วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557



แบบประเมินความพึงพอใจต่อโครงการ “ผลิตสื่อการเรียนการสอนแบบ: E-Learning”แบบออไลน์

แบบประเมินความพึงพอใจต่อโครงการ “ผลิตสื่อการเรียนการสอนแบบ: E-Learning” แบบออไลน์ วันอังคาร ที่ 17 ธันวาคม 2556 เวลา 08.00 – 16.30 น. ณ ห้อง 9202 ตอนที่ 1 ข้อมูลผู้ตอบแบบประเมิน อาจารย์ นักศึกษา เจ้าหน้าที่ ชุมชน ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการผลิตสื่อการเรียนการสอนแบบ: E-Learning เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการจัดโครงการ ในครั้งต่อไป ข้อ หัวข้อ ระดับความพึงพอใจ 5 4 3 2 1 1 ออกแบบบทเรียนได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ 2 สื่อการสอนผลิตมีความหน้าสนใจ 3 ออกแบกราฟิกได้สวยงามเหมาะสม 4 ความเหมาะสมของกิจการเรียนรู้ประจำบท 5 ความเหมาะสมของแบบฝึกหัดและทดสอบ 6 วิทยากรเปิดโอกาสให้ซักถาม 7 ความเหมาะสมของสื่อในการนำไปใช้เพื่อการเรียนการสอน 8 ประโยชน์จากการผลิตสื่อฯสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 9 ความเหมาะสมของระยะเวลาในการจัดกิจกรรม 10 ในภาพรวมท่านพึงพอใจผลงานการผลิตสื่อ e-Learning หมายเหตุ: 1 หมายความว่า พึงพอใจน้อยที่สุด 2 หมายความว่า พึงพอใจน้อย 3 หมายความว่า พึงพอใจปานกลาง 4 หมายความว่า พึงพอใจมาก 5 หมายความว่า พึงพอใจมากที่สุด ข้อเสนอแนะ ........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 10 การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

ภาษา คือ สัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการสื่อความเข้าใจระหว่างกันของคนในสังคม ช่วยสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน ช่วยสร้างความสัมพันธ์ของคน ในสังคม ถ้าคนในสังคมพูดกันด้วย ถ้อยคำที่ดีจะช่วยให้คนในสังคมอยู่กันอย่างปกติสุข ถ้าพูดกันด้วยถ้อยคำไม่ดี จะทำให้เกิดความบาดหมางน้ำใจกัน ภาษาจึงมีส่วนช่วยสร้างมนุษยสัมพันธ์ ของคนในสังคม ภาษาเป็นสมบัติของสังคม ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมี 2 ประเภท คือ วัจนภาษาและอวัจนภาษา 1. วัจนภาษา (verbal language) วัจนภาษา หมายถึง ภาษาถ้อยคำ ได้แก่ คำพูดหรือตัวอักษรที่กำหนดใช้ร่วมกันในสังคม ซึ่งหมายรวมทั้งเสียง และลายลักษณ์อักษร ภาษาถ้อยคำเป็นภาษาที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างมีระบบ มีหลักเกณฑ์ทางภาษา หรือไวยากรณ์ซึ่งคนในสังคมต้องเรียนรู้และใช้ภาษาในการฟัง พูด อ่าน เขียนและคิด การใช้วัจนภาษาในการสื่อสารต้องคำนึงถึงความชัดเจนถูกต้องตามหลักภาษา และความเหมาะสมกับลักษณะ การสื่อสาร ลักษณะงาน เป้าหมาย สื่อและผู้รับสาร วัจนภาษาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1. ภาษาพูด ภาษาพูดเป็นภาษาที่มนุษย์เปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำเพื่อสื่อสารกับผู้อื่น นักภาษาศาสตร์ถือว่าภาษาพูดเป็นภาษาที่แท้จริงของมนุษย์ ส่วนภาษาเขียนเป็นเพียงวิวัฒนาการขั้นหนึ่งของภาษาเท่านั้น มนุษย์ได้ใช้ภาษาพูดติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นอยู่เสมอ ทั้งในเรื่องส่วนตัว สังคม และหน้าที่การงาน ภาษาพูดจึงสามารถสร้างความรัก ความเข้าใจ และช่วยแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ ในสังคมมนุษย์ได้มากมาย 2. ภาษาเขียน ภาษาเขียนเป็นภาษาที่มนุษย์ใช้อักษรเป็นเครื่องหมายแทนเสียงพูดในการสื่อสาร ภาษา เขียนเป็นสัญลักษณ์ของการพูด ภาษาเขียนนั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้บันทึกภาษาพูด เป็นตัวแทนของภาษาพูดในโอกาสต่าง ๆ แม้นักภาษาศาสตร์จะถือว่าภาษาเขียนมิใช่ภาษาที่แท้จริงของมนุษย์ แต่ภาษาเขียนเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารของมนุษย์ มาเป็นเวลาช้านาน มนุษย์ใช้ภาษาเขียนสื่อสารทั้งในส่วนตัว สังคม และหน้าที่การงาน ภาษาเขียนสร้างความรัก ความเข้าใจ และช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ในสังคมมนุษย์ได้มากมายหากมนุษย์รู้จักเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล โอกาส และสถานการณ์ อวัจนภาษา ( non-verbal language) 1. ความชัดเจนและถูกต้อง กล่าวคือ ต้องเป็นภาษาที่เข้าใจตรงกัน ทั้งผู้รับสาร และ ผู้ส่งสาร และถูกต้องตามกฎเกณฑ์และเหมาะสมกับวัฒนธรรมในการใช้ภาษาไทย ดังนี้ 1.1 ลักษณะของคำ หน้าที่ของคำ ตำแหน่งของคำ และความหมายของคำ ซึ่งความหมายของคำมีทั้งความหมายตรง และความหมายแฝง 1.2 การเขียนและการออกเสียงคำ ในการเขียนผู้ส่งสารต้องระมัดระวังเรื่องสะกดการันต์ ในการพูดต้องระมัดระวังเรื่องการออกเสียง ต้องเขียนและออกเสียงถูกต้อง 1.3 การเรียบเรียงประโยค ผู้ส่งสารจำเป็นต้องศึกษาโครงสร้างของประโยคเพื่อ วางตำแหน่งของคำในประโยคให้ถูกต้อง ถูกที่ ไม่สับสน 2. ความเหมาะสมกับบริบทของภาษา เพื่อให้การสื่อสารบรรลุเป้าหมาย ผู้ส่งสารต้องคำนึงถึง 2.1 ใช้ภาษาให้เหมาะกับลักษณะการสื่อสาร เหมาะกับเวลาและสถานที่ โอกาส และบุคคล ผู้ส่งสารต้องพิจารณาว่าสื่อสารกับบุคคล กลุ่มบุคคล มวลชน เพราะขนาดของกลุ่มมีผลต่อการเลือกใช้ภาษา 2.2 ใช้ภาษาให้เหมาะกับลักษณะงาน เช่น งานประชาสัมพันธ์ งานโฆษณา งานประชุม ฯลฯ 2.3 ใช้ภาษาให้เหมาะสมกับสื่อ ผู้ส่งสารจะต้องรู้จักความต่างของสื่อและความต่าง ของภาษาที่ใช้กับแต่ละสื่อ ใช้ภาษาให้เหมาะสมกับผู้รับสารเป้าหมาย ผู้รับสารเป้าหมายได้แก่ กลุ่มผู้รับสารเฉพาะที่ผู้ส่งสารคาดหวังไว้ ผู้ส่งสารต้องวิเคราะห์ผู้รับสาร ที่เป็นเป้าหมายของการสื่อสาร และเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับผู้รับสารนั้น ๆ (ที่มาhttp://www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter2-3.html) ประเภทของอวัจนภาษา อวัจนภาษาที่ใช้สื่อสารโดยทั่วไปได้แก่ 1. สายตา (เนตรภาษา) การแสดงออกทางสายตา เช่น การสบตากันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารก็มีส่วนช่วยในการตีความหมาย เช่น การสบตาแสดงออกถึงความจริงใจ การรี่ตาแสดงออกถึงความสงสัย ความไม่แน่ใจ ฯลฯ การแสดงออกทางสายตาจะต้องสอดคล้องกับการแสดงออกทางสีหน้า การแสดงออกทางสีหน้าและสายตาจะช่วยเสริมวัจนภาษาให้มีน้ำหนักยิ่งขึ้น และใช้แทนวัจนภาษาได้อย่างดี 2. กิริยาท่าทาง (อาการภาษา) การแสดงกิริยาท่าทางของบุคคล สามารถสื่อความหมายได้โดยไม่ต้องใช้คำพูด หรือใช้เสริมคำพูดให้มีน้ำหนักมากขึ้นได้ ได้แก่ กิริยาท่าทาง การเคลื่อนไหวร่างกายและอากัปกิริยาท่าทางต่าง ๆ สามารถสื่อความหมายได้มากมาย เช่น การเคลื่อนไหวมือ การโบกมือ การส่ายหน้า การพยักหน้า การยกไหล่ การยิ้มประกอบ การพูด การยักไหล่ การยักคิ้ว อาการนิ่ง ฯลฯ 3. น้ำเสียง (ปริภาษา) เป็นอวัจนภาษาที่แฝงอยู่ในภาษาพูด ได้แก่ สำเนียงของผู้พูด ระดับเสียงสูงต่ำ การเปล่งเสียง จังหวะการพูด ความดังความค่อยของเสียงพูด การตะโกน การกระซิบ น้ำเสียงช่วยบอกอารมณ์และความรู้สึก นอกจากนี้ยังช่วยแปลความหมายของคำพูด เช่น การใช้เสียงเน้นหนักเบา การเว้นจังหวะ การทอดเสียง สิ่งเหล่านี้ทำให้คำพูดเด่นชัดขึ้น การพูดเร็ว ๆ รัว ๆ การพูดที่หยุดเป็นช่วง ๆ แสดงให้เห็นถึงอารมณ์กลัว หรือตื่นเต้นของผู้พูด เป็นต้น 4. สิ่งของหรือวัตถุ (วัตถุภาษา) สิ่งของหรือวัตถุต่าง ๆ ที่บุคคลเลือกใช้ เช่น เครื่องประดับ เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า นาฬิกา ปากกา แว่นตา เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นอวัจนภาษาที่สื่อความหมายได้ทั้งสิ้น 5. เนื้อที่หรือช่องว่าง (เทศภาษา) ช่องว่างของสถานที่หรือระยะใกล้ไกลที่บุคคลสื่อสารกัน เป็นอวัจนภาษาที่สื่อสารให้เข้าใจได้ เช่น ระยะห่างของหญิงชาย พระกับสตรี คนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คนสองคนนั่งชิดกันบนม้านั่งตัวเดียวกัน ย่อมสื่อสารให้เข้าใจได้ว่า ทั้งสองคนมีความสนิทสนมเป็นพิเศษ เป็นต้น 6. กาลเวลา (กาลภาษา) หมายถึง การสื่อความหมายโดยให้เวลามีบทบาทสำคัญ เวลาแต่ละช่วงมีความหมายในตัว คนแต่ละคน และคนต่างวัฒนธรรมจะมีความคิดและความหมายเกี่ยวกับเวลาแตกต่างกัน เช่น การตรงต่อเวลาวัฒนธรรมตะวันตกถือว่ามีความสำคัญมาก การไม่ตรงต่อเวลานัดหมายเป็นการแสดงความดูถูก เป็นต้น 7. การสัมผัส (สัมผัสภาษา) หมายถึง อวัจนภาษาที่แสดงออกโดยการสัมผ้สเพื่อสื่อความรู้สึก อารมณ์ ความปรารถนาในใจของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร เช่น การจับมือ การ แลบลิ้น การลูบศีรษะ การโอบกอด การตบไหล่ ซึ่งสัมพันธ์กับวัฒนธรรมของแต่ละสังคม เช่นคนไทยถือมิให้เด็กสัมผัสส่วนหัวของผู้ใหญ่ เป็นต้น หลักการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การใช้ภาษาที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องสามารถสื่อสารให้บรรลุวัตถุประสงค์และสร้างความประทับใจ แก่ผู้รับสาร ปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งคือการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับการสื่อสาร ดังนั้นผู้สื่อสารควรศึกษาและพัฒนาทักษะการใช้ภาษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องประเภทของภาษา ความหมายของคำและประเภทของประโยค ภาษา ภาษา หมายถึง วิธีที่มนุษย์ใช้แสดงความรู้สึกและสื่อความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจ ภาษาจำแนกตามวิธีการแสดงออกได้ ๒ ประเภท คือ ๑. วัจนภาษา คือ ภาษาที่ใช้ถ้อยคำ เสียงพูดหรือเครื่องหมายแทนเสียงพูดที่มนุษย์ตกลงใช้ร่วมกันในสังคมหนึ่ง ๆ ๒. อวัจนภาษา คือ ภาษาที่ไม่ใช่การพูดเป็นถ้อยคำ หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร แต่เป็นสิ่งที่สามารถสื่อให้เกิดความหมาย ความรู้สึกนึกคิด ความเข้าใจตรงกัน เช่น ภาษาท่าทาง ภาษาใบ้ ภาษากาย มี ๗ ประเภท คือ ๒.๑ เทศภาษา อวัจนภาษาที่รับรู้ได้จากระยะห่างระหว่างบุคคลและสถานที่ที่ใช้ในการสื่อสารกัน เช่น การโน้มตัวเดินผ่านผู้ใหญ่ให้ห่างมากที่สุดเพื่อแสดงความมีสัมมาคารวะ ๒.๒ กาลภาษา อวัจนภาษาที่รับรู้จากช่วงเวลาในการสื่อสาร เช่น นักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา แสดงถึงความตั้งใจ เอาใจใส่ และให้เกียรติผู้สอน ๒.๓ เนตรภาษา อวัจนภาษาที่รับรู้ได้จากสายตา เพื่อแสดงอารมณ์ ความรู้สึก เช่น การหลบสายตา เพราะกลัว หรือเขินอาย หรือมีความผิดไม่กล้าสู้หน้า ๒.๔ สัมผัสภาษา อวัจนภาษาที่รับรู้จากการสัมผัส เช่น การโอบกอด การจับมือ ๒.๕ อาการภาษา อวัจนภาษาที่รับรู้จากการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การไหว้ การยิ้ม การเม้มปาก การนั่งไขว่ห้าง การยืนเคารพธงชาติ ๒.๖ วัตถุภาษา อวันภาษาที่รับรู้จากการเลือกใช้วัตถุเพื่อสื่อความหมาย เช่น เครื่องประดับ การแต่งบ้าน การมอบดอกไม้ การ์ดอวยพร ๒.๗ ปริภาษา อวัจนภาษาที่รับรู้ได้จากการใช้น้ำเสียงแสดงออกพร้อมกับถ้อยคำนั้น ทำให้สามารถเข้าใจความหมายของถ้อยคำได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ช่วยเน้นให้เห็นถึงเจตนา หรือลักษณะของผู้ส่งสารว่าพอใจ โกรธ ฯลฯ เช่น ความเร็ว จังหวะ การเน้นเสียง ลากเสียง ความดัง ความทุ้มแหลม ในกรณีของภาษาเขียนอวัจนภาษาที่ปรากฏได้แก่ ลายมือ การเว้นวรรคตอน การย่อหน้า ขนาดตัวอักษร ฯลฯ การสื่อสารแต่ละครั้งย่อมใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษาควบคู่กันไป ซึ่งอวัจนภาษาที่ใช้สัมพันธ์กับวัจนภาษาใน ๕ ลักษณะด้วยกัน คือ ๑. ตรงกัน อวัจนภาษามีความหมายตรงกับถ้อยคำ เช่น การส่ายหน้าปฏิเสธพร้อมพูดว่า “ไม่ใช่” ๒. แย้งกัน อวัจนภาษาที่ใช้ขัดแย้งกับถ้อยคำ เช่น การกล่าวชมว่า วันนี้แต่งตัวสวย แต่สายตามองที่อื่น ๓. แทนกัน อวัจนภาษาทำหน้าที่แทนวัจนภาษา เช่น การกวักมือแทนการเรียก การปรบมือแทนการกล่าวชม ๔. เสริมกัน อวัจนภาษาที่ช่วยเพิ่มหรือเสริมน้ำหนักของถ้อยคำเช่นเด็กบอกว่ารักแม่เท่าฟ้าพร้อมกับกางแขนออก ๕. เน้นกัน อวัจนภาษาช่วยเน้นหรือเพิ่มน้ำหนักให้ถ้อยคำ เช่น การบังคับเสียงให้ดังหรือค่อยกว่าปกติ คำ/ความหมายของคำ การใช้ภาษาให้ได้ผลดีจึงควรเริ่มต้นด้วยการศึกษาเรื่องคำ เพราะเป็นหน่วยสำคัญขั้นมูลฐานทางไวยกรณ์ พยางค์ หมายถึงเสียงที่เปล่งออกมาประกอบด้วยพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์โดยจะมีความหมายหรือไม่ก็ได้ คำ หมายถึง เสียงที่มีความหมาย (พยางค์ + ความหมาย) ในภาษาไทย คำๆเดียวจะมีกี่พยางค์ก็ได้ การศึกษาเรื่องคำนั้นควรมีความรู้พื้นฐานเรื่อง ความหมายของคำ ให้ชัดเจนเพื่อให้เข้าใจและสามารถนำไปใช้อย่างถูกต้อง ในหัวข้อนี้จึงจะกล่าวถึงเรื่องความหมายของคำพอเป็นพื้นฐาน ดังนี้ ๑. ความหมายเฉพาะของคำ ๑.๑ ความหมายโดยตรง เช่น เด็กๆไม่ชอบแม่มดในนิทานเลย ฉันชอบกินก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นหมู ในคลองหน้าบ้านคุณยายมีปลาซิวมากมาย ๑.๒ ความหมายโดยนัย (ความหมายเชิงอุปมา) วันนี้ยายแม่มดไม่มาทำงานหรือ ข้อสอบวิชาภาษาไทยหมูจนหน้าเกลียด ฉันชอบเพลงใจปลาซิวมากๆเลย ๑.๓ ความหมายแฝง ร่วง ตก หล่น ลิ่ว ปลิว ฉิว เซ เก เฉ เบ้ โยเย้ ๑.๔ ความหมายตามบริบท คำกริยา ติด มีความหมายว่า จุดไฟ ใกล้บ้าน แปะ ฯลฯ ไฟบางดวง ติด บางดวงดับ บ้านเราอยู่ ติด กัน ติด รูปบนบัตรให้เรียบร้อย ฉัน ติด กาแฟมานานแล้ว ๑.๕ ความหมายนัยประหวัด ปัง /สีขาว / สีดำ / กา / หงส์ น้ำ / ไฟ ๒. ความหมายของคำเมื่อเทียบเคียงกับคำอื่น ๒.๑ คำที่มีความหมายเหมือนกัน (คำไวพจน์) สุนัข – หมา เท้า – ตีน ภรรยา – เมีย ดวงอาทิตย์ – พระอาทิตย์ – ทินกร – ไถง – สุรีย์ คำที่มีความหมายเหมือนกันบางครั้งก็ใช้แทนกันไม่ได้ เนื่องจาก เป็นคำสุภาพ – ไม่สุภาพ / ระดับาษา / รูปแบบหรือท่วงทำนองการเขียน ฯลฯ ๒.๒ คำที่มีความหมายตรงกันข้าม สะอาด – สกปรก เชื่องช้า – ว่องไว ๒.๓ คำที่มีความหมายร่วมกัน ส่งเสริม – สนับสนุน โปรด – กรุณา ตัด – ปาด – แล่ – หั่น – ฝาน แผ่ – เผยแผ่ – แพร่ – เผยแพร ๒.๔ คำที่มีความหมายแคบ – กว้างต่างกัน เครื่องครัว กระทะ จาน ชาม เขียง ฯลฯ เครื่องประดับ แหวน สร้อย กำไล ฯลฯ สัตว์ ช้าง ม้า วัว ควาย อึ่งอ่าง คางคก ประโยค ประโยค คือ ถ้อยคำที่มีเนื้อความสมบูรณ์ ประโยคโดยทั่วไปประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๒ ส่วน คือ ภาคประธาน และภาคแสดง ภาคประธาน คือ ส่วนที่เป็นผู้กระทำกริยาอาการ ภาคแสดง คือ ส่วนที่แสดงกริยาหรือส่วนที่แสดงอาการของภาคประธานให้ได้ ความสมบูรณ์ อาจประกอบด้วยกริยาคำเดียว หรือกริยาและกรรม ตัวอย่าง เช่น นกบิน นก (ภาคประธาน) บิน (ภาคแสดง) หมากัดแมว หมา (ภาคประธาน) กัด (ภาคแสดง) และแมว (กรรม) การจำแนกประโยคในภาษาไทย ประโยคในภาษาไทยแบ่งได้เป็น ๓ ลักษณะ คือประโยคความเดียว ประโยคความรวม และประโยคความซ้อน ๑. ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีใจความเดียว ประกอบด้วยภาคประธานและภาคแสดง เช่น - เขาร้องไห้ - เด็กนอน - นักศึกษานิเทศศาสตร์ชั้นปีที่ ๑ ร่วมกันจัดนิทรรศการ เรื่องสิ่งตีพิมพ์กับการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ๒. ประโยคความรวม คือ ประโยคที่รวมเอาประโยคความเดียว ๒ ประโยคขึ้นไปไว้ด้วยกัน โดยมีสันธานเชื่อมประโยค ประโยคที่รวมกันนั้นอาจมีเนื้อความ คล้อยตามกัน (และ แล้ว.....จึง เมื่อ.....จึง พอ.....ก็ ทั้ง.....และ) ขัดแย้งกัน (แต่ ส่วน กว่า.....ก็ แม้.....ก็ ถึง.....ก็) ให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ มิฉะนั้น ไม่.....ก็.....) เป็นเหตุเป็นผลกัน (เพราะ..... เนื่องจาก.....จึง ดังนั้น.....จึง) เช่น ฉันไปดูหนัง และทานอาหารที่สยามสแควร์ จากนั้นก็กลับบ้าน กว่าฉันจะรักเขา เขาก็จากฉันไปแล้ว เธอต้องตั้งใจเรียนมิฉะนั้นจะสอบตก ๓. ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่มีประโยคย่อยเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคหลัก เช่น. ฉันเห็นคนถูกรถชนกลางถนน - ฉันเห็น - - ประธาน + กริยา - - - คนถูกรถชนกลางถนน - - กรรม – เช่น คนขายดอกไม้เป็นป้าของฉัน แม่เห็นลูกอ่านหนังสือ ผู้พิพากษาที่ฉันเคารพเป็นคนดีมาก คนไทยหวงแหนแผ่นดินไทยอันเป็นแผ่นดินเกิด พ่อทำงานหนักจนล้มป่วย แม่สั่งให้ฉันรับกลับบ้าน -------------------------------------------------- รายการอ้างอิง ๑.คณาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาษาไทย ๑. พิมพ์ครั้งที่๓. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๘. ๒.คณาจารย์ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. การใช้ภาษาไทย ๒. พิมพ์ครั้งที่๓. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๒. ๓. ผะอบ โปษกฤษณะ. ลักษณะสำคัญของภาษาไทย การเขียน-การอ่าน-การพูด-การฟังและราชาศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น, ๒๕๔๑. ๔.ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ภาษากับการสื่อสาร. นครปฐม : มหาวิทยาลัย ศิลปากร. ๒๕๔๐. เป็นต้น หลักการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ความหมายและความสำคัญของการสื่อสาร การสื่อสารคือการส่งข้อความต่างๆที่เป็นข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นหรือการแสดงความรู้สึก จากผู้ส่งสารไปสู่ผู้รับสารด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง เพื่อให้ผู้รับสารรับรู้ เข้าใจความหมายของข้อความที่สื่อสารและตอบสนองกลับมา การสื่อสาร(ด้วยภาษา)เป็นพฤติกรรมของมนุษย์ มนุษย์ต้องอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆและเพื่ออยู่ร่วมกับคนอื่นๆในสังคม สังคม มีความซับซ้อนและประกอบด้วยคนจำนวนมากเท่าใด การสื่อสารก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเท่านั้น การอยู่ร่วมกับผู้อื่นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์ เพราะมนุษย์จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ตั้งแต่ในระดับครอบครัว เพื่อนฝูง ระดับชุมชน สังคม และประเทศ โดยเฉพาะในสังคมปัจจุบัน เป็นยุคของโลกไร้พรมแดน ข้อมูลข่าวสารต่างๆจากทุกมุมโลกส่งผ่านถึงกันในเวลาอันรวดเร็ว โดยมีเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัย เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ ผู้ที่รับทราบข้อมูลข่าวสารกว้างไกล ย่อมได้เปรียบ ดังนั้นมนุษย์จึงไม่สามารถอยู่ลำพังโดยปราศจากการติดต่อสื่อสารได้ ดังนั้นการสื่อสารจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์ทั้งด้านการใช้ชีวิต การเรียนรู้การประกอบอาชีพ การเมืองการ ปกครอง สังคมและวัฒนธรรม ช่วยสืบทอดและพัฒนาวัฒนธรรม หากไม่มีการสื่อสารหรือทำกิจกรรมร่วมกัน มนุษย์คงสูญสิ้นเผ่าพันธุ์และอารยธรรมไปในที่สุด จุดประสงค์ของการสื่อสาร ผู้ส่งสาร ๑. แจ้งให้ทราบ ๒. สอน/ให้การศึกษา ๓. สร้างความบันเทิง /จรรโลงใจ ๔. โน้มน้าวใจ ผู้รับสาร ๑. เพื่อทราบ ๒. เพื่อเรียนรู้ ๓. เพื่อความบันเทิง / ความสุข ๔. เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ องค์ประกอบของการสื่อสาร ๑. ผู้ส่งสาร ได้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นผู้เริ่มต้นการติดต่อสื่อสาร ผู้ส่งสารที่ดีจะต้องมีจุดประสงค์ในการส่งสาร มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่ต้องการสื่อสารอย่างถ่องแท้ เข้าใจความพร้อมความสามารถของผู้รับสาร และเลือกใช้กลวิธีสื่อสารอย่างเหมาะสม ๒. ผู้รับสาร ได้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่รับรู้ข้อมูลจากผู้ส่งสาร ทำความเข้าใจกับข้อมูลที่ได้รับและมีปฏิกริยาตอบสนอง ผู้รับสารที่ดีจะต้องมีจุดประสงค์ในการรับสาร พร้อมรับข่าวสารต่างๆ มีสมาธิ และมีปฏิกริยาตอบสนอง ๓. สาร ( เรื่องราว ตัวข้อมูล สาระสำคัญที่ผู้ส่งสารส่งถึงผู้รับสาร ) มี ๓ ประเภท ๓.๑ สารประเภทข้อเท็จจริง สารที่เป็นองค์ความรู้ หลักเกณฑ์ หรือข้อสรุปที่ผ่านการพิสูจน์ทดลอง ค้นคว้าวิจัย มีเหตุและผลที่ยอมรับได้ว่าเป็นความจริง เชื่อถือและอ้างอิงได้ ๓.๒ สารประเภทข้อคิดเห็น สารที่เป็นความคิดเห็นอันเป็นลักษณะส่วนตัวของผู้ส่งสาร ผู้รับสารอาจเห็นด้วยหรือไม่ก็ มี ๓ ประเภท ๑. ข้อคิดเห็นเชิงประเมินค่า เป็นการบ่งชี้ว่าอะไรดี ไม่ดี มีประโยชน์หรือมีโทษอย่างไร ฯลฯ ๒.ข้อคิดเห็นเชิงแนะนำ เป็นการบอกกล่าวว่าสิ่งใดควรทำ ควรปฏิบัติ ปฏิบัติขั้นตอนอย่างไร และอาจ บอกถึงเหตุผลของการกระทำนั้นๆด้วย ๓. ข้อคิดเห็นเชิงตั้งข้อสังเกต เป็นการชี้ให้เห็นลักษณะที่แฝงอยู่ ซึ่งอาจถูกมองข้ามไป อาจสังเกตเห็น พฤติกรรมของบุคคล สัตว์ หรือสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น ตามมุมมองของผู้ส่งสาร ๓.๓ สารประเภทแสดงความรู้สึก สารที่แสดงความรู้สึกของมนุษย์ เช่น ดีใจ เสียใจ รันทด ตื่นเต้น เป็นต้น *** ผู้รับสารจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาและเรียนรู้ เพื่อแยกแยะเนื้อหาของสารให้ได้ว่าส่วนใดเป็นข้อเท็จจริงส่วนใด เป็นข้อคิดเห็น และส่วนใดเป็นความรู้สึกเพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น*** ๔. สื่อ ( ตัวกลางที่เชื่อมโยงสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ) การสื่อสารแต่ละครั้งผู้สื่อสารจะต้องใช้ภาษาทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษาเป็นสื่อกลางในการสื่อสาร นอกจากใช้ภาษาเป็นสื่อกลางแล้วยังมีสื่ออีก ๕ ประเภท ที่ช่วยให้การสื่อสารแต่ละครั้งประสบผลสำเร็จ ได้แก่ ๑. สื่อธรรมชาติ ๒. สื่อบุคคลหรือสื่อมนุษย์ ๓. สื่อสิ่งพิมพ์ ๔. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ๕. สื่อระคน / สื่อเฉพาะกิจ ๕. ปฏิกิริยาตอบสนอง ปฏิกิริยาตอบสนองหรือผลของการสื่อสาร ได้แก่การที่ผู้รับสารมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อผู้ส่งสารโดย วิธีการใดวิธีการหนึ่ง การสื่อสารแต่ละครั้งจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ผู้สื่อสารจะสังเกตได้จากปฏิกิริยาตอบสนองของผู้รับสารว่า ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสารหรือไม่ การสื่อสารแต่ละครั้งจะประสบความสำเร็จได้ง่ายหากจุดประสงค์การสื่อสารของผู้สื่อสารตรงกัน จากองค์ประกอบการสื่อสารทั้ง ๕ องค์ประกอบ สามารถจำลองภาพกระบวนการสื่อสารได้ดังนี้ ประเภทของการสื่อสาร การสื่อสารมีทั้งการสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม การสื่อสารระหว่างประเทศซึ่ง ผู้สื่อสารจะต้องระมัดระวังเรื่องการใช้ภาษาในการสื่อสาร และหากจำแนกตามจำนวนของผู้สื่อสารสามารถแบ่งประเภทของการสื่อสารได้ ๕ ประเภท ๑. การสื่อสารภายในตัวบุคคล การสื่อสารของบุคคลคนเดียว และเป็นการสื่อสารที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล คือเป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น การพูดกับตัวเอง การฝัน การนึกคิด ๒. การสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารตั้งแต่บุคคล 2 คนขึ้นไป ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารสามารถแลกเปลี่ยนสารกันได้โดยตรงแบบตัวต่อตัว หรือแบบเผชิญหน้า เช่น การเขียนจดหมายโต้ตอบ การคุยโทรศัพท์ การบรรยายในชั้นเรียน(กลุ่มย่อย) ๓. การสื่อสารกลุ่มใหญ่ การสื่อสารระหว่างคนจำนวนมากที่รวมอยู่ในบริเวณเดียวกัน เช่น การหาเสียง การอภิปรายในหอประชุม โอกาสที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารจะแลกเปลี่ยนข้อมูลมีน้อยมาก ๔. การสื่อสารในองค์กร การสื่อสารระหว่างผู้ที่เป็นสมาชิกขององค์กรหรือหน่วยงาน เพื่อให้ภารกิจของหน่วยงานเป็นไปตามเป้าหมาย ๕. การสื่อสารมวลชน การสื่อสารกับคนจำนวนมากในเวลาเดียวกัน แต่ละคนอยู่ในที่ที่ต่างกัน โดยใช้สื่อที่เข้าถึงได้ในเวลารวดเร็ว เช่น คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ ปัญหา/อุปสรรคของการสื่อสาร องค์ประกอบของการสื่อสารแต่ละส่วนล้วนมีความสำคัญต่อกระบวนการสื่อสารทั้งสิ้น ดังนั้นผู้ที่ทำการสื่อสารจึงต้องตระหนักถึงอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระหว่างที่ทำการสื่อสาร และต้องพยายามลดอุปสรรคที่เกิดขึ้น เช่น ผู้ส่งสาร (ขาดความรู้ มีทัศนคติแง่ลบ ขาดความพร้อม วิเคราะห์ผู้รับสารผิดไป) ผู้รับสาร (ขาดความเข้าใจ คิดว่าตนมีความรู้แล้ว มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร-ตัวสาร คาดหวังในการสื่อ เกินไป) สาร (เลือกสารไม่เหมาะสม ซับซ้อน ยาก หรือง่ายเกินไป กลวิธีนำเสนอไม่เหมาะสม สารนั้นเป็นที่ทราบ โดยทั่วไปแล้ว ขาดความชัดเจน คลุมเครือ) สื่อ (ใช้สื่อไม่เหมาะสม ไม่มีประสิทธิภาพ ใช้ภาษาไม่เหมาะสม) สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย เกิดมลภาวะ หลักการสื่อสารในชีวิตประจำวัน การสื่อสารมีหลายรูปแบบ เช่น การพูดคุยกับเพื่อนกับ การพูดในห้องประชุมซึ่งมีผู้ฟัง เป็นต้น การสื่อสารจึงเกี่ยวข้องทุกคน การพูด การอ่าน การเขียน และการฟัง เป็นทักษะสำคัญสำหรับการสื่อสารให้สัมฤทธิ์ผลผู้สื่อสารจึงควรฝึกพูดและสื่อสารให้เหมาะสมกับกาลเทศะ สามารถเลือกใช้ทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษาในการสื่อความหมายให้ชัดเจน เหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดการยอมรับในสังคมยิ่งขึ้น ความสามารถขั้นพื้นฐานที่ผู้สื่อสารควรมี คือ ก. ทักษะการพูดที่ดี 1. การพูดในสิ่งที่ผู้ฟังอยากฟัง ในเนื้อหาที่ผู้ฟังอยากฟัง 2. ควรเลือกภาษาและอารมณ์ในการพูดเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและให้เกียรติผู้ฟัง 3. สามารถเลือกใช้สื่อที่ดีและมีประสิทธิภาพ ทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา 4. รู้จักกาลเทศะ ข. ทักษะการฟังที่ดี 1. ฟังอย่างเต็มใจและตั้งใจ 2. จับใจความโดยการแยกประเด็น ทัศนคติ และ ความรู้สึก 3. พูดโต้ตอบด้วยสีหน้าและท่าทางที่ดี จากนั้นพัฒนาให้เป็นผู้สื่อสารที่มีทักษะการอ่านและทักษะการฟังที่ดีต่อไป รายการอ้างอิง “การสื่อสาร”. กนกพร ปิมแปง .เข้าถึงข้อมูลได้จาก http://www.dpu.ac.th/artsciences/ge139/office/attach/1201842060.doc เมื่อ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๓. คณาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาษาไทย ๑. พิมพ์ครั้งที่๓. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๘. คณาจารย์ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. การใช้ภาษาไทย ๒. พิมพ์ครั้งที่๓. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๒. ผะอบ โปษกฤษณะ. ลักษณะสำคัญของภาษาไทย การเขียน-การอ่าน-การพูด-การฟังและราชาศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น, ๒๕๔๑. ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ภาษากับการสื่อสาร. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๔๐. เป็นต้น การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและ หลักการสื่อสารในชีวิตประจำวัน อ.สุภารัตน์ ศุภภัคว์รุจารา.เข้าถึงข้อมูลได้จาก http://www.gened.siam.edu/index.php?option=com _content &view = article &id=36 เมื่อ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๖.

บทที่ 9 ทฤษฎีบุคลิกภาพและการวัดบุคลิกภาพ

ประเภททฤษฎีบุคลิกภาพ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ (Personality theories) มีมากมายหลายทฤษฎี แต่ในที่นี้จะขอนำมากล่าวพอเป็น สังเขปเพียงบางทฤษฎีที่สำคัญ ดังนี้ 1. ทฤษฎีจิตวิเคราะของฟรอยด์ (Freud’s psychoanalytic theory) ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นบิดาของกลุ่มทฤษฎีจิตวิเคราะห์ และเป็นผู้ตั้งทฤษฎีที่เกี่ยวกับบุคลิกภาพ เรียกว่า “ทฤษฎีจิตวิเคราะห์เกี่ยวกับบุคลิกภาพ” (psychoanalytic theory of presonality) ขึ้น ซึ่งนับว่ามีอิทธิพลสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำความเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ ฟรอยด์ได้ให้ขอคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพของมนุษย์ว่า เป็นผลเกิดมาจากความดิ้นรนพยายาม ระหว่างแรงขับอันเกิดจากภายในร่างกาย (Inner physiological drivers) ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา เช่น ความหิว อารมณ์เพศ และความก้าวร้าว เป็นต้น กับความกดดันทางสังคม (social pressure) ที่เป็นตัวคอยขัดขวาง เพื่อให้บุคคลประพฤติปฏิบัติเป็น ไปตามกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ และศีลธรรมจรรยาที่ดีงาม (Mowen and Minor.1998:202) ฟรอยด์ ได้อธิบายว่า มนุษย์มีจิต 3 ระดับ คือ (1) จิตสำนึก (Coscious mind) (2) จิตก่อนสำนึก หรือจิตใต้สำนึก (Preconscious or Subconscious mind) และ (3) จิตไร้สำนึก (Unconscious mind) เป็นตัวคอยควบคุมกำกับพฤติกรรมของมนุษย์ให้แสดงพฤติกรรมออกมาต่าง ๆ นานา ฟรอยด์กล่าวว่า พลังผลักดันที่เป็นแรงขับให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมาจากจิตไร้สำนึก จึงไม่ได้ผ่านการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ จากความคิดที่ว่าบุคคลเกิดการรับรู้เพียงส่วนน้อย ที่เกี่ยวกับแรงผลักดันภายใน ที่จูงใจให้เกิดการกระทำ จึงเป็นจุดเปลี่ยนความคิดที่สำคัญอันยิ่งใหญ่ ต่อการเข้าใจบุคลิกภาพของมนุษย์ (Rathus, quoted in Mowen and Minor.1998:202) โครงสร้างของบุคลิกภาพ (Structure of personality) ตามทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ เพื่อการอธิบายทำความเข้าใจงานเข้า ฟรอยด์ ได้บัญญัติศัพท์เฉพาะขึ้นมาเพื่ออธิบายโครงสร้างบุคลิกภาพว่า ประกอบด้วยองค์ประกอบที่เป็นระบบ 3 อย่าง คือ อิด (id) อีโก (ego) และซุปเปอร์อีโก (superego) ระบบทั้ง 3 อย่างนี้จะรวมกันเข้าเป็นโครงสร้างของบุคลิกภาพขึ้น แต่จะต้องเข้าใจว่าแท้จริงแล้ว ระบบทั้ง 3 อย่างนี้ไม่อาจแยกเป็นส่วน ๆ ได้เป็นเพียงองค์ประกอบโครงสร้างของจิตตามสมมติฐานเท่านั้น ไม่ใช่ตามสภาพทางสรีระของมนุษย์ ระบบของจิตทั้ง 3 อย่าง ดังกล่าวอธิบายได้ ดังนี้ 1. อิด (Id หรือ libido) หมายถึง แรงขับทางร่ายกายที่กำกับบุคคลให้กระทำการต่าง ๆ ซึ่งติดตัวมาตั้งแต่เกิด และเป็นตัวกระตุ้นที่ค่อนข้างรุนแรง อันเกิดจากภาวะของจิตไร้สำนึกเปรียบ ได้กับกิเลส ตัณหา หรือโลภ ที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง อิดจึงเป็นแรงกระตุ้นดิ้นรนขวนขวายที่จะประพฤติปฏิบัติ ไปตามหลักที่เรียกว่า “หลักแห่งความพอใจ” (pleasure principle) นั่นคือเพื่อหลีกเลี่ยงความเครียด (avoid tension) และแสวงหาความพึงใจในทันที เพื่อว่าความรู้สึกและอารมณ์ที่จะได้รับเป็นไปในทางบวก แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะของจิตที่คิดไปนั้น อยู่ระดับจิตไร้สำนึกหรือไม่รู้สึกตัว ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริงแล้ว ไม่อาจจะกระทำได้อย่างเต็มที่ จะเห็นได้ว่าความคิดของจิตที่เกิดขึ้นในบัดดลฉับพลันหลาย ๆ อย่าง ไม่อาจจะรับหรือปฏิบัติได้ในสังคมที่เจริญ ที่มีระเบียบแบบแผน ตัวอย่างเช่น เมื่อบุคคลเกิดความรู้สึกร้อนและกระหายน้ำ จิตของบุคคลนั้นก็จะกระตุ้นให้บุคคลนั้นไปหยิบหรือฉกฉวยอะไรบางอย่างที่เย็น ๆ มาดื่ม โดยจะไม่คำนึงถึงว่าจำเป็นจะต้องซื้อ หรือใครเป็นเจ้าของหรือไม่ (Loudon and Della Bitta.1993:301) 2. อีโก (Ego) หมายถึง จิตที่รู้สำนึก ที่ก่อตัวและพัฒนาขึ้นมาเมื่อเด็กเจริญเติบโต เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ และความรู้สึกนึกคิด จากการเรียนรู้และประสบการณ์ที่สั่งสม จึงทำให้อีโกได้รับการพัฒนาจนทำให้บุคคลมีความสามารถ ในการคิดที่อยู่ในวิสัยแห่งความเป็นจริง (realistic thinking) รวมทั้งมีความสามารถเผชิญกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควรกระทำ จึงทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นนักบริหารหรือเป็นผู้จัดการของอิด (a manager for the id) โดยอีโกจะเป็นผู้เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสม เพื่อสนองความต้องการตามสัญชาตญาณให้เกิดความพอใโดยยึดถือความเป็นจริงมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา เนื่องจากจิตได้กำหนดความต้องการขึ้นมากจนเกินไป อีโกจึงจัดลำดับความสำคัญให้อยู่ในวิสัยที่สามารถจัดการได้ โดยยึดถือความสำคัญของความต้องการแต่ละอย่างเป็นหลัก รวมทั้งคอยขัดขวางยับยั้งควบคุมให้อิดแสดงออกที่เหมาะสม (Onkvisit and Show.1994:108) ดังนั้นจังเห็นได้ว่า การปฏิบัติการของอีโก จึงเป็นการปฏิบัติตามหลักที่เรียกว่า “หลักแห่งความเป็นจริง” (Reality principle) นั่นคือ ความสามารถที่จะเลื่อนเวลาปลดปล่อยความเครียดออกไปได้ จนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม จากตัวอย่างข้างต้น แม้ว่าบุคคลจะเกิดความหิว ซึ่งอิดอาจจะกระตุ้นให้แย่งชิงอาหารจากเพื่อน แต่อีโกก็จะห้ามปรามเอาไว้โดยให้เหตุผลว่า เป็นสิ่งไม่ควรปฏิบัติเพราะน่าเกลียดแสดงให้เห็นถึงความตะหละและป่าเถือน จึงควรหักห้ามใจเอาไว้รอเวลาอีกหน่อยอาจจะได้รับอาหารมากกว่านี้ เป็นต้น 3. ซุปเปอร์อีโก (Superego) หมายถึง องค์ประกอบส่วนที่สามของบุคลิกภาพเป็นส่วนของจิต ที่เปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของศีลธรรมจรรยา และระเบียบประเพณีของสังคม หรือเป็นมโนธรรมที่อยู่ในจิตของแต่ละบุคคล อันเกิดจากการเลี้ยงดูอบรมของครอบครัวและสังคม สามารถแยกออกได้ว่าอะไรคือ ความถูกต้องและเป็นสิ่งดีงาม อะไรควรหรือไม่กระทำ จึงทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมทั้งอิดและอีโก เพื่อให้อีโกประพฤติปฏิบัติให้อยู่ในทำนองคลองธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม ไม่ปฏิบัติตามที่จิตเรียกร้องทุกอย่าง ความสัมพันธ์กันระหว่างพลังจิตทั้ง 3 ส่วนนี้ นักจิตวิทยาบางท่านได้เปรียบเทียบไว้ว่า อิดเปรียบเสมือนส่วนประกอบพื้นฐานของบุคลิกภาพทางด้านชีววิทยา ส่วน อีโก เปรียบเสมือนส่วนประกอบของบุคลิกภาพทางด้านจิตใจ และ ซุปเปอร์อีโก เปรียบได้กับส่วนประกอบของบุคลิกภาพทางด้านสังคม (นิภา นิธยายน.2530:39) บุคลิกภาพของคนจะมีลักษณะเช่นใดนั้น จึงขึ้นอยู่กับพลังใดมีอำนาจถ้าอิดมีอำนาจสูง บุคคลนั้นก็จะมีบุคลิกภาพแบบเด็กเอาแต่ใจตนเอง ถ้าอีโกมีอำนาจสูง บุคคลนั้นก็จะมีบุคลิกภาพแบบผู้ใหญ่มีเหตุผล ถ้าซุปเปอร์อีโกมีอำนาจสูง คนนั้นก็จะเป็นคนมีอุดมคติเป็นนักทฤษฎี (ปรีชา วิหคโต.2533:242) ความสัมพันธ์ของพลังจิตทั้ง 3 ส่วน จึง สรุปได้ว่า อีโก เป็นหน่วยปฏิบัติการ เป็นตัวกลางในการแสดงออกซึ่งบุคลิกภาพ และจะปฏิบัติตามแรงผลักดันของอิด โดยมีซุปเปอร์อีโกเป็นผู้ควบคุมกลไกป้องกันตัว (Defense mechanism) จากที่กล่าวมาแล้ว อีโกพยายามที่จะสนองความต้องการของจิต แต่มีบางอย่างที่อีโกไม่สามารถตอบสนองได้ เนื่องจากขัดกับมโนธรรมสำนึกในซุปเปอร์อีโก จนนำไปสู่การขัดแย้งจนไม่สามารถหาทางแก้ได้ จึงทำให้บุคคลตกอยู่ใน“ภาวะความเครียด” (tension) กลไกการป้องกันตัวจึงเข้ามามีบทบาท เพื่อหลีกเลี่ยงหรือหลีกหนีภาวะความเครียดที่รุนแรงอันเกิดจากความขัดแย้งขององค์ประกอบของบุคลิกภาพ ดังกล่าว กลไกป้องกันตัว หรือการปรับตัวมีมากมายหลายวิธี แต่จะขอนำมากล่าวเพียงบางวิธีที่สำคัญ ดังนี้ (Loudon and Della Bitta.1993ซ302) (1) การเก็บกด (Repression) เป็นวิธีพื้นฐานเพื่อปกปิดความขัดแย้งเอาไว้ เพื่อไม่ให้แสดงออกมา เพราะหากแสดงพฤติกรรมออกมาจะถูกสังคมตำหนิได้ ตัวอย่างเช่น ผู้ใหญ่ที่นั่งดูกีฬาที่ตื่นเต้นซึ่งโดยจิตใจที่แท้จริงแล้วอยากที่จะแสดงอาการเชียร์อย่างเต็มที่ แต่เกรงจะถูกตำหนิว่า ทำตัวไม่เหมาะสมกับฐานที่เป็นผู้ใหญ่ที่ไม่สำรวมจึงเพียงแต่นั่งดูกีฬาเฉย ๆ (2) การป้ายความผิดให้กับผู้อื่น (Projection) เป็นการบิดเบียนความรู้สึกอันเกิดจากความต้องการของตนเองที่ไม่ดีไปให้บุคคลอื่น ตัวอย่างเช่น คนที่มีความรู้สึกว่าตนเองเป็นคนเห็นแก่ตัว มักจะตำหนิคนอื่นว่าเป็นคนเห็นแก่ตัว เพื่อตนเองจะได้รู้สึกสบายใจ ที่มีคนอื่นเห็นแก่ตัวเหมือนกับตน (3) การยึดถือผู้อื่นเป็นแบบอย่าง (Identification) เป็นการเลียนแบบพฤติกรรมของผู้อื่นที่ ตนเชื่อว่า เขามีความสามารถที่จะจัดการกับความขัดแย้ง เช่นเดียวกับความขัดแย้งที่ตนเผชิญอยู่ได้ประสบผลสำเร็จ เช่น การเลียนแบบพ่อหรือแม่ เป็นต้น (4) นักแสดงพฤติกรรมตรงกันข้ามกับความรู้สึก (Reaction formation) เป็นการแสดงพฤติกรรมตรงกันข้ามกับความรู้สึกที่ตนมีในใจตัวอย่างเช่น ผู้ชายหลงรักผู้หญิง แต่ไม่ได้รับความสนใจจากผู้หญิง จึงแสดงพฤติกรรมทำเป็นไม่สนใจด้วย ซึ่งตรงกันข้ามกับความรู้สึก เป็นการหลอกตนเองเพื่อป้องกันศักดิ์ศรี 2. ทฤษฎีฟรอยด์ยุคใหม่ (Neo – Freudian theory) จากทฤษฎีของฟรอยด์ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ในระยะต่อมาปรากฏว่าผู้ร่วมงานและลูกศิษย์ของฟรอยด์บางคนไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดของฟรอยด์บางประการ โดยเฉพาะความคิดที่ว่า บุคลิกภาพของคน ซึ่งฟรอยด์เน้นว่าเกิดจากสัญชาตญาณความต้องการทางเพศ (sexual instincts) กลุ่มคนเหล่านี้ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า “กลุ่มทฤษฏีฟรอยด์ยุคใหม่” (Neo – Freudians) มีแนวความคิดที่แตกต่างออกไปใน 2 ประเด็น ที่สำคัญคือ (1) พวกเขาเชื่อว่าปัจจัยตัวแปรทางด้านสังคมและวัฒนธรรม (social and cultural variables) มีอิทธิพลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของคนมากกว่าแรงขับทางด้านชีววิทยา (biological drives) เสียอีก (2) การศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับบุคลิกภาพของฟรอยด์ส่วนใหญ่มุ่งเน้นการสังเกตจากคนในขณะที่ได้รับการรบกวนทางอารมณ์เป็นพื้นฐาน ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าการหยั่งรู้การพัฒนาบุคลิกภาพของคนอย่างแท้จริง ควรจะใข้วิธีการสังเกตคนในขณะที่เขาอยู่ในสภาพแวดล้อมทางสังคมตามปกติของเขาควบคู่ไปด้วย (Assael.1998:450) ตามแนวความคิดของคนกลุ่มนี้ทำให้เกิดทฤษฎีใหม่เรียกว่า“ทฤษฎีสังคมและวัฒนธรรม” (social/cultural theories) ขึ้น บุคคลกลุ่มนี้มีวิธีจำแนกบุคลิกภาพคน โดยอาศัยปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมไว้แตกต่างกันแต่ที่ได้รับการยอมรับค่อนข้างมาก ขอนำมากล่าวเพียง 3 ท่าน คือ คาร์ลจุง (Carl Jung) คาเรน ฮอร์นนีย์ (Kare Horney ) และเดวิด ไรส์แมน (David Riesman) คาร์ลจุง (Carl Jung)จุง มีความเชื่อในเรื่องแรงจูงใจทางเพศน้อยกว่าฟรอยด์ เขาเชื่อว่าคนเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ “กลุ่มเก็บตัว” (introverts) ได้แก่ พวกที่ชอบเก็บตัวเองเงียบ ๆ อยู่ในโลกส่วนตัวของเขาลักษณะของพวกเก็บตัวจะมีนิสัยขี้อาย ชอบอยู่คนเดียว และรู้สึกอึดอัดกระวนกระวายใจเมื่ออยู่กับผู้อื่น ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งในทางตรงกันข้าม คือ “กลุ่มเปิดเผย”(extroverts) หรือไม่เก็บตัว ได้แก่ พวกที่ชอบคบหาสมาคมกับผู้อื่น ก้าวออกสู่โลกภายนอกและชอบออกสังคม (Hoyer and Maclnnis.1997:424) แต่อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางท่านเห็นว่าโดยแท้จริงแล้วจะมีคนอีกกลุ่มหนึ่งอยู่ระหว่างกลาง ระหว่างพวกไม่เก็บตัวกับเก็บตัว เรียกว่า “กลุ่มเป็นกลาง” (ambiverts) ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ในสังคมทั่วไป คาเรน ฮอร์นนีย์ (Kare Horney) ฮอร์นนีย์ เป็นนักทฤษฏีสังคมอีกผู้หนึ่ง เธอมีความเชื่อว่าบุคลิกภาพได้รับการพัฒนาตั้งแต่เมื่อเด็กเกิดการเรียนรู้ที่จะเอาชนะความกังวลใจต่าง ๆอันเกิดจากเด็กได้มีความสัมพันธ์กับพ่อแม่ ตามแนวความคิดของฮอร์นนีย์ การจัดประเภทของคนแบ่งตามลักษณะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบคือ (Onkvisit and Shaw.1994:112) (1) พวกอ่อนน้อมถ่อมตน (Compliant persons) เป็นพวกนิยมคล้อยตามผู้อื่น ไม่ชอบขัดใจใคร ชอบเข้าหาผู้อื่นเพื่อขอคำแนะนำขอความช่วยเหลือ ลักษณะสำคัญของกลุ่มนี้ คือ ความดี ความเห็นอกเห็นใจกัน ความรัก ความเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว และความนอบน้อมถ่อมตน พวกนี้จะไม่ชอบบุคคลทีแสดงออก เห็นแก่ตัวก้าวร้าว ระรานและแสวงหาอำนาจ (2) พวกก้าวร้าว (Aggressive persons) ปกติจะเป็นพวกต่อต้านผู้อื่น ต้องการอำนาจบารมี ไม่ต้องการขอความช่วยเหลือจากใคร มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง (self – confident) และมีจิตใจที่แข็งกร้าวเด็ดเดี่ยว (tough – minded) ( Hoyer and Maclnnis.1997:426) (3) พวกถือสันโดษ (Detached persons) กลุ่มนี้ชอบหลีกหนีจากผู้คนไม่ชอบเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับใคร ชอบเป็นตัวของตัวเอง ชอบมีอิสระภาพและไม่อยากที่จะแสดงความสามารถของตนอวดผู้อื่น แม้ว่าคนเองเชื่อว่าตนมีความสามารถก็ตาม เดวิด ไรส์แมน (David Riesman) ไรส์แมน ได้ใช้ลักษณะทางสังคมและค่านิยม มาใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งบุคลิกภาพของคน โดยแบ่งคนออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้คือ (Onkvisit and Shaw.1994:112-113) (1) พวกยึดถือขนบธรรมเนียมดั้งเดิม (Tradition – directed persons) ได้แก่ พวกที่ชอบประพฤติปฏิบัติไปตามแบบอย่างที่เคยปฏิบัติกันมา กลุ่มคนพวกนี้จะขอคำแนะนำจากผู้ใหญ่ผู้สูงอายุมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ และโดยทั่วไปจะขัดขืนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อ จะยึดถือนิสัยความเคยชินเป็นหลัก และจะไม่เป็นผู้นำทางแฟชั่น (fashion leader) (2) พวกยึดถือตัวเองเป็นหลัก (Inner - directed persons) ได้แก่ พวกที่มีระบบค่านิยมของตนเอง มาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดพฤติกรรมต่าง ๆ ปฏิบัติกิจกรรมตามคำบัญชาของตนเองอย่างเหนี่ยวแน่น มีความเป็นอิสระและผู้อื่นจะมามีอิทธิพลจูงใจได้ยาก มีความเป็นตัวของตัวเองสูง (3) พวกยึดถือผู้อื่นเป็นแบบอย่าง (Other - directed persons) ได้แก่ พวกชอบทำตามผู้อื่นทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าเขาต้องการความคุ้มครอง ความปลอดภัย และความรักจากกลุ่มอิทธิพลต่าง ๆ ที่มีต่อเขา บุคคลพวกนี้จึงมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ตามแฟชั่น (fashion followers) จึงนิยมซื้อผลิตภัณฑ์ตามอย่างกลุ่ม 3. ทฤษฎีลักษณะและองค์ประกอบ (Trait and factor theories) อาจกล่าวได้ว่า แนวความคิดของการใช้ลักษณะ และองค์ประกอบเพื่ออธิบายพฤติกรรมของผู้บริโภคได้รับความนิยมมากที่สุดนักทฤษฎีลักษณะ (trait theorists) เชื่อว่าบุคลิกภาพของคนประกอบด้วยลักษณะเฉพาะต่างๆ ที่จะอธิบายบรรยายออกมาได้ และเป็นตัวกำหนดความแตกต่างของคน (Allport, quoted in Hoyer and Maclnnis.1997:424) ทฤษฎีลักษณะยึดถือสมมติฐานหรือความเชื่อ 3 ประการ คือ (Loudon and Della Bitta.1993:305) (1) บุคคลแต่ละคนจะมีแนวโน้มท่าทีที่จะแสดงพฤติกรรมที่ค่อนข้างมั่นคงและแน่นอน (2) บุคคลมีแนวโน้มท่าทีที่จะแสดงพฤติกรรมในขนาดที่แตกต่างกัน (3) ขนาดของแนวโน้มท่าทีที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลอันเกิดจากการกำหนดและการวัดจะสามารถนำ ไปใช้ประโยชน์ในการบอกลักษณะของบุคลิกภาพของเขาได้จากสมมติฐานดังกล่าวนี้ จึงอาจกล่าวสรุปได้ว่า ลักษณะนิสัยทั่วไปอันแสดงบุคลิกภาพของคนที่ถาวร จะมีอิทธิพลต่อแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมที่สามารถทำนายได้จากการศึกษาวิจัยลักษณะของคนเป็นจำนวนมาก เพื่อค้นหาลักษณะอันเป็นที่มาของการเกิดพฤติกรรมที่ปรากฏให้ เห็นของนักทฤษฎีลักษณะผู้หนึ่งชื่อว่า อาร์. บี. แคทเทลล์ (R.B.Cattell) พบว่าลักษณะแหล่งที่มา (source trait)ที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในอันเป็นแหล่งก่อเกิดลักษณะภายนอกที่ปรากฎแสดงให้เห็น (surface trait) มี 16 ลักษณะคู่กัน จากลักษณะของบุคลิกภาพที่ประกอบด้วยองค์ประกอบ 16 ลักษณะนี้ ต่อมาได้มีการสร้างเครื่องมือวัดบุคลิกภาพขึ้นโดยการตั้งคำถามทำการทดสอบเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเพื่อทำนายพฤติกรรมขึ้นทำให้เกิดทฤษฏีที่เรียกว่า “ทฤษฎีองค์ประกอบ” (ที่มาhttp://mail.ctc.ru.ac.th/a402/group5/project/theory/6.html ) ทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบ ทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบมาจากชื่อในภาษาอังกฤษว่า Trait-Factor Counseling หรืออาจใช้ชื่อย่อว่า TF และมีอีกชื่อหนึ่งที่นิยมเรียกกัน ได้แก่ แนวความคิดของมินนิโซต้า ผู้นำของทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบ ผู้นำของทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบไดแก่ คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยมินนิโซต้า ในมลรัฐมินนิโซต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา อาทิ โดนัล แพทเทอสัน , จอห์น ดาร์ลีย์ และเอ็ดมันด์ วิลเลียมสัน คณาจารย์ทั้งสามท่านได้เริ่มใช้ทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบ ในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่มาขอปรึกษา ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ.1935 เป็นต้นมา เนื่องจากวิลเลียมสัน เป็นผู้พัฒนาทฤษฎีนี้อย่างต่อเนื่อง และยาวนานรวมทั้งเป็นผู้ที่ผลิตผลงานเขียนเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับทฤษฎีและวิธีการให้การปรึกษาแบบคุณลักษณะและองค์ประกอบ วิลเลียมสันจึงได้รับยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้นำที่มีบทบาทของทฤษฎีนี้ วิลเลียมสันเป็นชาวอเมริกา เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1900 ได้รับปริญญาตรีในปี ค.ศ. 1925 จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ และได้ศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาที่มหาวิทยาลัยมินนิโซต้า โดยได้เป็นศิษย์ของศาสตราจารย์แพทเทอสัน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาความแตกต่าง พัฒนาการของการทดสอบ และจิตวิทยาชีพ วิลเลียมได้รับปริญญาเอกในปี ค.ศ. 1931 เมื่อมีอายุเพียง 31 ปี ในปี ค.ศ. 1932 วิลเลียมได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการคนแรกของสำนักทดสอบของมหาวิทยาลัยมินนิโซต้า ซึ่งสำนักทดสอบนี้ได้ให้ความช่วยเหลือแก่นักศึกษาในการตัดสินใจและวางโครงการเกี่ยวกับการศึกษาและอาชีพของนักศึกษา ในปี ค.ศ. 1941 วิลเลียมสันได้เป็นคณบดีด้านกิจการนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยมินนิโซต้า รวมเวลาที่วิลเลียมสันทำการสอน ศึกษาค้นคว้า วิจัย ผลิตผลงานเขียน และให้ลบริการความช่วยเหลืออยู่ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้รวมทั้งสิ้น 40 ปี วิลเลียมสันได้ทำการศึกษาอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการให้การปรึกษาแก่เยาวชนในสถานศึกษา รวมทั้งได้ผลิตผลงานเขียนเป็นจำนวนมาก เพื่อเผยแพร่แนวคิดเกี่ยวกับการให้การปรึกษาแบบคุณลักษณะและองค์ประกอบ ในปี ค.ศ.1982 วิลเลียมสันได้เสียชีวิตลงเมื่อมีอายุได้ 82 ปี ความเป็นมาของทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบ 1. พื้นฐานของทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบ ทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบมีพื้นฐานทีสำคัญจากแนวคิดของจิตวิทยาความแตกต่าง ซึ่งมีความเชื่อว่าแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะอยู่ในวัยเดียวกัน มีลักษณะเฉพาะวัยที่คล้ายคลึงกันก็ตาม พื้นฐานที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบมาจากการพัฒนาเครื่องการทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อใช้วัดและประเมินคุณลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล จึงมีเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยาต่างๆ เกิดขึ้น เช่น แบบทดสอบเชาว์ปัญญา แบบทดสอบบุคลิกภาพ และแบบทดสอบความถนัดเป็นต้น นอกจากนั้นทฤษฎีคุณลักษณะยังมีพื้นฐานสำคัญอีกส่วนหนึ่งมาจากทฤษฎีเกี่ยวกับการแนะแนวอาชีพของแฟรงค์ พาร์สันส์ ชาวอเมริกา ผู้ริเริ่มจัดตั้งสำนักงานแนะแนวอาชีพที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยเหลือเยาวชนอเมริกาเกี่ยวกับการเลือกอาชีพ ทั้งนี้โดยใช้หลักการเลือกอาชีพอย่างมีระบบ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ตนเอง เพื่อให้รู้จักลักษณะเฉพาะของตนเองในทุกด้าน ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์อาชีพ เพื่อให้รู้จักเกี่ยวกับรายละเอียดของอาชีพที่สนใจ ขั้นที่ 3 การใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจเลือกอาชีพ โดยการนำผลงานขั้นที่ 1และขั้นที่ 2 มาพิจารณาร่วมกัน แล้วจึงตัดสินใจเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับตนและสิ่งแวดล้อมของตนมากที่สุด รวมทั้งวางแผนเพื่อเข้าสู่อาชีพที่เลือก 2. วิวัฒนาการของทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบ วิวัฒนาการของทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบ แบ่งออกได้เป็น ๔ ยุค คือ ยุคที่หนึ่ง เป็นยุคของการพัฒนาวิธีการและเครื่องมือในการวัดและประเมินคุณลักษณะเฉพาะตัวด้านต่างๆ ของผู้รับการปรึกษา เช่น ความถนัด ความสนใจ เจตคติ และบุคลิกภาพ เพื่อที่จะจัดคนให้เหมาะสมกับทางเลือกด้านการศึกษาและอาชีพ ยุคที่สอง เป็นยุคของการพัฒนาแนวคิดและรูปแบบการให้การปรึกษา เพื่อขยายขอบข่ายของการให้การปรึกษาครอบคลุมทั้งด้านการศึกษา ด้านอาชีพ และการปรับตัวในยุคที่สองนี้วิลเลียมสันและดาร์ลีย์ ได้สร้างรูปแบบการให้การปรึกษาแบบคุณลักษณะและองค์ประกอบขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งมีอยู่ 6 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์ข้อมูล 2)การสังเคราะห์ข้อมูล 3) การวินิจฉัย 4) การคาดคะเน 5) การให้การปรึกษา 6) การติดตามผล ยุคที่สาม เป็นยุคของการศึกษาเกี่ยวการวิเคราะห์องค์ประกอบ ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก เทอร์สโทน ซึ่งนำเอาวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ มาใช้กับจิตวิทยาความแตกต่าง เช่น การวิเคราะห์องค์ประกอบของเชาว์ปัญญาของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ยุคที่สี่ เป็นยุคของการพัฒนาปรัชญา ทฤษฎี และรูปแบบของการให้การปรึกษาแบบคุณลักษณะและองค์ประกอบอย่างเป็นระบบมากขึ้น เช่น วิลเลียมสันได้ระบุขั้นตอนและเทคนิคการให้การปรึกษาตลอดจนระบุบทบาทของผู้ให้การปรึกษา เป็นต้น แนวคิดที่สำคัญของทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบ 1. ทรรศนะเกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์ ทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบมีทรรศนะเกี่ยวกับธรรมชาติมนุษย์ 4 ประการ ดังนี้ 1.1 มนุษย์มีความแตกต่างกัน เพราะแต่ละบุคคลมีลักษณะเฉพาะตัวซึ่งแตกต่างจากคนอื่น เช่น สติปัญญา ความสามารถ ความถนัด ความสนใจ นอกจากนี้องค์ประกอบสิ่งแวดล้อมของแต่ละบุคคลก็ยังแตกต่างกันด้วย เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจ และสังคมของครอบครัว และลำดับในการเกิดเป็นต้น 1.2 มนุษย์มีเหตุผล มนุษย์เกิดมาพร้อมกับศักยภาพที่จะมีเหตุผล แม้ว่ามนุษย์อาจมีความไร้เหตุผลอยู่บ้าง แต่มนุษย์ก็มีศักยภาพในการเป็นผู้มีเหตุผล และสามารถใช้ประโยชน์ของการมีเหตุผลควบคู่ความคิดและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมซึ่งเกิดจากความปราศจากเหตุผลได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีบางคนที่ต้องการได้รับการปรึกษาเพื่อช่วยให้เขารู้จักนำเอาความสามรถของเขาออกมาใช้ได้อย่างเหมาะสม 1.3 มนุษย์มีความสามารถในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม ถ้าได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอ มีทักษะในการตัดสินใจ และได้รับโอกาสในการตัดสินใจ โดยทั่วไปแล้วมนุษย์จะสามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม สำหรับบางคนที่ขาดข้อมูลที่จำเป็น ขาดทักษะในการตัดสินใจ และขาดโอกาสที่ต้องการ สมควรได้รับความช่วยเหลือจากผู้มีประสบการณ์มากกว่า 1.4 มนุษย์มีแนวโน้มที่จะพัฒนาตนเอง มนุษย์รู้จักใช้ความเก่งกล้าสามารถ เวลา พลังงาน และทรัพยากรที่ตนมีอยู่ เพื่อแสวงหาความสำเร็จ หรือเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ ในสิ่งที่มีคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น สำหรับบางคนที่ยังไม่สามารถพัฒนาตนเองได้ดีเพียงพอจึงต้องอขอรับความช่วยเหลือจากผู้ที่มีความรู้ และมีประสบการณ์มากว่า 2. หลักการให้ความช่วยเหลือแก่มนุษย์ ทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบ มีหลักให้ความช่วยเหลือแก่มนุษย์ 3 ประการดังนี้ 2.1 คำนึงถึงลักษณะเฉพาะตัวของผู้รับการปรึกษา แต่ละบุคคลมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน และบุคคลหลายคนมักไม่รู้จักลักษณะเฉพาะของตนเองอย่างถ่องแท้ ดังนั้นผู้ให้การปรึกษาจึงควรช่วยผู้รับการปรึกษาให้รู้ลักษณะเฉพาะตัวของเขาว่ามีความสามรถ ความถนัด มีความสนใจ มีค่านิยมอย่างไร เพื่อนำไปประกอบกับข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม สำหรับใช้ในการพิจารณาตัดสินใจหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม 2.2 ใช้ประโยชน์ของเครื่องทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อช่วยในการให้การปรึกษา เครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อช่วยในการให้การปรึกษา เช่น แบบทดสอบความถนัด แบบทดสอบเชาว์ปัญญา แบบทดสอบบุคลิกภาพ แบบสำรวจความสนใจ และแบบสำรวจเจตคติ แบบสำรวจค่านิยม เป็นต้น เครื่องมือเหล่านี้ประโยชน์ต่อการให้การปรึกษา เพราะจะช่วยรวบรวมรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของผู้รับการปรึกษา และเมื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์และคาดคะเน ก็ทำให้ผู้ให้การปรึกษารู้ว่าควรให้ความช่วยเหลือแก่ผู้รับการปรึกษาในด้านใดอย่างไรจึงจะเหมาะสม นอกจากนี้ผู้รับการปรึกษายังสามารถใช้ประโยชน์ของข้อมูลเหล่านี้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจ หรือแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม 2.3 ส่งเสริมให้ผู้รับการปรึกษารับข้อมูลที่จำเป็นอย่างเพียงพอ และมีทักษะในการตัดสินใจด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ให้การปรึกษาจะช่วยให้ผู้รับการปรึกษาได้รับข้อมูลที่จำเป็นอย่างเพียงพอ รวมทั้งช่วยสั่งสอนแนะนำ และฝึกฝนให้ผู้รับการปรึกษามีทักษะในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา และวางแผนสำหรับอนาคตของตนด้วยตนเองได้อย่างมีเหตุผลและมีประสิทธิภาพ โดยผู้ให้การปรึกษาจะมีบทบาทในกระบวนการช่วยที่เสมือนกับเป็นครู หรือพี่เลี้ยง ที่มีประสบการณ์สูงกว่าช่วยสอน และนำทางให้แก่ศิษย์ เพื่อให้ผู้รับการปรึกษามีทักษะในการตัดสินใจ ซึ่งจะช่วยส่งผลให้ผู้รับการปรึกษามีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการดำเนินชีวิตต่อไป เป้าหมายของทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบ เป้าหมายของทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบ แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ เป้าหมายเฉพาะหน้า และเป้าหมายระยะยาว ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ 1. เป้าหมายเฉพาะหน้าทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบ เป้าหมายเฉพาะหน้าของทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบ เป็นเป้าหมายของการให้การปรึกษา เพื่อช่วยให้ผู้รับการปรึกษาเกิดความรู้เกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจ และมีทักษะในการตัดสินใจด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ ผู้รับการปรึกษาจะได้รับความช่วยเหลือให้รู้จักลักษณะเฉพาะตัวของตนในด้านต่างๆ รู้จักองค์ประกอบในภาพรวมของตน หรืออาจกล่าวอย่างสั้นๆ คือ การรู้จักและเข้าใจตนเองรวมทั้งได้รับข้อมูลที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เมื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาประกอบการพิจารณาตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ก็จะมีผลให้ผู้รับการปรึกษาสามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหา และ/หรือ วางแผนอนาคตของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อผู้รับการปรึกษามีทักษะในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงแต่จะมีผลดีต่อผู้รับการปรึกษาในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่ในปัจจุบันด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสมเท่านั้น แต่ยังมีผลดีต่อผู้รับการปรึกษาต่อไปในอนาคตอีกด้วย เช่น จะช่วยให้ผู้รับการปรึกษาเป็นผู้ที่มีเหตุผลมีการปรับตัวที่ดี พึ่งพาตนเองได้ และดำรงชีวิตอยู่ด้วยความสุข 2. เป้าหมายระยะยาวทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบ เป้าหมายสูงสุดหรือเป้าหมายหลายทางของการให้การปรึกษา ในทรรศนะของวิลเลียมสัน ได้แก่ การเอื้ออำนวยให้ผู้รับการปรึกษามีพัฒนาการที่เป็นเลิศในทุกด้าน และรู้จักใช้ความสามารถที่ตนมีอยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ดังนั้นการให้การปรึกษาจึงมีเป้าหมายระยะยาว 5 ประการ ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ ประการที่ 1 เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาเกิดการเรียนรู้ซึ่งนำไปสู่การค้นพบตัวเอง รู้จักจุดเด่นจุดอ่อนซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวและองค์ประกอบในภาพรวมของตน รวมทั้งการเข้าใจตนเองอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง ประการที่ 2 เพื่อช่วยให้ผู้รับการปรึกษาเกิดการเรียนรู้เพิ่มเติมในสิ่งจำเป็นหรือพึงประสงค์ สำหรับใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงการดำรงชีวิตให้มีความสุขยิ่งขึ้น ประการที่ 3 เพื่อช่วยให้ผู้รับการปรึกษาสามารถประยุกต์ใช้ประสบการณ์เรียนรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ประการที่ 4 เพื่อช่วยให้ผู้รับการปรึกษามีประสบการณ์ในการสำรวจตนเองเมื่อมีอารมณ์ความรู้สึกที่สับสน ปรวนแปร และไร้เหตุผล ประการที่ 5 เพื่อให้ผู้รับการปรึกษามีประสบการณ์เรียนรู้ใหม่ที่เหมาะสม เพื่อที่สามารถจัดการกับปัญหาอุปสรรคที่ผ่านในชีวิตได้เป็นอย่างดีและมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ขั้นตอนและเทคนิคการให้คำปรึกษาทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบ การให้คำปรึกษาทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบ แบ่งออกได้ 7 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การสร้างสายสัมพันธ์ ขั้นที่ 2 การช่วยให้ผู้รับการปรึกษามีความเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม ขั้นที่ 3 การวินิจฉัย ขั้นที่ 4 การให้คำแนะนำและช่วยเหลือผู้รับการปรึกษาในการแก้ไขและวางแผนสำหรับอนาคต ขั้นที่ 5 การช่วยให้ผู้รับการปรึกษาสามารถดำเนินงานตามแผนสที่วางไว้ ขั้นที่ 6 การส่งเพื่อผู้รับการปรึกษาเพื่อไปรับความช่วยเหลือจากบุคลากรอื่น ขั้นที่ 7 การติดตามผล รายละเอียดขั้นตอนและเทคนิคการให้การปรึกษาทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบ มีสาระสำคัญ ดังนี้ ขั้นที่ 1 การสร้างสายสัมพันธ์ สิ่งสำคัญเบื้องต้นซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จของการให้การปรึกษาต่อไป ได้แก่ การที่ผู้ให้การปรึกษาสร้างสายสัมพันธ์กับผู้รับการปรึกษา เช่นช่วยให้ผู้รับการปรึกษารู้สึกอบอุ่นเป็นกันเอง มีความรู้สึกปลอดภัยที่จะระบายความรู้สึกนึกคิดของตนได้อย่างอิสระ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ให้การปรึกษาสามารถรวบรวมข้อมูลของผู้รับการปรึกษาได้ตามความเป็นจริง นอกจากนี้การสร้างสายสัมพันธ์ยังช่วยให้ผู้รับการปรึกษายอมรับ และศรัทธาต่อผู้ให้การปรึกษาของเขาที่จะใช้ความรู้ความสามารถ และความปรารถนาดีอย่างจริงใจในการให้ความช่วยเหลือแก่ตน เมื่อสายสัมพันธ์เกิดขึ้นแล้ว ผู้รับการปรึกษามีความเต็มใจและความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับผู้ให้การปรึกษา ซึ่งจะมีผลให้การให้การปรึกษาเริ่มก้าวสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์ ขั้นที่ 2 การช่วยให้ผู้รับการปรึกษามีความเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม ผู้ให้การปรึกษาควรช่วยให้ผู้รับการปรึกษามีความเข้าใจในตนเองและสิ่งแวดล้อมของตนอย่างกว้างขวาง และตรงตามความเป็นจริง ซึ่งสามารถทำได้โดยการรวบนวมข้อมูล และการสังเคราะห์ข้อมูล ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ 1. การรวบรวมข้อมูล การรวบรวมข้อมูลกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้รับการปรึกษา ทั้งในส่วนที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวด้านต่างๆ และองค์ประกอบสิ่งแวดล้อม สามารถทำได้โดยทั้งวิธีการที่ไม่ใช้แบบทดสอบ เช่น การสัมภาษณ์ สอบถาม สำรวจ สังเกต เขียนอัตชีวประวัติ กรอกข้อมูลในระเบียนสะสม บันทึกข้อมูลในระเบียนพฤติกรรม เป็นต้น และทั้งที่ใช้แบบทดสอบ เช่น การทดสอบความสามารถ และความถนัด เป็นต้น การรวบรวมข้อมูลเหล่านี้นอกจากจะได้จากตัวผู้รับการปรึกษาแล้ว ยังอาจรวบรวมได้บุคคลที่มีความสำคัญต่อผู้รับการปรึกษา เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ญาติพี่น้อง เพื่อน ครู คนรัก แพทย์ พระ เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจรวบรวมข้อมูลได้จากที่ผู้ให้การปรึกษามีประสบการณ์ตรงจากการสังเกต และ/หรือสัมภาษณ์ผู้รับการปรึกษา เป็นต้น ข้อมูลที่รวบรวมมานี้จะช่วยให้ผู้ให้การปรึกษาเห็นภาพและรู้จักผู้รับการปรึกษามากขึ้นเรื่อยๆ 2. การวิเคราะห์ข้อมูล หลังจากรวบรวมข้อมูลที่สำคัญต่างๆ ของผู้รับการปรึกษาแล้ว ผู้ให้การปรึกษาจะวิเคราะห์รายละเอียดของข้อมูลเหล่านั้นในแง่มุมต่างๆ อย่างรอบคอบ เพื่อทำความเข้าใจว่าผู้รับการปรึกษาเป็นอย่างไรในปัจจุบัน และมีแเนวโน้มที่จะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคต เช่น ผู้รับการปรึกษาแนวทางใดจัดการกับปัญหาที่ประสบอยู่ และผู้รับการปรึกษามีชีวิตอย่างไร เป็นต้น ผลการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งผู้ให้การปรึกษาถ่ายทอดให้แก่ผู้รับการปรึกษาได้ทราบยังช่วยให้ผู้รับการปรึกษามีความเข้าใจในตนเองและสิ่งแวดล้อมของตนได้อย่างครอบคลุมและถูกต้อง 3. การสังเคราะห์ข้อมูล การสังเคราะห์ข้อมูลเป็นการสรุปและจัดหมวดหมู่ข้อเท็จจริงที่สำคัญในด้านต่างๆ ซึ่งได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้รับการปรึกษา เช่น จุดเด่น จุดอ่อน พฤติกรรมที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม ความสนใจ ความสามารถ และความถนัด บุคลิกภาพ ครอบครัว เศรษฐกิจ การศึกษา เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ให้การปรึกษาเห็นภาพรวมของผู้รับการปรึกษาที่ชัดเจนขึ้น รวมทั้งให้ผู้รับการปรึกษามีความเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อมของตนในด้านที่สำคัญตรงตามความเป็นจริงยิ่งขึ้นอีกด้วย ขั้นที่ 3 การวินิจฉัย กิลลิแอนด์ และคณะ กล่าวว่าการวินิจฉัยเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากของทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบ ในขั้นนี้ ผู้ให้การปรึกษาจะนำเอาข้อมูลที่ได้วิเคราะห์และสังเคราะห์ไว้มาพิจารณา ตีความ และวินิจฉัย ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ๓ ประการ กล่าวคือ การระบุประเด็นสำคัญของปัญหา การค้นหาสาเหตุสำคัญของปัญหาและการคาดคะเนอนาคต ดังสาระพอสรุปได้ต่อไปนี้ 1. การระบุประเด็นสำคัญของปัญหา บอร์ดิน ได้จัดแบ่งปัญหาของผู้รับการปรึกษาออกเป็น ๖ ประเภท ดังนี้ • ขาดความมั่นคงทางจิตใจ • ขาดข้อมูล • ต้องพึ่งพาผู้อื่น • มีความขัดแย้งในตนเอง • มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือก ผู้ให้การปรึกษาจะวินิจฉัยว่าอะไรคือประเด็นสำคัญของปัญหาที่ผู้รับการปรึกษาประสบอยู่ 2. การค้นหาสาเหตุของปัญหา หลังจากระบุประเด็นสำคัญของปัญหาที่ผู้รับการปรึกษาประสบอยู่ได้แล้ว ต่อจากนั้นให้ผู้รับการปรึกษาจะค้นหาว่าสาเหตุสำคัญของปัญหาคืออะไร วิลเลียมสัน และดาร์ลีย์ ได้แบ่งสาเหตุของปัญหาของผู้รับการปรึกษา ออกเป็น 6 ด้าน ดังนี้ • การเงิน • การศึกษา • อาชีพ • สังคม-อารมณ์- ส่วนตัว • ครอบครัว • สุขภาพหรือความพิการของร่างกาย 3. การคาดคะเนอนาคต เป็นการคาดการณ์หรือทำนายอย่างมีหลักเกณฑ์ว่า จากสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จะเกิดอะไรขึ้นกับผู้รับการปรึกษาต่อไปในอนาคตเพื่อที่ให้ผู้ให้การปรึกษาจะได้ช่วยเหลือดูแลให้ผู้รับการปรึกษาก้าวสู่ลู่ทางที่เหมาะสมต่อไป ขั้นที่ 4 การให้คำแนะนำและช่วยเหลือผู้รับการปรึกษาในการแก้ไขปัญหาและวางแผนสำหรับอนาคต การให้คำแนะนำและช่วยเหลือผู้รับการปรึกษาในการแก้ปัญหาและวางแผนในอนาคต มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยแนะนำ สั่งสอน และให้ข้อมูลแก่ผู้รับการปรึกษา ซึ่งมีประสบการณ์น้อยกว่าผู้ให้การปรึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และมีความสามารถในการคิด ตัดสินใจ แก้ไขปัญหาและวางแผนสำหรับอนาคตด้วยตนเองอย่างเหมาะสมต่อไป ในการให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือผู้รับการปรึกษาในการแก้ปัญหาและวางแผนสำหรับอนาคตนั้น ผู้ให้การปรึกษาโดยทั่วไปนิยมใช้เทคนิคในการให้คำแนะนำและช่วยเหลือผู้รับการปรึกษา 3 ประการ ดังนี้ 1. เทคนิคการให้คำแนะนำโดยตรง เมื่อผู้รับการปรึกษาแสดงความประสงค์ที่จะขอรับคำแนะนำจากผู้ให้การปรึกษา ผู้ให้การปรึกษาก็จะให้คำแนะนำ แสดงความเห็น หรือให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้รับการปรึกษาอย่างตรงไปตรงมา หรือเมื่อใดที่ผู้ให้การปรึกษาเล็งเห็นว่าแนวทางการตัดสินใจของผู้รับการปรึกษาจะก่อให้เกิดปัญหา หรือก่อให้เกิดความผิดพลาดที่มีผลที่รุนแรงขึ้นได้ ผู้ให้การปรึกษาก็จำเป็นต้องให้คำแนะนำ และ/หรือชี้แนะผู้รับการปรึกษาอย่างตรงไปตรงมาทันที 2. เทคนิคการชักจูงใจ หากผลที่ได้จากการวินิจฉัยบ่งชี้ให้เห็นแนวทางเลือกบางประการ ซึ่งผู้ให้การปรึกษามีความเห็นว่าเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกับผู้รับการปรึกษา ผู้ให้การปรึกษาควรจะให้รายละเอียดข้อเท็จจริง รวมทั้งชักจูงใจให้ผู้รับการปรึกษาเข้าใจถึงประโยชน์ ซึ่งผู้รับการปรึกษาจะได้รับจากทางเลือกเหล่านั้น 3. เทคนิคการอธิบาย ผู้ให้การปรึกษาจะอธิบายรายละเอียด และชี้แจงเหตุผลให้ผู้รับการปรึกษาเห็นแนวทางที่เหมาะสมในการคิด ตัดสินใจ เพื่อแก้ปัญหาและวางแผนสำหรับอนาคต รวมทั้งแสดงผลดีผลเสียที่จะเกิดจากการตัดสินใจในลักษณะต่างๆ ของผู้รับการปรึกษา ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้รับการปรึกษาสามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหาและวางแผนสำหรับอนาคตด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นที่ 5 การช่วยให้ผู้รับการปรึกษาสามารถดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ หลังจากผู้รับการปรึกษามีทักษะในการตัดสินใจ เพื่อแก้ไขปัญหาและวางแผนสำหรับอนาคตด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสมแล้ว ผู้ให้การปรึกษาควรช่วยเหลือสนับสนุนให้ผู้รับการปรึกษาสามารถดำเนินงานตามแผนที่ได้วางไว้ จนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย ขั้นที่ 6 การส่งตัวผู้รับการปรึกษาเพื่อไปรับความช่วยเหลือจากบุคลากรอื่น บางครั้งปัญหาของผู้รับการปรึกษาอยู่นอกดเหนือขอบข่ายงาน บทบาทหน้าที่ และความชำนาญ ของผู้ให้การปรึกษา ดังนั้น ผู้ให้การปรึกษาควร ส่งต่อ ผู้รับการปรึกษาเพื่อไปรับความช่วยเหลือจากบุคลากรอื่น ซึ่งความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่ผู้รับการปรึกษาได้อย่างเหมาะสม เช่น แพทย์ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา คลินิก นักกฎหมาย เป็นต้น อนึ่งการส่งตัวผู้รับการปรึกษาไปรับความช่วยเหลือจากบุคลากรอื่นนั้น ผู้ให้การปรึกษาควรชี้แจงเหตุผลความจำเป็นให้ผู้รับการปรึกษาได้ทราบล่วงหน้า รวมทั้งควรได้รับความยินยอมจากผู้รับการปรึกษาและผู้ปกครองของเขาเสียก่อน (ในกรณีที่ผู้รับการปรึกษายังไม่บรรลุนิติภาวะ) ขั้นตอนที่ 7 การติดตามผล หลังจากให้การปรึกษาแล้ว ผู้ให้การปรึกษาควรติดตามผลเพื่อที่จะได้รู้ว่าผลที่เกิดขึ้นกับผู้รับการปรึกษาเป็นอย่างไร บรรลุเป้าหมายมากน้อยเพียงใด มีปัญหาอุปสรรคแทรกซ้อมหรือไม่ อะไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อจะได้หาทางช่วยเหลือที่เหมาะสมและทันกาลต่อไป นอกจากน้าการติดตามผลยังช่วยบ่งชี้ว่า การให้การปรึกษาที่ดำเนินมานั้นมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด เพื่อที่จะหาแนวทางปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นต่อไป ข้อสังเกตเกี่ยวกับวิธีการและบทบาทของผู้ให้การปรึกษาทฤษฎีคุณลักษณะและองค์ประกอบ ทฤษฏีบุคลิกภาพแบบคุณลักษณะ (Trait Personality Theory) ทฤษฏีคุณลักษณะ กล่าวว่า บุคลิกภาพเป็นสิ่งที่สามารถทำความเข้าใจ และระบุคุณสมบัติขั้นพื้นฐานที่ทำให้เกิดพฤติกรรมมนุษย์ และนับรวมไปถึงองค์ประกอบของพฤติกรรม ที่แสดงให้เห็นถึงความอดทน พื้นฐานจิตใจ และรวมถึงพฤติกรรมในสภาวะเหตุการณ์ต่างๆ กอร์ดอน ออลพอร์ท ( Gordon Allport) อธิบายว่า คุณลักษณะเป็นรากฐานของระบบประสาทของบุคคล เป็นโครงสร้างของระบบจิตประสาท ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมบังคับหรือเป็น แกนนำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมช่วยสร้างความเชื่อมั่น และทำให้บุคคลอื่นเกิดความรู้สึกยินดีและทำให้ครอบครัวอบอุ่น ถ้าบุคคลใดที่ขาดคุณลักษณะเกี่ยวกับความสามารถในการเข้าสังคมจะมีพฤติกรรมที่ผิดหลัง มีความรู้สึกแตกต่างกันอย่างมากในสภาวะเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นคุณลักษณะ คือบทบาทที่ชักจูงใจให้เกิดพฤติกรรมโดยตรง มีลักษณะเด่นเป็นพิเศษจะทำหน้าที่ควบคุมการแสดงพฤติกรรมของบุคคลทุกรูปแบบ ออลพอร์ท แบ่งคุณลักษณะเฉพาะบุคคลเป็น 3 ส่วน คือ 1. พวกมีลักษณะเด่น พวกนี้มักมีร่ายกายสูงใหญ่ หรือหน้าตาดี มีลักษณะเด่นเฉพาะตัว อาจจะเป็นน้ำเสียง การพูด ท่าทาง หรือท่าทีที่ปฏิบัติต่อผู้อื่น 2. พวกมีลักษณะด้อย พวกนี้มักมีรูปร่างเตี้ยหรือตัวเล็ก หน้าตาไม่ดี หรือมีลักษณะบางประการที่เป็นปมด้อยของตน 3. พวกที่มีลักษณะกลาง พวกนี้มักมีร่างกายธรรมดาแบบคนทั่วไป ลักษณะเป็นกลาง ๆ ไม่เด่น ไม่ด้อย แต่ก็ไม่มีลักษณะพิเศษที่น่าสนใจ มักผสมผสานกลมกลืนไปกับคนคนส่วนใหญ่ ลักษณะต่าง ๆ ทั้ง 3 ประการมีผลต่อการแสดงพฤติกรรมในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ผู้บริหาร ถ้ามีลักษณะเด่นจะเป็นตัวส่งเสริมให้งานดีขึ้น แต่ถ้าไม่มีก็ต้องพยายามเพื่อที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดมากขึ้น แคทเทล (Cattel) กล่าวว่า แต่ละบุคคลจะสามารถอธิบายได้ตามคุณลักษณะ ของบุคคลเช่น มีความเป็นมิตร ติดต่อสัมพันธ์กัน ชอบเข้าสังคม แจกแจงจากลักษณะนิสัยซ่อนเร้น (Source traits) ซึ่งพฤติกรรมต้นจะมีอยู่ 16 แบบ และมีลักษณะค้านกันเป็นคู่ เช่น พึ่งตนเองตรงข้ามกับพึ่งพวกพ้อง หรือใฝ่อิทธิพลกับคล้อยตาม เรียกลักษณะเหล่านี้ว่า นิสัยทั้ง 16 ของบุคลิกภาพ แฮนส์ ไอเซงค์ (Hans Esenck) ได้มีการพัฒนาทฤษฏีที่จะอธิบายว่าทำไมแต่ละบุคคลจึงมีความแตกต่างกันในทางบุคลิกภาพและพฤติกรรม คุณลักษณะบุคลิกภาพที่สำคัญ มี 4 คุณลักษณะ คือ พฤติกรรมปกปิด(Introversion) พฤติกรรมเปิดเผย(Extroversion) และพฤติกรรมที่มั่นคง(Stability) แนวโน้มโรคประสาท(Neuroticism) ต่างก็มีจุดเริ่มต้นมาจากทางด้านชีววิทยา ขึ้นอยู่กับจำนวนกิจกรรมในระบบประสาทของแต่ละบุคคล กิจกรรมนี้จะจูงใจให้แต่ละบุคคลมีการพัฒนาไปในแนวทางที่แน่นอน ขั้นสุดท้ายบุคลิกภาพจะได้มาจากระบบประสาทของแต่ละบุคคลที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และจากประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลได้รับมาแล้ว บุคลิกภาพที่มีพฤติกรรมเปิดเผย มีธรรมชาติระบบประสาทที่มีความสงบเงียบ เกิดจากธรรมชาติของระบบประสาท ที่ไม่ต้องการแสวงหาสิ่งเพิ่มเติมที่มีความตื่นเต้น จึงมีพฤติกรรมชอบอยู่ตามลำพัง บุคคลทุกคนจะมีบุคลิกภาพเป็นแบบพฤติกรรมเปิดเผยหรือพฤติกรรมปกปิดก็ได้ หรือจะมีพฤติกรรมทั้งแบบเปิดเผยและปกปิดก็ได้ การวัดบุคลิกภาพแบบ Eysenck ไม่มั่นคง (มีอาการประสาทอ่อน) Unstable (Neurotic) unstable ทฤษฏีบุคลิกภาพตามรูปร่างของบุคคล (Types Personality Theory) วิลเลียม เซลดอน (William Sheldon ) มีความเชื่อว่าบุคลิกภาพแต่ละบุคคล มีส่วนสัมพันธ์กับคุณสมบัติ รูปร่างของบุคคล เซลดอนได้ทำการวิเคราะห์รูปร่างชายหนุ่มจำนวนหลายพันคน และสามารถสรุปได้ว่ารูปร่างแบบพื้นฐานแบ่งเป็น 3 แบบ คือ 1. รูปร่างอ้วน Endomorphy) มีลักษณะรูปร่างอ้วน เนื้อนิ่มและลำตัวมีขนาดกลม รูปร่างไม่ดี มีน้ำหนักมาก รับประทานอาหารมาก มีความเชื่องช้าอืดอาด ไม่สะอาด มีเพื่อนมาก มีนิสัยชอบการเข้าสมาคม ชอบการนอนและการกิน ชอบให้ร่างกายสบายและเป็นบุคคลที่มีความสุข 2. รูปร่างลำสัน Mesomorphy) มีลักษณะรูปร่างแข็งแรง มีมัดกล้ามเนื้อ มีการพัฒนาทางร่างกายมีกล้ามเนื้อแข็งแรงมองดูดี มีเพื่อนมาก มีความสุข มีคนชอบมาก มีความประณีต มีความเร็ว ชอบช่วยเหลือบุคคลอื่น มีลักษณะรูปร่างแบบนักกีฬา ชอบการต่อสู้ มีพลังชอบการผจญภัย ชอบการออกกำลังกายและมีความกล้าหาญ 3. รูปร่างผอม (Ectomorphy) มีลักษณะรูปร่างที่กล้ามเนื้อและกระดูกยังไม่รับการพัฒนา หน้าอกแบนราบ ลำตัวมีขนาดบางและอ่อนแอ ศีรษะมีขนาดใหญ่กว่าปกติ มีน้ำหนักเบารับประทานอาหารได้น้อย ชอบความเงียบ มีความวิตกกังวลใจ มีความหวาดกลัวไม่ชอบการต่อสู้ มีคุณสมบัติที่มีจิตสำนึกของตัวเอง มีอารมณ์อ่อนไหว มีความกังวลใจ ชอบอยู่ตามลำพัง ชอบการใช้ความคิดเป็นต้น ตามทฤษฏีบุคลิกภาพที่เชลดอนจำแนกรูปร่างบุคคลไว้ทั้ง 3 รูปแบบ เราจะพบว่ามีบุคคลเป็นจำนวนน้อยมากที่มีรูปร่างเหมือน แต่ก็ยังมีบุคคลอีกเป็นส่วนใหญ่ที่มีรูปร่างไม่เหมือน แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญและควรระลึกว่า บุคคลส่วนมากจะมีรูปร่างแบบผสมตามทฤษฏีบุคลิกภาพของเชลดอน ทฤษฏีบุคลิกภาพการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Theory) ความเข้าใจ สภาพการณ์ และพฤติกรรม ทำไมแต่ละบุคคลจึงแสดงการกระทำที่แตกต่างกัน ทั้งที่ในสภาพการณ์ที่เหมือนกันและทำไมในบุคคลคนเดียวกันจะแสดงการการทำด้วยความยุติธรรมในโอกาสที่ต่างกัน นักพฤติกรรมมีความเห็นว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าแต่ละบุคคลจะรู้จักการใช้ลักษณะเฉพาะบุคคลตามแต่ละสภาพการณ์ วอลเตอร์ มิสเชล (Walter Mischel) มีความเชื่อว่าประวัติศาสตร์เป็นรางวัลที่บุคคลเคยได้รับและเป็นประสบการณ์ในสภาพการณ์ที่เหมือนกัน เป็นความสามารถในการตอบสนองต่อสภาพการณ์ ความเข้าใจที่เป็นลักษณะเฉพาะต่อสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น การให้คุณค่าความสำคัญต่อสิ่งเร้าโดยเฉพาะ เช่น เงิน หรือการเข้ากับบุคคลอื่นได้ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ ย่อมขึ้นอยู่กับบุคคลที่อยู่รอบตัวเขา และความสำคัญในการพยากรณ์บุคลิกภาพอีกด้วย นักทฤษฎีลัทธิ พฤติกรรมเน้นบทบาทความคิดของแค่ละบุคคล ความรู้สึกและการคาดหวังในบุคลิกภาพ เรียกว่าทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม การศึกษาบุคลิกภาพโดยใช้วิธีการเรียนรู้ทางสังคม เน้นตัวบุคคล สิ่งแวดล้อมและ พฤติกรรมล้วนแต่เป็นส่วนประกอบที่มีความสำคัญ ถึงแม้ว่าพฤติกรรมจะเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้การ ตัดสินโดยอาศัยสภาพการณ์ที่มีตัวบุคคลอยู่ในสภาพการณ์นั้น กระบวนการความเข้าใจ ประสบการณ์ที่เคยผ่านมาแล้วและบุคคลอื่นจะช่วยทำให้บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และมีส่วนช่วยทำให้แต่ละบุคคลเกิดแนวทางปรับปรุงพฤติกรรมตามสภาพการณ์นั้น นักทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเป็นจำนวนมากเห็นว่าพฤติกรรมคือ การมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ระหว่างคุณลักษณะเฉพาะบุคคลของแต่ละบุคคลและสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว แอลเบิร์ท แบนดูร่า (Albert Bandura) นักทฤษฏีการเรียนรู้ทางสังคมที่มีชื่อเสียง ชี้ให้เห็นว่า กระบวนการความเข้าใจเป็นศูนย์กลางของการกระทำทั้งหลาย แบนดูร่ามีความเชื่อว่า มนุษย์มีศักยภาพในการใช้สัญลักษณ์เป็นกระบวนการ และสามารถเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นแก่ ตนเองให้เป็นการนำไปสู่การกระทำในอนาคต บุคคลมีความสามารถสร้างสรรค์วิทยาการใหม่ด้วยการลงมือกระทำ โดยการรู้จักใช้ความรู้และพลังอำนาจในการรู้จักใช้สัญลักษณ์พฤติกรรมของบุคคล มิใช่อาศัยเพียงแต่ประสบการณ์ที่เคยผ่านมาแล้วและมิใช้ปฏิกิริยาตอบสนองในทันทีทันใดต่อ สิ่ง แวดล้อม แต่เป็นการควบคุมโดยความคิดที่มองเห็นการณ์ไกล นั้นก็คือ อนาคตที่วางแผนไว้ ล่วงหน้าหรือกำหนดลำดับขั้นของการกระทำไว้เป็นการล่วงหน้า ส่วนมากพฤติกรรมของแต่ ละบุคคลถูกจูงใจและควบคุมโดยมาตรฐานภายในตัวบุคคล การประเมินผล ปรับความคิดและ พฤติกรรมได้ รูปแบบของความคิดที่มีผลต่อการกระทำทั้งหลาย แบนดูร่ามีความเชื่อว่า บุคคลมีการตัดสินใจโดยการใช้ความสามารถของตนที่จะจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อสภาพการณ์ที่ต่างกัน นั้นก็คือศูนย์กลางที่เรียกว่า ประสิทธิภาพของตนเอง อิทธิพลที่เกิดจากประสิทธิภาพการทำงานของบุคคล เป็นสิ่งที่ทำให้บุคคลเกิดการกระทำโดยใช้ความอุตสาหะในกิจกรรมแต่ละอย่าง และถ้าเป็นงานที่บุคคลนั้นมีความกระตือรือร้นหรือมีความศรัทธา บุคคลนั้นก็สามารถเลือกระดับประสิทธิภาพการทำงานของเขาได้ การรู้จักสังเกตตัวอย่างบุคคลอื่นที่มีความสำเร็จในการทำงาน เป็นสิ่งจูงใจให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางฐานะความเป็นอยู่ในการดำรงชีพของตนเองได้ดีขึ้น แบนดูร่ามีความเห็นว่า การกระทำทั้งหลายของบุคคลเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรม ความเข้าใจปัจจัยส่วนบุคคลและอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม การกระทำของแต่ละบุคคลจะมีพลังแตกต่างกันโดยจะแปรตามสภาพการณ์ เงื่อนไขของสิ่งแวดล้อมในขณะใดขณะหนึ่งซึ่งจะมีพลังอิทธิพลต่อ พฤติกรรม เช่น เมื่อคนกระโจนลงในน้ำลึก ทุกคนจะพยายามว่ายน้ำขึ้นมา การเรียนรู้โดยใช้การสังเกตจากบุคคลอื่น เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพ แบนดูร่า กล่าวว่า บุคคลรู้จักสังเกต พฤติกรรมของบุคคลอื่น และรู้จักดูว่าหลังจากการแสดงพฤติกรรมนั้นแล้วผลที่ตามมาจะได้รับรางวัลหรือการลงโทษ ถึงแม้ว่าพฤติกรรมจะถูกควบคุมโดยลำดับขั้นต่างๆ แตะยังมีผลต่อความ เข้า ทฤษฎีบุคลิกภาพ แบบมนุษยนิยม (Humanist Personality Theory) ทฤษฎีบุคลิกภาพแบบมนุษยนิยม แนะนำเรื่องคุณค่าของการให้ความเคารพโดยปราศจากเงื่อนไขต่อคนอื่น ซึ่งในความเป็นจริงนำไปสู่การปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพที่ดีกว่า ยึดถือแนวทางอิสระของ 2 นักทฤษฎีจิตวิทยาประกอบด้วย อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) มาสโลว์มีทรรศนะเหมือนกับฟรอยด์ มีความเชื่อ เกี่ยวกับการจูงใจมนุษย์ แต่ทรรศนะของมาสโลว์มีเหตุผลที่มีความแตกต่างจากทรรศนะของฟรอยด์ที่มีความเชื่อในพลังอำนาจ สิ่งที่บุคคลมีมาตั้งแต่แรกเกิด ล้วนแต่เป็นการจูงใจในทางลบ แต่มาสโลว์มีความเห็นว่า จุดอ่อนในสิ่งที่บุคคลมีมาตั้งแต่แรกเกิด ควรจะจัดให้เป็นแนวทางบวก ควรจะได้รับการสนับสนุนให้เกิดการจูงใจ เพื่อให้มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ จัดเป็นพลังอำนาจที่ดีที่สุด และเป็นการจูงใจที่จะต้องกระทำในทันที มาสโลว์มีความเห็นว่า ถ้าตราบใดที่มนุษย์ยังมีความอดอยากหิวโหยอยู่ สิ่งที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับเขาก็คืออาหารนั่นเอง ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้มีการเสนอแนะว่า เมื่อมนุษย์ได้รับความต้องการขั้นพื้นฐานจนเป็นที่พึงพอใจแล้ว มนุษย์ก็จะมีความต้องการในลำดับขั้นที่สูงต่อไปให้ปรากฏเห็นอยู่เสมอ ตามทรรศนะของมาสโลว์มีความเชื่อว่า ความต้องการตามลำดับขั้นทั้งหมดเป็นความต้องการของมนุษย์ที่มีมาตั้งแต่แรกเกิด แต่มนุษย์ที่มีความต้องการตามลำดับขั้นในขั้นที่สูงขึ้น มนุษย์จึงต้องการ การชี้นำในการกระทำ เมื่อมนุษย์ได้รับความพึงพอใจในลับดับขั้นความต้องการขั้นพื้นฐานคือ ได้รับอาหารเพียงพอแล้ว และมีความปลอดภัยในชีวิตแล้ว ก็เป็นสิ่งที่เชื่อแน่ได้ว่า มนุษย์ก็จะถูกจูงใจให้มีความต้องการทางสังคม หรือมีความต้องการการยอมรับ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและจะได้รับการยอมรับนับถือเป็นอย่างสูง เขาก็จะเป็นผู้ที่รู้จักและมีความเข้าใจโลกของเขา หรือจัดเป็นการสร้างสุนทรียภาพแห่งความพอใจที่บริสุทธิ์ มนุษย์สามารถจะประสบผลสำเร็จได้ตามเป้าหมาย เขาจะกลายเป็นบุคคลที่มีความสามารถมากที่สุดตลอดไปและมีความสามารถหลายอย่าง หรือเป็นบุคคลที่ประสบความสำเร็จชีวิต ดังนั้นแต่ละบุคคลจะมีความสามารถในการพัฒนาตนเองได้เป็นอย่างดีที่สุด ตามแผนการของมาสโลว์ สังคมควรจะมีส่วนช่วยทำให้เกิดความเชื่อมั่นได้ว่า บุคคลทุกคนสามารถจะได้รับความพึงพอใจในความต้องการขั้นพื้นฐานทางด้านสรีระ แต่ควรจะให้เขาได้มีการพัฒนาความต้องการในลำดับความต้องการขั้นต่อไปอย่างเต็มที่ เพื่อเป็นการรักษาและควบคุมทางสังคมเหนือสัญชาตญาณของบุคคล มาสโลว์มีความรู้สึกว่า สังคมจะต้องให้การสนับสนุนส่งเสริมบุคคลที่มีความอ่อนแอ โดยการเพิ่มการจูงใจให้มากขึ้น การที่มนุษย์มีแต่การกระทำความเลวก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้เนื่องจากเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่บุคคลถูกขัดขวางในความต้องการขั้นพื้นฐาน ดังนั้นบุคคลก็ไม่สามารถทำหน้าที่ตามแรงขับที่เพิ่มขึ้นได้ บุคคลแจจะมีพฤติกรรมที่มีความเห็นแก่ตัว หรือกระทำการก่อเหตุร้ายแรง เนื่องจากบุคคลเหล่านั้นจะไม่เคยได้รับความต้องการตามลำดับขั้นในระดับขั้นที่ต่ำที่สุดเพราะว่าบุคคลเหล่านั้นมีความต้องการมากเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เข้าต้องกลับมาอยู่ในลำดับความต้องการขั้นต่ำที่สุด แต่ก็ยังเปิดโอกาสให้เขามีแนวทางไปสู่ความสำเร็จสูงสุดในชีวิตได้ในการศึกษาความสัมพันธ์เหล่านี้ มาสโลว์ได้ให้ความสนใจมิใช่แต่เพียงผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านจิตวิทยาเท่านั้น แต่ได้ให้ความสนใจแก่บุคคลที่มีความรู้สึกว่าใกล้จะประสบความสำเร็จในชีวิตถึงแม้ว่าบุคคลเหล่านี้จะไม่มีความสมบูรณ์ในตนเอง ซึ่งเขาอาจจะเป็นบุคคลที่มีความดื้อรั้น โมโหง่ายไม่เป็นประโยชน์หรือแม้กระทั่งเป็นบุคคลที่น่าสงสาร บุคคลเหล่านี้แต่ละบุคคลมี ศักยภาพเกือบเต็มที่ได้แก่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์(Albert Einstein) และอีเลียเนอร์ รูสเวลท์ (Eleanor Roosevelt) แต่บุคคลทั้งสองนี้ก็มิได้มีผลงานสำเร็จเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการทำงานทุกชนิดที่ผ่านมาตลอดชีวิต รูปแสดงลำดับขั้นตามความต้องการของมาส์โลว์ คาร์ล โรเจอร์ส (Carl Rogers) มีความเห็นว่า ธรรมชาติของมนุษย์เป็นสิ่งที่ดีและมีความสำคัญมาก โดยมีความพยายามที่จะพัฒนาร่างกายให้มีความเจริญเติบโตอย่างมีศักยภาพสูงสุด โรเจอร์ส ตั้งทฤษฏีขึ้นมาจากการศึกษาปัญหาพฤติกรรมของคนไข้จากคลินิกการักษาคนไข้ของเขา และได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับบุคลิกภาพที่เกิดจากสุขภาพเป็นอย่างมาก ทฤษฏีของโรเจอร์เน้นถึงเกียรติของบุคคล ซึ่งบุคคลมีความสามารถที่จะทำการปรับปรุงชีวิตของตนเองเมื่อมีโอกาสเข้ามิใช่จะเป็นเพียงแต่เหยื่อในขณะที่มีประสบการณ์ในสมัยที่เป็นเด็ก หรือจากแรงขับของจิตใต้สำนึก แต่ละบุคคลจะรู้จักการสังเกตสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา โดยมีแนวทางเฉพาะของบุคคล กล่าวได้ว่า เป็นการับรู้สภาพสิ่งแวดล้อมซึ่งมีความสำคัญมาก โรเจอร์ เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีตัวตน 3 แบบ 1. ตนที่ตนมองเห็น (Self Concept) ภาพที่ตนเห็นเองว่าตนเป็นอย่างไร มีความรู้ความสามารถ ลักษณะเพราะตนอย่างไร เช่น สวย รวย เก่ง ต่ำต้อย ขี้อายฯลฯ การมองเห็นอาจจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริงหรือภาพที่คนอื่นเห็น 2. ตนตามที่เป็นจริง (Real Self) ตัวตนตามข้อเท็จจริง แต่บ่อยครั้งที่ตนมองไม่เห็นข้อเท็จจริง เพราะอาจเป็นสิ่งที่ทำ ให้รู้สึกเสียใจ ไม่เท่าเทียมกับบุคคลอื่น เป็นต้น 3. ตนตามอุดมคติ (Ideal Self) ตัวตนที่อยากมีอยากเป็น แต่ยังไม่มีไม่เป็นในสภาวะปัจจุบัน เช่น ชอบเก็บตัว แต่อยากเก่งเข้าสังคม เป็นต้น ถ้าตัวตนทั้ง 3 ลักษณะ ค่อนข้างตรงกันมาก จะทำให้มีบุคลิกภาพมั่นคง แต่ถ้าแตกต่างกันสูง จะมีความสับสนและอ่อนแอด้านบุคลิกภาพ โรเจอร์วางหลักไว้ว่า บุคคลถูกกระตุ้นโดยความต้องการสำหรับการยอมรับนับถือทางบวก นั่นคือความต้องการความรัก การยอมรับและความมีคุณค่า บุคคลเกิดมาพร้อมกับความต้องการการยอมรับนับถือในทางบวก และจะได้รับการยอมรับนับถือ โดยอาศัยการศึกษาจากการดำเนินชีวิตตามมาตรฐานของบุคคลอื่นทฤษฏีของโรเจอร์กล่าวว่า “ตนเอง” (Self) คือการรวมกันของรูปแบบค่านิยม เจตคติการรับรู้และความรู้สึก ซึ่งแต่ละบุคคลมีอยู่และเชื่อว่าเป็นลักษณะเฉพาะของเขาเอง ตนเองหมายถึงฉันและตัวฉัน เป็นศูนย์กลางที่รวมประสบการณ์ทั้งหมดของแต่ละบุคคล ภาพพจน์นี้เกิดจากการที่แต่ละบุคคลมีการเรียนรู้ตั้งแต่วัยเริ่มแรกชีวิต ภาพพจน์นั่นเองสำหรับบุคคลที่มีการปรับตัวดีก็จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างคงที่และมีการปรับตัวตามประสบการณ์ที่แต่ละคนมีอยู่ การสังเกตและการรับรู้เป็นเรื่องของตนเองที่ปรับให้เข้ากับสภาพสิ่งแวดล้อมในการทำงาน ตัวอย่าง เช่น พนักงานบางคนมีการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพต่อสภาพสิ่งแวดล้อมในการทำงานและการเป็นผู้นำ ทฤษฏีบุคลิกภาพของแอคเลอร์ (Adler’s Personality Theory) อัลเฟรด แอดเลอร์ (Alfed Adler) เป็นจิตแพทย์ที่ได้ค้นคว้าและพัฒนาบุคลิกภาพขึ้นมาใหม่ เรียกว่า จิตวิทยาปัจเจกชน (Individual Psychology) เชื่อในอิทธิพลของสังคม ชี้ให้เห็นว่า พฤติกรรมของบุคคลจะเป็นอย่างไรนั้นถูกกำหนดโดยสังคมรอบตัว เช่น เศรษฐกิจ การเมือง ประเพณีวัฒนธรรม วิธีการเลี้ยงดูบุตร แอดเลอร์ มีความเชื่อว่า บุคคลโดยพื้นฐานแล้วถูกจูงใจโดยปมด้อย บุคคลบางคนมีความรู้สึกเป็นปมด้อย เมื่อมีร่างกายพิการและมีความต้องการที่จะทำการชดเชยปมด้อยเหล่านั้น ความรู้สึกที่ตนเองมีปมด้อยทำให้เกิดแรงขับที่เรียกว่า ปมเด่น ตัวอย่างเช่น นักกวีชาวอังกฤษ ลอร์ด ไบรอน (Lord Byron) ชาพิการเป็นแชมป์ว่ายน้ำ บีโธเวน(Beethoven) หูพิการได้สร้างตนเองจนได้รับความสำเร็จเป็นนักดนตรีเอกของโลก แอดเลอร์ มีความเชื่อว่า ความรู้สึกของตนเองจะแสดงบทบาทที่สำคัญ ในการสร้างรูปแบบของบุคลิกภาพ การรู้จักสร้างตนเอง และบุคลิกภาพแบบที่รู้จักตนเอง ก่อให้เกิดความพยายามที่จะเอาชนะอุปสรรคทั้งหลาย และสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ เพราะว่าศักยภาพนี้เป็นลักษณะพิเศษที่มีอยู่ในแต่ละบุคคล ทรรศนะจิตวิทยาของแอดเลอร์เรียกว่า จิตวิทยาปัจเจกชน (Individual Psychology) ความรู้สึกเป็นปมด้อย (Feeling of Inferiority) แอดเลอร์ กล่าวว่าบุคคลมีความพิการทางร่างกายมีความพยายามที่จะหาทางชดเชยความบกพร่องของตนเอง โดยการฝึกอบรมอย่างเร่งรีบ เด็กผู้หญิงที่พูดติดอ่าง จะพยายามเอาชนะอุปสรรคการพูดติดอ่าง โดยการพยามยามฝึกหัด จนกระทั่งสักวันหนึ่งเขาก็จะสามารถพูดได้เก่ง บางทีก็อาจจะได้เป็นผู้ประกาศข่าวทางวิทยุกระจาย เสียง เด็กผู้ชายที่มีขาไม่แข็งแรงจะมีความพยายามอุตสาหะฝึกฝนตนเอง ให้กลายเป็นนักวิ่งระยะไกลที่มีชื่อเสียง จากตัวอย่างเด็กหญิงและเด็กชายที่กล่าวมาแล้วนี้ แอดเลอร์มีความเชื่อว่า ปมด้อยมิได้เกิดจากความพิการในตัวของมัน ที่ทำให้เกิดแรงมานะพยายามที่จะเอาชนะปมด้อย แต่ที่จริงแล้วเกิดจากเจตคติของบุคคลที่มีต่อสิ่งนั้น บุคคลที่มีความเป็นอิสระที่จะแปลความหมาย ความบกพร่อง ได้หลายแนวทาง หรือแม้กระทั่งว่าจะไม่ยอมรับรู้เลยก็ได้ ถ้าเขาไม่ยอมรับรู้เลยก็จะไม่ทำให้เกิดความพยายาม ที่จะทำลายพฤติกรรม ทำให้เกิดเป็นปมเขื่อง ชอบแสดงอำนาจความก้าวร้าวเพื่อปิดบังข้อบกพร่องของตน แอดเลอร์ กล่าวว่า โครงสร้างบุคลิกภาพของบุคคลเกิดขึ้นจากเป้าหมาย 2 ชนิด 1. พยายามปรับตัวให้เข้ากับสังคม (Social Adaptation) 2. พยายามทรงไว้ซึ่งอำนาจ(Attainment of Power) การพัฒนาบุคลิกภาพ เป็นการทำให้รู้จักตนเองก่อนเป็นประการแรกว่า เราเป็นบุคคลประเภทใด มีคุณลักษณะอย่างไร มีข้อดี ข้อเสีย รู้จักหลักในการดำเนินชีวิตประจำวัน ในการทำงานและการเข้าสังคมอย่างไร สิ่งสำคัญที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาบุคลิกภาพคือ ความเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพดี ต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญทางด้านร่างกายที่สมบูรณ์และจิตใจที่ดี จึงต้องอาศัยสุขภาพที่ดี กล่าวคือ มีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสมส่วน มีความคล่องตัว ว่องไว ปรับตัวได้ง่าย ดังนั้น บุคคลทุกคนสามารถพัฒนาบุคลิกภาพได้โดยกระทำ ดังนี้ 1. การบริหารร่างกายเป็นประจำ คือการรู้จักออกกำลังกายโดยการกระทำกิจกรรมที่ร่างกายมีการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อได้มีการออกแรงทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น มีเหงื่อออกมากกว่าปกติ 2. รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อการบำรุงร่างกาย ตามหลักโภชนาการที่ให้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และมีปริมาณที่เพียงพอแก่ร่างกาย 3. พักผ่อนร่างกาย จัดให้มีเวลาพักผ่อนร่างกายพอสมควร ภายหลังจากการเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานประจำวัน มีเวลานอนพอเหมาะกับวัย 4. บริหารจิตใจ เป็นการฝึกจิตใจให้มีสมาธิ มีพลัง มีความคิด 5. พักผ่อนในวันสุดสัปดาห์ เพื่อเป็นการผ่อนคลายความเครียดและเป็นการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้มีจิตใจแจ่มใส ปลอดโปร่งสามารถกลับมาทำงานได้ด้วยความสดใส 6. นอกจากความรู้ เชาวน์ และความขยันขันแข็ง บุคลิกภาพเป็นสิ่งสำคัญยิ่งอีกอันหนึ่งที่ทำให้คนบรรลุความสำเร็จในอาชีพการงานต่าง ๆ คนที่พยายามที่จะสำเร็จเป็นฤาษีชีไพรเท่านั้นที่ไม่ต้องให้บุคลิกภาพเข้าช่วย เพราะอยู่นอกสังคม 7. สมมติว่าคนคนหนึ่งมุ่งหวังจะมีความสำเร็จในการงาน เช่น การค้าหรือการปฏิบัติราชการในบางแผนก คน ๆ นี้ต้องพบกับคนนานาชนิดอยู่เป็นประจำ เขาจะต้องพยายามให้คนเหล่านี้มีปฏิกิริยาที่ดีต่อเขาและที่เป็นประโยชน์ต่อการงานของเขา เขาจะต้องทำให้ผู้บังคับบัญชาเห็นว่าเขาสมควรได้เลื่อนตำแหน่งหรือได้เงินเดือนขึ้น ถ้าการกระทำเช่นนี้ในครั้งแรกไม่สมหวัง เขาจะต้องดัดแปลงแต่งปรุงปฏิกิริยาส่วนรวมของเขาใหม่ เพื่อให้บุคลิกภาพของเขานำความสำเร็จมาให้ตามความปรารถนา ถ้าลองนึกดูให้ดีแล้ว คนทุกคนตกอยู่ในขบวนวิธีดัดแปลงแต่งปรุงบุคลิกภาพอยู่แทบทุกคาบในชีวิต ความเจริญก้าวหน้าของคนอยู่ที่การปรุงแต่งบุคลิกภาพให้เข้ากับสถานการณ์ที่แวดล้อมตนอยู่ 8. ร่างกายของคนพัฒนาขึ้นเพื่อให้คนสามารถทำงานในหน้าที่ ที่ต้องเปลี่ยนไปตามวัยฉันใด บุคลิกภาพของคนก็ต้องพัฒนาขึ้นให้เหมาะสมแก่สถานการณ์แวดล้อมฉันนั้น พัฒนาการของบุคลิกภาพเป็นผลซึ่งเกิดจากการเรียนและการฝึกหัดในทุกๆด้าน ถ้าเราศึกษาบุคลิกภาพชั้นนำของโลก เช่น ประธานาธิบดีโรสเวลต์ จูเลียส ซีซาร์ จะเห็นได้ว่า อำนาจดึงดูดของบุคลิกภาพของคนเหล่านี้ ประกอบขึ้นด้วยพฤติกรรมต่างๆ ที่คนเหล่านี้ค่อยๆ ฝึกทำไปจนเป็นนิสัย นอกจากนี้เราจะเห็นได้ว่า ในระยะต้นๆ ของชีวิตของบุคคลเหล่านี้ เขาได้ดัดแปลง แต่ง ปรุง แบบสวนกับปฏิกิริยาต่าง ๆ อยู่เสมอ แบบอันไหนที่ไม่เหมาะและไม่นำความสำเร็จมาให้ คนเหล่านี้ก็ทิ้งเสีย และแต่ง ปรุงอันใหม่ ๆ ขึ้นมาเสมอ บุคลิกภาพของดาราภาพยนตร์คนสำคัญต่าง ๆ ก็ไม่คงที่ ต้องเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับความต้องการของมหาชนอยู่เสมอ (ที่มาhttp://www.baanjomyut.com/library/personality/17.html) บุคลิกภาพกับความสำเร็จ บุคลิกภาพเป็นส่วนสำคัญของมนุษย์ในการที่จะช่วยส่งเสริมหรือขัดขวางความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการเรียน การทำงาน การเข้าสังคม (โสภา ชูพิกุลชัย ชปีลมันน์, 2544) แม้ว่า ความรู้ความสามารถ เป็นสิ่งที่สำคัญ ที่สุดใน การทำงาน แต่ไม่ใช่หมด การยอมรับของสังคมนั้นต้องมี ส่วนประกอบ ที่สำคัญนั้นคือ บุคลิกภาพ (วรวรรณา จิลลานนท์, 2546) ดังนั้น บุคลิกภาพ จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่ง ที่ส่งผลและเกี่ยวข้องกับ การประสบความสำเร็จ สถาบันราชภัฏเทพสตรี (2543) ได้กล่าวถึงบุคลิกภาพของ "คนเก่ง" ว่าจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ ได้แก่ 1.เก่งตน หมายถึง เป็นผู้ที่ชอบศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทัน โลกทันคน โดยเริ่มจาก พัฒนาตนเอง ก่อน ประกอบด้วย - ทางกาย : รูปร่าง พัฒนาให้ดีขึ้นโดยใช้การแต่งกายช่วยลดหรือเสริมจุดเด่นจุดด้อย หน้าตาสด ชื่นแจ่มใส สะอาด เข้มแข็งแต่ไม่กระด้าง อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ - ทางวาจา : การพูดดีมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ พูดแต่ดี มีประโยชน์ ผู้ฟังชอบ และทุกคน ปลอดภัย คิดก่อนพูด - ทางใจ : มีความมั่นใจในตนเอง กระตือรือร้น มีความอดทน พยายาม มีเหตุผล การ มีสมรรถภาพ ในการจำ และมี ความคิดสร้างสรรค์ 2. เก่งคน หมายถึง มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 3. เก่งงาน หมายถึง ผู้ที่รักงาน ขยันทำงาน และรู้วิธีทำงาน กิติมาพร ชูโชติ (2544) ได้กล่าวถึง ความสำคัญของบุคลิกภาพ ที่ส่งผลต่อ ความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคลิกภาพ ของบุคคลที่ จะเป็นผู้นำว่า "เป็นปัจจัยที่สำคัญในการบริหารที่จะทำให้องค์การทำงานสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ วิธีการบริหาร ของผู้นำ นั้นเกิดจาก พฤติกรรมส่วนตัว ของ ผู้นำเป็นสำคัญ ไม่ใช่เกิดจาก อำนาจที่เป็นทางการ และส่งผลให้ คนเชื่อและทำตาม" โดยได้เสนอแนะบุคลิกภาพของ "ผู้นำในอนาคต" ที่ต้องการประสบความสำเร็จว่า ต้องมี คุณลักษณะที่สำคัญ ประกอบด้วย 1. ยืนหยัด คือ การที่ไม่ยอมเสียจุดยืน เสียความมั่นใจของตนเอง มีเหตุผลและการใช้วิจารณญาณของตนเอง 2. ยืดหยุ่น คือ การรู้จักผ่อนปรนตามสถานการณ์เพื่อให้การปฏิบัติการบรรลุตามเป้าหมาย 3. ยินยอม คือ การรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน ประนีประนอม 4. ยิ้มแย้ม คือ สามารถยิ้มรับสถานการณ์ได้ทุกรูปแบบ แสดงอารมณ์อย่างเหมาะสม 5. ยกย่อง คือ การรู้จักยกย่องผู้อื่นด้วยความจริงใจ อย่างไรก็ตาม ในทัศนะของ โสภา ชูพิกุลชัย ชปีลมันน์ (2544) บุคลิกภาพของผู้นำที่ได้รับการยอมรับนั้น จะประกอบด้วย องค์ประกอบอยู่ 3 ประการ อันได้แก่ 1. องค์ประกอบทางสรีระ ได้แก่ ลักษณะรูปร่าง น้ำหนัก ส่วนสูง และความแข็งแรงของร่างกาย แม้ว่าความสัมพันธ์ของ องค์ประกอบ ทางสรีระ และความเป็นผู้นำจะผันแปรไปตามลักษณะของกลุ่มแต่ละกลุ่ม แต่ส่วนใหญ่แล้ว คนทั่วไปมักนิยมชื่นชอบผู้นำที่มีรูปร่างสมส่วน และมีความเข้มแข็งด้านร่างกายและจิตใจ แม้ว่าจะมีผลการศึกษาหลายชิ้นที่สนับสนุนความเชื่อที่ว่า หน้าตาที่หล่อ/สวย นั้นมี ความสัมพันธ์กับ ความสำเร็จในการงาน แต่จากการศึกษาของ วันชัย อริยะพุทธิพงศ์ (2545) ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็น ศิษย์เก่าจาก มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง กลับพบว่า หน้าที่ตาหล่อ/สวยไม่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการงาน 2. องค์ประกอบด้านสติปัญญา หมายถึง (1) ความสามารถในการปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงตนเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือปัญหาที่เผชิญอยู่ (2) ความสามารถในการศึกษาหรือการเรียนรู้ และ (3) ความสามารถในการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม ซึ่งหากผู้นำมีระดับสติปัญญาในระดับปกติหรือระดับฉลาดก็มีแนวโน้มว่า ความเป็นผู้นำนั้น จะประสบความสำเร็จหรือมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 3. องค์ประกอบทางอารมณ์ ได้แก่ ความสามารถทางอารมณ์ (Emotional Intelligence Competencies) หรือ เชาว์อารมณ์ (Emotional Quotient : EQ) หมายถึง ความสามารถในการตระหนัก รู้ถึงความรู้สึกของตนเอง และของผู้อื่น เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับ ตนเอง บริหารจัดการอารมณ์ของตนเองและของผู้อื่น จะเห็นได้ว่า บุคลิกภาพเพื่อความสำเร็จนั้น จะประกอบด้วยองค์ประกอบ หรือ คุณลักษณะหลายประการ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยเอื้อต่อ การประสบความสำเร็จ แต่ในยุคแห่งการแข่งขันในปัจจุบันสุภกิจ โสทัต (2540) กลับเชื่อว่า ความรู้และ ความเฉลียวฉลาด ของบุคคลนั้น มีความสำคัญน้อยกว่า ความมุ่งหวังตั้งใจเด็ดเดี่ยว แน่นอนและมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวางจุดมุ่งหมาย ที่แน่นอน ในชีวิต เพราะ "บุคคลที่ขาดจุดหมายก็คือคนที่ขาดหลักสำหรับยึดเหนี่ยว ยิ่งในยุดที่ "ใครแข็งใครอยู่" แล้ว คนที่อ่อนแอ จะถูกผลักให้ถอยไปข้างหลัง รวมทั้งคนที่ตั้งใจทำอะไรเพียง ครึ่ง ๆ กลาง ๆ ก็จะไม่มีวันก้าวไปสู่ความสำเร็จได้เลย" นอกจากนั้น วรวรรณา จิลลานนท์ (2546) ยังมีข้อแนะนำเบื้องต้นสำหรับ "คนทำงานรุ่นใหม่" คือ การทำความเข้าใจเรื่องของ "กาลเทศะ" และ "มารยาททางสังคม" เนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการยอมรับทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่กำลัง จะสมัครงาน จะต้องปรับเปลี่ยน หรือเสริมสร้าง "บุคลิกภาพใหม่" ดังกล่าวให้เหมาะสม เพื่อความได้เปรียบและเสริมสร้างโอกาสใน การทำงานและความสำเร็จต่อไป (ที่มา http://www.novabizz.com/NovaAce/Personality/Success.htm) บุคลิกภาพกับการนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน ประยุกต์ใช้กับงานด้านการคัดสรรหาพนักงาน (Recruitment) ในการคัดเลือกบุคลากรให้มีบุคลิกภาพที่ต้องการนั้นจะมุ่งพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครหลาย ๆ ด้านประกอบกันในการคัดเลือก เช่น ความรู้ ทักษะ รูปร่าง สุขภาพ กิริยาท่าทาง การ ควบคุมอารมณ์ และทัศนคติที่มีต่อบุคคลอื่น เป็นต้น การนำมาประยุกต์ใช้นั้นจะเริ่มจากช่องทางการสรรหา การกำหนดรูปแบบใบสมัคร ข้อมูลจากบุคคลอ้างอิง การสัมภาษณ์และการใช้แบบทดสอบบุคลิกภาพ กำหนดแหล่งสรรหาพนักงาน โดยทั่วไปเรามักจะกำหนดบุคลิกภาพ โดยดูจาก job description เป็นหลัก ว่าตำแหน่งใด ควรมีคุณสมบัติอย่างไร เช่นงานประสานงานต่างประเทศต้องการความถนัดด้านภาษา งานขายต้องมีทักษะด้านการเจรจา เป็นต้น แต่มีปัจจัยอื่นที่ อย่างเช่น คนในองค์การอาจจะมีวัฒนธรรมในการเลือกผู้ร่วมงานที่มีบุคลิกภาพคล้ายตน เช่น จบมหาลัยเดียวกัน คณะเดียวกัน จะทำงานเข้ากันได้ดี ผู้คัดเลือก สามารถเลือกช่องทางรับสมัครแบบเจาะจงได้ เช่น รับวิศวกรจากมหาลัยที่ต้องการโดยตรง, การลงโฆษณาใน www.jobdb.com สำหรับงานประสานงานต่างประเทศ ,ตำแหน่งแม่บ้านจากกรมจัดหางาน เป็นต้น การกำหนดข้อมูลใบสมัคร ในการออกแบบใบสมัคร ควรกำหนดหัวข้อให้ครอบคลุมข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ของผู้สมัครให้สมบูรณ์มากที่สุด โดยเฉพาะข้อมูลที่องค์การธุรกิจต้องการทราบเพื่อประโยชน์สูงสุด และเพื่อความสะดวกแก่ผู้คัดเลือกพิจารณาตัดสินใจ และข้อมูลสำคัญต่าง ๆ นี้ทำให้สามารถประเมินบุคลิกภาพของผู้สมัครได้ด้วย ดังที่เราทราบอยู่แล้วว่า บุคลิกภาพ มาจากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างข้อมูลและ รายละเอียดที่สำคัญ ซึ่งควรมีปรากฏในใบสมัครเพื่อให้ผู้สมัครกรอก เช่น ลักษณะภายนอก เพศ, อายุ, ลักษณะทางร่างกาย เช่น ส่วนสูง น้ำหนัก สีผิว สีตา สีผม ฯลฯ, เชื้อชาติ, ศาสนา ข้อมูลทางสุขภาพ ฯลฯ สภาพแวดล้อม ภูมิลำเนา สถานภาพของครอบครัว ประสบการณ์ทำงาน การศึกษา งานอดิเรก กิจกรรมทางสังคม ความสามารถพิเศษ ฯลฯ เราสามารถคัดเลือกเบื้องต้นได้ตามบุคลิกภาพที่เรากำหนดไว้จากข้อมูลเหล่านี้ได้ เช่น งานแอร์โฮสเตส ต้องการส่วนสูง 160 ขึ้นไป นอกเหนือจากบุคลิกภาพที่ดีให้ความประทับใจกับลูกค้าแล้ว ก็เพื่อสะดวกในการใช้งานอุปกรณ์บนเครื่องบนด้วยด้วย สิ่งที่ควรระวังคือ ข้อมูลในส่วนนี้เราใช้ในการพิจารณาประกอบเท่านั้น ไม่ควรเชื่อถือมากจนเกิดอคติ หรือประทับใจมากเกินไป จะทำให้สิ่งที่เรามองเห็นในตัวผู้สมัครผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงได้ ข้อมูลจากบุคคลอ้างอิง การที่จะได้มาซึ่งข้อมูลจากบุคคลที่อ้างอิง ควรพยายามหลีกเลี่ยงการให้เขียนลงในเอกสารหรือในใบสมัครเพราะอาจเกิดความเกรงใจ หรือความอึดอัดใจระหว่างผู้อ้างอิงกับผู้สมัครได้ จึงอาจได้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง และทำให้เรามองเห็นบุคลิกภาพของผู้สมัครได้ไม่ชัดเจน ผู้ทำหน้าที่ในการคัดเลือกผู้สมัคร อาจหาข้อมูลโดยไปสัมภาษณ์ หรือโทรศัพท์ไปถามโดยตรงกับบุคคลที่ผู้สมัครได้อ้างอิงไว้ โดยถามถึงส่วนดีของผู้สมัครก่อน ให้บรรยายลักษณะเด่นของผู้สมัคร และประโยชน์ที่บริษัทจะได้จากผู้สมัครรายนั้น จากนั้นจึงถามถึงจุดอ่อนของผู้สมัคร ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่บุคคลทั่วไปจะพึงมีรวมทั้งข้อเสนอแนะในการช่วยเหลือหรือพัฒนาพนักงานผู้นั้น และในกรณีที่ผู้อ้างอิงให้แนวคิดเกี่ยวกับผู้สมัครซึ่งอาจจะเป็นทางบวกมากไปหรือทางลบมากไป ผู้พิจารณาก็ควรหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจ คุณมี "สมบัติผู้ดี" มากน้อยแค่ไหน คำว่า "สมบัติผู้ดี" คืออะไร บางคนอาจเคยได้ยินแต่ไม่รู้แน่ชัดว่ามันเป็นอย่างไร สมัยก่อน ถ้าอ่านนิยายหรือดูหนังละคร เรามักได้ยินญาติผู้ใหญ่ข้างฝั่ง พระเอกดูถูกนางเอกสาวแสนสวยแต่ยากจนว่า เป็นพวกไพร่ มิใช่ "ผู้ดี" เหมือนอย่างตนเอง เช่น ท่านแม่ของคุณชายกลางที่ด่าว่าพจมาน ในเรื่องบ้านทรายทอง เมื่อได้ยินได้ฟังแบบนี้ เลยทำให้หลายคนคิดว่า "ผู้ดี" คือพวกที่มีเชื้อสาย หรือเป็นพวกเศรษฐีมีเงินทองอย่างพวกไฮโซไฮซ้อที่ปรากฎ ในข่าวสังคมปัจจุบัน ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของ "ผู้ดี" ว่าคือ คนที่เกิดในตระกูลดี หรือหมายถึง คนที่มีมารยาทดีงาม ซึ่งความหมายอย่างหลังนี้ตรงกับคำจำกัดความของ เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี ที่ว่า "ผู้ดี" หมายถึง "ผู้มีกิริยาดี" มิใช่ "ผู้ดี" ซึ่งคนมักเข้าใจว่า เป็นคำตรงกันข้ามกับ "ไพร่" กล่าวคือ ผู้ดีในความหมายของท่าน ต้องเป็นบุคคลผู้มีความประพฤติดีทั้งทางกาย วาจา และความคิด (สำหรับคำว่า "ไพร่" ในพจนานุกรมฯ ได้ให้ความหมายว่า ชาวเมืองหรือพลเมืองสามัญ แต่ตามความเข้าใจของคนทั่วไปก็มักจะหมายถึง พวกต๊อกต๋อย ยากจน ไม่ค่อยมีสตางค์) หนังสือ "สมบัติผู้ดี" เป็นตำราที่เขียนขึ้นมาเพื่อสอนหรือบอกให้ทราบว่าคนที่จะได้ชื่อว่า "ผู้ดี" นั้น ต้องปฏิบัติตัวหรือมีมารยาทในสังคมเช่นไร ในตำรา "สมบัติผู้ดี" มีเนื้อหาอยู่ 10 ภาค แต่ละภาคจะสอนการปฏิบัติตนทั้งทางกาย วาจา และใจ เรียกว่า กายจริยา วจีจริยา และมโนจริยา ขอกล่าวเนื้อหาโดยย่อ ภาคหนึ่ง : ผู้ดีย่อมรักษาความเรียบร้อย กายจริยา เป็นการสอนให้รู้จักมีกิริยาที่ดี เช่น ผู้ดีย่อมไม่ล่วงเกิน ถูกต้องผู้อื่นซึ่งไม่ใช่หยอกกันฐานเพื่อน ผู้ดีย่อมไม่ส่งของให้ผู้อื่นด้วยกิริยาอันเสือกไสผลักโยน วจีจริยา เป็นการสอนให้รู้จักพูดจาให้เรียบร้อย เช่น ผู้ดีย่อมไม่สอดสวนวาจาหรือแย่งชิงพูด ผู้ดีย่อมไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย มโนจริยา การสอนให้นึกคิดในทางที่ดี ได้แก่ ผู้ดีย่อมไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่าน กำเริบ หยิ่งยโส และผู้ดีย่อมไม่บันดาลโทสะให้เสียกิริยา ภาคสอง : ผู้ดีย่อมไม่ทำอุจาดลามก กายจริยา เป็นการสอนให้รู้จักแสดงออกทางกายในทางที่ไม่เสียหาย เช่น ผู้ดีย่อมใช้เสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวสะอาด และแต่งโดยเรียบร้อยเสมอ ผู้ดีย่อมไม่แต่งตัวในที่แจ้ง ผู้ดีย่อมไม่จิ้มควัก แคะ แกะ เการ่างกายในที่ชุมชน ผู้ดีย่อมไม่จามด้วยเสียงอันดังและโดยไม่ป้องกำบัง วจีจริยา เป็นวิธีการสอนไม่ให้พูดคำลามกหรือสิ่งอันลามกในที่ชุมชน ได้แก่ ผู้ดีย่อมไม่กล่าวถึงสิ่งโสโครก พึงรังเกียจในท่ามกลางชุมชน ผู้ดีย่อมไม่กล่าวถึงสิ่งควรปิดบังท่ามกลางชุมชน มโนจริยา เป็นการสอนให้มีความคิดในทางที่ชอบที่ควร ได้แก่ ผู้ดีย่อมพึงใจที่จะรักษาความสะอาด ภาคสาม : ผู้ดีย่อมมีสัมมาคารวะ กายจริยา ผู้ดีย่อมไม่หันหลังให้ผู้ใหญ่ ผู้ดีย่อมไม่ทัดหรือคาบบุหรี่ และสูบให้ควันไปรมผู้อื่น ผู้น้อยย่อมเคารพผู้ใหญ่ก่อน ผู้ดีย่อมเปิดหมวกในที่เคารพ เช่น โบสถ์ วิหาร ไม่ว่าแห่งศาสนาใด วจีจริยา ผู้ดีย่อมไม่พูดจาล้อเลียน หลอกลวงผู้ใหญ่ ผู้ดีย่อมไม่กล่าววาจาอันติเตียนสิ่งเคารพหรือที่เคารพของผู้อื่น เมื่อตนทำพลาดพลั้งสิ่งใดแก่บุคคลใด ควรจะออกวาจาขอโทษเสมอ เมื่อผู้ใดได้แสดงคุณต่อตนอย่างไร ควรออกวาจาขอบคุณเขาเสมอ มโนจริยา ผู้ดีย่อมเคารพยำเกรงบิดา-มารดาและอาจารย์ ผู้ดีย่อมนับถือ นอบน้อมต่อผู่ใหญ่ ภาคสี่ : ผู้ดีย่อมมีกิริยาเป็นที่รัก กายจริยา ผู้ดีย่อมไม่ฝ่าฝืนเวลานิยม คือ ไม่ใช้กิริยายืนเมื่อเขานั่งกับพื้น และไม่นั่งกับพื้นเมื่อเวลาเขายืนกัน ผู้ดีย่อมไม่ไปนั่งนานเกินสมควรในบ้านของผู้อื่น ผู้ดีย่อมไม่จ้องดูนาฬิกาในเวลาที่แขกยังนั่งอยู่ วจีจริยา ผู้ดีย่อมไม่ติเตียนสิ่งของที่เขาตั้ง-แต่งไว้ในบ้านที่ตนเข้าไปสู่ ผู้ดีย่อมไม่พูดจาให้เพื่อนเก้อกระดาก ผู้ดีย่อมไม่เอาเรื่องที่เขาพึงซ่อนเร้นไว้มากล่าวให้อับอายหรือเจ็บใจ มโนจริยา ผู้ดีย่อมรู้จักเกรงใจคน ภาคห้า : ผู้ดีย่อมเป็นผู้มีสง่า กายจริยา ผู้ดีย่อมมีกิริยาอันผึ่งผาย องอาจ ผู้ดีย่อมไม่เป็นผู้สะทกสะท้าน งกเงิ่น หยุดๆ ยั้งๆ วจีจริยา ผู้ดีย่อมพูดจาฉะฉาน ชัดถ้อยชัดคำ ไม่อุบอิบ อ้อมแอ้ม มโนจริยา ผู้ดีย่อมมีอัชฌาสัยอันกว้างขวาง ผู้ดีย่อมมีความเข้าใจอันว่องไวไหวพริบ รู้เท่าถึงการณ์ ภาคหก : ผู้ดีย่อมปฏิบัติการงานดี กายจริยา ผู้ดีย่อมทำการอยู่ในระเบียบแบบแผน ผู้ดีย่อมไม่ถ่วงเวลาให้ผู้อื่นคอย ผู้ดีย่อมไม่ทำการแต่ต่อหน้า วจีจริยา ผู้ดีพูดสิ่งใดย่อมให้เป็นที่เชื่อถือได้ ผู้ดีย่อมไม่รับวาจาคล่องๆ โดยมิได้เห็นว่าการจะเป็นไปได้หรือไม่ มโนจริยา ผู้ดีย่อมไม่เป็นผู้ที่เกียจคร้าน ผู้ดีย่อมไม่เพลิดเพลินจนละเลยให้การเสีย ผู้ดีย่อมมีความมานะในการงาน ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก ภาคเจ็ด : ผู้ดีย่อมเป็นผู้ใจดี กายจริยา เมื่อเห็นใครทำอะไรผิดพลาดอันน่าเก้อกระดาก ย่อมช่วยกลบเกลื่อนหรือทำเป็นไม่เห็น เมื่อเห็นสิ่งของของใครตก หรือจะเสื่อมเสีย ย่อมต้องหยิบยื่นให้หรือบอกให้รู้ตัว วจีจริยา ผู้ดีย่อมไม่เยาะเย้ยถากถางผู้กระทำผิดพลาด ผู้ดีย่อมไม่ใช้วาจาอันข่มขื่น มโนจริยา ผู้ดีย่อมไม่มีใจอันโหดเหี้ยม เกรี้ยวกราดแก่ผู้น้อย ผู้ดีย่อมเอาใจโอบอ้อมอารีแก่ผู้อื่น ผู้ดีย่อมไม่เป็นผู้ซ้ำเติมคน ภาคแปด : ผู้ดีย่อมไม่เห็นแก่ตัว กายจริยา ผู้ดีย่อมไม่เสือกสน แย่งชิงที่นั่งหรือที่ดูอันใด ผู้ดีย่อมไม่แสดงความไม่เพียงพอในสิ่งของที่เขาหยิบยกให้ ผู้ดีย่อมไม่นิ่งนอนใจให้เขาออกทรัพย์แทนตัวเสมอไป วจีจริยา ผู้ดีย่อมไม่ขอแยกผู้หนึ่งมาจากผู้ใดเพื่อจะพาไปพูดจาความลับกัน ผู้ดีย่อมไม่สนทนาแต่เรื่องตนฝ่ายเดียวจนคนอื่นไม่มีช่องจะสนทนาเรื่องอื่น มโนจริยา ผู้ดีย่อมไม่ตั้งใจปรารถนาของรักเพื่อน ผู้ดีย่อมไม่มีใจมักได้เที่ยวขอของเขาร่ำไป ผู้ดีย่อมไม่หวังแต่จะพึ่งพาอาศัยผู้อื่น ผู้ดีย่อมรู้คุณผู้อื่นที่ได้ทำแล้วแก่ตน ผู้ดีย่อมไม่พึงใจการหยิบยืมข้าวของทองเงินซึ่งกันและกัน ภาคเก้า : ผู้ดีย่อมรักษาความสุจริต ซื่อตรง กายจริยา ผู้ดีย่อมไม่ละลาบละล้วงเดินเข้าห้องเรือนแขกก่อนเจ้าของบ้านเขาเชิญ ผู้ดีย่อมไม่ลอบแอบฟังคนพูด ผู้ดีย่อมไม่แทรกเข้าหมู่ผู้อื่นซึ่งเขาไม่ได้เชื้อเชิญ วจีจริยา ผู้ดีย่อมไม่ซอกแซกไต่ถามธุระส่วนตัวหรือการในบ้านของเขาที่ไม่ได้เกี่ยวข้องแก่ตน ผู้ดีย่อมไม่เที่ยวถามถึงผลประโยชน์ที่เขาหาได้เมื่อตนไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง มโนจริยา ผู้ดีย่อมไม่เป็นคนต่อหน้าอย่างหนึ่งลับหลังอย่างหนึ่ง ผู้ดีย่อมไม่หาผลประโยชน์ในทางที่ผิดธรรม ภาคสิบ : ผู้ดีย่อมไม่ประพฤติชั่ว กายจริยา ผู้ดีย่อมจะไม่ข่มเหงผู้อ่อนกว่า เช่น เด็กหรือผู้หญิง ผู้ดีย่อมไม่มั่วสุมกับสิ่งอันเลวทราม ผู้ดีย่อมไม่พึงพอใจในหญิงที่เจ้าของหวงแหน วจีจริยา ผู้ดีย่อมไม่เป็นพาลพอใจทะเลาะวิวาท ผู้ดีย่อมไม่พอใจพูดส่อเสียด ยุยง มโนจริยา ผู้ดีย่อมไม่ปองร้ายผู้อื่น ผู้ดีย่อมไม่คิดทำร้ายผู้อื่นเพื่อประโยชน์ตน ผู้ดีย่อมเป็นผู้มีความละอายต่อบาป - ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สามารถจำแนกและแบ่งกลุ่มได้ดังนี้ (Vago1980:33-62) 1. ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolutionary theory) เป็นแนวความคิดที่ได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีวิวัฒนาการทางชีวภาพของชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) โดยนักสังคมวิทยาในกลุ่มทฤษฎีวิวัฒนาการเสนอว่า การเปลี่ยนแปลงของสังคมเป็นกระบวนการที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นขั้นตอนตามลำดับ โดยมีการเปลี่ยนแปลงจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่งในลักษณะที่มีการพัฒนาและก้าวหน้ากว่าขั้นที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมที่มีรูปแบบเรียบง่ายไปสู่รูปแบบที่สลับซับซ้อนมากขึ้น และมีความเจริญก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นสังคมที่มีความสมบูรณ์ ตัวอย่างของนักสังคมวิทยาที่สร้างทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมโดยใช้แนวความคิดวิวัฒนาการ มีดังนี้ ออกุสต์ กองต์ (Auguste Comte) เสนอว่า สังคมมนุษย์มีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ (Knowledge) ผ่าน 3 ขั้นตอน ตามลำดับ คือ จากขั้นเทววิทยา (Theological stage) ไปสู่ขั้นอภิปรัชญา (Metaphysical stage) และไปสู่ขั้นวิทยาศาสตร์ (Positivistic stage) ลิวอิส เฮนรี่ มอร์แกน (Lewis Henry Morgan) เสนอว่า สังคมจะมีขั้นของการพัฒนา 3 ขั้นคือ จากสังคมคนป่า (Savage) ไปสู่สังคมอนาอารยชน (Barbarian) และไปสู่สังคมอารยธรรม (Civilized) เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ (Herbert Spencer) เสนอว่า วิวัฒนาการของสังคมนุษย์เป็นแบบสายเดียว (Unilinear) ที่ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลมีจุดกำเหนิดมาจากแหล่งเดียวกันด้วยและมารวมตัวกันด้วยกระบวนการสังเคราะห์ (Synthesis) ทำให้เกิดพัฒนาการที่ก้าวหน้าขึ้นและซับซ้อนมากขึ้น การพัฒนาของสังคมจะมีวิวัฒนาการเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ กล่าวคือ มนุษย์ที่มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดีจะมีชีวิตอยู่รอดตลอดไป และนำไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้นต่อไป เฟอร์ดินาน ทอยนีย์ (Ferdinand Tonnies) เสนอว่า สังคมจะมีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมแบบ Gemeinschaft ไปสู่สังคมแบบ Gesellschaft โรเบิร์ต เรดฟิวด์ (Robert Redfield) เสนอว่า การเปลี่ยนแปลงของสังคมจะเริ่มจากสภาพของสังคมชาวบ้าน (Folk) เปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมแบบเมือง (Urban) ต่อมาแนวความคิดในการสร้างทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมแบบสายเดียว (Unilinear) ที่เสนอว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมต้องเปลี่ยนผ่านแต่ละขั้นที่กำหนดไว้ ได้รับการโต้แย้งว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม น่าจะมีวิวัฒนาการแบบหลายสาย (Multilinear) เพราะแต่ละสังคมมีจุดกำเนิดที่แตกต่างกัน มีรูปแบบของสังคมที่แตกต่างกัน หรือแม้ว่าสังคมที่มีรูปแบบที่เหมือนกันแต่อาจจะมีสาเหตุของการเปลี่ยแปลงที่แตกต่างกันก็เป็นได้ 2. ทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict theory) เป็นแนวความคิดที่มีข้อสมมุติฐานที่ว่า พฤติกรรมของสังคมสามารถเข้าใจได้จากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่าง ๆ และบุคคลต่าง ๆ เพราะการแข่งขันกันในการเป็นเจ้าของทรัพยากรที่มีค่าและหายาก มีนักสังคมวิทยาหลายท่านที่ใช้ทฤษฎีความขัดแย้งอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่ในที่นี้จะเสนอแนวความคิดของนักทฤษฎีความขัดแย้งที่สำคัญ 3 ท่าน ดังนี้ คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) มีความเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงของทุก ๆ สังคม จะมีขั้นตอนของการพัฒนาทางประวัติศาสตร์ 5 ขั้น โดยแต่ละขั้นจะมีวิธีการผลิต (Mode of Production) ที่เกิดจากความสัมพันธ์ของ อำนาจของการผลิต (Forces of production) ซึ่งได้แก่ การจัดการด้านแรงงาน ที่ดิน ทุน และเทคโนโลยี กับ ความสัมพันธ์ทางสังคมของการผลิต (Social relation of production) ซึ่งได้แก่ เจ้าของปัจจัยการผลิต และคนงานที่ทำหน้าที่ผลิต แต่ในระบบการผลิตแต่ละระบบจะมีความขัดแย้งระหว่างชนชั้นผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตกับผู้ใช้แรงงานในการผลิต ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ที่เป็นโครงสร้างส่วนล่างของสังคม (Substructure) และเมื่อโครงสร้างส่วนล่างมีการเปลี่ยนแปลงจะมีผลทำให้เกิดการผันแปรและเปลี่ยนแปลงต่อโครงสร้างส่วนบนของสังคม (Superstructure) ซึ่งเป็นสถาบันทางสังคม เช่น รัฐบาล ครอบครัว การศึกษา ศาสนา และรวมถึงค่านิยม ทัศนคติ และบรรทัดฐานของสังคม ลำดับขั้นของการพัฒนาทางประวัติศาสตร์ของมาร์กซ์ มีดังนี้ -ขั้นสังคมแบบคอมมิวนิสต์ดั้งเดิม (Primitive communism) กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเป็นของเผ่า (Tribal ownership) ต่อมาเผ่าต่าง ๆ ได้รวมตัวกันเป็นเมืองและรัฐ ทำให้กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเปลี่ยนไปเป็นของรัฐแทน -ขั้นสังคมแบบโบราณ (Ancient communal) กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเป็นของรัฐ (State ownership) สมาชิกในสังคมได้รับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนตัวที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ซึ่งได้แก่ เครื่องใช้ส่วนตัว และทาส ดังนั้นทาส (Slavery) จึงเป็นกำลังสำคัญในการระบบการผลิตทั้งหมด และต่อมาระบบการผลิตได้เกิดความขัดแย้งระหว่างเจ้าของทาสและทาส -ขั้นสังคมแบบศักดินา (Feudalism) กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเป็นของขุนนาง คือ ที่ดิน โดยมีทาสเป็นแรงงานในการผลิต -ขั้นสังคมแบบทุนนิยม (Capitalism) กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเป็นของนายทุน คือ ที่ดิน ทุน แรงงาน และเครื่องจักร โดยมีผู้ใช้แรงงานเป็นผู้ผลิต -ขั้นสังคมแบบคอมมิวนิสต์ (Communism) กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเป็นของทุกคน ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่มีใครเอาเปรียบซึ่งกันและกัน ตามแนวความคิดของมาร์กซ์ ลำดับขั้นของการนำไปสู่การปฏิวัติของชนชั้นล่างของสังคมเกิดจาก กระบวนการดังต่อไปนี้ -มีความต้องการในการผลิต -เกิดการแบ่งแยกแรงงาน -มีการสะสมและพัฒนาทรัพย์สินส่วนบุคคล -ความไม่เท่าเทียมทางสังคมมีมากขึ้น -เกิดการต่อสู้ระหว่างชนชั้นในสังคม -เกิดตัวแทนทางการเมืองเพื่อทำการรักษาผลประโยชน์ของแต่ละชนชั้น -เกิดการปฏิวัติ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมตามแนวความคิดของมาร์กซ์ เป็นการต่อสู่ระหว่างระหว่างชนชั้นในสังคม โดยใช้แนวความคิดวิภาษวิธี (Dialectical) ที่เริ่มจาก การกระทำ (Thesis) ซึ่งเป็นสาเหตุของ การเปลี่ยนแปลงการกระทำ (Antithesis) และเกิดการกระทำแบบใหม่ (Synthesis) ตามมา ลิวอิส เอ. โคเซอร์ (Lewis A. Coser) เป็นนักทฤษฎีความขัดแย้ง ที่มองว่า ความขัดแย้งก่อให้เกิดผลทั้งด้านบวกและด้านลบ และอธิบายว่า ความขัดแย้งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม ไม่มีกลุ่มทางสังคมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มีความสมานสามัคคีอย่างสมบูรณ์ เพราะความขัดแย้งเป็นส่วนหนึ่งของสภาวะหนึ่งของมนุษย์ ทั้งในความเกลียดและความรักต่างก็มีความขัดแย้งทั้งสิ้น ความขัดแย้งสามารถแก้ปัญหาความแตกแยกและทำให้เกิดความสามัคคีภายในกลุ่มได้เพราะในกลุ่มมีทั้งความเป็นมิตรและความเป็นศัตรูอยู่ด้วยกัน โคเซอร์มีความเห็นว่าความขัดแย้งเป็นตัวสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม สามารถทำให้สังคมเปลี่ยนชีวิตความเป็นอยู่จากด้านหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่งได้ เพราะหากสมาชิกในสังคมเกิดความไม่พึงพอใจต่อสังคมที่เขาอยู่ เขาจะพยายามทำการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์นั้น ๆ ให้เป็นไปตามเป้าหมายของเขาได้ นอกจากนี้ โคเซอร์ ยังเสนอว่า ความขัดแย้งยังสามารถทำให้เกิดการแบ่งกลุ่ม ลดความเป็นปรปักษ์ พัฒนาความซับซ้อนของโครงสร้างกลุ่มในด้านความขัดแย้งและร่วมมือ และสร้างความแปลกแยกกับกลุ่มต่าง ๆ เป็นต้น ราล์ฟ ดาห์เรนดอร์ฟ (Ralf Dahrendorf) เป็นนักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ที่ปฏิเสธแนวความคิดของมาร์กซ์ ที่ว่า ชนชั้นในสังคมเกิดจากปัจจัยการผลิต และเสนอว่า ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมนั้นเกิดจากความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องของสิทธิอำนาจ (Authority) กลุ่มที่เกิดขึ้นภายในสังคมสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ กลุ่มที่มีสิทธิอำนาจกับกลุ่มที่ไม่มีสิทธิอำนาจ สังคมจึงเกิดกลุ่มแบบไม่สมบูรณ์ (Guasi-groups) ของทั้งสองฝ่ายที่ต่างก็มีผลประโยชน์แอบแฝง (Latent interest) อยู่เบื้องหลัง ดังนั้นแต่ละฝ่ายจึงต้องพยายามรักษาผลประโยชน์ของตนเอาไว้ โดยมีผู้นำทำหน้าที่ในการเจรจาเพื่อปรองดองผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ระดับของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจะรุนแรงมากหรือรุนแรงน้อยนั้นขึ้นอยู่กับการจัดการและการประสานผลประโยชน์ของกลุ่มที่ครอบงำ และเสนอความคิดว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมเป็นผลมาจากความกดดันจากภายนอกโดยสังคมอื่น ๆ และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมสามารถควบคุมได้ด้วยการประนีประนอม ตามแนวความคิดของดาห์เรนดอร์ฟ ความขัดแย้งสามารถทำให้โครงสร้างมีการเปลี่ยนแปลงได้ ประเภทของการเปลี่ยนแปลง ความรวดเร็วของการเปลี่ยนแปลง และขนาดของการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลง เช่น อำนาจของกลุ่ม ความกดดันของกลุ่ม 3. ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ (Structural-Functional theory) แนวความคิดในการพัฒนาทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่เป็นผลมาจากการนำเอาแนวความคิดทางด้านชีววิทยามาใช้ โดยอุปมาว่า โครงสร้างของสังคมเป็นเสมือนร่างกายที่ประกอบไปด้วยเซลล์ต่าง ๆ และมองว่า หน้าที่ของสังคมก็คือ การทำหน้าที่ของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยแต่ละส่วนจะช่วยเหลือและเกื้อกูลซึ่งกันและกันเพื่อให้ระบบทั้งระบบมีชีวิตดำรงอยู่ได้ โรเบิร์ต เค. เมอร์ตัน (Robert K. Merton) ได้จำแนกหน้าที่ทางสังคมเป็น 2 ประเภทคือ หน้าที่หลัก (Manifest) หน้าที่รอง (Latent) หน้าที่ที่ไม่พึงปรารถนา (Dysfunctional) หน้าที่ของบางโครงสร้างของสังคมอาจมีประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ แต่ขณะเดียวกันคนบางส่วนอาจได้รับประโยชน์เพียงน้อยนิดหรืออาจไม่ได้รับประโยชน์เลย ซึ่งรวมไปถึงอาจจะมีคนบางกลุ่มหรือบางส่วนของสังคมได้รับผลเสียจากทำงานของโครงสร้างของสังคมนั้นก็ได้ อีมีล เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim) มีแนวความคิดว่า หน้าที่ของสังคมคือ ส่วนที่สนับสนุนให้สังคมสามารถดำรงอยู่ได้ ซึ่งสอดคล้องกับ เอ.อาร์ แรดคลิฟฟ์ บราวน์ (A.R. Radcliffe-Brown) กับ โบรนิสลอว์ มาลิโนว์สกี้ (Bronislaw Malinowski) ที่มองว่า หน้าที่ทางสังคม เป็นส่วนสนับสนุนให้โครงสร้างสังคมคงอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะสังคมมีกระบวนการทางสังคมที่ทำให้สังคมเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น บรรทัดฐาน ค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรม และประเพณี เป็นต้น ทาลคอทท์ พาร์สัน (Talcott Parsons) มีแนวความคิดว่า สังคมเป็นระบบหนึ่งที่มีส่วนต่าง ๆ (Part) มีความสัมพันธ์และสนับสนุนซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์ที่คงที่ของแต่ละส่วนจะเป็นปัจจัยทำให้ระบบสังคมเกิดความสมดุลย์ (Equilibrium) ส่วนในด้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พาร์สันเสนอว่า เกิดจากความสมดุลย์ถูกทำลายลง เพราะองค์ประกอบของสังคมคือ บุคลิกภาพ (Personality) อินทรีย์ (Organism) และวัฒนธรรม (Culture) เกิดความแตกร้าว โดยมีสาเหตุมาจากทั้งสาเหตุภายนอกระบบสังคม เช่น การเกิดสงคราม การแพร่กระจายของวัฒนธรรม เป็นต้น และสาเหตุจากภายในระบบสังคม ที่เกิดจากความตึงเครียด (Strain) เพราะความสัมพันธ์ของโครงสร้างบางหน่วย (Unit) หรือหลาย ๆ หน่วย ทำงานไม่ประสานกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงทางประชากร การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจะเป็นสาเหตุทำให้ส่วนอื่น ๆ มีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจเกิดขึ้นเฉพาะส่วนใดหนึ่งหนึ่งหรืออาจเกิดขึ้นทั้งระบบก็ได้ พาร์สันเน้นความสำคัญของวัฒนธรรม ซึ่งรวมถึง ความเชื่อ บรรทัดฐาน และค่านิยมของสังคม คือ ตัวยึดเหนี่ยวให้สังคมมีการรวมตัวเข้าด้วยกันและเป็นตัวต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคม โดยสรุปแล้ว แนวความคิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของกลุ่มทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ มีลักษณะดังนี้ -ในการศึกษาและการวิเคราะห์สังคมต้องมองว่า สังคมทั้งหมดเป็นระบบหนึ่งที่แต่ละส่วนจะมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน -ความสัมพันธ์คือสิ่งที่สนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างเป็นเหตุเป็นผล -ระบบสังคมเป็นการเคลื่อนไหวเข้าสู่ความสมดุลย์ การปรับความสมดุลย์ของระบบจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในระบบตามไปด้วยความต่อเนื่องของกระบวนการของข่าวสารจากภายในและภายนอก นอกจากนี้ทฤษฎีระบบยังมองว่า ความขัดแย้ง ความตึงเครียดและความไม่สงบสุขภายในสังคมก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่อย่างไรก็ตามทฤษฎีระบบก็มีข้อจำกัดในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เนื่องจากในการวิเคราะห์ตามทฤษฎีระบบเป็นการศึกษาเฉพาะเรื่อง จึงทำให้ไม่สามารถศึกษาความสัมพันธ์กับระบบอื่นได้อย่างลึกซึ้ง 4.ทฤษฎีจิตวิทยา-สังคม (Social-Psychological theory) จากแนวความคิดด้านจิตวิทยา-สังคม เสนอว่า การพัฒนาทางสังคมเกิดจากการทำงานของปัจจัยทางด้านจิตวิทยาที่เป็นแรงขับให้ประชาชนมีการกระทำ มีความกระตือรือร้น มีการประดิษฐ์ มีการค้นพบ มีการสร้างสรรค์ มีการแย่งชิง มีการก่อสร้าง และพัฒนาสิ่งต่างภายในสังคม นักสังคมวิทยาที่ใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสังคม มีดังนี้ แมค เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยาคนแรกที่ใช้หลักจิตวิทยามาใช้ในการอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และในผลงานที่ชื่อว่า The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism เสนอว่า การพัฒนาของในสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ตามลัทธิทุนนิยม มีสาเหตุมาจากปัจจัยด้านจิตวิทยา ที่เกิดขึ้นหลังสมัยศตวรรษที่ 16 เมื่อในยุโรปตะวันตกมีการแพร่กระจายคำสอนของศาสนาคริสต์ ลัทธิโปรแตสแตน (Protestant ethic) ที่สอนให้ศาสนิกชนเกิดจิตวิญญาณแบบทุนนิยม (Spirit of Capitalism) เป็นนักแสวงหาสิ่งใหม่ มุ่งสู่ความสำเร็จเพื่อให้เกิดการยอมรับ ทำงานหนักเพื่อสะสมความร่ำรวย เก็บออมเพื่อนำไปใช้ในการลงทุน สร้างกำไรอย่างต่อเนื่อง เวเบอร์ยังเสนอว่า การพัฒนาของจิตวิญญาณแบบทุนนิยมทำให้เกิดลัทธิความมีเหตุผล (Rationalism) ซึ่งภายใต้สังคมที่ใช้ความมีเหตุผลจะทำให้บุคคลมีความน่าเชื่อถือ ซื่อสัตย์ สุจริต ยอมรับสิ่งใหม่และสามารถเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สภาวะแวดล้อมใหม่ ๆ เวเบอร์เชื่อว่า อิทธิพลของความคิด ความเชื่อ และบุคลิกภาพของคนในสังคมภายใต้สภาวะดังกล่าวมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมตามมา อีวีเรทท์ อี เฮเกน (Everett E. Hagen) มีแนวความคิดสอดคล้องกับเวเบอร์ที่ว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมีการเริ่มต้นมาจากการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ และเสนอว่า การเปลี่ยนจากสังคมดั้งเดิม (Traditional) ไปสู่สังคมสมัยใหม่ (Modern) จะมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในบุคลิกภาพของบุคคล (Personality) โดยเสนอว่า บุคลิกภาพของคนในสังคมดั้งเดิมมีลักษณะตายตัวที่ถูกกำหนดโดยกลุ่มสังคม เป็นบุคลิกของคนที่ต้องมีการสั่งการด้วยบังคับบัญชา ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และไม่มีการประดิษฐ์คิดค้น เพราะคนเหล่านั้นมองโลกยถากรรมมากกว่าที่จะมองโลกแบบวิเคราะห์ และต้องการควบคุมให้เป็นไปตามที่คิด ซึ่งเป็นผลทำให้สังคมแบบดั้งเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ส่วนในสังคมสมัยใหม่เฮเกนเสนอว่า บุคลิกภาพของคนที่มีความสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็น และเปิดรับประสบการณ์ใหม่ ๆ มองโลกที่อยู่รอบตัวเขาอย่างมีเหตุมีผล บุคคลิกภาพของคนในสังคมสมัยใหม่จึงเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง แต่อย่างไรก็ตามเฮเกน ได้เสนอว่า บุคลิกของคนในสังคมดั้งเดิมสามารถที่จะเปลี่ยนไปสู่บุคลิกของในสังคมสมัยใหม่ได้โดยใช้วิธีการถอดถอนสถานภาพ (Status withdrawal) ด้วยการนำเอาปัจจัยด้านสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจจากสังคมสมัยใหม่เข้าไปแทรกหรือแทนที่ในสังคมดั้งเดิม และยังได้เสนอว่า การเปลี่ยนแปลงของสังคมอาจทำได้จากเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของคนในสังคม โดยเริ่มจากการพัฒนาบุคลิกภาพตั้งแต่วัยเด็ก เดวิด ซี แม็กคลีล์แลนด์ (David C. McClelland) มีแนวความคิดเหมือนกับเฮเกนที่เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเป็นผลมาจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ แต่แนวความคิดของ แม็ก-คลีลแลนด์เน้นศึกษาที่ตัวแปรด้านแรงจูงใจในความสำเร็จ (Achievement motivation) ซึ่งหมายถึง ความสำเร็จทางเศรษฐกิจของปัจเจกบุคคล และเสนอแนวความคิดว่า ในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของสังคมในอดีตและปัจจุบันเป็นผลมาจากแรงจูงใจในความสำเร็จของบุคคล หากคนในสังคมมีแรงจูงใจในความสำเร็จมาก การพัฒนาทางเศรษฐกิจก็จะมีความเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย และเสนอวิธีการสร้างแรงจูงใจในความสำเร็จด้วยการเรียนรู้ (Learning) โดยสร้างแรงกระตุ้นทั้งภายในและภายนอก ดังนั้นในการจัดการศึกษาและการเลี้ยงดูเด็ก สังคมควรมีการปูพื้นฐานเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในความสำเร็จของบุคคล ด้วยการใช้ปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ -แบบอย่างของความสำเร็จจากผู้ปกครอง -การสร้างความอบอุ่น -การให้กำลังใจและแรงเสริม -หลีกเลี่ยงการครอบงำและใช้อำนาจของบิดา ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ราชบัณฑิตยสถาน (2524 : 337) อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง การที่ระบบสังคม กระบวนการ แบบอย่างหรือรูปแบบทางสังคม เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณี ระบบครอบครัว ระบบการปกครอง ได้เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ตามการเปลี่ยนแปลงทางสังคมนี้อาจจะเป็นไปในทางก้าวหน้าหรือถดถอย เป็นไปได้อย่างถาวรหรือชั่วคราว โดยวางแผนให้เป็นไปหรือเป็นไปเอง และที่เป็นประโยชน์หรือให้โทษก็ได้ทั้งสิ้น พัทยา สายหู (2529 : 206-207) ได้อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นการเปลี่ยนแปลงของระบบความสัมพันธ์ของคนที่อยู่ด้วยกัน อันเป็นผลมาจากระเบียบที่กำหนดการกระทำ และความสัมพันธ์ของคน เช่น สิทธิและหน้าที่ ขนบธรรมเนียมประเพณี บทบาทและสถานภาพ มีการเปลี่ยนแปลง สนิท สมัครการ (2538 : 4) อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่มีผลทำให้ความสัมพันธ์ทางสังคมเกิดมีความแตกต่างกันขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งแล้ว การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ว่าจะเล็กน้อย หรือใหญ่โตเพียงไรก็ตามย่อมถือได้ว่าเป็นเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ทั้งสิ้น เดวิด จารี และจูเลีย จารี (Jary and Jary 1995 : 602)หมายถึง ความแตกต่างในส่วนใดส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างของสังคมหรือการจัดระเบียบของสังคมระหว่างปัจจุบันกับอดีต โดยสรุป การเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social change) หมายถึง ความแตกต่างที่เกิดขึ้นในสังคมระหว่างช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ทั้งระดับจุลภาคและระดับมหภาค ซึ่งอาจเป็นผลดีหรือผลเสียก็ได้ สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม นักสังคมวิทยาและนักมนุษยวิทยา ต่างมีความเห็นพร้องกันถึงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมว่ามี 5 สาเหตุดังนี้ (Popenoe 1993 : 542-544) 1.สิ่งแวดล้อมทางกายภาพและประชากร (The physical environment and population)ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ความแห้งแล้ง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สังคมเกิดการเสียระเบียบของสังคม (Disorganization) และความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่มีต่อกันถูกเปลี่ยนไป เช่น สมาชิกในครอบครัวต้องแยกจากกัน เพราะการเสียชีวิต และการพลัดพรากจากกัน เป็นต้น 2.เทคโนโลยี (Technology) เมื่อมีสิ่งใหม่ที่ทันสมัยเกิดขึ้นในสังคมไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นได้เองหรือการรับเอามาใช้ สังคมย่อมได้รับผลกระทบและมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจเป็นระดับกลุ่มหรือระดับโครงสร้างสังคมขึ้นอยู่กับว่าคนในสังคมได้รับผลประโยชน์จากเทคโนโลยีนั้นมากหรือน้อย เพราะเทคโนโลยีทำให้มนุษย์ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมในการกระทำต่อกิจกรรมที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ บางสิ่งต้องสร้างระเบียบในการทำงานใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานของเทคโนโลยี แต่เทคโนโลยีบางอย่างอาจทำให้มนุษย์ต้องทำงานมากขึ้นและเร็วขึ้นจนต้องทำให้ความสัมพันธ์ที่มีต่อครอบครัวและคนอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันมีการเปลี่ยนแปลงไป แต่ขณะเดียวกันเมื่อมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้อาจทำให้เกิดความล้าทางวัฒธรรม (Cultural lag) ซึ่งเป็นช่องว่างระหว่างสิ่งเก่ากับสิ่งใหม่ ที่ปรับตัวในอัตราที่ไม่เท่ากันจนเกิดเป็นความเหลื่อมล้ำระหว่างกันและเป็นปัญหาสังคมตามมา 1.วัฒนธรรมอวัตถุ (Nonmaterial culture) นักสังคมวิทยามองว่า วัฒนธรรมที่เป็นอวัตถุเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมที่เป็นวัตถุตามมา สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาทั้งหลายเกิดมาจากคตินิยม (Ideology) ที่ถ่ายทอดออกมาสู่วัฒนธรรมที่เป็นวัตถุ หากความคิดเห็น ความเชื่อ และวิธีการคิดของคนในสังคมต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความอยู่รอด การเปลี่ยนแปลงภายในสังคมก็จะเกิดขึ้นตามมา 2.กระบวนการทางวัฒนธรรม (Cultural processes) เมื่อเกิดการค้นพบ (Discovery) และมีการประดิษฐ์ (Invention) จนเกิดเป็นนวัฒกรรม (Innovation) ขึ้นในสังคม การเคลื่อนไหวทางสังคม (Social movement) ทำให้เกิดการแพร่กระจายของวัฒนธรรม (Cultural diffusion) จากคนกลุ่มหนึ่งหรือสังคมหนึ่ง ไปสู่คนกลุ่มอื่นหรือสังคมอื่น สังคมที่รับเอานวัฒกรรมไว้ใช้ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมเกิดขึ้น 3.การพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Economic development) ทำให้เกิดความทันสมัย(Modernization) เพราะมีการเปลี่ยนแปลงการผลิตตามแบบดั้งเดิมในยุคสังคมเกษตรกรรม(Preindustrial society) ไปสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรมและแบบเมือง ทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ ความเป็นอุตสาหกรรม (Industrialization) ที่เปลี่ยนระบบการผลิตจากการใช้แรงงานมนุษย์ไปสู่การใช้แรงงานจากเครื่องจักรกล ใช้ระบบการทำงานแบบอุตสาหกรรม บริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นอุตสาหกรรม เกิดความเป็นเมือง (Urbanization) เพราะมีการอพยพแรงงานจากชนบทเข้ามาทำงานในภาคอุตสาหกรรม การทำงานในกิจกรรมต่าง ๆ เปลี่ยนรูปแบบไปสู่ความเป็นระบบราชการ (Bureaucratization) เกิดเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการจัดการที่เป็นทางการ รูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุที่สำคัญมาจากการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามธรรมชาติประการหนึ่ง กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากมนุษย์เป็นผู้กระทำอีกประการหนึ่ง แต่ในกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงสามารถทำให้เกิดรูปแบบของการเปลี่ยนแปลง 2 แบบ ดังนี้ 1.การเปลี่ยนแปลงแบบเส้นตรง เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่กล่าวว่า ทุกสังคมจะมีวิวัฒนาการแบบเดียวกันตลอด โดยเปลี่ยนแปลงจากสังคมที่มีความเจริญของอารยธรรมขั้นต่ำไปสู่สังคมที่มีความเจริญของอารยธรรมระดับสูงขั้นต่อไป นักวิชาการที่เสนอรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมแบบเส้นตรงได้แก่ ออกุสต์ กองต์ เลวิส เฮนรี่ มอร์แกน และคาร์ล มาร์คซ์ เป็นต้น 2.การเปลี่ยแปลงแบบวัฎจักร เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ไม่มีความสม่ำเสมอ สังคมจะมีจุดเริ่มต้น จากนั้นจะค่อยๆ เจริญก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงที่สุดก็จะเสื่อมสลายไป คล้ายกับความเจริญของมนุษย์ที่เริ่มจากเด็กทารก เติบโตเป็นวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ วัยชรา และในที่สุดก็ตายจากไป หรือหากเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงเป็นเวลาในวันหนึ่ง ๆ คือ เริ่มจากเช้ามืด สว่าง และมืด แล้วค่อย ๆ กลับมาเช้าใหม่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงแบบนี้เมื่อสังคมมีความเจริญถึงจุดสูงสุดแล้ว ก็จะค่อย ๆ เสื่อมสลายลง โดยไม่ได้สูญหายไปแต่จะมีการปรับปรุงและเจริญขึ้นมาใหม่ เช่น สังคมของกรีก อียิปต์ จีน อินเดีย เป็นต้น สังคมในอนาคต การเปลี่ยนแปลงทางสังคมทำให้ทุกสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมสมัยใหม่ที่มีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ยุคปัจจุบันมีหลายประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมอุตสาหกรรม แต่บางประเทศกำลังมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมยุคใหม่ที่เรียกว่า สังคมภายหลังยุคสังคมอุตสาหกรรม (Postindustrial society) ซึ่งจะมีความแตกต่างจากสังคมอุตสาหกรรม ดังนี้ (Daniel Bell อ้างใน Popenoe 1993 : 555-556) 1.ระบบเศรษฐกิจ เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญต่อการบริการ (Service)มากกว่าสินค้า (Goods) 2.แรงงานในการผลิตใช้ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer) ควบคุมการทำงานแทนการใช้เครื่องจักกล (Machine) 3.สถานภาพของแรงงานระดับผู้ใช้แรงงาน หรือแรงงานชั้นต่ำ (Blue-Collarมีจำนวนลดลง แต่แรงงานระดับบริหารงาน หรือแรงงานชั้นกลาง (White-Collar) จะมีมากขึ้น 4.การแก้ไขปัญหาสังคมของสังคมสังคมภายหลังยุคสังคมอุตสาหกรรมต้องใช้เทคนิคระดับสูง เพราะคนในสังคมมีความรู้และความสามารถมากขึ้น 5.รัฐบาลเข้ามามีบทบาทในการบริหารและการจัดการในกิจการต่าง ๆ แทนเอกชนมากขึ้น โดยเฉพาะกิจการที่เป็นของสาธารณะจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประชาชนส่วนใหญ่จะทำงานให้กับภาครัฐบาลในทุก ๆ กิจกรรม อย่างไรก็ตามแนวความคิดของลักษณะของสังคมภายหลังยุคสังคมอุตสาหกรรมยังไม่สามารถที่จะสรุปได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงในอนาคตขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย สาเหตุของการเปลี่ยนทางสังคมบางอย่างมนุษย์ยังไม่สามารถควบคุมได้ เช่น แผ่นดินไหว และวาตภัยต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นทั้งแบบรวดเร็วหรือแบบค่อยเป็นค่อยไปมีผลกระทบต่อมนุษย์เสมอ แต่อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น มนุษย์จะต้องเข้าไปทำการแก้ไขเสมอ เพราะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมใด ๆ ที่มนุษย์พึงพอใจอย่างสมบูรณ์แบบ\ อ้างอิง : มหาวิทยาลัยบูรพา.2545. ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม.Online].Available: URL : http://www.huso.buu.ac.th/cai/Sociology/225101/Lesson13/