วันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 8 ความเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี

การเรียนรู้ ภาวะผู้นำกับภาระผู้ตาม (ภาวะผู้ตาม : Followship) ในปัจจุบันการจะเป็นผู้บริหารหรือหัวหน้าหน่วยงานการกีฬามักจะมีการพูดถึง “ผู้นำ” ที่ต้องมี “ภาวะผู้นำ” ในหน่วยงานนั้น ๆ ผู้บริหารที่ดีจึงต้องมีการเรียนรู้ศิลปะในการเข้าถึง ศาสตร์แห่งภาวะผู้นำ แต่ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรหรือหน่วยงานการกีฬาสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หรือเหนือคู่แข่งได้นั่นก็คงต้องอาศัย บทบาทของของฝ่ายปฎิบัติการ ที่ต้องรับรู้ในเรื่องราวของ “ภาวะผู้ตาม” หากบุคคล (ฝ่ายปฎิบัติ) เหล่านั่นได้รับการพัฒนาและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของตนเองก็จะส่งผลให้บุคคลเหล่านั่นสามารถทำงานได้เป็นอย่างดี และการพัฒนาศักยภาพของผู้ตามให้มีอยู่ในระดับที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติงานที่ตนเองรับผิดชอบ จึงมีความสำคัญและความจำเป็นอย่างมาก รวมทั้งองค์กรหรือหน่วยงานการกีฬา ก็จำเป็นต้องสร้างให้ผู้ตาม มีความรู้ ทักษะ และทัศนคติไปในทิศทางเดียวกับการความต้องการขององค์กรหรือหน่วยงานนั้น ๆ ซึ่งก็จะส่งผลให้องค์กรหรือหน่วยงานมีศักยภาพในการปฎิบัติงาน ในการแข่งขันหรือการสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้น องค์กรหรือหน่วยงานการกีฬาควรสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะของการเป็นผู้ตามที่ดี เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีของภาวะผู้ตาม และสร้างแนวทางในการพัฒนาตนเองสู่การปฏิบัติงานที่ดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้แก่องค์กร ในสภาวะการณ์ของ “องค์กรแห่งการเรียนรู้” ภาวะผู้นำ ความหมายของ ภาวะผู้นำ (Leadership) ผู้นำ (Leader) หมายถึง ผู้กำหนดวัตถุประสงค์ ของหน่วยงาน ผู้ให้ความคิดริเริ่มในการปฏิบัติงาน ผู้มีความรับผิดชอบต่อความสำเร็จ ภาวะผู้นำ (Leadership) เป็นเรื่องของการใช้ศิลปะในการจูงใจคน ให้คนทำงาน โดยผู้ทำงาน เต็มใจทำงานให้เรา ( นำคนได้ใช้คนเป็น) ถ้าผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำ จะทำให้เกิดความสำเร็จ 3 ประการ คือ. 1. นำคนได้ 2. นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่องค์กรได้ 3. ใช้สยบปัญหาได้ ผู้บริหารที่จะบริหารงานให้สำเร็จ จะต้องรู้จัก การครองตน ครองคน ครองงาน การครองตน ( มีคุณธรรมและจริยธรรมต่อตนเอง) หรือใช้หลัก “สัปปุริสธรรม 7” - เป็นแบบอย่างที่ดีของคนในองค์กร) - มีกริยามารยาทและแต่งกายดี - พูดจาไพเราะ - มีความเป็นผู้ใหญ่ เชื่อถือได้ - มีวินัยในตนเอง - ยึดหลักธรรม คำสั่งสอนของศาสนา ฯลฯ การครองคน ( มีคุณธรรมและจริยธรรมต่อผู้อื่นและสังคม ) หรือใช้หลัก “ พรหมวิหาร 4 ” - ประพฤติดีประพฤติชอบ - มีความหนักแน่นอดทน - มีความยุติธรรม - มีอัธยาศัยดี ฯลฯ การครองงาน ( มีคุณธรรมจริยธรรมต่อหน้าที่การงาน ) หรือใช้หลัก “อิทธิบาท 4” - มีความรู้ แสวงหาประสบการณ์ - มีวิสัยทัศน์กว้างไกล - มีความคิดสร้างสรรค์ - มีความรับผิดชอบสูง - ยึดหลักธรรมประจำใจในการปฏิบัติงาน ฯลฯ ความหมายของ ผู้ตาม (Followership) และภาวะผู้ตาม (Followership) ผู้ตาม หรือภาวะผู้ตาม หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานในองค์การที่มีหน้าที่ และความรับผิดชอบที่จะต้องรับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชามาปฏิบัติให้สำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์ แบบของภาวะผู้ตาม (STYLE OF FOLLOWSHIP)แบ่งตามประเภทคุณลักษณะได้ดังนี้ - ความอิสระ(INDEPENDENT) พึ่งพาตนเอง และความคิดสังสรรค์ (UNCRITICAL THINKING) - ไม่อิสระ (DEPENDENT) ต้องพึ่งพาผู้อื่น และขาดความคิดสร้างสรรค์ (UNCRITICAL) - ความกระตือรือร้น (ACTIVE BEHAVIOR) - ความเฉื่อยช า(PASSIVE BEHAVIOR) พฤติกรรมของผู้ที่มีความเป็นอิสระ และความคิดสร้างสรรค์จะมีลักษณะเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่ม และเสนอแนะวิธีการใหม่ ๆ อยู่เสมอส่วนบุคคลที่มีลักษณะพึ่งพาผู้อื่นจะขาดความคิดริเริม และคอยรับคำสั่งจากผู้นำโดยขาดการไต่รตรอง คุณลักษณะพฤติกรรมของผู้ตาม มีดังนี้ 1) ผู้ตามแบบห่างเหิน ผู้ตามแบบนี้เป็นคนเฉื่อยชา แต่มีความเป็นอิสระ และมีความคิดสร้างสรรค์สูง ผู้ตามแบบห่างเหินส่วนมาก เป็นผู้ตามที่มีประสิทธิผล มีประสบการณ์ และผ่านอุปสรรคมาก่อน 2) ผู้ตามแบบปรับตาม ผู้ตามแบบนี้ เรียกว่า ผู้ตามแบบครับผม เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นในการทำงาน แต่ขาดความคิดสร้างสรรค์ 3) ผู้ตามแบบเอาตัวรอด ผู้ตามแบบนี้จะเลือกใช้ลักษณะผู้ตามแบบใดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่จะเอื้อประโยชน์กับตัวเองให้มากที่สุดและมีความเสี่ยงน้อยที่สุด 4) ผู้ตามแบบเฉื่อยชา ผู้ตามแบบนี้ชอบพึ่งพาผู้อื่น ขาดความอิสระ ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 5) ผู้ตามแบบมีประสิทธิผล ผู้ตามแบบนี้เป็นผู้ที่ทีความตั้งใจในการปฏิบัติงานสูงมีความสามารถในการบริหารจัดการงานได้ด้วยตนเอง ศิลปะการเป็นผู้ตามที่ดี 1. ยอมรับนายอย่างที่เป็น อย่าคิดไปเปลี่ยนนาย หาทางเสริมในสิ่งที่นายขาด ผู้ตามส่วนใหญ่มักมองจุดอ่อนนายโดยเฉพาะหากเป็นจุดแข็งของตน เช่น ตนเองเป็นคนแคร์ความรู้สึกคนแต่นายไม่เป็น ก็มักมองว่านายมีจุดอ่อน แทนที่จะคิดอย่างนั้น ควรจะใช้จุดแข็งตนเสริมจุดอ่อนนายต่างหาก 2. อ่านเกมนายให้ออก จะทำได้ก็ต้องเข้าใจวิสัยทัศน์ เป้าหมายงาน เป้าหมายอาชีพ เป้าหมายชีวิต ที่สำคัญคือเข้าใจลำดับความสำคัญของเขา แล้ววางแผนงานของตนให้สอดคล้องกับเป้าหมายและวิสัยทัศน์ของนาย 3. ปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กร จะตรงมากกับคนที่เริ่มงานใหม่ หรือกับคนที่องค์กรเพิ่งจะควบรวมกับองค์กรอื่น หรือองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรหรือค่านิยมขององค์กร หรืออาจจะใช้ได้ด้วยกับคนเก่าที่ยังไม่ได้โปรโมตซักทีเพราะไม่เข้าใจวัฒนธรรมองค์กรว่าคาดหวังอะไรจากผู้บริหาร 4. ระบุปัญหาในงานที่อาจจะเกิด วางแผนป้องกัน และแผนสำรอง วิธีนี้ปัญหาในงานของตนในอนาคตจะมีน้อยลง นายจำนวนมากเสียเวลาไปกับการแก้ปัญหาให้ลูกน้องที่ไม่ระบุปัญหาล่วงหน้า แทนที่นายจะใช้เวลาไปกับงานที่เขาคิดว่าสำคัญและจำเป็นเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ของเขาได้เร็วขึ้น 5. ทำงานให้เกินความคาดหวัง ซึ่งต้องเข้าใจวิสัยทัศน์และลำดับความสำคัญของนายให้ถ่องแท้ มีบางคนที่ขยันมากแต่กลับไม่เข้าตานาย อาจจะเป็นได้ว่าเพราะกำลังทุ่มเทในสิ่งที่มีคุณค่าหรือมีลำดับความสำคัญน้อยในสายตาของนายหรือเปล่า 6. รักษาสัญญา เมื่อคนสามารถทำงานได้ตามสัญญา หรือมากเกินที่รับปากไว้ แน่นอนว่าความไว้เนื้อเชื่อใจก็จะมีพอกพูนตามมา ยิ่งทำได้ตามสัญญานายยิ่งไว้วางใจ ในทางกลับกัน หากทำไม่ได้ นายก็จะเริ่มไม่มั่นใจ หากทำไม่ได้มากขึ้น ก็จะมีการตรวจสอบมากขึ้นเรื่อยๆ 7. สื่อสารและสามารถถ่ายทอดความคิดออกมาได้อย่างดีเยี่ยม นายเราต้องรับข้อมูลและข่าวสารมากมายในแต่ละวัน เขาไม่สามารถจำอะไรได้ทั้งหมด สิ่งที่เขาจะจดจำได้ก็คือสิ่งที่เขาสนใจหรือสิ่งที่นำเสนอให้เขาสนใจ หากว่าพูดจาสื่อสารไม่เก่ง รายงานอะไรไปนายก็ลืมหมด หรือพูดทีต้องใช้เวลามากนายอาจไม่มีเวลาให้ คุณอาจจะเจอนายที่ลิฟต์ก่อนขึ้นไปสำนักงาน คุณสามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพภายในเวลาหนึ่งนาทีได้หรือไม่ 8. เขียนได้ดีมีประสิทธิภาพ เขียนได้ตรงประเด็น กระชับและชัดเจน จะต้องมีความชัดเจนก่อนลงมือเขียนว่าสิ่งที่คาดหวังให้ผู้อ่านได้รับเมื่ออ่านจบคืออะไร ต้องการให้เขาเข้าใจเนื้อหาเพียงอย่างเดียว หรือต้องการให้เขาลงมือทำอะไรบางอย่าง มีภาพที่ชัดเจนในใจเราก่อนที่จะลงมือเขียน 9. กล้าที่จะให้ข้อมูลย้อนกลับทั้งด้านดีและด้านร้าย คนส่วนใหญ่คิดว่านายคงต้องการได้ยินแต่สิ่งดีๆ ความเชื่อแบบนั้นอาจจะโบราณไปแล้ว ผู้บริหารมืออาชีพเขารู้ดีว่าเหรียญมีสองด้านเสมอ ไม่มีทางที่จะมีเพียงด้านดีด้านเดียว ในทางกลับกันเขาอาจจะระแวงหากมีลูกน้องที่พยายามรายงานแต่ข่าวดี หรือพยายามประจบประแจง บอกสิ่งที่ดีเกี่ยวกับเขา อาจจะคิดไปว่าลูกน้องพยายามที่จะคิดไม่ดีอะไรบางอย่างหรือไม่จึงไม่ยอมให้ข้อมูลด้านลบเลย 10. ทำงานเป็นทีมเป็น ทำงานเป็นทีมหมายความว่าเขาสามารถทำงานกับคนได้ทุกแบบ คนส่วนใหญ่มักจะทำงานกับคนที่พูดง่ายได้ แต่จะทำงานกับคนที่เจ้าปัญหาไม่ได้ จึงมักมาขอแรงนายเสมอ หรือไม่ก็ไม่กล้าไปคุยกับคนที่อาวุโสกว่าต้องให้นายออกหน้า แนวทางการพัฒนาศักยภาพตนเองของ ผู้ตาม ที่ดีมีดังต่อไปนี้ 1) เริ่มต้นจากส่วนลึกในจิตใจ (BEGIN WITH THE END IN MIND) 2) ต้องมีนิสัยเชิงรุก (BE PROATIVE) หมายถึงไม่ต้องรอให้นายสั่ง 3) คิดแบบชนะทั้งสองฝ่าย (THINK WIN-WIN) 4) เข้าใจคนอื่นก่อนจะให้คนอื่นเข้าใจเรา (SEEK FIRST TO UNDERSTAND, THEN TO BE UNDERSTOOD) 5) การรวมพลัง (SYNERGY) หรือ ทำงานเป็นทีม (TEAM WORK) 6) ลับเลื่อยให้คม (SHARPEN THE SAW) คือพัฒนาตนเองอยู่เสมอ แนวทางการส่งเสริมและการพัฒนาให้ผู้ปฎิบัติการมีคุณลักษณะ ผู้ตาม อันพึ่งประสงค์ตามวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือหน่วยงาน 1) การดูแลเอาใจใส่ เรื่องความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ให้กับบุคลากรเป็นธรรม 2) การจูงใจด้วยการให้รางวัลคำชมเชย 3) การให้ความรู้ และพัฒนาความคิดโดยการจัดโครงการฝึกอบรมสัมมนาและศึกษาดูงาน 4) ผู้นำต้องปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่าง 5) มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง 6) ควรนำหลักการประเมินผลงานที่เน้นผลสัมฤทธิ์มาพิจารณาความดีความชอบ 7) ส่งเสริมการนำพุทธศาสนามาใช้ในการทำงาน 8) การส่งเสริมสนับสนุนให้ผุ้ตามนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง ก่อนเป็นผู้นำ คงต้องเคยเป็นผู้ตามมาก่อน ผู้นำที่ดีต้องตามเป็นภาระผู้ตามมีความสำคัญและมีผลต่อความสำเร็จ หรือล้มเหลวขององค์กรไม่น้อยไปกว่าภาวะผู้นำ (ที่มา อ.พีรศักดิ์ วิลัยรัตน์http://www.pantown.com) ผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร 1. ความรู้ (Knowledge) การเป็นผู้นำนั้น ความรู้เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด ความรู้ในที่นี้มิได้หมายถึงเฉความรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่เท่านั้น หากแต่รวมถึงการใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมในด้านอื่นๆ ด้วย การจะเป็นผู้นำที่ดี หัวหน้างานจึงต้องเป็นผู้รอบรู้ ยิ่งรอบรู้มากเพียงใด ฐานะแห่งความเป็นผุ้นำก็จะยิ่งมั่นคงมากขึ้นเพียงนั้น 2. ความริเริ่ม (Initiative)ความริเริ่ม คือ ความสามารถที่จะปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในขอบเขตอำนาจหน้าที่ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องคอยคำสั่ง หรือความสามารถแสดงความคิดเห็นที่จะแก้ไขสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ดีขึ้น หรือเจริญขึ้นได้ด้วยตนเอง ความริเริ่มจะเจริญงอกงามได้ หัวหน้างานจะต้องมีความกระตือรือร้น คือมีใจจดจ่องานดี มีความเอาใจใส่ต่อหน้าที่ มีพลังใจที่ต้องการความสำเร็จอยู่เบื้องหน้า 3. มีความกล้าหาญและความเด็ดขาด ( Courage and firmness)ผู้นำที่ดีจะต้องไม่กลัวต่ออันตราย ความยากลำบาก หรือความเจ็บปวดใดๆ ทั้งทางกายวาจา และใจผู้นำที่มีความกล้าหาญ จะช่วยให้สามารถผจญต่องานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้นอกจากความกล้าหาญแล้ว ความเด็ดขาดก็เป็นลักษณะอันหนึ่งที่จะต้องทำให้เกิดมีขึ้นในตัวของผู้นำเองต้องอยู่ในลักษณะของการ “กล้าได้กล้าเสีย” ด้วย 4. การมีมนุษยสัมพันธ์ (Human relations) ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักประสานความคิด ประสานประโยชน์สามารถทำงานร่วมกับคนทุกเพศทุกวัย ทุกระดับการศึกษาได้ ผู้นำที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีจะช่วยให้ปัญหาใหญ่เป็นปัญหาเล็กได้ 5. มีความยุติธรรมและซื่อสัตย์สุจริต (Fairness and Honesty)ผู้นำที่ดีจะต้องอาศัยหลักของความถูกต้อง หลักแห่งเหตุผลและความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยสั่งการ หรือปฏิบัติงานด้วยจิตที่ปราศจากอคติ ปราศจากความลำเอียง ไม่เล่นพรรคเล่นพวก 6. มีความอดทน (Patience) ความอดทน จะเป็นพลังอันหนึ่งที่จะผลักดันงานให้ไปสู่จุดหมายปลายทางได้ อย่างแท้จริง 7. มีความตื่นตัวแต่ไม่ตื่นตูม (Alertness )ความตื่นตัว หมายถึง ความระมัดระวัง ความสุขุมรอบคอบ ความไม่ประมาท ไม่ยืดยาขาดความกระฉับกระเฉง มีความฉับไวในการปฏิบัติงานทันต่อเหตุการณ์ ความตื่นตัวเป็นลักษณะที่แสดงออกทางกาย แต่การไม่ตื่นตูม เป็นพลังทางจิตที่จะหยุดคิดไตร่ตรองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น รู้จักใช้ดุลยพินิจที่จะพิจารณาสิ่งต่างๆ หรือเหตุต่างๆได้อย่างถูกต้องพูดง่ายๆ ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักควบคุมตัวเองนั่นเอง (Self control) 8. มีความภักดี (Loyalty) การเป็นผู้นำหรือหัวหน้าที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีความจงรักภักดีต่อหมู่คณะ ต่อส่วนรวมและต่อองค์การ ความภักดีนี้ จะช่วยให้หัวหน้าได้รับความไว้วางใจ และปกป้องภัยอันตรายในทุกทิศได้เป็นอย่างดี 9. มีความสงบเสงี่ยมไม่ถือตัว (Modesty) ผู้นำที่ดีจะต้องๆไม่หยิ่งยโส ไม่จองหอง ไม่วางอำนาจ และไม่ภูมิใจในสิ่งที่ไร้เหตุผล ความสงบเสงี่ยมนี้ ถ้ามีอยู่ในหัวหน้างานคนใดแล้ว ก็จะทำให้ลูกน้องมีความนับถือ และให้ความร่วมมือเสมอ (ที่มา http://www.sombatlegal.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=421796 โดย ศิริพงษ์ ศรีชัยรมย์รัตน์ “กุญแจสู่ความเป็นเลิศทางการบริหารคน” หน้า 25 -28 ) ผู้นำแห่งความสำเร็จ องค์กรไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ก็สามารถสิ่งที่ยิ่งใหญ่จนได้รับคำชื่นชมว่ามีความสำเร็จได้ทั้งนั้น ขอเพียงมีองค์ประกอบในการทำงานดี ความสำเร็จก็รออยู่ไม่ไกลองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งคือ ผู้นำต้องดี ถ้ามีผู้นำดี ลูกน้องก็ไม่หลงทาง องค์กรก็ไม่เป๋ จะคิดอะไร จะทำอะไร ก็เต็มเปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพ นี่คือ 10 องค์ประกอบของผู้นำที่ทรงประสิทธิภาพ ที่ทุกองค์กรต้องมองหา 1. ตัดสินใจเด็ดขาด ผู้นำที่รู้จักตัดสินใจอย่างเด็ดขาด มักมีคุณสมบัติพิเศษควบคู่กันอยู่อีกประการหนึ่งเสมอคือ มักถูกต้องและมีเหตุมีผล เขามักจะเป็นคนที่พูดจาคำไหนคำนั้น ถือได้ว่าเป็นผู้นำที่ดีที่สุดของลูกน้อง บางครั้งการตัดสินใจดูเหมือนจะใช้ความคิดของตนเป็นใหญ่ไปบ้าง แต่ก็ยังเป็นเรื่องที่ยอมรับกันได้ เพราะเขากำลังอยู่ใน บทบาทซึ่งเป็นผู้นำ และเขาจะติดตาม รับผิดชอบไปจนเสร็จสิ้นทั้งกระบวนการถ้าผู้นำมีความมุ่งมั่น ตัดสินใจเร็ว ไม่โลเล เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาบ่อยๆ ลูกน้องก็จะเกิดความมั่นใจ เชื่อถือ และสามารถทำงานได้โดยไม่สะดุดบ่อยๆ ผิดกับเจ้านายที่โลเลต่อการตัดสินใจ ลูกน้องก็มักจะมีบุคลิกภาพแบบนักรีรอ ไม่พร้อมจะทำ ไม่พร้อมจะลุย ไม่พร้อมจะตัดสินใจ และไม่พร้อมจะรับผิดชอบด้วยเช่นกัน 2. มีเป้าหมายชัดเจน นอกจากจะเฉียบขาดแล้ว ผู้นำที่มีจุดยืน มีอุดมการณ์ หรือมีจุดหมายที่ชัดเจน ก็เป็นที่ต้องการเป็นอย่างยิ่ง จุดหมายที่องค์กรมีร่วมกันโดยมีนายเป็นผู้ถือธงนำนั้น ก็เหมือนกับทั้งทีมได้เห็นเส้นชัยหรือหลักชัยที่ต้องเดินไปให้ถึง ถ้ามีจุดหมายปลายทางที่ชัดเจนแล้ว เราก็สามารถมุ่งหน้าไปยังจุดๆ นั้นได้ง่าย และเร็วขึ้น เพราะเรารู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ คนที่รู้ว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่นั้น ย่อมดีกว่าเดินไปคิดลังเลไป เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา 3. รู้จักใช้คน Put he right man in the right job. ยังใช้ได้ดีในทุกสถานการณ์ และทุกที่ ผู้นำที่ดีต้องรู้จักลูกน้องของตนว่าใครเหมาะที่จะทำอะไร งานไหนควรให้ใครรับผิดชอบ คนไหนเก่งอะไร มีข้อบกพร่องด้านใดอยู่บ้าง ก็พยายามแก้ไขให้เขาสมบูรณ์แบบขึ้น ใครขาดใครเกินส่วนไหน ก็ปรับแต่งให้ลงตัว อย่างนี้จึงจะเรียกว่า บริหารคนเป็น การรู้จักนิสัยใจคอ ความชอบส่วนตัวของลูกน้อง นอกจากจะทำให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพขึ้นแล้ว ยังเป็นข้อหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า ผู้นำเอาใส่ใจต่อลูกน้องของเขาเป็นอย่างดี 4. ซื่อสัตย์ นอกจากจะเป็นคนที่ทำงานเก่งแล้ว ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างของความซื่อสัตย์ต่อองค์กรด้วย เขาควรจะบริหารค่าใช้จ่ายภายในอย่างเป็นธรรมถูกต้อง ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบให้กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ได้ การมีเจ้านายเป็นคนเก่ง และเป็นคนดีที่ไว้ใจได้ อาจพูดได้ว่าเป็นโชคทบของลูกน้องที่ได้ร่วมงานด้วยเลยทีเดียว และคุณสมบัติเช่นนี้ก็จะเป็นแบบอย่างให้ลูกน้องตระหนักถึงคุณลักษณะที่ดี ของเขา เขาควรจะยิ่งต้องยึดถือความสัตย์ซื่อเป็นสรณะตามไปด้วย 5. สนับสนุนลูกน้อง ผู้นำที่ดีต้องให้โอกาสลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชา เปิดโอกาสให้เขาได้ทำงานที่พิสูจน์ความสามารถของเขาด้วย งานใดจะส่งเสริมให้ความสามารถของลูกน้องโดดเด่นเป็นที่ยอมรับ ก็ควรสนับสนุน ไม่ใช่แย่งผลงานและโอกาสในการสร้างผลงานของลูกน้องมาเป็นผลงานของตัวเองหมดเสียทุกครั้งไป ให้โอกาสเขาได้เจริญเติบโต พร้อมทั้งผลักดัน สนับสนุน ให้สร้างเสริมความสามารถให้ยอดเยี่ยมขึ้นเรื่อยๆผู้นำที่ดีต้องสร้าง ลูกน้องให้เก่งขึ้นกว่าเดิม โดยไม่ต้องหวาดกลัวว่าเขาจะเลื่อนขั้นขึ้นมาทำงานแทนได้ในภายภาคหน้า 6. มีมนุษยสัมพันธ์ดี ผู้นำที่ดีต้องมีมนุษยสัมพันธ์ดี ทั้งในและนอกองค์กร บางครั้งนอกองค์กรนายอาจจะเป็นคนนิสัยดีเยี่ยม อัธยาศัยดี น่าคบหา แต่กับคนใกล้ตัวอย่างลูกน้องในองค์กร นายอาจจะเปลี่ยนนิสัยไปอยู่ขั้วตรงข้าม อย่างนั้นก็นับเป็นผู้นำที่ใช้ไม่ได้ นายที่ดีต้องไม่ลืมข้อนี้ แค่ทักทาย ถามไถ่ทุกข์สุขลูกน้อง ขอบคุณเมื่อเขาทำงานให้ ให้รางวัลหรือคำชมเชย เมื่อเขาทำในสิ่งซึ่งน่าชมเชย เหล่านี้เป็นต้น นายที่ดีต้องรู้จักยืดหยุ่น มีอารมณ์ขัน อาจมีการพบปะสังสรรค์กันนอกเวลางานบ้าง เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน และจะส่ง ผลให้การทำงานราบรื่นยิ่งขึ้น 7. รู้จักรับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง ผู้นำที่เอาแต่พูดๆๆๆ อยู่ฝ่ายเดียว โดยไม่ฟังความคิดเห็นหรือคำอธิบายของลูกน้องเลย นับเป็นเจ้านายที่ปิดกั้นตัวเองอย่างยิ่ง แน่นอนว่าเจ้านายมักมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลกว่า มีความรู้มากกว่าลูกน้อง แต่การไม่ยอมรับฟังอะไรจากใครเลย ก็ไม่เป็นผลดี เพราะบางทีลูกน้องอาจมีข้อเสนอดีๆ ที่นายมองข้ามไป หรืออาจมีคำ อธิบายที่ฟังขึ้นในความผิดพลาดของงานที่นายมองไม่เห็น การฟังลูกน้องพูดหรืออธิบายบ้าง จะช่วยให้ลูกน้องทำงานอย่างสบายใจ ไม่รู้สึกกดดันมากนัก เมื่อมีปัญหาเขาจะกล้ามาถามหรือเสนอแนะในข้อที่เขาเห็นว่าเป็นทางเลือกที่ดี แค่รู้จักฟังลูกน้องให้มากขึ้นเพียงนิดหน่อย ก็จะกลายเป็นผู้นำหรือเจ้านายที่น่ารักขึ้นอีกโขเชียวค่ะ 8. บุคลิกภาพต้องดีเยี่ยม เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง ผู้นำหรือเจ้านายควรเป็นผู้มีบุคลิกดี แต่งกายเหมาะสมกับรูปร่าง หรือ ฐานะทางสังคม ต้องดูสะอาดสะอ้าน ดูสุภาพ เข้างานสังคมได้อย่างไม่ขัดหูขัดตา และมีบุคลิกดึงดูดใจ น่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป ถ้าคุณเป็นผู้นำหรือนายที่ความสามารถเป็นเลิศอยู่แล้ว แต่บุคลิกภาพกลับดูแย่ อย่างนี้ก็ถือว่าก็ยังมีข้อบกพร่องให้ลูกน้องรู้สึกไม่ดีได้ จึงโปรดอย่าตกม้าตายด้วยเรื่องง่ายๆ เรื่องนี้ 9. มีศิลปะในการเจรจา ขอเพียงพูดด้วยความนุ่มนวล พูดอย่างรู้จักไตร่ตรอง รู้จักสถานการณ์ รู้คิด รู้กาลเทศะ และรู้จักคนที่เรากำลังเจรจาด้วย ความสำเร็จก็รออยู่ไม่ไกล ในการพูดนั้นต้องคิดก่อน มีการเตรียมการมาก่อน ความคิดต้องไม่สับสน พูดอย่างสั้น กระชับ ตรงประเด็น จริงใจ เป็นธรรมชาติ ใช้เสียงที่ดังพอประมาณ คือให้คู่สนทนาได้ยินชัดเจน หากมีผู้ร่วมสนทนาหลายคน ทุกคนต้องได้ยินเสียงพูดอย่างทั่วถึงกัน พูดจาต้องมีหางเสียง มีจังหวะจะโคนที่ราบรื่น มีเสียงหนักเบาเพื่อเน้นความสำคัญของสิ่งที่พูด และไม่ทำให้รู้สึกเบื่อ สายตาควรจับจ้องไปยังผู้ฟังถ้วนทั่ว และเมื่อพูดจบ จงแสดงท่าทีว่าคุณพร้อมแล้วที่จะรับฟังความเห็นของคนอื่น ไม่ปิดกั้น ไม่คิดว่าสิ่งที่คุณพูดไปนั้นดีที่สุด ถูกต้องที่สุดกว่าคนอื่นๆ แต่มันมีความถูกต้องรอบคอบอย่างที่สุดแล้ว จากความคิดของคุณ คนอื่นๆ มีความคิดเห็นอย่างไร ต้องเปิดโอกาสให้เขาแสดงออกมา เพื่อได้รับแรงสนับสนุน หรือหากถูกค้าน ก็เป็นโอกาสที่เราจะอธิบายเพิ่มเติมได้ 10. มีความเป็นผู้นำ ความเป็นผู้นำนี้แหละ สำคัญสูงสุด และลอยตัวอยู่เหนือเพศสภาพ คนเป็นผู้นำไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเขาเป็นเพศใด แต่เขามีความคิดที่เฉียบคม ที่การลงมือที่เฉียบขาด และมีการประสานงานที่เฉียบแหลม เขามักอยู่ข้างหน้าผู้อื่นเสมอ ทั้งการคิด การแสดงความคิดเห็น การลงมือทำ และความรับผิดชอบ เขาต้องพร้อมจะผิดก่อนคนอื่น และอธิบายถึงความผิดพลาดนั้นอย่างกล้าหาญ ถูกต้อง และแสดงภูมิรู้ว่าเขาเกิดการเรียนรู้จากความผิดพลาดได้ พร้อมกันนี้เขาก็พร้อมจะนำพาทุกคนให้ก้าวพ้นความผิดพลาดนั้นๆ ปรับตัวเข้ากับทุกสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง เข้าใจองค์กรและเห็นใจผู้ร่วมงาน ประสานประโยชน์ขององค์กรและผู้ร่วมงานได้ดี ได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากผู้ร่วมงานในทุกระดับ (ที่มา http://hilight.kapook.com/view/25129) ผู้ตามที่ดี Robert E. Kelly ได้ทำการศึกษาวิจัยและพบว่า ความสำเร็จขององค์กร 90% เกิดจากการทำงานของผู้ตาม ส่วนอีก 10% ที่เหลือเป็นผลงานของผู้นำ จะเห็นได้ว่า ไม่เพียงแต่ผู้นำเท่านั้นที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การ แต่ผู้ตามก็มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าผู้นำเช่นกัน รูปแบบของผู้ตาม Robert Kelly (1992) จำแนกรูปแบบผู้ตาม(Followership pattern) เป็น 5 รูปแบบ ดังนี้ 1) ผู้ตามแบบเฉื่อยชา(Sheep) หมายถึงผู้ตามที่เชื่องช้า ไม่กระตือรือร้น ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่พยายามพึ่งพาตนเอง ทำงานตามคำแนะนำและคำสั่งที่ได้รับมอบหมายโดยไม่คิดที่จะเริ่มเอง ทำงานให้แล้วเสร็จในลักษณะ “เช้าชาม เย็นชาม” เป็นผู้ตามที่ถูกชักจูงได้ง่าย 2) ผู้ตามแบบยอมตามเห็นด้วยเสมอ(Conformist หรือYes people)หมายถึงผู้ตามที่มีความกระตือรือร้นในการทำงาน แต่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์และไม่มีความคิดริเริ่ม รวมทั้งพยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชา จึงเห็นด้วย คล้อยตาม น้อมรับ และทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยมิโต้แย้งใดๆ ไม่ติดตามผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการที่ตนเองได้กระทำ 3) ผู้ตามแบบรู้รักษาตัวรอด(Survivors) หมายถึงผู้ตามที่ทำตัวเหมือนน้ำ คอยปรับตนเองให้อยู่รอดอย่างปลอดภัยในทุกๆสถานการณ์ เข้าทำนอง “รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี” 4) ผู้ตามแบบปรปักษ์(Alienated followers) หมายถึงผู้ตามที่ชอบอิสระ พยายามพึ่งพาตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์และความคิดริเริ่ม แต่ขาดศิลปะในการแสดงบทบาทของผู้ตามให้เหมาะสมกับกาลเทศะ โดยแสดงความคิดเห็นขัดแย้งกับผู้บังคับบัญชา ไม่ประนีประนอม คอยจับผิดและวิจารณ์ผู้บังคับบัญชา 5) ผู้ตามที่มีประสิทธิผล(Effective followers) หมายถึงผู้ตามที่มีความเพียรพยายาม ชอบอิสระ สามารถพึ่งพาตนเอง สามารถแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการงานที่รับผิดชอบอย่างมีประสิทธิภาพ คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ตนเอง มีพฤติกรรมกล้าแสดงออก มีความสามารถในงาน พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความภักดี ให้ความร่วมมือ มีความคิดสร้างสรรค์และมีความคิดริเริ่มสูง จึงเป็นที่ชื่นชอบของผู้ร่วมงานและผู้บังคับบัญชา ผู้ตามประเภทนี้เป็นบุคคลที่มีภาวะผู้ตาม(Followership) หรือเป็นผู้ตามที่เป็นแบบอย่าง(Exemplary followers)...”และ Robert Kelly (1992) ได้รายงานผลการศึกษาวิจัยผู้ตามที่เป็นแบบอย่าง(Exemplary followers) ว่ามีคุณลักษณะที่ประกอบด้วย 1. สามารถในการจัดการตนเอง(Self Management) หมายถึง สามารถควบคุมตนเอง พึ่งพาตนเอง และสามารถทำงานด้วยตนเองโดยปราศจากการนิเทศใกล้ชิดจากผู้บังคับบัญชา 2. มุ่งมั่นในการทำงาน อุทิศตนเพื่องาน และตั้งใจทำงาน(Commitment) 3. พัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถเพื่อให้ผลงานมีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุด(Build competence and Focus effort) 4. มีความกล้า (Courageous) หมายถึงกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น กล้าตัดสินใจและกล้ายอมรับความผิดพลาดที่ตนเองเป็นผู้กระทำ รวมทั้งพร้อมรับคำวิจารณ์จากผู้อื่น…” ความหมายของผู้ตาม(FOLLOWERS)และภาวะผู้ตาม(FOLLOWSHIP) ผู้ตาม และภาวะผู้ตาม หมายถึงผู้ปฏิบัติงานในองค์การที่มีหน้าที่ และความรับผิดชอบที่จะต้องรับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชามาปฏิบัติให้สำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์ แบบของภาวะผู้ตาม(STYLE OF FOLLOWSHIP)เคลลี่(KELLEY)ได้แบ่งประเภทของผู้ตามโดยใช้เกณฑ์ 2 มิติ ดังนี้ มิติที่ 1 คุณลักษณะของผู้ตามระหว่าง ความอิสระ(INDEPENDENT)(การพึ่งพาตนเอง) และความคิดสังสรรค์ (UNCRITICAL THINKING) ไม่อิสระ(พึ่งพาผู้อื่น)(DEPENDENT) และขาดความคิดสร้างสรรค์ (UNCRITICAL)พฤติกรรมของผู้ที่มีความเป็นอิสระ และความคิดสร้างสรรค์จะมีลักษณะเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่ม และเสนอวิธีการใหมอยู่เสมอส่วนบุคคลที่มีลักษณะพึ่งพาผู้อื่นจะขาดความคิดริเริม และคอยรับคำสั่งจากผู้นำโดยขาดการไตรตรอง มิติที่ 2 คุณลักษณะของผู้ตามระหว่าง “ความกระตือรือร้น (ACTIVE BEHAVIOR)กับความเฉื่อยชา(PASSIVE BEHAVIOR) คุณลักษณะพฤติกรรมของผู้ตาม 5 แบบมีดังนี้ 1) ผู้ตามแบบห่างเหิน ผู้ตามแบบนี้เป็นคนเฉื่อยชา แต่มีความเป็นอิสระ และมีความคิดสร้างสรรค์สูง ผู้ตามแบบห่างเหินส่วนมาก เป็นผู้ตามที่มีประสิทธิผล มีประสบการณ์ และผ่านอุปสรรคมาก่อน 2) ผู้ตามแบบปรับตาม ผู้ตามแบบนี้ เรียกว่า ผู้ตามแบบครับผม เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นในการทำงาน แต่ขาดความคิดสร้างสรรค์ 3) ผู้ตามแบบเอาตัวรอด ผู้ตามแบบนี้จะเลือกใช้ลักษณะผู้ตามแบบใดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่จะเอื้อประโยชน์กับตัวเองให้มากที่สุดและมีความเสี่ยงน้อยที่สุด 4) ผู้ตามแบบเฉื่อยชา ผู้ตามแบบนี้ชอบพึ่งพาผู้อื่น ขาดความอิสระ ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 5) ผู้ตามแบบมีประสิทธิผล ผู้ตามแบบนี้เป็นผู้ที่ทีความตั้งใจในการปฏิบัติงานสูงมีความสามารถในการบริหารจัดการงานได้ด้วยตนเอง ลักษณะผู้ตามที่มีประสิทธิผล ดังนี้ 5.1 มีความสามรถในการบริหารจัดการตนเองได้ดี 5.2 มีความผูกพันธ์ต่อองค์การต่อวัตถุประสงค์ 5.3 ทำงานเต็มศักยภาพ และสุดความสามารถ 5.4 มีความกล้าหาญ ซื่อสัตย์ และน่าเชื่อถือ การพัฒนาศักยภาพตนเองของผู้ตาม การพัฒนาลักษณะนิสัยตนเองให้เป็นคนที่มีประสิทธิผลสูงมี 7 ประการคือ 1) ต้องมีนิสัยเชิงรุก (BE PROATIVE) หมายถึงไม่ต้องรอให้นายสั่ง 2) เริ่มต้นจากส่วนลึกในจิตใจ (BEGIN WITH THE END IN MIND) 3) ลงมือทำสิ่งแรกก่อน (PUT FIRST THINGS FIRST) 4) คิดแบบชนะทั้งสองฝ่าย (THINK WIN-WIN) 5) เข้าใจคนอื่นก่อนจะให้คนอื่นเข้าใจเรา (SEEK FIRST TO UNDERSTAND, THEN TO BE UNDERSTOOD) 6) การรวมพลัง (SYNERGY) หรือ ทำงานเป็นทีม (TEAM WORK) 7) ลับเลื่อยให้คม (SHARPEN THE SAW) คือพัฒนาตนเองอยู่เสมอ แนวทางส่งเสริม และพัฒนาผู้ตามให้มีคุณลักษณะผู้ตามที่มีวัตถุประสงค์ 1) การดูแลเอาใจใส่ เรื่องความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ให้กับบุคลากรเป็นธรรม 2) การจูงใจด้วยการให้รางวัลคำชมเชย 3) การให้ความรู้ และพัฒนาความคิดโดยการจัดโครงการฝึกอบรมสัมมนาและศึกษาดูงาน 4) ผู้นำต้องปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่าง 5) มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง 6) ควรนำหลักการประเมินผลงานที่เน้นผลสัมฤทธิ์มาพิจารณาความดีความชอบ 7) ส่งเสริมการนำพุทธศาสนามาใช้ในการทำงาน 8) การส่งเสริมสนับสนุนให้ผุ้ตามนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง คุณลักษณะของผู้ตามที่ดี 1. สามารถบริหารจัดการตนเองได้ดี (Self-management) 2.มีความผูกพัน (Commitment) ต่อองค์การและต่อวัตถุประสงค์ หลักการ หรือบุคคลอื่นนอกจากตัวเอง 3. เสริมสร้างศักยภาพและทุ่มเท(Competence and focus) และความพยายามของตนเพื่อผลสุดยอดของงาน 4. มีความกล้าหาญ(Courage) ซื่อสัตย์และน่าเชื่อถือ (Honest and credible) -ความกล้าที่จะแสดงความรับผิดชอบ -ความกล้าในการช่วยเหลือรับใช้ -ความกล้าที่จะท้าทาย -ความกล้าในการเข้าร่วมกระบวนการเปลี่ยนแปลง -ความกล้าที่จะไปจากองค์การ จะทำตนอย่างไรให้เป็นผู้ตามที่ดีและมีประสิทิภาพ 1. ค้นให้พบว่าตนเองถูกคาดหวังให้ทำอะไร 2. เสนอการริเริ่มในการแก้ปัญหา 3.ให้หัวหน้าได้รับทราบการตัดสินใจอยู่เสมอ 4. ตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่จะแจ้งหัวหน้าให้แม่นยำถูกต้องเสียก่อน 5. กระตุ้นหัวหน้าเพื่อขอทราบผลการประเมินที่เป็นข้อมูลป้อนกลับอย่างตรงไปตรงมา 6. ช่วยสนับสนุนความพยายามของผู้นำในการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น 7. แสดงความชื่นชมและให้การยอมรับในโอกาสที่เหมาะสม 8. กล้าชี้จุดบกพร่องของแผนงานหรือข้อเสนอของผู้นำ "....องค์การจึงย่อมต้องการผู้นำที่มีประสิทธิผล(Effective leader)หรือผู้นำที่เป็นแบบอย่าง(Exemplary leader) ในขณะเดียวกันก็ต้องการผู้ปฏิบัติงานที่กอร์ปด้วยคุณลักษณะผู้ตามที่มีประสิทธิผล(Effective followers) หรือผู้ตามที่เป็นแบบอย่าง(Exemplary followers) อย่างไรก็ตามผู้บริหารไม่เพียงปฏิบัติบทบาทผู้นำเท่านั้นแต่ปฏิบัติทั้งบทบาทผู้นำและบทบาทผู้ตาม...” (ที่มา http://www.ekachai.ob.tc/Follower.pdf , http://archive.wunjun.com/pairuamkron/9/376.html) คำถามท้ายบท 1. ให้นักศึกษาอธิบายความเป็นผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไรพร้อมยกตัวอย่างประกอบษ? 2. การบริหารงานให้สำเร็จต้องรู้จักการครองตน การครองคน และการครองงานใช้หลักธรรมอะไรบ้าง? 3. การเป็นผู้นำที่ดีได้ ย่อมเป็นผู้ตามที่ดีก่อน ศิลปะการเป็นผู้ตามที่ดีมีอะไรบ้างพร้อมยกตัวอย่าง? 4. การเป็นผู้นำนั้นมีหลายแบบ แต่ผู้นำแห่งความสำเร็จควรมีลักษณะอย่างไรพร้อมแสดงความคิดเห็น? 5. จะทำตนอย่างไรให้เป็นผู้ตามที่ดีมีประสิทธิภาพ และมีประโยชน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น