วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555

รายละเอียดของรายวิชาพัฒนาบุคลิกภาพ ( มคอ.3)


ชื่อสถาบันอุดมศึกษา       วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
วิทยาเขต/คณะ/สาขาวิชา
ทุกคณะ/สาขาวิชาและหลักสูตร   ณ  วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม บางกอกใหญ่  กรุงเทพมหานคร
หมวดที่ ๑ ข้อมูลโดยทั่วไป
. รหัสและชื่อรายวิชา         ๙๐๕-๑๐๓       การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality  Development)
. จำนวนหน่วยกิต            ๓ หน่วยกิต (--)
. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
คณะ   บัญชีบัณฑิต,บริหารธุรกิจบัณฑิต,เทคโนโลยีบัณฑิต
สาขาวิชา การบัญชี,คอมพิวเตอร์ธุรกิจ,เทคโนโลยียานยนต์,เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์,เทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์,เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน  กิจสดายุทต์  สังข์ทอง
. ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน                                      - ภาคการศึกษาที่  ๑  ชั้นปีที่   
. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) (ถ้ามี)     -ไม่มี
. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites) (ถ้ามี) -ไม่มี
. สถานที่เรียน     วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด  -ไม่มี

หมวดที่ ๒ จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาถึงบุคลิกภาพทั้งภายในและภายนอก ในด้านลักษณะนิสัยส่วนตัว การวางตัวอย่างเหมาะสม การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ มารยาททางสังคมวัฒนธรรม และประเพณีไทย วิธีการบำรุงรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจ การดูแลร่างกายส่วนต่าง ๆ การแต่งกายที่เหมาะสม กิริยาท่าทาง ตลอดจนฝึกทักษะการพูดเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพที่ดี
. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
. เพื่อให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของบุคลิกภาพและมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการพัฒนาบุคลิกภาพทุกๆ ด้าน
. เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ต่าง ๆ จากการเรียนไปพัฒนาบุคลิกภาพของตนเอง
. เพื่อให้นักศึกษาเกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและพัฒนาบุคลิกภาพในทางที่ดีขึ้น
หมวดที่ ๓ ลักษณะและการดำเนินการ
๑.      คำอธิบายรายวิชา                    
        ความหมายและความสำคัญของการพัฒนาบุคลิกภาพ ทฤษฎีทางจิตวิทยาเกี่ยวกับการพัฒนาและการประเมินบุคลิกภาพ สุขภาพจิตและการปรับตัว การพัฒนาบุคลิกภาพด้านการแต่งกาย การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การคิดสร้างสรรค์ มารยาททางสังคม ความฉลาดทางอารมณ์ การเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ ความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
        Concepts and importance of personality development, psychological theories of personality development and personality assessment, mental health and adjustment, Personality development in clothing, language for communication, creativity, social etiquette, emotional quotient, human relations, Leadership and followership
. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
บรรยาย
สอนเสริม
การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน
การศึกษาด้วยตนเอง
๔๘ ชั่วโมง
สอนเสริมตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะราย
-
๖ ชั่วโมง/สัปดาห์
. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซด์
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ ๑ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
หมวดที่ ๔ การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา
. คุณธรรม จริยธรรม
.๑ คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
พัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่นและเป็น ประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยผู้เรียนต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม เพื่อให้นักศึกษา สามารถ พัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับการพัฒนาบุคลิกภาพ โดยมีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
() ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
() มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
()มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามสามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
() เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
() เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
.๒ วิธีการสอน
·       บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคุณภาพ
·       อภิปรายกลุ่ม
·       กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง
·       บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง
.๓ วิธีการประเมินผล
·       พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
·       มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
·       ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
·       ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
. ความรู้
.๑ ความรู้ที่ต้องได้รับ
ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้เกี่ยวกับบุคลิกภาพ การพัฒนาลักษณะนิสัยและมนุษย์สัมพันธ์ การเสริมสร้างสุขภาพอนามัย มารยาททางสังคม อิริยาบถ การดูแลรูปลักษณ์ การแต่งกาย การพูดต่อชุมชน และการพูดในโอกาสต่าง ๆ การปรับปรุงและเทคนิคการพัฒนาบุคลิกภาพ
.๒ วิธีการสอน
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าข่าว บทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยให้แก้ปัญหา และโครงงาน Problem Base Learning และ Student Center เน้นผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลาง
.๓ วิธีการประเมินผล
·       ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี
·       นำเสนอสรุปการอ่านจากการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
·       วิเคราะห์กรณีศึกษา
. ทักษะทางปัญญา
.๑ ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพ
.๒ วิธีการสอน
·       การมอบหมายให้นักศึกษาทำ และนำเสนอ
·       อภิปรายเดียว/กลุ่ม
·       วิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับบุคลิกภาพบุคคลสำคัญของไทยในปัจจุบัน
·       การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
.๓ วิธีการประเมินผล
สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในด้านการพัฒนาบุคลิกภาพ
. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
.๑ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
·       พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างนิสิตด้วยกัน
·       พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
·       พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
.๒ วิธีการสอน
·       จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
·       มอบหมายงานรายกลุ่ม และรายบุคคล หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
·       การนำเสนอรายงาน
     ๔.๓ วิธีการประเมินผล
- ประเมินตนเอง และนักศึกษาด้วยกัน ด้วยรูปแบบที่กำหนด
- รายงานนำเสนอพฤติกรรมกลุ่ม
- บันทึกผลการศึกษาด้วยตนเอง


. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
.๑ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
·       พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
·       พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
·       พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
·       ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งงานทาง E-mail การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ
·       ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
.๒ วิธีการสอน
·       มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก website สื่อการสอน e-learning และทำรายงาน โดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
·       นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
.๓ วิธีการประเมินผล
·       การจัดทำรายงาน และนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
·       การมีส่วนร่วมในการอภิปราย
หมวดที่ ๕ แผนการสอนและการประเมินผล
. แผนการสอน
สัปดาห์ที่
หัวข้อ/รายละเอียด
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียน การสอน สื่อที่ใช้ (ถ้ามี)
ผู้สอน


บทที่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบุคลิกภาพ
- ความหมายของบุคลิกภาพ
- ลักษณะทั่วไปของบุคลิกภาพ
- ขอบข่ายของบุคลิกภาพ
- ประโยชน์หรือความสำคัญของการเรียนรู้บุคลิกภาพ
- องค์ประกอบและโครงสร้างของบุคลิกภาพ
- การพิจารณาบุคลิกภาพ
- การเรียนรู้ทางสังคมและการพัฒนาบุคลิกภาพ
- อิทธิพลที่มีต่อการพัฒนาบุคลิกภาพ


บรรยาย ยกตัวอย่างประกอบ อภิปรายกลุ่มจากกรณีศึกษา

บรรยาย ยกตัวอย่างประกอบ อภิปรายกลุ่มจากกรณีศึกษา
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง



อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง





บทที่ การพัฒนาลักษณะนิสัยและมนุษย์สัมพันธ์
- ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อลักษณะนิสัย
- แนวทางสำหรับการสร้างทัศนคติที่ดี
- วิธีสร้างเสริมอุปนิสัย
- แนวทางการสร้างมนุษยสัมพันธ์
- การวางตัวที่เหมาะสมตามสถานภาพในสังคม
บรรยาย ยกตัวอย่างประกอบ อภิปรายกลุ่มจากกรณีศึกษา
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
บทที่ การเสริมสร้างสุขภาพจิตและการปรับตัว
-ความหมายและความสำคัญของสุขภาพกายและใจ
-การสร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพใจเพื่อบุคลิกภาพที่ดี
-การปรับตัว
บรรยาย ยกตัวอย่างประกอบ อภิปรายกลุ่มจากกรณีศึกษา
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
.
(ทดสอบย่อย และบรรยาย)
บทที่ ๔ การแต่งกาย
- มารยาทในการแต่งกาย
- การแต่งกายให้เหมาะสมกับโอกาส
- การใช้เครื่องประดับ
บรรยาย ศึกษากรณีศึกษา อภิปราย
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
บทที่ ๕ มารยาททางสังคม
- ความหมายและความสำคัญของมารยาท
- มารยาททางวาจา
- มารยาทในการแนะนำ
บรรยาย ศึกษากรณีศึกษา อภิปราย
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
บทที่ ๕ มารยาททางสังคม (ต่อ)
- มารยาทในการแสดงความเคารพ
- มารยาทในการไปพบผู้ใหญ่
- มารยาทในสถานที่และโอกาสต่างๆ

-บรรยาย
- ศึกษากรณีศึกษา
 -อภิปราย
-งานมอบหมายPresent หน้าชั้นเรียน
พร้อมทำReportส่ง
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
สอบกลางภาค          (บทที่ 1-5)
บทที่ ความฉลาดทางอารมณ์และความคิดสร้างสรรค์
-อีคิวคืออะไร
-องค์กรต้องการบุคคลากร
-กลยุทธ์ในการเสริมสร้าง(EQ)
-แนวทางก้าวไกลในงาน
-ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
-ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์
-บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ (Creative Person)
-ผลผลิตสร้างสรรค์ (Creative Product)
-เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
บรรยาย ศึกษากรณีศึกษา อภิปราย ตัวอย่าง
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
๑๐
บทที่ ๗    การดูแลรูปลักษณ์
- เส้นผมเสริมบุคลิกภาพ
- ผิวพรรณดีมีผลต่อบุคลิกภาพ
- ดวงตาคือจุดเด่นของใบหน้า
- การดูแลรักษาปากและฟัน
- การบำรุงรักษามือและเล็บ
- ขาและเท้าที่ดูดี
บรรยาย ศึกษากรณีศึกษา อภิปราย ตัวอย่าง
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
๑๑
(ทดสอบย่อย และบรรยาย)
บทที่ ๘ ความเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี
-ภาวะผู้นำ
-ผู้นำที่ดี
-ผู้ตามที่ดี
บรรยาย ศึกษากรณีศึกษา อภิปราย ตัวอย่าง
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
๑๒
บทที่ ๙ ทฤษฎีบุคลิกภาพและการวัดบุคลิกภาพ
- ประเภททฤษฏีบุคลิกภาพแบบ
- ทฤษฎีบุคลิกภาพเกี่ยวกับลักษณะนิสัย
- พัฒนาการของบุคลิกภาพ
- ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง
- การวัดบุคลิกภาพ
บรรยาย กรณีศึกษา อภิปราย ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัญหา อภิ ปราย การวิเคราะห์ประเด็นจากสถานการณ์จริง
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
๑๓
บทที่  ๙  การวัดบุคลิกภาพ (ต่อ)
- ประโยชน์ของการวัดบุคลิกภาพ
- อุปสรรคของการประเมินบุคลิกภาพ
- ลักษณะของบุคลิกภาพที่สามารถวัดได้
- มาตรกรรมของบุคลิกภาพ
- กลวิธีในการวัดบุคลิกภาพ
บรรยาย ศึกษากรณี ศึกษา
อภิปราย ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัญหา อภิ ปราย การวิเคราะห์ประเด็นจากสถานการณ์จริง
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
๑๔
บรรยายบทที่  ๙  การวัดบุคลิกภาพ (ต่อ)
- การทดสอบและแบบทดสอบบุคลิกภาพ
- บุคลิกภาพกายและสุขภาพจิต
- บุคลิกภาพกับความสำเร็จ
- การเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพ
บรรยาย ศึกษากรณี ศึกษา
อภิปราย ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัญหา อภิ ปราย การวิเคราะห์ประเด็นจากสถานการณ์จริง
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง

อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
๑๕
บทที่ ๑๐ การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
-หลักการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
-ภาษา
-คำ/ความหมายของคำ
 บรรยาย
กรณี ศึกษา
อภิปราย ตัวอย่างการวิเคราะห์ปัญหา
ถาม-ตอบ
อ.กิจสดายุทต์
สังข์ทอง
๑๖
    สอบปลายภาค       (บทที6-10)

แผนการประเมินผลการเรียนรู้
ที่
วิธีการประเมิน
สัปดาห์ที่ประเมิน
สัดส่วนของการประเมินผล
สอบกลางภาค
สอบปลายภาค
๑๖
๓๐%
๓๐%
วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้า การนำเสนอรายงาน
การทำงานเดียว/กลุ่มและผลงาน
การอ่านและสรุปบทความ
การส่งงานตามที่มอบหมาย
ทดสอบเก็บคะแนน
ตลอดภาคการศึกษา
๓๐%
การเข้าชั้นเรียน ,การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน
ตลอดภาคการศึกษา
๑๐%


หมวดที่ ๖ ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
. เอกสารและตำราหลัก
-กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์. ผศ. บุคลิกภาพและการปรับตัว. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ๒๕๕๒.
-ฉันทนิช อัศวนนท์. ปบ.กศ.. เทคนิคและการพัฒนาบุคลิกภาพ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, ๒๕๕๒.
-พิมลวรรณ เชื้อบางแก้ว. ผศ. การพัฒนาบุคลิกภาพ กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ๒๕๕๒.
-ฤดี หลิมไพโรจน์. ผศ. การพัฒนาบุคลิกภาพ กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ๒๕๕๒.
-สถิต วงศ์สวรรค์ รศ. การพัฒนาบุคลิกภาพ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บริษัทธเนศวร พริ้นติ้ง (๑๙๙๙) จำกัด, ๒๕๔๘.
. เอกสารและข้อมูลสำคัญ   - ไม่มี
. เอกสารและข้อมูลแนะนำ  -เอกสารประกอบการสอนวิชาการพัฒนาบุคลิกภาพ

หมวดที่ ๗ การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา
. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
·       การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและนักศึกษา
·       การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของนักศึกษา
·       แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
·       ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
. กลยุทธ์การประเมินการสอน  ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
·       การสังเกตการณ์สอนจากคณาจารย์
·       ผลการสอบ
·       การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
. การปรับปรุงการสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ ๒ จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
·       สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
·       การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
·       ให้นักศึกษาได้มีโอกาสตรวจสอบคะแนนและเกรดก่อนส่งเกรดให้สำนักทะเบียนและประมวลผล
·       มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนิสิต โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
. การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
·       ปรับปรุงรายวิชาทุก ๓ ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ ๔
·       นำผลที่ได้จากาการสอบถามความคิดเห็น คะแนนสอบของนักศึกษา การประชุมสัมมนา นำมาสรุปผลและพัฒนารายวิชาก่อนการสอนในภาคการศึกษาหน้า