภายหลังกังขา  ค้นหาง่ายดาย
ครูดีศิษย์ดี             สังคมไม่มี เรื่องยุ่งวุ่นวาย ศิษย์เชื่อฟังครู
จึงอยู่สบาย            ขออภิปราย  พอเข้าใจความ
  

วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บุคลิกภาพสู่ความสำเร็จ


บุคลิกภาพกับความสำเร็จ

             บุคลิกภาพเป็นส่วนสำคัญของมนุษย์ในการที่จะช่วยส่งเสริมหรือขัดขวางความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการเรียน การทำงาน การเข้าสังคม (โสภา ชูพิกุลชัย ชปีลมันน์, 2544) แม้ว่า ความรู้ความสามารถ เป็นสิ่งที่สำคัญ ที่สุดใน การทำงาน แต่ไม่ใช่หมด การยอมรับของสังคมนั้นต้องมี ส่วนประกอบ ที่สำคัญนั้นคือ บุคลิกภาพ (วรวรรณา จิลลานนท์, 2546) ดังนั้น บุคลิกภาพ จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่ง ที่ส่งผลและเกี่ยวข้องกับ การประสบความสำเร็จ
             สถาบันราชภัฏเทพสตรี (2543) ได้กล่าวถึงบุคลิกภาพของ "คนเก่ง” ว่าจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่
             1..เก่งตน หมายถึง เป็นผู้ที่ชอบศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทัน โลกทันคน โดยเริ่มจาก พัฒนาตนเอง ก่อน ประกอบด้วย
             - ทางกาย : รูปร่าง พัฒนาให้ดีขึ้นโดยใช้การแต่งกายช่วยลดหรือเสริมจุดเด่นจุดด้อย หน้าตาสด ชื่นแจ่มใส สะอาด เข้มแข็งแต่ไม่กระด้าง อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ
             - ทางวาจา : การพูดดีมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ พูดแต่ดี มีประโยชน์ ผู้ฟังชอบ และทุกคน ปลอดภัย คิดก่อนพูด
             - ทางใจ : มีความมั่นใจในตนเอง กระตือรือร้น มีความอดทน พยายาม มีเหตุผล การ มีสมรรถภาพ ในการจำ และมี ความคิดสร้างสรรค์
             2.เก่งคน หมายถึง มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
             3.เก่งงาน หมายถึง ผู้ที่รักงาน ขยันทำงาน และรู้วิธีทำงาน
             กิติมาพร ชูโชติ (2544) ได้กล่าวถึง ความสำคัญของบุคลิกภาพ ที่ส่งผลต่อ ความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคลิกภาพ ของบุคคลที่ จะเป็นผู้นำว่า "เป็นปัจจัยที่สำคัญในการบริหารที่จะทำให้องค์การทำงานสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ วิธีการบริหาร ของผู้นำ นั้นเกิดจาก พฤติกรรมส่วนตัว ของ ผู้นำเป็นสำคัญ ไม่ใช่เกิดจาก อำนาจที่เป็นทางการ และส่งผลให้ คนเชื่อและทำตามโดยได้เสนอแนะบุคลิกภาพของ "ผู้นำในอนาคตที่ต้องการประสบความสำเร็จว่า ต้องมี คุณลักษณะที่สำคัญ ประกอบด้วย
             1. ยืนหยัด คือ การที่ไม่ยอมเสียจุดยืน เสียความมั่นใจของตนเอง มีเหตุผลและการใช้วิจารณญาณของตนเอง
             2. ยืดหยุ่น คือ การรู้จักผ่อนปรนตามสถานการณ์เพื่อให้การปฏิบัติการบรรลุตามเป้าหมาย
             3. ยินยอม คือ การรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน ประนีประนอม
             4. ยิ้มแย้ม คือ สามารถยิ้มรับสถานการณ์ได้ทุกรูปแบบ แสดงอารมณ์อย่างเหมาะสม
             5. ยกย่อง คือ การรู้จักยกย่องผู้อื่นด้วยความจริงใจ
             อย่างไรก็ตาม ในทัศนะของ โสภา ชูพิกุลชัย ชปีลมันน์ (2544) บุคลิกภาพของผู้นำที่ได้รับการยอมรับนั้น จะประกอบด้วย องค์ประกอบอยู่ 3 ประการ อันได้แก่
             1. องค์ประกอบทางสรีระ ได้แก่ ลักษณะรูปร่าง น้ำหนัก ส่วนสูง และความแข็งแรงของร่างกาย แม้ว่าความสัมพันธ์ของ องค์ประกอบ ทางสรีระ และความเป็นผู้นำจะผันแปรไปตามลักษณะของกลุ่มแต่ละกลุ่ม แต่ส่วนใหญ่แล้ว คนทั่วไปมักนิยมชื่นชอบผู้นำที่มีรูปร่างสมส่วน และมีความเข้มแข็งด้านร่างกายและจิตใจ แม้ว่าจะมีผลการศึกษาหลายชิ้นที่สนับสนุนความเชื่อที่ว่า หน้าตาที่หล่อ/สวย นั้นมี ความสัมพันธ์กับ ความสำเร็จในการงาน แต่จากการศึกษาของ วันชัย อริยะพุทธิพงศ์ (2545) ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็น ศิษย์เก่าจาก มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง กลับพบว่า หน้าที่ตาหล่อ/สวยไม่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการงาน
           2. องค์ประกอบด้านสติปัญญา หมายถึง
             (1) ความสามารถในการปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงตนเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือปัญหาที่เผชิญอยู่
             (2) ความสามารถในการศึกษาหรือการเรียนรู้ และ
             (3) ความสามารถในการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม ซึ่งหากผู้นำมีระดับสติปัญญาในระดับปกติหรือระดับฉลาดก็มีแนวโน้มว่า ความเป็นผู้นำนั้น จะประสบความสำเร็จหรือมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
          3. องค์ประกอบทางอารมณ์ ได้แก่ ความสามารถทางอารมณ์ (Emotional Intelligence Competencies) หรือ เชาว์อารมณ์(Emotional Quotient : EQ) หมายถึง ความสามารถในการตระหนัก รู้ถึงความรู้สึกของตนเอง และของผู้อื่น เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับตนเอง บริหารจัดการอารมณ์ของตนเองและของผู้อื่น
             จะเห็นได้ว่า บุคลิกภาพเพื่อความสำเร็จนั้น จะประกอบด้วยองค์ประกอบ หรือ คุณลักษณะหลายประการ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยเอื้อต่อ การประสบความสำเร็จ แต่ในยุคแห่งการแข่งขันในปัจจุบันสุภกิจ โสทัต (2540) กลับเชื่อว่า ความรู้และ ความเฉลียวฉลาด ของบุคคลนั้น มีความสำคัญน้อยกว่า ความมุ่งหวังตั้งใจเด็ดเดี่ยว แน่นอนและมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวางจุดมุ่งหมายที่แน่นอนในชีวิต เพราะ "บุคคลที่ขาดจุดหมายก็คือคนที่ขาดหลักสำหรับยึดเหนี่ยว ยิ่งในยุดที่ "ใครแข็งใครอยู่แล้ว คนที่อ่อนแอ จะถูกผลักให้ถอยไปข้างหลัง รวมทั้งคนที่ตั้งใจทำอะไรเพียง ครึ่ง ๆ กลาง ๆ ก็จะไม่มีวันก้าวไปสู่ความสำเร็จได้เลย
             นอกจากนั้น วรวรรณา จิลลานนท์ (2546) ยังมีข้อแนะนำเบื้องต้นสำหรับ "คนทำงานรุ่นใหม่” คือ การทำความเข้าใจเรื่องของ "กาลเทศะ” และ"มารยาททางสังคม” เนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการยอมรับทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่กำลังจะสมัครงาน จะต้องปรับเปลี่ยน หรือเสริมสร้าง"บุคลิกภาพใหม่” ดังกล่าวให้เหมาะสม เพื่อความได้เปรียบและเสริมสร้างโอกาสใน การทำงานและความสำเร็จต่อไป
             จอร์จ กาลอป จูเนียร์ เขียนไว้ในหนังสือ "เรื่องราวความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของชาวอเมริกันซึ่งข้อมูลได้มาจาก การสำรวจ ชาวอเมริกันกว่า 1,500 คนว่า ลักษณะของผู้ที่ประสบความสำเร็จนั้นส่วนใหญ่มีลักษณะดังนี้
             1.มีสามัญสำนึกที่ดี การตัดสินใจจะใช้ดุลยพินิจบนพื้นฐานสามัญสำนึกที่ดี สามารถ แยกแยะปัญหา ที่ซับซ้อน ให้เป็น รูปแบบ ที่เข้าใจง่ายที่สุด
             2.มีความรู้ลึกซึ้งในงานของตนเอง เป็นผลจากการใฝ่เรียนใฝ่รู้ตลอดชีวิต คนเหล่านี้จะ"ทำการบ้านอยู่เสมอซึ่งช่วยลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นได้มากทีเดียว
             3.พึ่งพาตนเอง
             4.มีสติปัญญา มีความสามารถในการอ่าน การคิด และการเขียนเป็นอย่างดี
             5.มีความสามารถที่จะทำงานให้บรรลุผล ผู้ประสบความสำเร็จมักจะขยันทำงานหนักกว่าใคร มีความสามารถ ใน การจัดการ รู้จักแยกแยะว่า อะไรสำคัญ หรือ ไม่สำคัญ
             6.มีภาวะผู้นำ รู้จักใช้ศิลปะการจูงใจคน ไม่ใช่ใช้อำนาจข่มขู่
             7.รู้จักแยกแยะสิ่งผิดกับสิ่งถูก มีคุณธรรมและความยุติธรรม ดำรงตนอยู่ในครรลองของศีลธรรม
             8.มีความคิดสร้างสรรค์ แต่ก็ไม่สำคัญเท่ากับ การรู้จักนำความคิด นั้นมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
             9.มีความมั่นใจในตัวเอง รู้ว่าตนสามารถทำในสิ่งที่เป็นไปได้ให้บังเกิดผลสำเร็จ
             10.รู้วิธีสื่อสารเจรจา สามารถสื่อความให้ทุกคนเข้าใจและยอมรับได้ แม้กระทั่งต่อหน้าผู้คนจำนวนมาก
             11.เห็นใจคนอื่น การเห็นใจคนอื่นจะทำให้เขาเข้ากับใครๆ ได้ง่าย
             12.โชคช่วย เก่งอย่างเดียวอาจไม่พอ ต้องมีโชคช่วยด้วยจึงจะประสบความสำเร็จ
สำหรับประเทศไทยนั้น จากการศึกษาของ ชูชัย สมิทธิไกร (2545) เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะบุคลิกภาพ กับความสำเร็จใน การทำงานของบุคคล ที่มีอาชีพต่างกัน 7 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ เภสัชกร ครู พนักงานธนาคาร พนักงานโรงแรม ทันตแพทย์ พนักงานขาย และเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ พบว่า ความสำเร็จในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวก กับบุคลิกภาพ ด้านความรับผิดชอบ ด้านการเปิดเผยตัวเอง ด้านความเข้าใจผู้อื่น และด้านการเปิดรับประสบการณ์ นอกจากนั้นยังพบว่า ความรับผิดชอบเป็น บุคลิกภาพด้านเดียว ที่สามารถทำนายความสำเร็จในการทำงานของบุคคลทุกอาชีพ ทุกระดับอายุการทำงานและทุกเพศ

             อย่างไรก็ตาม ในโลกเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ สังคมโลกที่ก้าวไปสู่ สังคมแห่งความรู้ (Knowledge-based Society) นั้น นภางค์ คงเศรษฐกุล (2546) ได้กล่าวถึงบุคลิกภาพของบุคคล ที่จะสามารถอยู่รอด และประสบความสำเร็จนั้น จะต้องเป็น ”บุคคลที่เรียนรู้ (Learning Person)” มีทักษะในการศึกษา ค้นคว้า และสร้างความรู้ด้วยตนเอง พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง อันนำไปสู่ความเป็น "บุคคลที่รอบรู้ (Personal Mastery)” ที่มีระบบคิดที่แตกต่างไปจากแนวคิดเดิม ๆ (Divergently) สามารถตั้งข้อสงสัยกับสิ่ง ต่าง ๆ เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ สร้างกรอบแนวคิดใหม่ต่อปัญหาที่เกิดขึ้น นำไปสู่การเรียนรู้ที่สามารถขยายหรือเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานให้สูงขึ้นต่อไป 

การเลือกเสื้อผ้าให้เข้ากับสีผิว


วิธีการเลือกเสื้อผ้าให้เข้ากับสีผิว

 ผิวอมชมพู: สีผิวแบบนี้จะส่งผลให้เจ้าของผิวดูเปล่งปลั่ง และดูมีสุขภาพดีกว่าสีผิวอื่นๆ ฉะนั้นเสื้อผ้าที่เลือกใส่ควรเลือกเป็นโทนที่อ่อนๆ สดใสๆ อย่างสีฟ้าอมเขียว สีฟ้าอ่อน โกโก้ สีชมพูอ่อน สีส้ม เป็นต้น เพราะโทนสีเหล่านี้จะช่วยทำให้สีผิวของคุณดูเด่นกว่าคนอื่นๆ
 ผิวขาวอมเหลือง: สาวที่มีผิวขาวมากนั้นถือว่าค่อนข้างโชคดี เหมือนสาวผิวอมชมพู เพราะสามารถเลือกโทนสีๆหนๆ มาส่วมใส่ก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นสีแดง สีเขียว สีฟ้า สีชมพู เป็นต้น
 ผิวขาวซีด: สีผิวที่ขาวจนเกินไปจนแลดูเหมือนสุขภาพไม่แข็งแรงนัก ควรเลือกสีที่มีโทนค่อนข้างเข็ม หรือหม่นสักเล็กน้อยเพื่อขับสีผิวให้ดูเข้มขึ้นเล็กน้อย เช่น สีแดงเข้ม สีเหลืองอมน้ำตาล สีน้ำตาลไหม้ หรือสีเขียวเข้ม เป็นต้น
 ผิวสองสี หรือผิวสีน้ำผึ้ง: สาวผิวสีนี้ค่อนข้างดูเซ็กซี่มีเสน่ห์อยู่ในตัว การเลือกเสื้อผ้าที่เหมาะสมจึงควร เลือกเสื้อผ้าที่มีสีค่อนข้างอ่อน โดยเฉพาะสีผสมต่างๆ ที่ดูไม่ร้อนแรงหรือเย็นตาจนเกินไป เช่น สีน้ำตาลอมแดง สีเขียวอมฟ้า สีชมพูอมส้ม สีเลือดนก สีชมพูหม่น เป็นต้น
 ผิวสีคล้ำ ดำ แทน: ควรเลือกใส่เสื้อผ้าสีโทนกลางๆ ไม่อ่อนจนเกินไปและไม่สดเกินไป หรือเลือกเฉดสีที่ค่อนข้างเข้มก็ดี เช่น สีกรมท่า สีน้ำตาลเข้ม สีฟ้า สีม่วง สีเทา สีเขียวเข้ม เพราะสีเสื้อโทนนี้สามารถทำให้ผิวของคุณ ดูกลมกลืนกับเสื้อผ้า และยังทำให้คุณดูขาวขึ้น กว่าการใส่เสื้อที่มีสีสันสดๆ ด้วยนะ
ใครมีสีผิวแบบไหน เลือกสีเสื้อผ้าให้เข้ากับสีผิวนะ:ที่มาจากหอสมุดแห่งชาติ)

หลักคุณธรรม จริยธธรรม ศีลธรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพ


หลักคุณธรรม จริยธธรรม ศีลธรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพ*


คุณธรรม (Moral Principles)

           คุณธรรม คือ ความดีงามในจิตใจที่ทำให้บุคคลประพฤติดี ผู้มีคุณธรรมเป็นผู้มีความเคยชินใน การประพฤติดีด้วยความรู้สึกในทางดีงาม คุณธรรมเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับกิเลสซึ่งเป็นความไม่ดีในจิตใจ ผู้มีคุณธรรมจึงเป็นผู้ที่ไม่มาก ด้วยกิเลสซึ่งจะได้รับการยกย่องว่าเป็นคนดี
           คุณธรรมตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อกล่าวถึงคุณธรรมโดยทั่วไปจะระบุชื่อคุณธรรมว่าความละอายแก่ใจ ความเมตตากรุณา ความหวังดี ความซื่อสัตย์สุจริต ความเห็นอกเห็นใจ ความจริงใจ ความยุติธรรม ความเที่ยงตรง ความเสียสละ ความสามัคคี ความอดทน ความอดกลั้น ความขยัน การให้อภัย ความเกรงใจและอื่น ๆ การฝึกฝน และปฏิบัติตนให้มีคุณธรรม ไม่จำเป็น    ต้องพะวงในการเรียกชื่อคุณธรรม เพราะเป็นสิ่งที่ดีที่ทุกคนสามารถยึดถือปฏิบัติได้โดยไม่ต้องคำนึงว่า      เป็นของลัทธิใด การฝึกฝนคุณธรรมควรฝึกตาม ความต้องการและสภาพแวดล้อม ประเทศไทยในสมัย   ปัจจุบันกำลังมุ่งปลูกผังคุณธรรมสำหรับประชาชน ๔ ประการ เพื่อความร่มเย็นของชาติบ้านเมืองตาม        พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้
           ๑. การรักษาความสัตย์ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็น ประโยชน์และเป็นธรรม
          
๒. การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ความดีนั้น
         
๓. การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริตไม่ว่าจะด้วยประการใด
         
๔. การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
           คุณธรรมตามแนวคิดของอริสโตเติล อริสโตเติลนักปราชญ์ชาวกรีก ได้ให้แนวทางของคุณธรรมหลัก ๆ ไว้ ๔ ประการ คือ
                      ๑. ความรอบคอบ คือ รู้ว่าอะไรควรประพฤติปฏิบัติ อะไรไม่ควรประพฤติปฏิบัติ
                      
๒. ความกล้าหาญ คือ ความกล้าเผชิญต่อความเป็นจริง
                      
๓. การรู้จักประมาณ คือ รู้จักควบคุมความต้องการและการกระทำให้เหมาะสมกับสภาพและฐานะของตน
                      
๔. ความยุติธรรม คือ การให้แก่ทุกคนตามความเหมาะสม
           การพัฒนาบุคคลด้วยคุณธรรมต้องฝึกฝนให้มีความรู้สึกตระหนักว่าอะไรดี อะไรควร อะไรไม่ควร อะไรไม่ดี และปฏิบัติแต่ในทางที่ถูกที่ควรให้เป็นปกติวิสัย การพัฒนาในสิ่งดังกล่าวควรใช้สิ่งโน้มนำให้มีคุณธรรมสูง มีความระลึกได้ว่าอะไรไม่ควร และความรู้สึกตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ ผู้หวังความสงบสุขความเจริญและความมั่นคงแก่ตนเองและประเทศชาติ ต้องฝึกฝนตนเองให้มีคุณธรรม คุณธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากสำหรับบุคลากรที่พึงประสงค์ขององค์การ องค์การควรให้การส่งเสริมสนับสนุนและชักจูงให้บุคลากรขององค์การสนใจคุณธรรมและพร้อมปฏิบัติกับชีวิตการทำงานของตนเอ'


จริยธรรม (Ethics)
           จริยธรรม เป็นสิ่งที่ควรประพฤติ มีที่มาจากบทบัญญัติหรือคำสั่งสอนของศาสนา หรือใครก็ได้ที่เป็นผู้มีจริยธรรม และได้รับความเคารพนับถือมาแล้ว
           ลักษณะของผู้มีจริยธรรม ผู้มีจริยธรรมจะเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะดังนี้
                      ๑. เป็นผู้ที่มีความเพียรความพยายามประกอบความดี ละอายต่อการปฏิบัติชั่ว
                      ๒. เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม และมีเมตตากรุณา
                      ๓. เป็นผู้มีสติปัญญา รู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่ประมาท
                      ๔. เป็นผู้ใฝ่หาความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ เพื่อความมั่นคง
                      ๕. เป็นผู้ที่รัฐสามารถอาศัยเป็นแกนหรือฐานให้กับสังคม สำหรับการพัฒนาใด ๆ ได้
           แนวทางการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมที่กำหนดโดยรัฐบาล จากคุณสมบัติของผู้มีจริยธรรมดังกล่าว แสดงถึงความเป็นคนมีคุณภาพ มีภาวะความเป็นผู้นำ อันเป็นที่ต้องการขององค์การและสังคมทุกระดับ รัฐบาลไทยได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพของประชาชนในด้านจริยธรรมและคุณธรรมในสังคม จึงได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ ๘ โดยเน้นการพัฒนาจิตใจในลักษณะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน ซึ่งผลที่ปรากฏในปัจจุบันก็คือ มีการเผยแผ่ธรรมะทางสื่อต่าง ๆ มากมาย วัดวาอารามก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมส่วนช่วยในการอบรมสั่งสอนด้วย จริยธรรมเป็นจริยสมบัติ หน่วยงานต่าง ๆ ก็ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี คนไทยวัยหนุ่มสาวและเยาวชนได้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก จากที่เห็นได้จากสื่อและข่าวต่าง ๆ เนื่องจากจริยธรรมเป็นคุณสมบุติที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการวัดคุณภาพของคน ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชากรทั้งประเทศ รัฐบาลจึงได้กำหนดแนวทางการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมไว้ดังนี้
                      ๑. พัฒนาจิตใจประชากรกลุ่มเป้าหมาย โดยให้ผู้นำแต่ละกลุ่มเป็นผู้บริหารเปลี่ยนแปลง
                      ๒. ให้สถาบันของสังคมและครอบครัวทำหน้าที่อันถูกต้อง ชอบธรรมของตนเอง แก้ไขข้อบกพร่องโดยรีบด่วน
                      ๓. บรรจุการพัฒนาจิตใจในหลักสูตร การฝึกอบรมทุกหลักสูตร และให้ดำเนินการพัฒนาต่อเนื่องต่อไป
                      ๔. ให้มีการพัฒนาวิธีปลูกฝัง อบรม สั่งสอนศีลธรรม จริยธรรม ตามความเหมาะสมของกลุ่มเป้าหมายให้เป็นที่น่าสนใจ
                      ๕. สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมของสังคมอันได้แก่ศิลปะ วัฒนธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ถูกต้องดีงามตามหลักศีลธรรมและจริยธรรม
           นอกจากการพัฒนาของรัฐบาลดังกล่าว องค์การควรได้ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรขององค์การในวิธีเดียวกันในองค์การอีกแห่งหนึ่ง เพื่อให้บุคลากรขององค์การเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่พึงประสงค์ขององค์การและประเทศชาติโดยแท้จริง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยวิธีดังกล่าวอาจเป็นส่วนหนึ่งสำหรับการพัฒนาองค์การ ที่สำคัญก็คือองค์การควรให้มีการสร้างบรรยากาศหรือสภาวะแวดล้อมในการทำงานให้ดีด้วย ดังเช่นไม่ให้คนมีงานทำมากเกินไป หรือน้อยเกินไป การพิจารณาความดีความชอบให้มีความยุติธรรม และส่งเสริมด้วยมนุษยสัมพันธ์ภายในองค์การด้วย ซึ่งบรรยากาศที่ดีจะช่วยการพัฒนาจิตใจ ในด้านสถาบันการศึกษาก็ควรได้มีการบรรจุหลักคุณธรรมไว้ในหลักสูตร เพื่อเป็นการพัฒนาและให้การศึกษากับคนทั้งชาติ เพื่อการพัฒนาจิตใจของคนในชาติให้มีคุณภาพ


ศีลธรรม (Morality)
           ศีลธรรม มีความหมายคล้ายกันกับจริยธรรม คือเป็นเรื่องของความควรไม่ควรของพฤติกรรม ซึ่งเป็นเรื่องของมาตรฐานแห่งความประพฤติของบุคคล ศีลธรรมมีความโน้มเอียงที่จะเกี่ยวข้องกับทางศาสนาหรืออำนาจศักดิ์สิทธิ์ ส่วนจริยธรรมเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับมนุษยธรรมอันเป็นหลักปฏิบัติที่ถือว่าดีอยู่ในตัวเอง ศีลธรรมของทุกศาสนาเป็นข้อดีสำหรับยึดถือปฏิบัติทั้งสิ้น ศีลธรรมจึงเป็นคุณธรรม ศาสนาแต่ละศาสนาได้ระบุคุณธรรมและชื่อกิเลสไว้มากมาย ผู้ที่มีศีลธรรมก็คือผู้ที่มีคุณธรรม
           คุณธรรมที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดคุณธรรมไว้ประกอบ ที่ถือว่าเป็นมิตรที่ดีงามของคนทั่วไปเรียกว่ากัลยาณมิตร คือ
                      ๑. เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อมั่นในสิ่งที่ควรเชื่อ
                      ๒. เป็นผู้มีศีล ประพฤติดี ประพฤติชอบ ไม่ทำชั่ว
                      ๓. เป็นผู้มีการศึกษาอบรมดี
                      ๔. เป็นผู้มีการสละให้ปัน
                      ๕. เป็นผู้มีสติ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
                      ๖. เป็นผู้มีความเพียร
                      ๗. เป็นผู้มีสมาธิ มีจิตใจมั่นคง
                      ๘. เป็นผู้มีปัญญา หยั่งรู้ว่าสิ่งใดดี ไม่ดี
            การพัฒนาด้วยศีลธรรมรัฐได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาทางจิตใจของประชากรจนได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ ดังที่กล่าวมาแล้วในเรื่องการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม การพัฒนาด้านศีลธรรมนอกจากจะเป็นหน้าที่ของสถาบันทางสังคมแล้ว ยังเป็นหน้าที่ขององค์การที่จะให้การสนับสนุน อบรมและสร้างบรรยากาศให้บุคลากรได้รับการพัฒนาทางด้านจิตใจให้เป็นผู้ที่มีศีลธรรมประจำใจ จะทำอะไรจะได้ยึดศีลธรรมเป็นหลักในการตัดสินใจ การที่บุคคลในองค์การ มีคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรมประจำใจอยู่ในตัวจะมีผลให้บุคคลนั้นเป็นบุคคลที่มีบุคลิกภาพดีรู้จักตนเองมีความพร้อมและรู้จักที่จะพัฒนาบุคลิกภาพของตนเองเป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นผลทำให้ทรัพยากรมนุษย์ของชาติได้รับการพัฒนาโดยส่วนรวม ซึ่งจะทำให้เกิดความผาสุกขึ้นในสังคมไทยอันเป็นที่รักของเราทุกคน     (ที่มา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย   วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงบวรนิเวศ ถนนพระสุเมรุ เขตพระนครกรุงเทพฯ 10200)

วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

รายละเอียดของรายวิชาพัฒนาบุคลิกภาพ ( มคอ.3)


ชื่อสถาบันอุดมศึกษา       วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
วิทยาเขต/คณะ/สาขาวิชา
ทุกคณะ/สาขาวิชาและหลักสูตร   ณ  วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม บางกอกใหญ่  กรุงเทพมหานคร
หมวดที่ ๑ ข้อมูลโดยทั่วไป
. รหัสและชื่อรายวิชา         ๙๐๕-๑๐๓       การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality  Development)
. จำนวนหน่วยกิต            ๓ หน่วยกิต (--)
. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
คณะ   บัญชีบัณฑิต,บริหารธุรกิจบัณฑิต,เทคโนโลยีบัณฑิต
สาขาวิชา การบัญชี,คอมพิวเตอร์ธุรกิจ,เทคโนโลยียานยนต์,เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์,เทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์,เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน  กิจสดายุทต์  สังข์ทอง
. ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน                                      - ภาคการศึกษาที่  ๑  ชั้นปีที่   
. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) (ถ้ามี)     -ไม่มี
. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites) (ถ้ามี) -ไม่มี
. สถานที่เรียน     วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด  -ไม่มี

หมวดที่ ๒ จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาถึงบุคลิกภาพทั้งภายในและภายนอก ในด้านลักษณะนิสัยส่วนตัว การวางตัวอย่างเหมาะสม การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ มารยาททางสังคมวัฒนธรรม และประเพณีไทย วิธีการบำรุงรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจ การดูแลร่างกายส่วนต่าง ๆ การแต่งกายที่เหมาะสม กิริยาท่าทาง ตลอดจนฝึกทักษะการพูดเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพที่ดี
. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
. เพื่อให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของบุคลิกภาพและมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการพัฒนาบุคลิกภาพทุกๆ ด้าน
. เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ต่าง ๆ จากการเรียนไปพัฒนาบุคลิกภาพของตนเอง
. เพื่อให้นักศึกษาเกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนาบุคลิกภาพในทางที่ดีขึ้น
หมวดที่ ๓ ลักษณะและการดำเนินการ
๑.      คำอธิบายรายวิชา                    
        ความหมายและความสำคัญของการพัฒนาบุคลิกภาพ ทฤษฎีทางจิตวิทยาเกี่ยวกับการพัฒนาและการประเมินบุคลิกภาพ สุขภาพจิตและการปรับตัว การพัฒนาบุคลิกภาพด้านการแต่งกาย การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การคิดสร้างสรรค์ มารยาททางสังคม ความฉลาดทางอารมณ์ การเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ ความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
        Concepts and importance of personality development, psychological theories of personality development and personality assessment, mental health and adjustment, Personality development in clothing, language for communication, creativity, social etiquette, emotional quotient, human relations, Leadership and followership
. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
บรรยาย
สอนเสริม
การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน
การศึกษาด้วยตนเอง
๔๘ ชั่วโมง
สอนเสริมตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะราย
-
๖ ชั่วโมง/สัปดาห์
. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซด์
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ ๑ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
หมวดที่ ๔ การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา
. คุณธรรม จริยธรรม
.๑ คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
พัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่นและเป็น ประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยผู้เรียนต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม เพื่อให้นักศึกษา สามารถ พัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับการพัฒนาบุคลิกภาพ โดยมีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
() ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
() มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
()มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามสามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
() เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
() เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
.๒ วิธีการสอน
·       บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคุณภาพ
·       อภิปรายกลุ่ม
·       กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง
·       บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง
.๓ วิธีการประเมินผล
·       พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
·       มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
·       ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
·       ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
. ความรู้
.๑ ความรู้ที่ต้องได้รับ
ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับบุคลิกภาพ การพัฒนาลักษณะนิสัยและมนุษย์สัมพันธ์ การเสริมสร้างสุขภาพอนามัย มารยาททางสังคม อิริยาบถ การดูแลรูปลักษณ์ การแต่งกาย การพูดต่อชุมชน และการพูดในโอกาสต่าง ๆ การปรับปรุงและเทคนิคการพัฒนาบุคลิกภาพ
.๒ วิธีการสอน
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าข่าว บทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยให้แก้ปัญหา และโครงงาน Problem Base Learning และ Student Center เน้นผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลาง
.๓ วิธีการประเมินผล
·       ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี
·       นำเสนอสรุปการอ่านจากการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
·       วิเคราะห์กรณีศึกษา
. ทักษะทางปัญญา
.๑ ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพ
.๒ วิธีการสอน
·       การมอบหมายให้นักศึกษาทำ และนำเสนอ
·       อภิปรายเดียว/กลุ่ม
·       วิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับบุคลิกภาพบุคคลสำคัญของไทยในปัจจุบัน
·       การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
.๓ วิธีการประเมินผล
สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ
. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
.๑ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
·       พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างนิสิตด้วยกัน
·       พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
·       พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
.๒ วิธีการสอน
·       จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
·       มอบหมายงานรายกลุ่ม และรายบุคคล หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
·       การนำเสนอรายงาน
     ๔.๓ วิธีการประเมินผล
- ประเมินตนเอง และนักศึกษาด้วยกัน ด้วยรูปแบบที่กำหนด
- รายงานนำเสนอพฤติกรรมกลุ่ม
- บันทึกผลการศึกษาด้วยตนเอง


. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
.๑ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
·       พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
·       พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
·       พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
·       ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งงานทาง E-mail การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ
·       ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
.๒ วิธีการสอน
·       มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก website สื่อการสอน e-learning และทำรายงาน โดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
·       นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
.๓ วิธีการประเมินผล
·       การจัดทำรายงาน และนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
·       การมีส่วนร่วมในการอภิปราย
หมวดที่ ๕ แผนการสอนและการประเมินผล
. แผนการสอน
สัปดาห์ที่
หัวข้อ/รายละเอียด
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียน การสอน สื่อที่ใช้ (ถ้ามี)
ผู้สอน


บทที่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบุคลิกภาพ
- ความหมายของบุคลิกภาพ
- ลักษณะทั่วไปของบุคลิกภาพ
- ขอบข่ายของบุคลิกภาพ
- ประโยชน์หรือความสำคัญของการเรียนรู้บุคลิกภาพ
- องค์ประกอบและโครงสร้างของบุคลิกภาพ
- การพิจารณาบุคลิกภาพ
- การเรียนรู้ทางสังคมและการพัฒนาบุคลิกภาพ
- อิทธิพลที่มีต่อการพัฒนาบุคลิกภาพ


บรรยาย ยกตัวอย่างประกอบ อภิปรายกลุ่มจากกรณีศึกษา

บรรยาย ยกตัวอย่างประกอบ อภิปรายกลุ่มจากกรณีศึกษา
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง



อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง





บทที่ การพัฒนาลักษณะนิสัยและมนุษย์สัมพันธ์
- ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อลักษณะนิสัย
- แนวทางสำหรับการสร้างทัศนคติที่ดี
- วิธีสร้างเสริมอุปนิสัย
- แนวทางการสร้างมนุษยสัมพันธ์
- การวางตัวที่เหมาะสมตามสถานภาพในสังคม
บรรยาย ยกตัวอย่างประกอบ อภิปรายกลุ่มจากกรณีศึกษา
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
บทที่ การเสริมสร้างสุขภาพจิตและการปรับตัว
-ความหมายและความสำคัญของสุขภาพกายและใจ
-การสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพใจเพื่อบุคลิกภาพที่ดี
-การปรับตัว
บรรยาย ยกตัวอย่างประกอบ อภิปรายกลุ่มจากกรณีศึกษา
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
.
(ทดสอบย่อย และบรรยาย)
บทที่ ๔ การแต่งกาย
- มารยาทในการแต่งกาย
- การแต่งกายให้เหมาะสมกับโอกาส
- การใช้เครื่องประดับ
บรรยาย ศึกษากรณีศึกษา อภิปราย
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
บทที่ ๕ มารยาททางสังคม
- ความหมายและความสำคัญของมารยาท
- มารยาททางวาจา
- มารยาทในการแนะนำ
บรรยาย ศึกษากรณีศึกษา อภิปราย
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
บทที่ ๕ มารยาททางสังคม (ต่อ)
- มารยาทในการแสดงความเคารพ
- มารยาทในการไปพบผู้ใหญ่
- มารยาทในสถานที่และโอกาสต่างๆ

-บรรยาย
- ศึกษากรณีศึกษา
 -อภิปราย
-งานมอบหมายPresent หน้าชั้นเรียน
พร้อมทำReportส่ง
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
สอบกลางภาค          (บทที่ 1-5)
บทที่ ความฉลาดทางอารมณ์และความคิดสร้างสรรค์
-อีคิวคืออะไร
-องค์กรต้องการบุคคลากร
-กลยุทธ์ในการเสริมสร้าง(EQ)
-แนวทางก้าวไกลในงาน
-ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
-ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
-บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ (Creative Person)
-ผลผลิตสร้างสรรค์ (Creative Product)
-เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
บรรยาย ศึกษากรณีศึกษา อภิปราย ตัวอย่าง
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
๑๐
บทที่ ๗    การดูแลรูปลักษณ์
- เส้นผมเสริมบุคลิกภาพ
- ผิวพรรณดีมีผลต่อบุคลิกภาพ
- ดวงตาคือจุดเด่นของใบหน้า
- การดูแลรักษาปากและฟัน
- การบำรุงรักษามือและเล็บ
- ขาและเท้าที่ดูดี
บรรยาย ศึกษากรณีศึกษา อภิปราย ตัวอย่าง
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
๑๑
(ทดสอบย่อย และบรรยาย)
บทที่ ๘ ความเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี
-ภาวะผู้นำ
-ผู้นำที่ดี
-ผู้ตามที่ดี
บรรยาย ศึกษากรณีศึกษา อภิปราย ตัวอย่าง
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
๑๒
บทที่ ๙ ทฤษฎีบุคลิกภาพและการวัดบุคลิกภาพ
- ประเภททฤษฏีบุคลิกภาพแบบ
- ทฤษฎีบุคลิกภาพเกี่ยวกับลักษณะนิสัย
- พัฒนาการของบุคลิกภาพ
- ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง
- การวัดบุคลิกภาพ
บรรยาย กรณีศึกษา อภิปราย ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัญหา อภิ ปราย การวิเคราะห์ประเด็นจากสถานการณ์จริง
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
๑๓
บทที่  ๙  การวัดบุคลิกภาพ (ต่อ)
- ประโยชน์ของการวัดบุคลิกภาพ
- อุปสรรคของการประเมินบุคลิกภาพ
- ลักษณะของบุคลิกภาพที่สามารถวัดได้
- มาตรกรรมของบุคลิกภาพ
- กลวิธีในการวัดบุคลิกภาพ
บรรยาย ศึกษากรณี ศึกษา
อภิปราย ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัญหา อภิ ปราย การวิเคราะห์ประเด็นจากสถานการณ์จริง
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
๑๔
บรรยายบทที่  ๙  การวัดบุคลิกภาพ (ต่อ)
- การทดสอบและแบบทดสอบบุคลิกภาพ
- บุคลิกภาพกายและสุขภาพจิต
- บุคลิกภาพกับความสำเร็จ
- การเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพ
บรรยาย ศึกษากรณี ศึกษา
อภิปราย ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัญหา อภิ ปราย การวิเคราะห์ประเด็นจากสถานการณ์จริง
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง

อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
๑๕
บทที่ ๑๐ การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
-หลักการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
-ภาษา
-คำ/ความหมายของคำ
 บรรยาย
กรณี ศึกษา
อภิปราย ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัญหา
ถาม-ตอบ
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
๑๖
    สอบปลายภาค       (บทที6-10)

แผนการประเมินผลการเรียนรู้
ที่
วิธีการประเมิน
สัปดาห์ที่ประเมิน
สัดส่วนของการประเมินผล
สอบกลางภาค
สอบปลายภาค
๑๖
๓๐%
๓๐%
วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้า การนำเสนอรายงาน
การทำงานเดียว/กลุ่มและผลงาน
การอ่านและสรุปบทความ
การส่งงานตามที่มอบหมาย
ทดสอบเก็บคะแนน
ตลอดภาคการศึกษา
๓๐%
การเข้าชั้นเรียน ,การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน
ตลอดภาคการศึกษา
๑๐%


หมวดที่ ๖ ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
. เอกสารและตำราหลัก
-กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์. ผศ. บุคลิกภาพและการปรับตัว. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ๒๕๕๒.
-ฉันทนิช อัศวนนท์. ปบ.กศ.. เทคนิคและการพัฒนาบุคลิกภาพ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, ๒๕๕๒.
-พิมลวรรณ เชื้อบางแก้ว. ผศ. การพัฒนาบุคลิกภาพ กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ๒๕๕๒.
-ฤดี หลิมไพโรจน์. ผศ. การพัฒนาบุคลิกภาพ กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ๒๕๕๒.
-สถิต วงศ์สวรรค์ รศ. การพัฒนาบุคลิกภาพ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัทธเนศวร พริ้นติ้ง (๑๙๙๙) จำกัด, ๒๕๔๘.
. เอกสารและข้อมูลสำคัญ   - ไม่มี
. เอกสารและข้อมูลแนะนำ  -เอกสารประกอบการสอนวิชาการพัฒนาบุคลิกภาพ

หมวดที่ ๗ การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา
. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
·       การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและนักศึกษา
·       การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของนักศึกษา
·       แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
·       ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
. กลยุทธ์การประเมินการสอน  ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
·       การสังเกตการณ์สอนจากคณาจารย์
·       ผลการสอบ
·       การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
. การปรับปรุงการสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ ๒ จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
·       สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
·       การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
·       ให้นักศึกษาได้มีโอกาสตรวจสอบคะแนนและเกรดก่อนส่งเกรดให้สำนักทะเบียนและประมวลผล
·       มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนิสิต โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
. การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
·       ปรับปรุงรายวิชาทุก ๓ ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ ๔
·       นำผลที่ได้จากาการสอบถามความคิดเห็น คะแนนสอบของนักศึกษา การประชุมสัมมนา นำมาสรุปผลและพัฒนารายวิชาก่อนการสอนในภาคการศึกษาหน้า