วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องคุณธรรมสำหรับประชาชน 4 ประการ เพื่อความร่มเย็นของชาติบ้านเมืองตาม

การปลูกผังคุณธรรมสำหรับประชาชน 4 ประการ เพื่อความร่มเย็นของชาติบ้านเมืองตาม  พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้

          1. การรักษาความสัตย์ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็น ประโยชน์และเป็นธรรม
          2. การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ความดีนั้น
         3. การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริตไม่ว่าจะด้วยประการใด
         4. การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง

วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ข้อตกลงก่อนเรียน

ข้อควรทราบก่อนเรียนในการปฏิบัติร่วมกัน
ประจำเดือนตุลาคม 57
เวลาเรียน 4 สัปดาห์ วัน อาทิตย์ ที่ 5,12,19 และ 26
คาบเรียน 9 คาบ พักทานอาหารเที่ง  11. 30 12. 30 น.
คาบที่1 เวลา 8.30 – คาบที่ 10 เวลา 16.20 น.
วันที่ 5 ต.ค. เรียน บทที่ 1 ,2 และ 3
วันที่ 12 ต.ค. เรียน บทที่ 4,5  มอบหมายงาน บทที่ 6-10
     วันที่ 19 ต.ค. ช่วงเช้า เวลา 9.00 -11.30 น.สอบ บทที่ 1-5
วันที่ 19 ต.ค. ช่วงบ่าย Present  งานกลุ่ม หน้าชั้นเรียน บท 6,7และ8
วันที่ 26 ต.ค. เรียน บทที่ 9 และ 10  งานกลุ่ม Present หน้าชั้นเรียน
    วันที่ 26 ต.ค.57 ช่วงบ่าย สอบ บทที่  6-10 ครับ
      

วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

ความแตกต่างของคน(บุคลิกภาพ)

      ความแตกต่างของคนบุคลิกภาพ)
                    คนเราไม่มีทางมีความสุข หากยึดเอาตัวเองเป็นหลักในการมองปัญหา เรามักอยากให้คนอื่นมองจากมุมมองที่เรามองเพื่อที่เขาจะคิดและทำอย่างที่เราทำ แต่นั้นไม่ใช้หนทางที่ถูกต้อง คนเราล้วนแตกต่างด้วยพื้นฐานทางพันธุกรรม การอบรมเลี้ยงดู วงจรชีวิตการพบเห็นประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามา หากเราคอยหวังให้คนอื่นคิดและทำเหมื่อนเรา เราคงไม่มีทางมีความสุขได้

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อาหาร 10 อย่าง ควรกินหลังออกกำลังกาย

อาหาร 10 อย่าง ควรกินหลังออกกำลังกาย
http://www.manager.co.th/images/blank.gif



       หลายคนที่ลดน้ำหนักอาจเข้าใจผิดไปว่า หลังออกกำลังกายแล้วนั้นไม่ควรรับประทานอาหารใดๆ ทั้งสิ้นเพราะจะทำให้ยิ่งอ้วน แต่หารู้ไม่ว่าช่วงหลังออกกำลังกายนี่แหละเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการอาหารอย่างเช่น น้ำ โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตอย่างยิ่ง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อนำไปใช้ซ่อมแซม ลดการสึกหรอและเสริมสร้างกล้ามเนื้อนั่นเอง
      
       เรามาดูอาหารที่ควรรับประทานหลังออกกำลังกายกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง แต่ก่อนที่จะรับประทานอะไรเข้าไปก็ต้องขึ้นอยู่กับปริมาณแคลอรีที่คุณได้รับเข้าไปต่อวันด้วยนะ เอาเป็นว่าไม่มากไปไม่น้อยไปดีที่สุด ที่สำคัญควรรับประทานอาหารหลังออกกำลังกายเสร็จแล้ว 30 นาทีขึ้นไปเพื่อจะได้ไม่เป็นภาระของร่างกายกันนะจ๊ะ

        
1.ไข่  โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตเป็นอาหารที่ดีโดยเฉพาะกับผู้ที่ชอบออกกำลังกาย ซึ่งไข่ใบเล็กๆ ที่เราเห็นอยู่นั้นอุดมไปด้วยโปรตีนถึง 6.3 กรัม อีกทั้ง 1 ฟองยังมีเพียง 70 แคลอรีเท่านั้นเอง เรียกได้ว่าไข่เป็นหนึ่งในอาหารจากธรรมชาติที่ดีอย่างยิ่ง จึงไม่แปลกใจเลยที่เรามักเห็นผู้ที่ควบคุมน้ำหนักหรแม้แต่นักเพาะกายชอบกินไข่กันนักหนา มีแต่ประโยชน์ล้วนๆ แบบนี้จะพลาดได้ยังไงกัน
http://www.manager.co.th/images/blank.gif
  2. น้ำส้ม นอกจากคุณจะได้รับวิตามินซีในน้ำส้มคั้นแล้ว คุณยังจะได้รับโพแทสเซียมอีกด้วย ซึ่งสามารถช่วยให้ร่างกายสดชื่นขึ้นได้ น้ำส้มคั้นสดจึงเป็นสิ่งที่ควรดื่มหลังออกกำลังกายเช่นกัน

  3. กล้วย จัดเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงอย่างยิ่งเพราะอุดมไปด้วย โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต, ฟอสฟอรัส, ธาตุเหล็ก, วิตามินเอ อีกทั้งยังมีแมกนีเซียม ที่สำคัญนั้นคาร์โบไฮเดรตในกล้วยสามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็วเมื่อรับประทานเข้าไปหลังออกกำลังกายจึงสามารถช่วยสร้างกล้ามเนื้อและฟื้นฟูร่างกายได้ดีมาก 
http://www.manager.co.th/images/blank.gif
 4. ปลาแซลมอน การรับประทานปลาแซลมอนนั้นร่างกายไม่เพียงแต่จะได้รับโปรตีนเท่านั้น แต่ทว่ายังได้รับสารโอเมก้า 3 อีกด้วย ซึ่งสารโอเมก้า 3 ที่พบในปลาแซลมอนนั้นยังสามารถช่วยสร้างกล้ามเนื้อและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของกล้ามเนื้อให้มากขึ้นอีกด้วย
http://www.manager.co.th/images/blank.gif
  5.บลูเบอร์รี จัดเป็นผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ค่อนข้างสูงมากทีเดียว ซึ่งมีงานวิจัยออกมาว่าบลูเบอร์รีสามารถช่วยเพิ่มอัตราการฟื้นตัวหลังจากออกกำลังหนักๆ ได้
http://www.manager.co.th/images/blank.gif
  6. ถั่วและผลไม้อบแห้ง หากคุณเกิดอยากกินขนมขบเคี้ยวหลังออกกำลังกายขึ้นมาล่ะก็ นึกถึงถั่วและผลไม้อบแห้งไว้เป็นอันดับแรกเลย เพราะเนื่องจากว่าทั้งสองสิ่งที่เรากล่าวถึงอยู่นี้มีโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นหลังออกกำลังกายคุณควรจะกินสิ่งเหล่านี้สักหนึ่งหรือสองกำมือ ซึ่งถั่วที่มีประโยชน์ต่อการสร้างกล้ามเนื้อมากที่สุดนั่นก็คือถั่วเหลือง เพราะครึ่งถ้วยมีโปรตีนถึง 34 กรัมเชียวล่ะ
http://www.manager.co.th/images/blank.gif
  7. สับปะรด ถือได้ว่าเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง อีกทั้งในสับปะรดยังมีสารบรอมีเลน (bromelain) ซึ่งสารนี้นอกจากจะช่วยย่อยโปรตีนได้แล้วยังสามารถช่วยต้านการอักเสบรักษาอาการฟกช้ำและเคล็ดขัดยอกได้ดีทีเดียว ที่สำคัญวิตามินซีในสับปะรดยังเป็นองค์ประกอบสำคัญในการช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อได้อีกด้วย 
http://www.manager.co.th/images/blank.gif
  8. มันเทศ ถือว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีเลิศเชียวล่ะ ในมันเทศประกอบไปด้วยวิตามินต่างๆ มากมาย อาทิ วิตามิน B6, วิตามิน C, วิตามิน D, แมกนีเซียม, โพแทสเซียม และคาร์โบไฮเดรต เหมาะอย่างยิ่งที่จะนำมารับประทานหลังออกกำลังกาย
   9. กีวี เป็นผลไม้อีกหนึ่งชนิดที่อุดมไปด้วยวิตามินซีและโพแทสเซียม มีส่วนช่วยต้านอนุมูลอิสระ สามารถซ่อมแซมกล้ามเนื้อภายหลังการออกกำลังกายได้ดีไม่แพ้อาหารชนิดอื่นๆ เลยล่ะ   
10.น้ำเปล่า ผิวสูญเสียความชุ่มชื้นอาจเกิดขึ้นได้หลังจากที่เราออกกำลังกาย ดังนั้นเพื่อเรียกความสดชื่นกลับคืนมา หลังออกกำลังกายให้สังเกตดูว่าน้ำหนักตัวนั้นหายไปเท่าไหร่ หากหายไปเท่าไหร่
ให้ดื่มน้ำกลับไปเท่านั้น ซึ่งปริมาณน้ำที่แนะนำให้ดื่มหลังออกกำลังกายนั่นก็คือ 2-3 แก้วนั่นเอง
     (ที่มา ข้อมูล http://www.buzzfeed.com)


วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2557

การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน






ใน สภาวะแห่งยุคทุนนิยม ที่เศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ก้าวรุดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ประกอบกับประเทศต่าง ๆ นั้นอยู่รวมกันเป็นสังคมโลก ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายได้ จึงต้องมีการรวมตัวกันของประเทศในแต่ละภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรอง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ร่วมและพัฒนาประเทศในภูมิภาคไปพร้อม ๆ กัน ด้วยเหตุนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน จึงได้มีข้อตกลงให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภาย ในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

แต่ ก่อนที่เราจะมาดูเนื้อหาสาระของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนี้ เราจะมาย้อนดูกันรวมตัวกันของประเทศในอาเซียนว่ามีการรวมตัวกันได้อย่างไร จนมาเป็นอาเซียนในปัจจุบัน

โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538  ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542  ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
รู้จัก 10 ประเทศอาเซียน

1.บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)




ประเทศบรูไน มีชื่อเป็นทางการว่า "เนการาบรูไนดารุสซาลาม" มีเมือง "บันดาร์เสรีเบกาวัน" เป็น เมืองหลวง ถือเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ

2.ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)

เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้


3.
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)

               
เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ





4.
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR)
               
เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีประชากร 6.4 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

5.
ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)





6.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)

               
มืองหลวงคือ กรุงมะนิลา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะ โดยมีพื้นที่ดิน 298.170 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาลอก เป็นภาษาราชการ

7.
สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)

                               
เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)


8.
ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)

                         
เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่
513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ





9.
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)

                     
  เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่
331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจถึงเมื่อปี พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์




10.
สหภาพพม่า (Union of Myanmar)

           
มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ
678,500 ตารางกิโลเมตร ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ



ตลอดระยะเวลา 44 ปีที่ผ่านมา อาเซียนได้เกิดความร่วมมือ รวมทั้งมีการวางกรอบความร่วมมือ เพื่อสร้างความเข็มแข็ง รวมถึงความมั่นคงของประเทศสมาชิกทั้งด้านความมั่นคงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนได้วางแนวทางก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ ภายใต้คำขวัญคือ  "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม" (One Vision, One Identity, One Community) โดยมุ่งเน้นไปที่ 3 ประชาคม คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Political Security Community : APSC)  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)

โดยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ซึ่งประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ดังต่อไปนี้

1.
ประชาคม การเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูป แบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง

2.
ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย

มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020

ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)

ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและ ช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน

ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน

กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม สำหรับประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)

3.
ประชาคม สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้อ อาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกันในประชาคมอาเซียน

ที่มา http://news.muslimthaipost.com/content.phppage=sub&category=79&id=10073
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากสมาคมอาเซียน-ประเทศไทย