วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอน

การบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอน
รายวิชา การวิเคราะห์เชิงปริมาณ
โดย ดร.สุรางค์ บุญยะพงศ์ไชย

จากการจัดโครงการเรื่อง  การพัฒนาบุคลากร คณะบริหารธุรกิจ ด้านวิชาการ  ด้านจรรยาบรรณ  ด้านเทคนิคการสอนและการวัดผล  เป็นโครงการที่สอดคล้องกับงานประกันคุณภาพการศึกษา ตัวบ่งชี้ที่ 2.4  : ระบบการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน ซึ่งจะเห็นได้ว่าการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษานั้น  ปัจจัยสำคัญอยู่ที่การพัฒนาครูให้มีสมรรถนะได้ตามมาตรฐาน   โดยแนวทางการพัฒนา คือ การฝึกอบรมตามความต้องการจำเป็นอย่างเป็นระบบ  มีงบประมาณ มีแผนที่จะสามารถปฏิบัติตามแผน  ซึ่งแต่ละสถานศึกษาก็จะมีแผนที่แตกต่างกันไปตามความต้องการจำเป็นและงบประมาณ  แต่ผลที่สุดก็จะทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของครูของสถานศึกษานั้นๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ดังนั้นในฐานะที่เป็นผู้หนึ่งที่ปฏิบัติงานอยู่ในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา  ซึ่งครูมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ในการพัฒนาเยาวชน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของชาติให้เป็นบุคคลที่มีสมรรถนะในการทำงานเพื่อพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้  จึงสนใจที่จะวิจัยความต้องการจำเป็นตามสมรรถนะครูเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้สถานศึกษาได้นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นที่แท้จริง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและของชาติต่อไป
งานวิจัยเรื่อง  ศึกษาวิจัยความต้องการจำเป็นตามสมรรถนะครูเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สามารถนำมาใช้กับการเรียนการสอนในรายวิชา วิเคราะห์เชิงปริมาณ  รหัสวิชา  110-204  กล่าวคือ  ในงานวิจัยนี้เป็นความพยายามในการหาข้อมูลในเชิงตัวเลขจากสมรรถนะหลายๆ ด้านของครู  แล้วนำตัวเลขนั้นมาคีย์ในโปรแกรมสำเร็จรูป และเมื่อโปรแกรมประมวลผลให้จึงนำตัวเลขดังกล่าวมาวิเคราะห์  ซึ่งการวิเคราะห์แบบนี้ เรียกว่าเป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณได้อีกรูปแบบหนึ่ง 
           โดยผู้สอนรายวิชาวิเคราะห์เชิงปริมาณ  ได้ใช้วิธีการจากการดำเนินงานวิจัยจนถึงขั้นตอนการวิเคราะห์ มาสอนเพิ่มในเนื้อหาบทเรียน  อีกทั้งบอกถึงสาเหตุ และประโยชน์ที่ต้องมีการวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อให้ทราบข้อมูลที่เป็นรูปธรรม สามารถตรวจสอบได้   วัดได้ตามจริง เพื่อใช้ประโยชน์ในการปรับปรุง หรือพัฒนาองค์กร หรือบริษัทฯ  ซึ่งในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ในแต่ละหน่วยงาน แต่ละธุรกิจ แต่ละแผนก จะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป เช่น ต้องการวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานตนเอง   หรือเพื่อต้องการหาวิธีการให้ได้กำไรสูงสุดตามนโยบาย  หรือเพื่อหาวิธีให้ได้ต้นทุนต่ำสุด (เช่นการส่งมอบงานให้ลูกค้า  หรือการหาแหล่งวัตถุดิบที่ใกล้ และเหมาะสม)   หรือเพื่อหาจุดบกพร่องที่เป็นสาเหตุทำให้การดำเนินการในหน่วยงานของเราไม่เป็นไปตามนโยบาย  เป็นต้น

ในการสอดแทรกเนื้อหาบทเรียนในครั้งนี้  จากงานวิจัยได้เพื่อเติมการวิเคราะห์เชิงปริมาณ จากเนื้อหาทฤษฎีที่ต้องศึกษาอยู่แล้ว ได้แก่   North West Corner  Theory    Hungarian  Theory   ทฤษฎีการพยากรณ์   และทฤษฎีอื่นๆ   เพิ่มเติมโดยใช้ค่าสถิติอื่น เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เช่น  ค่าเฉลี่ย  ค่าการวิเคราะห์การถดถอย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น