วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 6 ความฉลาดทางอารมณ์และความคิดสร้างสรรค์

ความฉลาดทางอารมณ์ ปัจจุบันโลกมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปในทางด้านต่าง ๆ มากมาย ทำให้มนุษย์ทุกคนต้องมีการปรับตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อที่จะทำให้ตัวเองดำเนินชีวิตไปอย่างมีความสุขและมีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาตนเองให้ประสบความสำเร็จในทุก ๆ เรื่อง ซึ่งการที่ทุกคนนั้นจะประสบความสำเร็จได้จะต้องมีความฉลาดทางด้านอารมณ์เข้ามาเป็นส่วนประกอบสำคัญส่วนหนึ่งด้วย ดังนั้น ความฉลาดทางอารมณ์ จึงเปรียบได้กับการเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น และสามารถแก้ไขความขัดแข้งได้ ถ้าหากเราทุกคนมีความฉลาดทางอารมณ์แล้วการจะทำอะไรก็จะประสบความสำเร็จไปได้อย่าง เก่ง ดี มีสุข ตลอดไป อีคิวคืออะไร? อีคิว หรือ E.Q. มาจากคำว่า Emotional Quotient หมายถึง ความฉลาดทางอารมณ์ ความฉลาดทางอารมณ์ คือ ความสามารถทางอารมณ์ที่จะช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข อีคิว ถือเป็นเรื่องใหม่ในแวดวงการศึกษาและจิตวิทยา เพราะเพิ่งได้รับความสนใจและยอมรับในความสำคัญอย่างจริงจังเมื่อ ๑๐ กว่าปีมานี้ เดิมเคยเชื่อกันว่า ความสามารถทางเชาวน์ปัญญาหรือไอคิว คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้มนุษย์ประสบความสำเร็จ มีชีวิตที่ดีและมีความสุข ต่อมา นักจิตวิทยาเริ่มตั้งข้อสงสัยต่อความเชื่อความเข้าใจดังกล่าว เพราะไม่เชื่อว่าความสำเร็จและความสุขในชีวิตของคน ๆ หนึ่งจะขึ้นอยู่กับความสามารถทางเชาวน์ปํญญาแต่เพียงอย่างเดียว แต่เนื่องจากในระยะนั้นยังไม่มีข้อมูลจากการศึกษาวิจัยที่เพียงพอ ความคิดนี้จึงถูกละเลยไปอย่างน่าเสียดาย จนกระทั่ง ในปีค.ศ.๑๙๙๐ ซาโลเวย์และเมเยอร์ สองนักจิตวิทยาได้นำความคิดนี้มาพูดถึงอีกครั้ง โดยเอ่ยถึงความฉลาดทางอารมณ์ เป็นครั้งแรกว่า "เป็นรูปแบบหนึ่งของความฉลาดทางสังคมที่ประกอบด้วยความสามารถในการรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเอง และผู้อื่นสามาารถแยกความแตกต่างของอารมณ์ที่เกิดขึ้น และใช้ข้อมูลนี้เป็นเครื่องชี้นำในการคิดและกระทำสิ่งต่าง ๆ" จากนั้น แดเนียล โกลแมน นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ก็สานต่อแนวคิดนี้อย่างจริงจังโดยได้เขียนเป็นหนังสือเรื่อง ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) และได้ให้ความหมายของอีคิวว่า "เป็นความสามารถหลายด้าน ได้แก่ การเร่งเร้าตัวเองให้ไปสู่เป้าหมาย มีความสามารถควบคุมความขัดแย้งของตนเอง รอคอยเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น สามารถจัดการกับอารมณ์ไม่สบายต่าง ๆ มีชีวิตอยู่ด้วยความหวัง" หลังจาก หนังสือความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) ของแดเนียล โกลแมน ออกสู่สาธารณชน ผู้คนก็เริ่มให้ความสนใจกับความฉลาดทางอารมณ์มากขึ้น ประกอบกับระยะหลังมีงานวิจัยหลายชิ้นยืนยันถึงความสำคัญของความฉลาดทางอารมณ์ อีคิวหรือความฉลาดทางอารมณ์ จึงได้รับการยอมรับว่ามีความสำคัญต่อความสำเร็จและความสุขในชีวิตมนุษย์ กลายเป็นเรื่องฮิตที่มาแรงแซงหน้าไอคิวไปในระยะหลัง นอกจากคำว่า Emotional Quotient ที่เราเรียกว่า อีคิวแล้ว ยังมีคำอื่น ๆ อีกหลายคำที่นักวิชาการใช้ในความหมายใกล้เคียงกัน เช่น Emotional Intelligence, Emotional Ability, Interpersonal Intelligence, Multiple Intelligence กรมสุขภาพจิตได้พัฒนาแนวคิดเรื่อง ความฉลาดทางอารมณ์ ที่ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ ๓ ประการคือ ๑. ความดี ๒. ความเก่ง ๓. ความสุข ดี หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง รู้จักเห็นใจผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อส่วนร่วม ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง - รู้อารมณ์และความต้องการของตนเอง - ควบคุมอารมณ์และความต้องการได้ - แสดงออกอย่างเหมาะสม ความสามารถในการเห็นใจผู้อื่น - ใส่ใจผู้อื่น - เข้าใจและยอมรับผู้อื่น - แสดงความเห็นใจอย่างเหมาะสม ความสามารถในการรับผิดชอบ - รู้จักการให้ รู้จักการรับ - รู้จักรับผิด รู้จักให้อภัย - เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เก่ง หมายถึง ความสามารถในการรู้จักตนเอง มีแรงจูงใจ สามารถตัดสินใจ แก้ปัญหาและแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ความสามารถในการรู้จักและสร้างแรงจูงใจให้ตนเอง - รู้ศักยภาพของตนเอง - สร้างขวัญและกำลังใจให้ตนเองได้ - มีความมุ่งมั่นที่จะไปให้ถึงเป้าหมาย ความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหา - รับรู้และเข้าใจปัญหา - มีขั้นตอนในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม - มีความยืดหยุ่น ความสามารถในการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น - รู้จักการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น - กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม - แสดงความเห็นที่ขัดแย้งได้อย่างสร้างสรรค์ สุข หมายถึง ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข มีความภูมิใจในตนเองพอใจในชีวิต และมีความสุขสงบทางใจ ความภูมิใจในตนเอง - เห็นคุณค่าในตนเอง - เชื่อมั่นในตนเอง ความพึงพอใจในชีวิต - รู้จักมองโลกในแง่ดี - มีอารมณ์ขัน - พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ ความสงบทางใจ - มีกิจกรรมที่เสริมสร้างความสุข - รู้จักผ่อนคลาย - มีความสงบทางจิตใจ ความฉลาดทางอารมณ์ = เข้าใจตนเอง + เข้าใจผู้อื่น + แก้ไขความขัดแย้งได้ เข้าใจตนเอง ---> เข้าใจอารมณ์ ความรู้สึกและความต้องการในชีวิตของตนเอง เข้าใจผู้อื่น ---> เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น และสามารถแสดงออกมาได้อย่างเหมาะสม แก้ไขความขัดแย้งได้ ---> เมื่อมีปัญหาสามารถแก้ไขจัดการให้ผ่านพ้นไปได้อย่างเหมาะสมทั้งปัญหาความเครียดในใจ หรือปัญหาที่เกิดจากการขัดแย้งกับผู้อื่น (ที่มาhttp://www.watpon.com/test/emotional_intelligence.htm) แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ของกรมสุขภาพจิต คำชี้แจง แบบประเมินนี้เป็นประโยคที่มีข้อความเกี่ยวข้องกับอารมณ์และความรู้สึกที่แสดงออกในลักษณะต่าง ๆ แม้ว่าบางประโยคอาจไม่ตรงกับที่ท่านเป็นอยู่ก็ตาม ขอให้เลือกคำตอบที่ตรงกับตัวท่านมากที่สุด ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด ดีหรือไม่ดี โปรดตอบตามความเป็นจริง และตอบทุกข้อ เพื่อที่จะได้รู้จักตนเองและวางแผนพัฒนาตนต่อไป คำตอบมี 4 คำตอบ สำหรับข้อความแต่ละประโยคคือ ไม่จริง จริงบางครั้ง ค่อนข้างจริง และจริงมาก โปรดเลือกช่องที่ท่านคิดว่าตรงกับตัวท่านมากที่สุด ข้อความ ไม่จริง จริงบางครั้ง ค่อนข้างจริง จริงมาก 1. เวลาโกรธหรือไม่สบายใจ ฉันรับรู้ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับฉัน 2. ฉันบอกไม่ได้ว่าอะไรทำให้ฉันรู้สึกโกรธ 3. เมื่อถูกขัดใจ ฉันมักรู้สึกหงุดหงิดจนควบคุมอารมณ์ไม่ได้ 4. ฉันสามารถคอยเพื่อให้บรรจุเป้าหมายที่พอใจ 5. ฉันมักมีปฏิกิริยาโต้ตอบรุนแรงต่อปัญหาเพียงเล็กน้อย 6. เมื่อถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่ชอบ ฉันจะอธิบายเหตุผลจนผู้อื่นยอมรับได้ 7. ฉันสังเกตได้ เมื่อคนใกล้ชิดมีอารมณ์เปลี่ยนแปลง 8. ฉันไม่สนใจกับความทุกข์ของผู้อื่นที่ฉันไม่รู้จัก 9. ฉันไม่ยอมรับในสิ่งที่ผู้อื่นทำต่างจากที่ฉันคิด 10. ฉันยอมรับได้ว่าผู้อื่นก็อาจมีเหตุผลที่จะไม่พอใจการกระทำของฉัน 11. ฉันรู้สึกว่าผู้อื่นชอบเรียกร้องความสนใจมากเกินไป 12. แม้จะมีภาระที่ต้องทำ ฉันก็ยินดีรับฟังความทุกข์ของผู้อื่นที่ต้องการความช่วยเหลือ 13. เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเอาเปรียบผู้อื่นเมื่อมีโอกาส 14. ฉันเห็นคุณค่าในน้ำใจที่ผู้อื่นมีต่อฉัน 15. เมื่อทำผิดฉันสามารถกล่าวคำ "ขอโทษ" ผู้อื่นได้ 16. ฉันยอมรับข้อผิดพลาดของผู้อื่นได้ยาก 17. ถึงแม้จะต้องเสียประโยชน์ส่วนตัวไปบ้าง ฉันก็ยินดีที่จะทำเพื่อส่วนรวม 18. ฉันรู้สึกลำบากใจในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อผู้อื่น 19. ฉันไม่รู้ว่าฉันเก่งเรื่ออะไร 20. แม้จะเป็นงานยาก ฉันก็มั่นใจว่าสามารถทำได้ 21. เมื่อทำสิ่งใดไม่สำเร็จ ฉันรู้สึกหมดกำลังใจ 22. ฉันรู้สึกมีคุณค่าเมื่อได้ทำสิ่งต่าง ๆ อย่างเต็มความสามารถ 23. เมื่อต้องเผชิญกับอุปสรรคและความผิดหวัง ฉันก็จะไม่ยอมแพ้ 24. เมื่อเริ่มทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ฉันมักทำต่อไปไม่สำเร็จ 25. ฉันพยายามหาสาเหตุที่แทัจริงของปัญหาโดยไม่คิดเอาเองตามใจชอบ 26. บ่อยครั้งที่ฉันไม่รู้ว่าอะไรทำให้ฉันไม่มีความสุข 27. ฉันรู้สึกว่าการตัดสินใจแก้ปัญหาเป็นเรื่องยากสำหรับฉัน 28. เมื่อต้องทำอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ฉันตัดสินใจได้ว่าจะทำอะไรก่อนหลัง 29. ฉันลำบากใจเมื่อต้องอยู่กับคนแปลกหน้าหรือคนที่ไม่คุ้นเคย 30. ฉันทนไม่ได้เมื่อต้องอยู่ในสังคมที่มีกฏระเบียบขัดกับความเคยชินของฉัน 31. ฉันทำความรู้จักผู้อื่นได้ง่าย 32. ฉันมีเพื่อนสนิทหลายคนที่คบกันมานาน 33. ฉันไม่กล้าบอกความต้องการของฉันให้ผู้อื่นรู้ 34. ฉันทำในสิ่งที่ต้องการโดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน 35. เป็นการยากสำหรับฉันที่จะโต้แย้งกับผู้อื่น แม้จะมีเหตุผลเพียงพอ 36. เมื่อไม่เห็นด้วยกับผู้อื่น ฉันสามารถอธิบายเหตุผลที่เขายอมรับได้ 37. ฉันรู้สึกด้อยกว่าผู้อื่น 38. ฉันทำหน้าที่ได้ดี ไม่ว่าจะอยู่ในบทบาทใด 39. ฉันสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ดีที่สุด 40. ฉันไม่มั่นใจในการทำงานที่ยากลำบาก 41. แม้สถานการณ์จะเลวร้าย ฉันก็มีความหวังว่าจะดีขึ้น 42. ทุกปัญหามักมีทางออกเสมอ 43. เมื่อมีเรื่องที่ทำให้เครียด ฉันมักปรับเปลี่ยนให้เป็นเรื่องผ่อนคลายหรือสนุกสนานได้ 44. ฉันสนุกสนานทุกครั้งกับกิจกรรมในวันสุดสัปดาห์และวันหยุดพักผ่อน 45. ฉันรู้สึกไม่พอใจที่ผู้อื่นได้รับสิ่งดี ๆ มากกว่าฉัน 46. ฉันพอใจกับสิ่งที่ฉันเป็นอยู่ 47. ฉันไม่รู้ว่าจะหาอะไรทำ เมื่อรู้สึกเบื่อหน่าย 48. เมื่อว่างเว้นจากภาระหน้าที่ ฉันจะทำในสิ่งที่ฉันชอบ 49. เมื่อรู้สึกไม่สบายใจ ฉันมีวิธีผ่อนคลายอารมณ์ได้ 50. ฉันสามารถผ่อนคลายตนเองได้ แม้จะเหน็ดเหนื่อยจากภาระหน้าที่ 51. ฉันไม่สามารถทำใจให้เป็นสุขได้จนกว่าจะได้ทุกสิ่งที่ต้องการ 52. ฉันมักทุกข์ร้อนกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้นเสมอ แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ สร้างโดย กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข การให้คะแนน จะแบ่งข้อความออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้แก่ข้อ 1, 4, 6, 7, 10, 12, 14, 15, 17, 20, 22, 23, 25, 28, 31, 32, 34, 36, 38, 39, 41, 42, 43, 44, 46, 48, 49, 50 ตอบไม่จริง ให้ 1 คะแนน ตอบจริงบางครั้ง ให้ 2 คะแนน ตอบค่อนข้างจริง ให้ 3 คะแนน ตอบจริงมาก ให้ 4 คะแนน กลุ่มที่ 2 ได้แก่ข้อ 2, 3, 5, 8, 9, 11, 13, 16, 18, 19, 21, 24, 26, 27, 29, 30, 33, 35, 37, 40, 45, 47, 51, 52 ตอบไม่จริง ให้ 4 คะแนน ตอบจริงบางครั้ง ให้ 3 คะแนน ตอบค่อนข้างจริง ให้ 2 คะแนน ตอบจริงมาก ให้ 1 คะแนน อีคิวกับไอคิวต่างกันอย่างไร ไอคิว หรือ Intelligence Quotient หมายถึง ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา การคิด การใช้เหตุผล การคำนวณ การเชื่อมโยง อีคิว หรือ Emotional Quotient หมายถึง ความฉลาดทางอารมณ์เป็นความสามารถในการรับรู้และเข้าใจอารมณ์ทั้งของตัวเองและผู้อื่น ตลอดจนสามารถปรับหรือควบคุมได้อย่างเหมาะสมกับสภาวะการณ์ ไอคิว เป็นศักยภาพทางสมองที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ยาก อีคิว ถึงแม้จะเป็นศักยภาพทางสมองเหมือนกันแต่ก็สามารถปรับเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาให้ดีขึ้นได้ ไอคิว สามารถวัดออกมาเป็นค่าสัดส่วนตัวเลขที่แน่นอนได้ อีคิว ไม่สามารถระบุชี้ออกมาเป็นค่าสัดส่วนตัวเลข การวัดไอคิว เกิดขึ้นครั้งแรกในปีค.ศ.๑๙๐๕ โดยนักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศสที่ต้องการแยกบุคคลปัญญาอ่อนออกจากคนปกติ เพื่อจะได้จัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม โดยใช้การเปรียบเทียบระหว่างความสามารถที่ควรจะเป็นกับอายุสมองแล้วคำนวณออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ปัจจุบัน การวัดไอคิวมักใช้แบบทดสอบของเวสเลอร์ ที่เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปีค.ศ.๑๙๓๐ โดยอาศัยงานวิจัยของนักวิชาการและนักการทหาร เป็นกลุ่มข้อทดสอบทั้งหมด ๑๑ กลุ่ม เป็นกลุ่มที่ต้องใช้ภาษาโต้ตอบ ๖ กลุ่ม ไม่ต้องใช้ภาษาโต้ตอบ ๕ กลุ่ม ดังนี้ ๑. ข้อมูลทั่วไป เป็นคำถามเพื่อตรวจวัดความสนใจความรู้รอบตัว ๒. ความคิด ความเข้าใจ ๓. การคิดคำนวณ ๔. ความคิดที่เป็นนามธรรม โดยให้หาความเหมือน ๕. ความจำระยะสั้น โดยใช้การจำจากตัวเลข ๖. ภาษาในส่วนของการใช้คำ ๗. การต่อภาพในส่วนที่ขาดหายไป ๘. การจับคู่โครงสร้าง โดยดูจากรูปร่างหรือลวดลาย ๙. การเรียงลำดับภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ ๑๐. การต่อภาพเป็นรูป ด้วยการต่อจิ๊กซอว์ ๑๑. การหาความสัมพันธ์ของตัวเลขและสัญลักษณ์ การวัดอีคิว เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ไม่มีแบบมาตรฐานที่แน่นอน เป็นเพียงการประเมินเพื่อให้ผู้วัดมองเห็นความบกพร่องของความสามารถทางด้านอารมณ์ที่ต้องพัฒนาแก้ไข กรมสุขภาพจิตได้พัฒนาแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ โดยประเมินจากความสามารถด้านหลัก ๓ ด้านคือ ดี เก่ง สุข ซึ่งแยกเป็นด้านย่อยได้ ๙ ด้าน ๑. การควบคุมตนเอง ๒. ความเห็นใจผู้อื่น ๓. ความรับผิดชอบ ๔. การมีแรงจูงใจ ๕. การตัดสินใจแก้ปัญหา ๖. สัมพันธภาพกับผู้อื่น ๗. ความภูมิใจในตนเอง ๘. ความพอใจในชีวิต ๙. ความสุขสงบทางใจ เนื่องจากไอคิวสามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ จึงมีผู้ให้ความสำคัญกับไอคิวมาโดยตลอด เด็กที่เรียนเก่ง จะมีแต่คนชื่นชม พ่อแม่ครูอาจารย์รักใคร่ ต่างจากเด็กที่เรียนปานกลางหรือเด็กที่เรียนแย่มักไม่ค่อยเป็นที่สนใจ หรือถูกดุว่า ทั้ง ๆ ที่เด็กเหล่านี้อาจจะมีความสามารถทางด้านอื่น เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ เพียงแต่ไม่มีความถนัดเชิงวิชาการเท่านั้นเองมาในช่วงหลัง ๆ ความเชื่อมั่นในไอคิวเริ่มสั่นคลอนเมื่อมีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการวัด และความสำคัญของไอคิว จนในที่สุดเมื่อ ๑๐ ปีที่ผ่านมาจึงยอมรับกันว่า แทัจริงแล้ว ในความเป็นจริง ชีวิตต้องการทักษะและความสามารถในด้านอื่น ๆ อีกมากมายที่นอกเหลือไปจากการจำเก่ง การคิดเลขเก่ง หรือการเรียนเก่ง ความสามารถเหล่านี้อาจจะช่วยให้คน ๆ หนึ่งได้เรียน ได้ทำงานในสถานที่ดี ๆ แต่คงไม่สามารถเป็นหลักประกันถึงชีวิตที่มีความสุขได้ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยชิ้นหนึ่งในรัฐแมสซาซูเสทสหรัฐอเมริกาที่ศึกษาความสัมพันธ์ของไอคิวกับความสำเร็จในชีวิต โดยติดตามเก็บข้อมูลจากเด็ก ๔๕๐ คน นานถึง ๔๐ ปี พบว่าไอคิวมีความสัมพันธ์เพียงเล็กน้อยกับความสามารถในการทำงานได้ดีหรือกับการดำเนินชีวิต และพบว่าปัจจัยที่สามารถจะทำนายถึงความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ของชีวิตได้ดีกว่า กลับเป็นความสามารถด้านต่าง ๆ ในวัยเด็กที่ไม่เกี่ยวข้องกับไอคิว เช่น ความสามารถในการจัดการกับความผิดหวัง การควบคุมอารมณ์ และการเข้ากับบุคคลอื่น ๆ ได้ดีตัวอย่างงานวิจัยอีกเรื่องหนึ่ง คือการติดตามเก็บข้อมูลจากผู้ที่จบปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ ๘๐ คน ตั้งแต่ตอนที่ยังศึกษาอยู่ไปจนถึงบั้นปลายชีวิตในวัย ๗๐ ปี พบว่า ความสามารถทางด้านอารมณ์และสังคมมีส่วนทำให้ประสบความสำเร็จในวิชาชีพและมีชื่อเสียงมากกว่าความสามารถทางเชาวน์ปัญญาหรือไอคิวถึง ๔ เท่า (ที่มา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข) ทำไมเราต้องเรียนรู้เรื่องอีคิว ระหว่างรถยนต์ที่ดี เครื่องแรง แต่เจ้าของไม่มีความสามารถ ไม่รู้จักวิธีการใช้ ไม่สนใจที่จะศึกษาสมรรถนะของรถ กับรถยนต์คุณภาพปานกลาง แต่เจ้าของมีความชำนาญในการขับ รู้ว่าอะไรคือข้อดี ข้อจำกัดของรถ ตลอดจนรู้วิธีซ่อมแซมยามมีปัญหา ถ้าให้เลือก เราจะเลือกนั่งรถคันไหน? ความแรงของเครื่องยนต์อย่างเดียวเพียงพอหรือไม่ต่อการเดินทางที่ปลอดภัย? เราอาจจะไม่สามารถซื้อรถที่ดีที่สุดได้ แต่เราสามารถที่จะเรียนรู้ได้ว่าขับรถอย่างไรจึงจะปลอดภัยจากอุบัติเหตุ หรือขับอย่างไรจึงไม่ผิดกฎจราจรถ้าเราไม่เรียนรู้ที่จะขับรถ ควบคุมรถ ไม่รู้กฏจราจร ต่อให้รถดีแค่ไหนก็มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชน จนถึงขั้นรุนแรงได้ทั้งสิ้นหากเปรียบความฉลาดทางเชาวน์ปัญญากับรถยนต์ความแลาดทางอารมณ์ก็คือความสามารถในการขับรถยนต์การเรียนรู้เรื่องความฉลาดทางอารมณ์ ก็คือการเรียนรู้ที่จะขับเคลื่อนชีวิตให้ก้าวเดินไปสู่จุดหมายที่ปรารถนาได้อย่างปลอดภัย และมีความรับผิดชอบต่อผู้อื่นที่ใช้ถนนร่วมกันเพราะชีวิตมนุษย์ดำเนินไปภายใต้อิทธิพลของอารมณ์และความรู้สึก ดังคำกล่าวที่ว่า "จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว" หรือ "ทุกข์สุขอยู่ที่ใจ"การกระทำหลายครั้งในชีวิตของเราจึงมีที่มาจากภาวะของอารมณ์มากกว่าเรื่องเหตุผลเพียงอย่างเดียวเพราะโดยแท้จริงแล้ว ไม่ว่าในเหตุการณ์ดีหรือร้ายความฉลาดทางเชาวน์ปัญญาจะไม่มีความหมายเลย หากปราศจากความฉลาดทางอารมณ์เข้ามามีส่วนร่วมด้วย อารมณ์ หรือ emotion มาจากคำในภาษาละตินว่า motere แปลว่า เคลื่อนไหว เมื่อเติม e นำหน้า จึงหมายถึง "เคลื่อนไหวจาก" แสดงถึงคุณสมบัติของอารมณ์ที่มีส่วนร่วมในการกระตุ้นให้เกิดการกระทำต่าง ๆ อยู่เสมออารมณ์มีหน้าที่เตรียมสภาพร่างกายให้มีปฏิกิริยาโต้ตอบในลักษณะต่าง ๆ เช่น เมื่อโกรธจะมีการไหลเวียนของโลหิตมาที่มือทำให้ง่ายต่อการหยิบจับอาวุธ หรือต่อยคู่ต่อสู้ และมีการหลั่งสารแอดรีนาลีนที่นำไปสู่การมีพละกำลังที่แข็งแรงพอที่จะทำการใด ๆ ที่ต้องมีการต่อสู้อย่างรุนแรงขณะที่เมื่อคนเรามีความสุข อารมณ์สุขก็จะไปเพิ่มการทำงานของศูนย์กลางในสมองสกัดกั้นความรู้สึกทางลบไม่ให้เกิดขึ้นและเพิ่มพลังการกำจัดความคิดวิตกกังวลให้หมดไป ทำให้เรารู้สึกสงบและเกิดความพึงพอใจ เป็นผลให้ร่างกายฟื้นจากสิ่งกระตุ้นทางร่างกายได้เร็วกว่าเมื่อมีอารมณ์โกรธคนที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูงหรือมีทักษะทางอารมณ์ที่ได้รับการพัฒนามาเป็นอย่างดี จะเป็นคนที่สามารถรับรู้ เข้าใจและจัดการกับความรู้สึกของตนเองได้ดี รวมทั้งเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น จึงมักประสบความสำเร็จ มีความพึงพอใจในชีวิต สามารถสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ออกมาได้เสมอตรงกันข้ามกับคนที่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ มักจะเต็มไปด้วยความขัดแย้งภายในจิตใจ พลอยทำให้ขาดสมาธิในการทำงานและมีความคิดที่หมกมุ่น กังวล ไม่ปลอดโปร่ง ปัจจุบัน นักวิจัยต่างยืนยันว่า เชาวน์ปัญญามีส่วนเกี่ยวข้องต่อความสำเร็จในชีวิตเช่น การเรียน หรือการทำงานเพียง ๒๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่เหลือเป็นปัจจัยด้านอื่น ๆ ซึ่งรวมทั้งความฉลาดทางอารมณ์การเรียนรู้เรื่องความฉลาดทางอารมณ์ จึงเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาชีวิตให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข คนที่มีอีคิวสูงแตกต่างจากคนที่มีไอคิวสูงอย่างไร ในจำนวน ๔ คนนี้ คุณคิดว่าใครคือตัวอย่างของคนที่มีไอคิวสูงและอีคิวสูง พงศ์พันธุ์ เป็นคนที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงาน เชื่อถือได้ ดูแลตัวเองได้ดี ชอบวิพากษ์วิจารณ์ แต่ค่อนข้างจะเก็บตัวไม่แสดงออกและไม่มีความผูกพันทางอารมณ์ที่ลึกซึ้งกับใคร จนดูเป็นคนเย็นชา ภาวิต เป็นคนที่มีทักษะในการเข้าสังคม เปิดเผย ร่าเริง มักไม่ค่อยหมกมุ่นอยู่กับความกลัวหรือวิตกกังวล มีความสามารถสูงในการทำความตกลงกับบุคคลอื่น มีความรับผิดชอบและมีหลักการ เป็นคนที่มีความเข้าใจและเห็นใจบุคคลอื่น มีความพอใจทั้งในตนเองและผู้อื่น เมธินี เป็นคนเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง สามารถแสดงความคิดเห็นได้รวดเร็ว สนใจและให้คุณค่ากับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความฉลาด ความสวยงาม แต่มักมีแนวโน้มที่จะคิดเกี่ยวกับตนเอง หมกมุ่นกับความวิตกกังวลและรู้สึกผิดได้ง่าย มีความลังเลที่จะแสดงอารมณ์โกรธอย่างเปิดเผย แม้จะแสดงออกในบางครั้ง แต่ก็เป็นการแสดงออกทางอ้อมที่ไม่ตรงไปตรงมา วิลิตา เป็นคนเชื่อมั่นในตนเอง สามารถแสดงความรู้สึกได้อย่างตรงไปตรงมา มีทัศนคติที่ดีต่อตนเองและชีวิต เป็นคนชอบเข้าสังคม ร่าเริง สามารถแสดงอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม ดูเป็นธรรมชาติ มีทักษะที่ดีในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น พอใจในชีวิตของตนเอง ปรับตัวเก่ง ใจกว้าง พร้อมที่จะรับประสบการณ์ใหม่ ๆ ไม่ค่อยมีความวิตกกังวล หรือรู้สึกผิดจนทำให้หมกมุ่นเป็นทุกข์ คำตอบ ก็คือ พงศ์พันธุ์ และ เมธินี คือตัวอย่างของคนที่มีไอคิวสูงภาวิต และ วิลิตา คือตัวอย่างของคนที่มีอีคิวสูง แดเนียล โกลแมน ผู้เขียนหนังสือเรื่องความฉลาดทางอารมณ์ กล่าวถึงลักษณะของคนที่มีอีคิวสูงหรือมีความฉลาดทางอารมณ์สูงไว้ดังนี้ - เป็นคนที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ - มีการตัดสินใจที่ดี - สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ - มีความอดทน อดกลั้น - ไม่หุนหันพลันแล่น - สามารถทนต่อความผิดหวังได้ - มีความสามารถในการเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น - มีความเข้าใจในสถานการณ์ทางสังคม - ไม่ย่อท้อหรือยอมแพ้ง่าย - มีพลังใจที่จะฝ่าฟันต่อสู้กับปัญหาชีวิตได้ - สามารถจัดการกับความเครียดได้ ไม่ปล่อยให้ความเครียดเกาะกุมจิตใจจนทำอะไรไม่ถูก ไอคิวและอีคิว ถึงแม้จะมีความแตกต่างกัน แต่ก็เป็นความสามารถที่จะช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกันให้ทำหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น เช่น คนที่มีความฉลาดทางอารมณ์สูง มักจะมีภาวะอารมณ์ที่สงบ ปลอดโปร่ง ไม่ตึงเครียด จึงสามารถนำความสามารถทางเชาวน์ปัญญามาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงกันข้ามคนที่มีความฉลาดทางเชาวน์ปัญญาสูง หากอยู่ในภาวะที่มีความเครียดมาก และไม่สามารถจัดการกับความเครียดนั้นได้ ก็อาจนึกคิดอะไรไม่ออก ไม่สามารถดึงความฉลาดทางเชาวน์ปัญญามาใช้ได้อย่างน่าเสียดาย ลักษณะนิสัย ๑๐ ประการของผู้มีระดับคุณภาพอารมณ์สูง ๑. รับรู้อารมณ์ของตนเองมากกว่าจะกล่าวโทษผู้อื่นหรือสถานการณ์ เช่นพูดว่า "ฉันรู้สึกทนไม่ได้" แทน "นี่เป็นเรื่องไหวไหล" "ฉันรู้สึกเสียใจมาก" แทน "คุณนี่เป็นคนไม่ได้เรื่องจริง" "ฉันรู้สึกกลัว" แทน "คุณขับรถเร็วอย่างกับคนโง่" ๒. สามารถแยกแยะระหว่างความคิดและความรู้สึกได้ เช่น ความคิด "ฉันรู้สึกคล้ายกับว่า..." "ฉันรู้สึกราวกับว่า..." "ฉันรู้สึกว่า..." ความรู้สึก "ฉันรู้สึก..." ๓. มีความรับผิดชอบต่อความรู้สึกของตนเอง ไม่โทษโน่น โทษนี่ เช่น"ฉันรู้สึกอิจฉา" แทน "คุณทำให้ฉันรู้สึกอิจฉา" ๔. รู้จักใช้ความรู้สึกเพื่อช่วยในการตัดสินใจ เช่น"ฉันจะรู้สึกอย่างไรถ้าทำสิ่งนี้" แทน "ฉันจะรู้สึกอย่างไรถ้าฉันไม่ทำ" ๕. นับถือในความรู้สึกของผู้อื่น ตัวอย่างเช่นในการถามว่า "คุณรู้สึกอย่างไรถ้าฉันทำสิ่งนี้" แทน "คุณจะรู้สึกอย่างไรถ้าฉันไม่ทำสิ่งนี้" ๖. เมื่อถูกกระตุ้นให้โกรธ จะสามารถควบคุมจิตใจไม่ให้โกรธได้ และสามารถแปรความโกรธให้เป็นพลังในทางสร้างสรรค์ได้ ๗. เข้าใจ เห็นอกเห็นใจ และยอมรับในความรู้สึกของผู้อื่น ๘. รู้จึกฝึกหาคุณค่าในทางบวกจากอารมณ์ในทางลบ ยกตัวอย่างเช่นมักถามตนเองว่า "ฉันรู้สึกอย่างไร" หรือ "อะไรจะทำให้ฉันรู้สึกดีขึ้น" ๙. ไม่ชอบแนะนำ สั่ง ควบคุม วิพากษ์วิจารณ์ ตัดสินหรือสั่งสอนผู้อื่น เพราะเข้าใจดีว่าผู้ที่ได้รับการกระทำดังกล่าวจะรู้สึกไม่ดีอย่างไร ๑๐. หลีกเลี่ยงการปะทะอารมณ์กับคนที่ไม่ยอมรับ หรือไม่เคารพความรู้สึกของผู้อื่น อีคิวมีอิทธิพลต่อเราอย่างไรบ้าง จากคำตอบในข้อที่ผ่าน ๆ มาเราคงเห็นแล้วว่าความฉลาดทางอารมณ์มีประโยชน์ต่อชีวิตของเราอย่างมากมายมหาศาล หากจะแยกให้เห็นชัดเจน ก็อาจแบ่งได้เป็น ๔ ด้านคือ - ประโยชน์ต่อการทำงาน - ประโยชน์ต่อความรักและครอบครัว - ประโยชน์ต่อการเรียน - ประโยชน์ต่อตัวเอง ความฉลาดทางอารมณ์ต่อการทำงาน ในช่วง ๓ ทศวรรษที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี ๑๙๖๐ มีการศึกษาวิจัยจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่มีความฉลาดทางเชาวน์ปัญญาสูง ล้มเหลวในการเป็นผู้บริหารสูงสุด เพราะขาดความเข้าใจมนุาย์ ขาดการปฏิสัมพันธ์และอารมณ์ที่ดีขณะที่ งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ที่ศึกษาเกี่ยวกับพนักงานขายประกันชีวิตในบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง พบว่า พนักงานที่ทำยอดขายได้ดีและสามารถอยู่กับบริษัทได้นาน คือพนักงานที่เป็นคนมองโลกในแง่ดี พนักงานกลุ่มนี้จะไม่ท้อใจเมื่อไปขายประกันแล้วลูกค้าไม่ซื้อ ไม่สนใจ แต่ยังคงมุ่งมั่นที่จะพยายามขายลูกค้ารายต่อไปให้ได้ ขณะที่พนักงานอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย พวกนี้มักจะชิงลาออกไปตั้งแต่ปีแรก หลังจากที่ไม่สามารถทำยอดขายได้อย่างที่คาดหวังไว้จากตัวอย่างงานวิจัยดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของความฉลาดทางอารมณ์ ที่มีผลต่อการทำงานอย่างชัดเจน นักจิตวิทยาพบว่าคนที่มีอารมณ์ดี จะมีความเข้าใจตนเองและผู้อื่นได้ง่าย ตลอดจนมีทักษะอารมณ์ที่ดีในการติดต่อสัมพั้นธ์กับบุคคลอื่น ทั้งที่บ้านและที่ทำงานหรือในเวลาที่ต้องออกสังคม ขณะเดียวกันความแลาดทางอารมณ์ก็จะช่วยให้เรามองโลกในแง่ดี ทำให้มีพลังในการต่อสู้กับอุปสรรคต่าง ๆ ได้อย่างไม่ท้อถอย สามารถสร้างกำลังใจให้กับตัวเองในยามล้มเหลว หรือมีปัญหาได้ ต่างจากคนที่มองโลกในแง่ร้ายที่มักจะมองเห็นแต่ปัญหาและความยุ่งยาก ทำให้ขาดกำลังใจที่จะผลักดันให้ฟันฝ่าอุปสรรคเชาวน์ปัญญาที่ดีหรือไอคิวสูง จึงไม่อาจบ่งชี้ถึงความสำเร็จในการทำงานเสมอไปหากไม่มีความฉลาดทางอารมณ์เป็นส่วประกอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานบริหารหรือการทำธุรกิจ ที่ต้องเกี่ยวข้องกับคนหมู่มาก "ความเก่งงาน" เพียงอย่างเดียวจึงไม่พอ หากยังต้องมี "ความเก่งคน" ประกอบด้วยยกตัวอย่างเช่น อรวรรณ พนักงานในแผนกการจัดกิจกรรมนอกสถานที่ของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง อรวรรณเป็นคนที่เก่งในเรื่องการประสานงาน ถนัดที่จะพบปะผู้คนเพื่อเจรจาตกลงดำเนินงานร่วมกัน แต่ต่อมาแผนกต้องการให้เธอทำหน้าที่พิธีกรของงาน เพราะขาดแคลนบุคคลากรด้านนี้ อรวรรณอึดอัดใจมาก เพราะเธอไม่ถนัดงานที่จะต้องยืนพูดต่อหน้าคนจำนวนมาก เธอรู้สึกไม่มั่นใจ และเครียดทุกครั้ง ทำให้งานออกมาไม่ดี สุวรรณา ซึ่งเป็นหัวหน้างานเรียกเธอไปตำหนิ อรวรรณ พยายามอธิบายถึงความลำบากใจในการทำหน้าที่นี้ สุวรรณนาบอกว่า คนเราต้องเรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวเอง อะไรที่ทำไม่ได้ ก็ควรจะแก้ไขให้ทำได้ผลจากกรณีนี้ทำให้สุวรรณา สูญเสียคนประสานงานที่ดีและได้พิธีกรที่แย่ส่วน อรวรรณ ต้องทำงานด้วยความอึดอัด เครียด และไม่มีความสุขผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จในการทำงาน จึงจำเป็นที่จะต้องฉลาดรู้ทั้งในเรื่องการทำงานและคนทำงาน มีการรับรู้และแสดงอารมณ์ทั้งต่อตนเองและเพื่อนร่วมงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนมีการเรียนรู้ เข้าใจ สามารถควบคุมอารมณ์และความรู้สึกที่ได้รับคนที่มีไอคิวสูง แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จในการทำงานร่วมกับผู้อื่น อาจจะมาจากการที่ไม่มีโอกาสได้ใช้ศักยภาพหรือความเก่งที่มีอยู่ เพราะผู้ร่วมงานไม่ให้ความร่วมมือ หรือเพราะมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์ เช่น รับไม่ได้เมื่อถูกวิพากษ์วิจารณ์งาน มีปัญหาในการพูดจาสื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน ดังตัวอย่างของวรุต วรุต เป็นคนตัดต่อรายการโทรทัศน์ที่มีความสามารถมากคนหนึ่ง วรุตเองก็รักงานนี้มาก แต่เขากลับทำได้แค่ไม่กี่เดือนก็ต้องลาออก เพราะมีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน เข้ากับใครไม่ได้ เพื่อนร่วมงานคนหนึ่งเล่าถึงวรุตว่า เขาเป็นคนทำงานดีที่น่ากลัว เพราะชอบทำงานคนเดียว ไม่ชอบให้ใครมาออกความคิดเห็น แถมเวลาที่มีคนท้วงติงข้อผิดพลาดหรือวิพากษ์วิจารณ์งานของเขา วรุตจะแสดงความไม่พอใจออกมาอย่างชัดเจน เช่น หน้าหงิก กระแทกของปึงปังจนเพื่อนร่วมงานพากันเอือมระอา ไม่มีใครอยากพูดคุยด้วย ไม่ว่าในหรือนอกเวลางานบริษัทจึงสูญเสียคนทำงานที่มีความสามารถ ขณะที่วรุตก็ต้องทิ้งงานที่ตนเองรักและพกพาความรู้สึกไม่ดี ที่ไม่ได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานปัญหาที่สร้างความยุ่งยาก ลำบากใจในการทำงาน จึงมักมาจากผู้ร่วมงานมากกว่าตัวงานจริง ๆ โดยเฉพาะในโลกของการทำงานปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับคนหมู่มาก ต้องติดต่อประสานงาน ประสานความร่วมมือเพื่อให้แต่ละฝ่ายขับเคลื่อนงานให้บรรลุเป้าหมายความหงุดหงิด ขัดแย้ง ไม่พอใจเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ และหากไม่มีวิธีจัดการที่เหมาะสม เรื่องเล็๋กก็อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ เป็นปัญหา เป็นความทุกข์ใจ และยังอาจมีผลกระทบต่อความเจริญก้าวหน้าได้อีกด้วย เอ๊ด รองกรรมการผู้จัดการบริษัทแห่งหนึ่ง พูดถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้เขาทำงานอย่างมีความสุขและก้าวหน้าว่า " ผมได้เปลี่ยนวิธีการทำงานร่วมกับคนอื่น ๆ อย่างแท้จริง ผมเริ่มฟังมากขึ้น และฟังอย่างตั้งใจ ผมเรียนรู้ที่จะอยู่กับความเข้มแข็งของคนอื่น แทนที่จะอยู่กับความอ่อนแอของตนเอง ผมเริ่มพบกับความสุขที่แท้จริงในการสร้างความมั่นใจให้ผู้อื่น บางทีสิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือผมเริ่มเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า วิธีที่ดีที่สุดที่จะแสดงความรักและความเคารพผู้อื่น คือช่วยให้พวกเขาใช้ความแข็งแกร่งที่มีอยู่เพื่อบรรลุเป้าหมายที่พวกเราจะต้องทำร่วมกัน" (จากหนังสือ "พลังแห่งชีวิต" โดย แจ็ก แคนฟิลด์ และมาร์ก วิกเตอร์ แฮนเซน) เทคนิคการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น การสร้างความฉลาดทางอารมณ์ในที่ทำงานจากการพัฒนาที่ตัวเราเองและการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น การอยู่ร่วมกับผู้อื่นมีเทคนิคดังนี้ ๑. เข้าใจและยอมรับธรรมชาติของอารมณ์ บุคคลแต่ละคนมีความรู้สึกและอารมณ์พื้นฐานของตนเอง เช่น ดีใจ เสียใจ อิจฉา ฯลฯ และมีการแสดงออกที่ต่างกรรมต่างวาระกันไป แต่ละคนจะมีอารมณ์และความรู้สึกที่ผันแปรแตกต่างกันไป ยากที่จะนำความรู้สึกดี-ชั่วของตัวเราเองไปตัดสินได้ การตัดสินความเหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เหตุผล วัย ปัจจัยทางสังคม และการกำหนดทางวัฒนธรรม ๒. รับฟัง ทำความเข้าใจและให้เกียรติผู้อื่น การยอมรับและเข้าใจภาวะที่บุคคลแสดงออก เป็นสิ่งจำเป็นในการเสริมสร้างความภาคภูมิใจตนเอง การรักษาหน้า ความมั่นใจ การไว้วางใจซึ่งกันและกัน ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพและผลผลิตที่บุคคลมีส่วนต่อองค์กร การปฏิเสธที่จะรับฟังหรือทำความเข้าใจกับภาวะอารมณ์ที่แสดงออก เช่น การเพิกเฉย วิพากษ์ตำหนิ การเห็นเป็นเรื่องปกติ การบั่นทองล้อเลียนความรู้สึกของบุคคลเป็นการทำลายระดับความมั่นใจในตนเอง ความคิดสร้างสรรค์ และเกียรติภูมิแห่งตนของผู้อื่นและเป็นการไม่เคารพความเป็นปัจเจกบุคคลอีกด้วย ๓. การแก้ไขความขัดแย้ง บางครั้งการใช้เพียงเหตุผลแต่โดยลำพัง ไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางอารมณ์ความรู้สึกได้ ควรยอมรับความรู้สึกโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ก่อน แล้วค่อยมาพิจารณาการแสดงออก ผู้มีความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าจะไม่ใช้วิธีการที่บั่นทอนความรู้สึกของคนอื่น แต่ความสามารถในการจัดการกับอารมณ์ได้ดี จะช่วยทั้งความรู้สึกของตัวเองและช่วยให้อีกฝ่ายสงบลงได้ การที่บุคคลแสดงภาวะอารมณ์ออกในทางลบ เช่น โกรธ เสียใจ เศร้าซึม อาฆาต ไม่ให้อภัย แสดงให้เห็นว่าความต้องการทางอารมณ์ยังไม่ได้รับการตอบสนอง ยังมีความตึงเครียดในจิตใจ ผู้บริหาร เพื่อนร่วมงานและผู้เกี่ยวข้องควรทำความเข้าใจภาวะอารมณ์ของตน เพื่อเข้าใจภาวะอารมณ์ของผู้อื่น เปิดโอกาสให้แต่ละคนได้แสดงอารมณ์ ความรู้สึก รับฟังด้วยความเข้าใจ เห็นใจและยอมรับภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการยอมรับตนเองและเพิ่มความมั่นคงทางจิตใจ ส่งผลต่อการพัฒนาทางความคิด การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เพิ่มขวัญกำลังใจ ความร่วมมือและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการปฏิบัติงาน ๔. ในกรณีที่บุคคลแสดงภาวะอารมณ์ทางลบในระดับที่รุนแรง เช่น เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย คาดคะเนพฤติกรรมไม่ได้ หรือไม่สามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมาได้เลยพูดมากเกินปกติ เปลี่ยนหัวข้อพูดคุยรวดเร็ว หงุดหงิดง่าย มีปฏิกิริยามากเกินไปต่อเหตุการณ์เล็ก ๆ น้อย ฯลฯ ผู้บริหารและเพื่อนร่วมงานควรหามาตรการและทางบำบัดแก้ไข ในกรณีของผู้ที่ไม่สามารถสื่อความรู้สึกและภาวะอารมณ์กับผู้อื่นได้ ผู้บริหารอาจโยกย้ายไปทำงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้คนมากนัก ทำคนเดียวได้สำเร็จ หาพนักงานที่กล้าแสดงออกและมีมนุษยสัมพันธ์ดีมาเป็นเพื่อนชวนพูดคุยกระตุ้นให้เขาได้มีโอกาสแสดงความรู้สึก ความคิดเห็น โดยรู้สึกว่ามีคนยอมรับฟังตน เทคนิคการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในการทำงานสำหรับตนเอง ๑. รู้ทัน ฝึกรู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง บอกกับตัวเองได้ว่าขณะนี้กำลังรู้สึกอย่างไร และรู้ได้ถึงความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่เกิดขึ้น ซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกของตนเอง ยอมรับข้อบกพร่องของตนเองได้ แม้เมื่อผู้อื่นพูดถึง ก็สามารถเปิดใจรับมาพิจารณษ เพื่อที่จะหาโอกาสปรับปรุงหรือใช้เป็นข้อเตือนใจที่จะระมัดระวังการแสดงอารมณ์มากขึ้น ๒. รับผิดชอบ เมื่อเกิดความหงุดหงิด ไม่พอใจ ท้อแท้ ให้ฝึกคิดอยู่เสมอว่า อารมณ์ที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้นเองจากการกระตุ้นของปัจจัยภายนอก เพราะฉะนั้นจึงควรรับผิดชอบต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้น และควรหัดแยกแยะ วิเคราะห์สถานการณ์ด้วยเหตุผล ไม่คิดเอาเองด้วยอคติหรือประสบการณ์เดิม ๆ ที่มีอยู่ เพราะอาจทำให้การตีความในปัจจุบันผิดพลาดได้ ๓. จัดการได้ อารมณ์ไม่ดีที่เกิดขึ้นสามารถคลี่คลายสลายให้หมดไปด้วยการรู้เท่าทันและหาวิธีจัดการที่เหมาะสม เช่น ไม่จ่อมจมอยู่กับอารมณ์นั้น พยายามเบี่ยงเบนความสนใจ โดยหางานหรือกิจกรรมทำ เพื่อให้ใจจดจ่ออยู่กับงานนั้น เป็นการสร้างความเพลิดเพลินใจขึ้นมาแทนที่อารมณ์ไม่ดีที่มีอยู่ ๔. ใช้ให้เป็นประโยชน์ ฝึกใช้อารมณ์ส่งเสริมความคิด ให้อารมณ์ช่วยปรับแต่งและปรุงความคิดให้เป็นไปในทางที่มีประโยชน์ ฝึกคิดในด้านบวกเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ในการทำงาน ๕. เติมใจให้ตนเอง โดยการหัดมองโลกในแง่มุมที่สวยงาม รื่นรมย์ มองหาข้อดีในงานที่ทำ ชื่นชมด้านดีของเพื่อนร่วมงาน เพื่อลดอคติและความเครียงเครียดในจิตใจ ทำให้ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขมากขึ้น ๖. ฝึกสมาธิ ด้วยการกำหนดรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ รู้ว่าปัจจุบันกำลังสุขหรือทุกข์อย่างไร อาจเป็นสมาธิอย่างง่าย ๆ ที่กำหนดจิตใจไว้ที่ลมหายใจเข้าออก การทำสมาธิช่วยให้จิตใจสงบ และมีกำลังใจในการพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ๗. ตั้งใจให้ชัดเจน โปรแกรมจิตใจตนเอง ด้วยการกำหนดว่าต่อไปนี้จะพยายามควบคุมอารมณ์ให้ได้ และตั้งเป้าหมายในชีวิตหรือการทำงานให้ชัดเจน ๘. เชื่อมั่นในตนเอง จากงานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คนที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง จะมีความสำเร็จในการทำงานและการเรียนมากกว่าคนที่ไม่เชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง ๙. กล้าลองเพื่อรู้ การกล้าที่จะลองทำในสิ่งที่ยากกว่าในระดับที่คิดว่าน่าจะทำได้ จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ตนเอง และเป็นโอกาสสำคัญที่จะได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาความสามารถให้มากยิ่ง ๆ ขึ้นไป ความฉลาดทางอารมณ์กับความรักและครอบครัว ครอบครัวที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ต้องอาศัยความรัก ความเข้าใจและยอมรับได้ในข้อบกพร่องของผู้อื่น อีคิวหรือความฉลาดทางอารมณ์ จึงมีผลอย่างมากต่อความสงบสุขในบ้าน หรือในชีวิตคู่ ปัญหาความแตกแยก หย่าร้างที่เกิดขึ้นล้วนมีต้นตอมาจากการไม่พยายามทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน หรือยอมรับข้อบกพร่องของอีกฝ่ายไม่ได้ เมื่อมีปัญหาก็ไม่หันหน้าคุยกันดี ๆ หรือบางทีก็ใช้ความรุนแรงความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา จึงไม่ใช่ปัจจัยที่จะทำให้คนสองคนไปกันรอด ตรงกันข้าม ถ้าคนเก่งสองคนอยู่ด้วยกัน แล้วไม่ยอมกันพยายามที่จะเอาชนะกัน อนาคตก็คงไม่พ้นการหย่าร้าง ด้วยเหตุนี้ คนเก่ง ๆ จำนวนไม่น้อย ที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน จึงล้มเหลวในชีวิตคู่การเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตคู่ ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว อุปสรรคและปัญหาแตกต่างกันไปในแต่ละคู่ การเรียนรู้ธรรมชาติและความต้องการของแต่ละฝ่ายจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งการเรียนรู้จะทำให้เราเข้าใจตัวเองและคนที่เรารักได้ดียิ่งขึ้น การรู้ธรรมชาติของชายหญิง จะช่วยให้เราอ่านใจ อ่านอารมณ์ของอีกฝ่ายออก ว่าเขากำลังรู้สึกอย่างไร และต้องการอะไร ทำให้เราสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง และถูกใจคนที่เรารักแน่นอนว่า ในการเรียนรู้เรื่องความรักและการอยู่ร่วมกัน "หัวใจ" เท่านั้นที่มีความสำคัญในเรื่องนี้ ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญาจึงไม่ช่วยอะไรมากนักกับการประคองนาวารักของคนสองคนนอกจากปัญหาเรื่องความรู้สึกที่ลึกซึ้งระหว่างคนสองคนแล้ว ชีวิตครอบครัวยังต้องใช้ทักษะและศิลปะการดำเนินชีวิตอีกหลายประการ ในการที่จะพาครอบครัวให้อยู่รอดปลอดภัยได้ในทุกสถานการณ์ดังเช่น สังคมไทยทุกวันนี้ ที่กำลังเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้หลายครอบครัวเกิดความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงที่แย่ลง เช่น รายได้ลดลง ต้องทำงานหนักขึ้น ปัญหานี้เกิดขึ้นกับหลายครอบครัว แต่กลับให้ผลที่แตกต่างกัน เพราะแต่ละคนมีวิธีคิดต่อปัญหาไม่เหมือนกันในสถานการณ์ที่ย่ำแย่ลำบากและยากจะหลีกเลี่ยง ากคนในครอบครัวมีความฉลาดทางอารมณ์ก็จะสามารถช่วยให้เผชิญหน้ากับปัญหาดังกล่าวได้ดียิ่งขึ้น เพราะความฉลาดทางอารมณ์ คือศิลปะที่จะพาให้ชีวิตดำเนินไปอย่างสร้างสรรค์ ดังเช่น เรื่องราวของครอบครัวสมศักดิ์และครอบครัวสมชัยครอบครัวของสมศักดิ์และสมพิศ เจอพิษไอเอ็มเอฟเหมือนกับอีกหลายครอบครัว สมศักดิ์ถูกลดเงินเดือน ๓๐ เปอร์เซ็นต์ ส่วนสมพิศ ถูกออกจากงาน จึงหันมาขายข้าวเหนียวหมูย่าง เพื่อช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่าย ทั้งคู่รู้สึกแย่มากต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่สามารถยอมรับสภาพใหม่ของชีวิตได้เกิดความเครียดที่ต้องประหยัด จำกัดจำเขี่ยรายจ่ายประจำวัน อีกทั้ง สมศักดิ์ก็ต้องทำงานล่วงเวลา ขณะที่ สมพิศเหนื่อยและอาจจากการออกไปขายข้าวเหนียวหมูย่าง ทั้งคู่จึงมักจะหงุดหงิดใส่ลูก ทำให้ลูกชอบหาเรื่องออกไปนอกบ้านเพราะเบื่อเสียงบ่น และบรรยากาศที่เคร่ยงเครียดในบ้านขณะที่ครอบครัวของสมชัยกับวิภา ซึ่งเจอสถานการณ์เดียวกันแต่ สมชัยและวิภาต่างทำใจยอมรับในปัญหาที่เกิดขึ้น ว่าเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จึงพยายามมองหาข้อดีจากปัญหา เช่นคิดว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้ทบทวนและตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป พยายามทำเรื่องการประหยัดให้เป็นเรื่องที่สนุกและท้าทาย หรือเวลาที่สมศักดิ์เหน็ดเหนื่อยจากการทำงานล่วงเวลา ก็คิดซะว่างยังโชคดีกว่าคนอีกตั้งมากมาย ที่ไม่มีโอกาสเหน็ดเหนื่อย (เพราะไม่มีงานทำ) หรือการที่วิภาต้องออกไปทำอาหารขาย ถึงแม้จะอาจและเขินอยู่บ้างในช่วงแรก ๆ แต่ก็พยายามมองว่า เป็นการดีที่จะได้มีโอกาสเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ เช่น ได้พัฒนาฝีมือการทำอาหาร ได้เงินเพิ่ม ได้ความภาคภูมิใจ (ถึงแม้จะเหนื่อยหน่อยก็ตาม)" ดังนั้น ครอบครัวของสมชัย จึงไม่มีบรรยากาศที่ชวนอึกอัด น่าเบื่อ น่ารำคาญ เหมือนของสมศักดิ์ เพราะทุกคนปรับตัวได้ มองโลกในแง่ดี ทำให้มีพลังในการที่จะฝ่าฟันภาวะที่ไม่พึงปรารถนาได้คุณคิดว่าครอบครัวไหนมีความสุขมากกว่ากัน?ในทางจิตวิทยา กล่าวถึงอีคิวกับการสร้างความอบอุ่นในครอบครัวเอาไว้ว่า ๑. สนใจ และเข้าใจในความกังวลของคนในครอบครัว ๒. รับรู้และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของคนในครอบครับได้ดี ๓. รู้และเข้าใจศักยภาพ ส่งเสริมความรู้ความสามารถของสมาชิกในครอบครัวให้ถูกทาง ๔. ความจริงใจต่อกัน เป็นรากฐานของความผูกพันทางอารมณ์ที่ลึกซึ้ง ความฉลาดทางอารมณ์ต่อการศึกษา โดยทั่วไปถ้าพูดถึงปัจจัยที่ทำให้เด็กเรียนรู้ พ่อแม่อาจจะนึกถึงการเรียนพิเศษในวิชายาก ๆ เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ภาษาอังกฤษ เราเคยเชื่อว่าถ้าทุ่มเทเวลาให้กับการอ่านหนังสือ มีโอกาสกวดวิชาเหล่านั้นจากอาจารย์เก่ง ๆ เด็ก ๆ ก็จะมีผลการเรียนที่ดีขึ้นและสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ในโลกของความเป็นจริง การที่เด็กจะเรียนดี มีอนาคตที่ดี นอกจากความสามารถทางวิชาการแล้ว ยังต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ อีกมาก โดยเฉพาะในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยสิ่งยั่วยุ พบว่าเด็กจำนวนไม่น้อยที่เผชิญปัญหาทางด้านอารมณ์ความรู้สึก จนทำให้เสียโอกาสทางการศึกษาไปอย่างน่าเสียดาย เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยเรียน หรือปัญหาด้านพฤติกรรมอื่น ๆ ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้มีที่มาจากความอ่อนแอทางเชาวน์ปัญญา แต่มาจากความอ่อนแอทางอารมณ์ ที่ไม่สามารถรู้เท่าทันและจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกทั้งของตนเองและผู้อื่นได้โรงเรียนแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา มีการขานชื่อนักเรียนในชั้นด้วยวิธีแปลกใหม่ไม่เหมือนใคร ด้วยการให้นักเรียนบอกความรู้สึกของตนเองในขณะนั้น เช่น วันนี้อารมณ์ดี ตื่นเต้น กังวลเล็กน้อย หรือมีความสุข แทนการตอบว่ามาหรือไม่มากิจกรรมนี้เรียกว่า Self-Science เป็นวิชาเกี่ยวกับความรู้สึกทั้งของตนเองและผู้อื่น ครูจะให้ความสนใจกับประสบการณ์ทางอารมณ์ของเด็ก มีการนำความเครียดและประสบการณ์เลวร้ายที่เคยเกิดขึ้นมาเป็นหัวข้อที่จะพูดคุยกันในแต่ละวันจุดมุ่งหมายในการสอนวิชานี้คือ เพื่อพัฒนาทักษะทางอารมณ์และสังคม หลักสูตรนี้ไม่ได้สอนเฉพาะเด็กที่มีปัญหาเท่านั้น แต่เป็นการพัฒนาทักษะและความเข้าใจที่มีความสำคัญกับเด็กทุก ๆ คน โดยมีแนวคิดว่า ผู้เรียนจะเข้าใจบทเรียนได้อย่างลึกซึ้งเมื่อมีประสบการณ์โดยตรงมากกว่าการรับฟังจากการสอนเพียงอย่างเดียว ปัจจุบัน มีการนำหลักสูตรนี้มาใช้ในการป้องกันปัญหาด้านต่าง ๆ ในสถานศึกษา เช่น การสูบบุหรี่ในเด็กวัยรุ่น การใช้สารเสพติด การตั้งครรภ์ในวัยเรียน การออกจากโรงเรียนก่อนกำหนดรวมถึงการมีพฤติกรรมจากการสอนเพียงอย่างเดียวแต่อย่างไรก็ตาม การนำความรู้เกี่ยวกับอารมณืเข้ามาสอนในโรงเรียน ก็ยังเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อน โครงการนี้จึงต้องใช้นักจิตวิทยาเป็นผู้สอน แต่คาดว่าต่อไปจะมีการถ่ายทอด และฝึกหัดให้ครูทั่วไปในโรงเรียนสามารถดำเนินการได้เอง เพื่อเป็นการป้อนกันปัญหาที่เกิดขึ้นจากอารมณ์และความรู้สึก ที่ทำให้เด็กจำนวนไม่น้อยต้องหมดอนาคตทางการเรียนไปอย่างเสียดาย นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ความฉลาดทางอารมณ์มีผลต่อการเรียน ดังเช่น งานวิจัยของจอห์น กอตต์แมน นักจิตวิทยา เคยศึกษาถึงผลการสอนทักษะความฉลาดทางอารมณ์ต่อการเรียนของเด็ก รวบรวมข้อมูลจาก ๕๖ ครอบครัว ตั้งแต่พ.ศ.๒๕๒๙ แล้วติดตามผลอยู่หลายปี ปรากฏว่าในกลุ่มที่พ่อแม่เลี้ยงลูกแบบเน้นทักษะทางอารมณ์เด็กจะมีผลการเรียนที่ดีกว่า ถึงแม้ว่าจะมีระดับไอคิวใกล้เคียงกันก็ตาม ที่สำคัญเด็กในกลุ่มดังกล่าวยังมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพ่อแม่ ครูและเพื่อน ๆ สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี ปรับตัวกับปัญหาความขัดแย้ง ความโกรธ ความเครียดได้ดี และมีความสุขในการดำเนินชีวิต งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของความฉลาดทางอารมณ์ที่มีผลต่อการศึกษาคือ งานวิจัยของมหาวิทยาลัยอาร์วาร์ดที่ทำการศึกษาย้อนหลังเกี่ยวกับความสำเร็จในการทำงาน โดยศึกษาจากผู้เรียนจบในปี๕.ศ.๑๙๔๐ จำนวน ๙๕ คน เป็นการศึกษาระยะยาวติดตามจนถึงวัยกลางคน พบว่านักศึกษาที่เรียนจบและได้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสูง ประสบความสำเร็จทั้งในด้านการงานและครอบครัวน้อยกว่านักศึกษาที่ได้คะแนนต่ำกว่า ยังมีการศึกษาที่แสดงว่าความสำเร็จด้านต่าง ๆ นั้น เป็นผลมาจากความฉลาดทางอารมณ์ถึง ๘๐ เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก ๒๐ เป็นผลมาจากความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา เทคนิคการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในสถานศึกษา ๑. ประชาธิปไตยในการเรียน สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นประชาธิปไตย มีความอิสระที่จะแสดงความคิดเห็น มีความเคารพในกันและกัน ครูรับฟังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเห็นว่าความรู้สึกของตนเป็นที่รับฟัง ไม่ใช่สิ่งที่ไม่มีความหมาย หรือไร้คนสนใจ ๒. เรียนรู้เรื่องอารมณ์ หน้าที่ของครูอาจารย์ในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ คือ การช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจถึงความรู้สึก อารมณ์ของตน มีการแสดงออกที่เหมาะสมกับบุคคลและสถานที่ และมีความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น ๓. เริ่มต้นให้ดี เริ่มที่ครู การเริ่มต้นที่ดีที่สุด คือการที่ครูอาจารย์ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้ผู้เรียน โดยการทำในสิ่งที่ตนเองพร่ำสอน เช่นเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึก บุคลิกลักษณะของตนเอง ระมัดระวังคำพูดและการแสดงอารมณ์ให้เหมาะสมอยู่เสมอ ความฉลาดทางอารมณ์ต่อตนเอง เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันว่า จิตใจมีผลต่อร่างกายและความเครียดคือบ่อเกิดที่สำคัญของโรคภัยไข้เจ็บหลายชนิด ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร ไมเกรน ความดันโลหิตสูง ไปจนถึงโรคร้ายอย่างมะเร็ง เพราะเมื่อเรามีอารมณ์ดี ก็จะส่งผลดีให้ร่างกายแข็งแรงตามไปด้วย ตรงกันข้ามเมื่อเราเครียด วิตกกังวล หดหู่ เศร้าซึม ภูมิคุ้มกันในร่างกายก็จะลดระดับลงทำให้ง่ายที่จะติดเชื้อ หรือเจ็บไข้ไม่สบายคนอารมณ์ดี ยังเป็นคนมีเสน่ห์ ใคร ๆ ก็อยากอยู่ใกล้ ตรงข้ามกับคนที่มักเคร่งเครียด หงุดหงิด เจ้าอารมณ์ ผู้คนก็ไม่อยากจะเกี่ยวข้องความฉลาดทางอารมณ์ยังช่วยให้คนมองโลกในแง่ดี มีความสุข มีความพอใจและยอมรับได้กับสภาพที่เป็นอยู่ แม้ว่าสภาพนั้นอาจไม่เป็นที่พึงปรารถนาเพียงใดก็ตามเลน่า มาเรีย คลิงวัลล์ นักร้องนักกีฬาพิการที่มีชื่อเสียของสวีเดน เลน่าไม่มีแขนทั้งสองข้าง และขาซ้ายก็ยาวเพียงครึ่งหนึ่งขวามาตั้งแต่เกิด แต่เธอเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตทั้งในด้านการงานและครอบครัว เธอจบการศึกษาจากวิทยาลัยการดนตรีในกรุงสต็อกโฮล์ม เป็นนักร้องชื่อดัง ที่มีงานหลายอัลบั้ม เธอเรียนว่ายน้ำตั้งแต่อายุ ๓ ขวบ จนได้เป็นนักกีฬาทีมชาติของสวีเดน ได้รับเหรียญรางวัลมากมาย เลน่าเป็นคนร่าเริมแจ่มใส เธอดูแลตัวเองได้อย่างน่าทึ่ง เธอทำอาหารได้ ทำงานฝีมือได้ ถ่ายรูปได้ ขับรถได้ เธอพูดถึงความพิการของเธอไว้อย่างน่าคิดว่า"ฉันไม่เคยคิดถึงความพิการของตัวเองในแง่ลบ ฉันมักคิดว่าฉันก็เป็นเหมือนคนอื่น ๆ เพียงแต่ทำบางอย่างที่ต่างไปจนอื่นบ้าง" (จากหนังสือบันทึกจากปลายเท้า เลน่า มาเรีย คลิงวัลล์ เขียน อุลล่า ฟิวสเตอร์ และสมใจ รักษาศรี แปล จัดพิมพ์โดย นานมีบุ๊ค จำกัด) เทคนิคการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สำหรับตนเอง ๑. รู้ตัว รู้ตน หมายถึง การรู้ความเป็นไปได้ของตน รวมทั้งความพร้อมในด้านต่าง ๆ รู้ทั้งจุดเด่นและจุดด้อย รู้เท่าทันอารมณ์ รู้สาเหตุที่ทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกนั้น ๆ รู้ว่าผลที่จะตามมาเป็นอย่างไร และประเมินความสามารถตนเองได้ตามความเป็นจริง และนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม ๒. รู้ทน รู้ควร หมายถึง ความสามารถในการจัดการกับความรู้สึกของตนเอง เช่น จัดการกับความโกรธ ความไม่พอใจ ความหงุดหงิดได้ สามารถควบคุมตนเองให้ทำในสิ่งที่ถูกที่ควรได้ เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ ใจกว้าง สามารถรับฟังความคิดและข้อมูลใหม่ ๆ ตลอดจนปรับตัวต่อสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ ๓. รู้สร้างกำลังใจ หมายถึง การมีแรงบันดาลใจที่จะทำให้เกิดความพยายามในการก้าวสู่เป้าหมายอย่างไม่ท้อถอย มีความตั้งใจที่จะทำให้ดีที่สุดในสิ่งที่รับผิดชอบ เมื่อมีปัญหาก็ไม่ท้อแท้หมดกำลังใจ รู้จักมองโลกในแง่ดี และพยายามหาทางปรับปรุงแก้ไขจนถึงที่สุด ฉลาดทางอารมณ์ = ฉลาดคิด+ ฉลาดพูด + ฉลาดทำ ฉลาดคิด ---> ควบคุมความคิดได้ คิดในทางที่ดี คิดในทางสร้างสรรค์ ฉลาดพูด ---> เลือกพูดแต่สิ่งที่ดี มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงคำพูดที่จะทำให้คนเองและบุคคลอื่นเดือดร้อน ฉลาดทำ ---> "ทำเป็น" ไม่ใช่แค่ "ทำได้" มีความรู้ความเชี่ยวชาญในงานนั้น ๆ อีคิวดี ไม่ดี มีสาเหตุมาจากอะไร ความฉลาดทางอารมณ์ เป็นความฉลาดและความสามารถทางสมองอย่างหนึ่ง การที่คนเราจะมีความฉลาดทางอารมณ์มากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับ ๒ ปัจจัยหลัก ๆ คือ ๑. พันธุกรรมและพื้นฐานอารมณ์ ๒. สภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดู ๑. พันธุกรรมและพื้นฐานอารมณ์ พันธุกรรม คือตัวกำหนดให้มนุษย์ทุกคนมีลักษระพื้นฐานอารมณ์ที่แตกต่างกันไป และพื้นอารมณ์ที่ติดตัวมาแต่กำเนิดก็จะเป็นส่วนสำคัญที่กำหนดพฤติกรรมอารมณ์ บุคลิก นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมขณะอยู่ในครรภ์ ก็มีส่วนไม่น้อยต่อการสร้างพื้นอารมณ์ เพราะในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าอารมณ์ของแม่ขระตั้งครรภ์มีส่วนสำคัญต่อพื้นอารมณ์ของลูก เช่น แม่ที่มักมีความเครียด อาจจะทำให้ลูกเป็นเด็กอารมณ์ไม่ดี ขี้โมโหเลี้ยงยาก ส่วนแม่ที่อารมณ์ดีมีความสบายกายสบายใจในขณะตั้งครรภ์ ก็มักจะได้ลูกที่เป็นเด็กเลี้ยงง่าย ร่าเริง คนที่มีพื้นอารมณ์ดี จึงเหมือนกับคนที่มีทุกสำรองของชีวิตติดตัวมาตั้งแต่เกิดเพราะการมีจิตใจที่มั่นคง เข้มแข็ง ถือได้ว่าเป็นความโชคดี เปรียบได้กับพื้นที่มีความแข็งแรง สามารถรับแรงกระแทกได้โดยไม่กระทบกระเทือนมาก แต่คนที่พื้นอารมณ์ไม่ดี อ่อนไหว เปราะบาง เปรียบได้กับคนที่มีทุนสำรองมาน้อย ถ้าเป็นพื้นก็เป็นพื้นที่บอบบางกระทบกระทั่งอะไรแรง ๆ ไม่ได้ ง่ายต่อการที่จะพังโครมลงมา ๒. สภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดู พื้นอารมณ์ที่ถูกกำหนดโดยพันธุกรรมเป็นปัจจัยที่ติดตัวมาไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ก็จริง แต่การเลี้ยงดูในสภาพที่เหมาะสมกับอารมณ์ก็สามารถจะช่วยพัฒนากล่อมเกลาและควบคุมพื้นอารมณ์ด้านลบได้ ขณะเดียวกันก็สามารถจะส่งเสริมพื้นอารมณ์ด้านบวกให้ดีโดดเด่นยิ่ง ๆ ขึ้นไป เปรียบได้กับพื้นที่บาง หากไม่ได้รับการสร้างเสริมเติมเต็มให้แข็งแรงขึ้น พื้นนั้นก็จะอยู่ในสภาพเดิมที่ง่ายต่อการผุพังเมื่อได้รับแรงกระแทก เด็กที่มีพื้นอารมณ์ไม่ดี ถ้าไม่ได้รับการเลี้ยงดูที่เข้าใจก็อาจจะไปกระตุ้นให้อารมณ์ที่ไม่ดีเหล่านั้นเติบโตจนฝังรากลึก ไร้การควบคุม กลายเป็นปัญหาทั้งต่อตนเองและสังคมที่เกี่ยวข้อง แต่ถ้าพ่อแม่เข้าใจในธรรมชาติของเด็กก็ยังสามารถจะชดเชยหรือควบคุมส่วนที่ด้อยไม่ให้มีอิทธิพลหรือเป็นปัญหาในการดำเนินชีวิต ดังเช่น กรณีของวรพจน์ สุดา รุ่งโรจน์ และเลน่า วรพจน์ เติบโตมากับครอบครัวที่พ่อเป็นใหญ่ในบ้านชอบใช้ความรุนแรงแก้ปัญหาความขัดแย้ง ภาพของพ่อที่แสดงอารมณ์เกรี้ยวกราดหรือทุบตีแม่เป็นเรื่องปกติสำหรับวรพจน์ ต่อมาเมื่อมีครอบครัวเขาจึงนำวิธีการเหล่านั้นไปใช้โดยไม่รู้ตัว เช่น เวลามีปัญหาขัดแย้งก็มักขึ้นเสียงด่าภรรยา ไปจนกระทั่งลงมือลงไม้ทำร้ายร่างกาย เมื่อภรรยาทนไม่ได้และหนีไป วรพจน์กลับสงสัยและไม่เข้าใจว่าทำไมภรรยาจึงทนไม่ได้กับ "เรื่องแค่นี้" สุดา เป็นคนหวั่นไหวง่าย เติบโตมาในครอบครัวที่พ่อแม่แยกทางกัน พ่อและแม่ไม่สามารถให้ความดูแลเอาใจใส่ได้เต็มที่ จึงพยายามชดเชยด้วยการตามใจ และให้เงินทองสิ่งของ เธอจึงไม่เคยเรียนรู้เรื่องความผิดหวัง อยากได้อะไร ต้องได้ ไม่เคยเรียนรู้ที่จะอดทนต่อความต้องการของตัวเอง แต่สิ่งเดียวที่เธอขาดก็คือความรัก เมื่อเธอพบ ประวิทย์ เธอจึงเรียกร้องความรัก ความสนใจจากเขามาก ด้วยการควบคุมอย่างใกล้ชิดเมื่อ ประวิทย์ อึดอัดทนไม่ได้และจากเธอไป เธอก็ประชดเขาด้วยการกินยาตาย รุ่งโรจน์ เติบโตมาในครอบครัวที่ดูเหมือนอบอุ่น พ่อแม่พี่น้องอยู่กันพร้อมหน้า แต่แม่มักเปรียบเทียบเขากับลูกคนข้างบ้านที่เรียนเก่งกว่าอยู่เสมอ ทำให้เขารู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า ปัจจุบัน ถึงแม้รุ่งโรจน์จะมีหน้าที่การงานดี เป็นนักวิทยาศาสตร์ในหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง แต่ลึก ๆ แล้วเขามักรู้สึกไม่มั่นใจ คิดว่าตนเองมีความสามารถสู้คนอื่นไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถมากคนหนึ่ง ความรู้สึกนี้จึงเป็นเหมือนเชือกที่คอยฉุดรั้งเขาไม่ให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างน่าเสียดาย เลน่า มาเรีย คลิงวัลล์ นักร้องชื่อดังชาวสวีเด่น ที่ไม่มีแขน และยังมีขาข้างซ้ายที่ยาเพียงครึ่งหนึ่งของขาข้างขวา เลน่า เล่าถึงปัจจัยที่ทำให้เธอเป็นคนพิการ ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตว่า ส่วนสำคัญมาจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่ยอมรับและเข้าใจในความบกพร่องของร่างกายเธอ และให้โอกาสเธอได้เรียนรู้ที่จะเป็นคนเข้มแข็ง มีความรู้สึกที่ดีต่อตัวเอง เลน่า เล่าว่า "พ่อแม่สนับสนุนให้ฉันทำในสิ่งที่ฉันชอบ และท่านก็สนับสนุนน้อยชายในแบบเดียวกันเพราะเหตุนี้ ฉันจึงไม่รู้สึกโกรธหรือขมขื่นใจต่อสภาพที่ฉันเป็นอยู่" "พ่อแม่รักฉันเพราะฉันเป็นฉัน ไม่ใช่เพราะว่าฉันไม่สามารถทำสิ่งนี้หรือสามารถทำสิ่งนั้นได้ ซึ่งทำให้ฉันมั่นคงทางจิตใจมาก" "พ่อแม่ให้เวลาฉันในการทำความเข้าใจว่าจะจัดการกับเรื่องต่าง ๆ อย่างไรแทนที่จะเข้ามาช่วยเหลือทันทีที่ร้องขอ ด้วยเหตุนี้ ฉันจึงเป็นคนไม่ยอมแพ้ และมักจะค้นพบวิธีจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น"และเมื่อเธอทำพลาด หรือไม่มีกำลังพอ พ่อแม่ก็พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ เธอจึงมีอิสระในการแสวงหาความสำเร็จ แต่ขณะเดียวกันก็สามารถรับมือกับความล้มเหลวได้ และรู้สึกมั่นคงในจิตใจ เพราะรู้ว่าพ่อแม่อยู่ใกล้ ๆ เธอเสมอ (จากเรื่อง บันทึกจากปลายเท้า เลน่า มาเรีย คลิงวัลล์ เขียน อุลล่าฟิวสเตอร์ และสมใจ รักษาศรี แปล สำนักพิมพ์ นานมีบุ๊ค) อีคิวไม่ดีแก้ไขได้ไหม ในทางจิตวิทยาเชื่อว่า อีคิวหรือความฉลาดทางอารมณ์ เป็นสิ่งที่พัฒนาได้ แดเนียล โกลแมน ผู้เขียนเรื่อง ความฉลาดทางอารมณ์ เสนอแนะวิธีการพัฒนาอารมณ์ไว้ ๕ ประการดังนี้ ๑. รู้จักอารมณ์ตนเอง การรู้จักอารมณ์ตนเองจะเป็นพื้นฐานในการควบคุมอารมณ์เพื่อแสดงออกอย่างเหมาะสม การรู้จักอารมณ์ตนเองก็คือการรู้ตัว หรือการมีสติในทัศนะของพุทธศาสนานั่นเองปกติเมื่อเราเกิดอารมณ์ใด ๆ ขึ้นมา เราจะตกอยู่ในภาวะใด ๆ ภาวะหนึ่งใน ๓ ภาวะดังต่อไปนี้ ถูกครอบงำ หมายถึง การที่เราไม่สามารถฝืนต่อสภาพอารมณ์นั้น ๆ ได้จึงแสดงพฤติกรรมไปตามสภาพอารมณ์ดังกล่าว เช่น เมื่อโมโหก็อาจจะมีการขว้างปาข้าวของหรือส่งเสียงดังโดยไม่สนใจใคร ไม่ยินดียินร้าย หมายถึง การไม่ยินดียินร้ายต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้น หรือทำเป็นละเลยไม่สนใจ เพื่อบรรเทาการแสดงอารมณ์ เช่น ทำเป็นไม่ใส่ใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งที่จริง ๆ ก็รู้สึกโกรธ รู้เท่าทัน หมายถึง การรู้เท่าทันต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้น มีสติรู้ว่าควรจะทำอย่างไรจึงจะเหมาะสมที่สุดในขณะอารมณ์นั้น ๆ เช่น โกรธก็รู้ว่าโกรธ แต่ก็สามารถควบคุมความโกรธนั้นได้ ระงับอารมณ์โกรธได้ และหาวิธีจัดการแก้ไขได้อย่างเหมาะสม ทำอย่างไรให้รู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง? ทบทวน ถ้ารู้สึกว่าที่ผ่านมาเรามีปัญหาในการแสดงอารมณ์ ลองให้เวลาทบทวนอารมณ์ด้วยใจที่เป็นกลาง ไม่เข้าข้างตัวเอง ว่าเรามีลักษณะอารมณ์อย่างไร เรามักแสดงออกมาในรูปแบบไหน แล้วรู้สึกพอใจ ไม่พอใจอย่างไร คิดว่าเหมาะสมหรือไม่ต่อการแสดงอารมณ์ในลักษณะนั้น ๆ ฝึกสติ ฝึกให้มีสติและรู้ตัวอยู่เสมอว่าขณะนี้เรากำลังรู้สึกอย่างไรกับตัวเองหรือต่อสิ่งที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัว สบายใจ ไม่สบายใจ แล้วลองถามตัวเองว่าเราคิดอย่างไรกับความรู้สึกนั้น และความคิด ความรู้สึกนั้นมีผลอย่างไรกับการแสดงออกของเรา ๒. จัดการกับอารมณ์ตนเองได้ การจัดการกับอารมณ์ตนเองได้ หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และสามารถแสดงออกไปได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ แต่การที่เราจะจัดการกับอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมหรือไม่เพียงใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการควบคุมอารมณ์ เทคนิคการคจัดการกับอารมณ์ตนเอง ทบทวน ว่ามีอะไรบ้างที่เราทำลงไปเพื่อตอบสนองอารมณ์ที่เกิดขึ้นและพิจารณาว่าผลที่ตามมาเป็นอย่างไร เตรียมการในการแสดงอารมณ์ ฝึกสั่งตัวเองว่าจะทำอะไร และจะไม่ทำอะไร ฝึกรับรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น หรือที่เราต้องเกี่ยวข้องในด้านดี ทำอารมณ์ให้แจ่ามใส ไม่เศร้าหมอง สร้างโอกาสจากอุปสรรค หรือหาประโยชน์จากปัญหา โดยการเปลี่ยนมุมมองเช่น คิดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือความท้าทายที่จะทำให้เราพัฒนายิ่งขึ้น เป็นต้น ฝึกผ่อนคลายความเครียด โดยเลือกวิธีที่เหมาะกับตนเอง เช่น ออกกำลังกาย นั่งสมาธิ เดินจงกรม เล่นดนตรี ปลูกต้นไม้ เป็นต้น ๓. สร้างแรงจูงใจให้ตนเอง การมองหาแง่ดีของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จะช่วยให้เราเกิดความเชื่อมั่นว่า สามารถเผชิญกับเหตุการณ์นั้นได้ และทำให้เกิดกำลังใจที่ก้าวไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ เทคนิคการสร้างแรงจูงใจให้กับตนเอง ทบทวนและจัดอันดับสิ่งสำคัญในชีวิตโดยให้จัดอันดับความต้องการ ความอยากได้ อยากมี อยากเป็นทั้งหลายทั้งปวง แล้วพิจารณาว่าการที่เราจะบรรลุสิ่งที่ต้องการนั้น เรื่องไหนที่พอเป็นไปได้ เรื่องไหนที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน เมื่อได้ความต้องการที่มีความเป็นไปได้แล้วก็นำมาตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อวางขั้นตอนการปฏิบัติที่จะมุ่งไปสู่จุดหมายอื่น ๆ มุ่งมั่นต่อเป้าหมาย ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงความฝัน ความต้องการของตนเอง ต้องระวังอย่าให้มีเหตุการณ์มาทำให้เราเกิดความไขว้เขวออกนอกทางที่ตั้งไว้ ลดความสมบูรณ์แบบ ต้องทำใจเอาไว้ยอมรับได้ว่า สิ่งที่เราตั้งใจไว้อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ หรือไม่เป็นไปดังที่ใจเราคาดหวัง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ การทำใจยอมรับความบกพร่องได้จะช่วยให้เราไม่เครียด ไม่ทุกข์ ไม่ผิดหวังมากจนเกินไป ฝึกมองหาประโยชน์จากอุปสรรค เพื่อสร้างความรู้สึกดี ๆ ที่จะเป็นพลังให้เกิดสิ่งดี ๆ อื่น ๆ ต่อไป ฝึกสร้างทัศนคติที่ดี หามุมมองที่ดีในเรื่องที่เราไม่พอใจ (แต่ไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้) มองปัญหาให้เป็นความท้าทาย ที่เราจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อสร้างพลังและแรงจูงใจให้ผ่านพ้นปัญหานั้น ๆ ไปได้ หมั่นสร้างความหมายในชีวิต ด้วยการรู้สึกดีต่อตัวเอง นึกถึงสิ่งที่สร้างความภูมิใจ และพยายามใช้ความสามารถที่มีทำประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น แม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กำลังใจตนเอง คิดอยู่เสมอว่าเราทำได้ เราจะทำและลงมือทำ ๔. รู้อารมณ์ผู้อื่น การรู้และเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น และสามารถแสดงอารมณ์ตนเองตอบสนองได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะกับคนที่เราเกี่ยวข้องสัมพันธ์ด้วย จะช่วยให้เราสามารถอยู่ร่วมหรือทำงานด้วยกันได้อย่างดี และมีความสุขมากขึ้น เทคนิคการรู้อารมณ์ผู้อื่น ให้ความสนใจในการแสดงออกของผู้อื่น โดยการสังเกตสีหน้า แววตา ท่าทาง การพูด น้ำเสียง ตลอดจนการแสดงออกอื่น ๆ อ่านอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น จากสิ่งที่สังเกตเห็นว่าเขากำลังมีความรู้สึกใด โดยอาจตรวจสอบว่าเขารู้สึกอย่างนั้นจริงหรือไม่ด้วยการถาม แต่วิธีนี้ควรทำในสถานการณ์ที่เหมาะสม เพราะมิฉะนั้น อาจดูเป็นการวุ่นวาย ก้าวก่ายเรื่องของผู้อื่นได้ ทำความเข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของบุคคล เรียกว่าเอาใจเขามาใส่ใจเรา ว่าถ้าเราเป็นเขา เราจะรู้สึกอย่างไร จากสภาพที่เขาเผชิญอยู่ แสดงความเห็นอกเห็นใจ ให้กำลังใจ เมื่อผู้อื่นกำลังมีปัญหา ๕. รักษาความสัมพันธภาพที่ดีต่อกันการมีความรู้สึกที่ดีต่อกัน จะช่วยลดความขัดแย้ง และช่วยให้การอยู่ร่วมกันเป็นไปอย่างราบรื่น พร้อมที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ เทคนิคในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ฝึกการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อผู้อื่น ด้วยการเข้าใจ เห็นใจความรู้สึกของผู้อื่น ฝึกการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน ฝึกการเป็นผู้พูดและผู้ฟังที่ดี และไม่ลืมที่จะใส่ใจในความรู้สึกของผู้ฟังด้วย ฝึกการแสดงน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รู้จักการให้และรับ ฝึกการให้เกียรติผู้อื่นอย่างจริงใจ รู้จักยอมรับในความสามารถของผู้อื่น ฝึกแสดงความชื่นชม ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ตามวาระที่เหมาะสม (ที่มา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข) เลี้ยงเด็กอย่างไรให้มีอีคิวดี ตอง อายุ ๑๗ ปี เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เป็นวัยรุ่นที่ร่าเริงมีความมั่นใจในตนเอง ถึงแม้จะไม่ได้เรียนเก่งมาก เขาเป็นคนที่มีความรู้สึกดีต่อตนเองและผู้อื่น ไม่ค่อยมีปัญหากับความเครียด ไม่เคยแสดงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งกับเพื่อนฝูง ไม่เคยเกี่ยวข้องกับสารเสพติด สามารถควบคุมอารมณ์โกรธได้ดี เป็นที่รักใคร่ในกลุ่มเพื่อนตรอง คือตัวอย่างของวัยรุ่นที่มีความฉลาดทางอารมณ์ ที่มีความรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง และสามารถควบคุมอารมณ์ได้ ตลอดจนเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่นด้วย ตรองจึงมีโอกาสที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและประสบความสำเร็จในชีวิตเมื่อมองย้อนเข้าไปในวัยเด็กพบว่า ตรองได้รับการเลี้ยงดูด้วยบรรยากาศที่เป็นประชาธิปไตย พ่อแม่ของเขายินดีที่จะรับฟังความคิดเห็นและความรู้สึกของลูกเสมอ เมื่อมีความขัดแย้ง ก็จะชี้แจงด้วยถ้อยคำที่ตรงไปตรงมา ไม่มีการค่อนแคะ กระทบกระเทียบเปรียบเปรย พ่อแม่ของตรองจะเคยทะเลาะกันกี่ครั้งตรองไม่รู้ รู้แต่ว่าเขาไม่เคยเห็นพ่อแม่ตะโกนใส่กัน หรือทุ่มเถียงทะเลาะกันแรง ๆ ตรองเติบโตมาด้วยบรรยากาศที่อบอุ่น ทุกคนคุยกัน ฟังกัน และเข้าใจกันความฉลาดทางอารมณ์ของตรองจึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่เกิดขึ้นมาเอง เพราะหากปราศจากซึ่งการอบรมเลี้ยงดูที่ดีจากพ่อแม่ ตรองาอจจะไม่มีวันนี้ที่แตกต่างจากที่เป็นเป็นอยู่ดังเช่น การศึกษาวิจัยระยะยาวตั้งแต่วัยเด็กถึงวัยผู้ใหญ่ พบว่า เด็กที่เติบโตขึ้นเป็นคนที่ขาดความรู้สึกเห็นใจผู้อื่น ล้วนมาจากการเลี้ยงดูที่เคยถูกทำร้ายทั้งทางอารมณ์และร่างกายจากพ่อแม่ขณะที่การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน ๒ กลุ่มที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมซึ่งยากจนเหมือนกัน แต่ได้รับการเลี้ยงดูที่ต่างกันก็พบว่า เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างอบอุ่น จะแสดงความเห็นใจเมื่อเห็นเด็กอื่นร้องไห้เสียใจ ขณะที่เด็กซึ่งถูกทำร้ายจิตใจ จะไม่แสดงความสนใจเหมือนเด็กกลุ่มแรก แต่อาจจะแสดงปฏิกิริยาต่อเด็กที่กำลังร้องไห้ด้วยความกลัว โกรธ หรือแม้แต่เข้าไปทำร้าย่างกาย คำพูดและการกระทำของพ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดูมีผลอย่างมากต่อการพัฒนาทางอารมณ์และบุคลิกภาพของเด็ก เพราะนับจากวัยทารกเป็นต้นมา เด็กจะรู้สึกผูกพันใกล้ชิดกับปฏิกิริยาโต้ตอบทางอารมณ์ของพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู ท่าทีและสภาพแวดล้อมในการอบรมเลี้ยงดูตั้งแต่แรกเกิดจึงมีอิทธิพลอย่างมากต่อบุคลิกภาพและความแลาดทางอารมณ์ของเด็ก ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดที่พ่อแม่จะเลี้ยงลูกให้เติบโตเป็นคนที่มีความฉลาดทางอารมณ์ มีความมั่นคง เข้มแข็ง และรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ก็คือการเป็นต้นแบบที่ดีนั่นเองแต่นอกจากการเป็นต้นแบบที่ดีให้ลูกแล้ว พ่อแม่สามารถส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ให้ลูกได้ดังนี้คือ สอนให้เด็กรู้จักตัวเอง สอนให้เด็กรู้จักจัดการกับอารมณ์ตนเองได้ สอนให้เด็กรู้จักรอคอยได้ มีวินัย สอนให้เด็กรู้จักเข้าใจคนอื่น เห็นอกเห็นใจคนอื่น สอนให้เด็กรู้จักการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี รู้จักที่จะผูกมิตรกับผู้อื่น เทคนิค ๕ ประการเพื่อความฉลาดทางอารมณ์ของเด็ก ๑. ด้วยรักและเข้าใจ พ่อแม่ควรแสดงความเข้าใจ ยอมรับ เห็นอกเห็นใจให้ความสำคัญกับสิ่งที่ลูกสนใจแทนการตำหนิ บังคับ วิจารณ์หรือลงโทษ ขณะเดียวกันพ่อแม่ก็จะต้องระวังการแสดงอารมณ์ความรู้สึกที่อาจจะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีสำหรับลูก ๒. ใช้โอกาสให้เกิดประโยชน์ ใช้โอกาสหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างความใกล้ชิดสนิทสนม และสอนให้เด็กรู้จักเรียนรู้เรื่องอารมณ์ เช่น เวลาที่เด็กเกิดความกลัวขณะดูรายการโทรทัศน์ที่เป็นเรื่องตื่นเต้น อันตราย พ่อแม่อาจใช้โอกาสนี้ โดยการเข้าไปนั่งใกล้ ๆ แล้วปลอบใจและสอนให้ลูกเข้าใจอารมณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมอธิบายด้วยเหตุผลเพื่อให้เด็กกล้าเผชิญสภาพการณ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ๓. เรียนรู้ร่วมกัน รับฟังความรู้สึกและอารมณ์ของเด็กด้วยความตั้งใจ เอื้ออาทรและพยายามตรวจสอบความรู้สึกของเด็กโดยการพิจารณาจากสถานการณ์ พฤติกรรม ท่าทางและอากัปกิริยาที่แสดงออก ในขณะที่รับฟังพ่อแม่อาจช่วยสะท้อนหรือสรุปประเด็น พร้อมหาเหตุผลมาอธิบายให้เด็กเข้าใจในแง่มุมอื่นบ้าง แต่ไม่ควรสรุปเรื่องราวต่าง ๆ ในลักษณะการชี้นำ ๔. ไม่ปิดกั้นความรู้สึก ฝึกให้เด็กบอกอารมณ์ความรู้สึกของตนได้อย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการเก็บกดปัญหาแล้วมาระบายออกโดยขาดการควบคุมการแสดงอารมณ์ที่เปิดเผย ตรงไปตรงมา คือพื้นฐานที่ดีของผู้มีความฉลาดทางอารมณ์ เช่น รู้ตัวว่ากำลังโกรธ เสียใจ น้อยใจ ขี้อิจฉาเพื่อนำไปสู่การจัดการอย่างถูกต้องเหมาะสมด้วยตนเองต่อไป ๕. เรื่องธรรมดาที่ต้องพอดี เมื่อพ่อแม่เห็นว่าเด็กเข้าใจอารมณ์ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของตนและเล็งเห็นพฤติกรรมที่ควรทำแล้ว พ่อแม่ควรบอกให้เด็กทราบว่า การมีอารมณ์ต่าง ๆ เป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่ควรระมัดระวังการแสดงออกให้เหมาะสมกับบุคคล เวลาและสถานที่ เด็กเรียนรู้จากชีวิต ถ้าเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่การตำหนิติเตียน พวกเขาจะเรียนรู้ที่กล่าวโทษผู้อื่น ถ้าเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตร พวกเขาจะเรียนรู้ที่ต่อสู้ ถ้าเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความหวาดกลัว พวกเขาจะกลายเป็นคนหวาดระแวง ถ้าเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่การสมเพชเวทนา พวกเขาจะกลายเป็นคนสงสารตัวเอง ถ้าเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแต่การเยาะเย้ย พวกเขาจะกลายเป็นคนขลาดอาย ถ้าเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเต็มไปด้วยความริษยา พวกเขาจะเรียนรู้ที่จะอิจฉาผู้อื่น ถ้าเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความละอายต่อการทำผิด พวกเขาจะเรียนรู้ที่จะสำนึกผิด ถ้าเด็กอยู่ในสภาพแวดที่เต็มไปด้วยความอดกลั้น พวกเขาจะกลายเป็นคนอดทน ถ้าเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยกำลังใจ พวกเขาจะกลายเป็นคนเชื่อมั่น ถ้าเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการยกย่องชื่นชม พวกเขาจะเรียนรู้การขอบคุณ ถ้าเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการยอมรับ พวกเขาจะเรียนรู้ที่จะชอบตัวเอง ถ้าเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการให้ด้วยยินดี พวกเขาจะรู้จักค้นหาความรักในโลก ถ้าเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการตระหนักรู้ พวกเขาจะมีเป้าหมายของตัวเอง ถ้าเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการแบ่งปัน พวกเขาจะเป็นคนมีเมตตา ถ้าเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สัตย์ซื่อและเป็นธรรม พวกเขาจะรู้จักความจริงแท้และความยุติธรรม ถ้าเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย พวกเขาจะมีศรัทธาในตัวเองและคนรอบข้าง ถ้าเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร พวกเขาจะรู้ว่าโลกเป็นที่ที่น่าอยู่ ถ้าเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สงบสุข พวกเขาจะมีสันติภาพในจิตใจ แล้วเด็ก ๆ ของคุณอยู่ในสภาพแวดล้อมอย่างไร(โดโรธี แอล. นอลเต้) กลยุทธ์ในการเสริมสร้าง E.Q. 1. สร้างปฏิสัมพันธ์ เข้าใจผู้ร่วมงาน 2. สร้างพลังความคิดด้วยการขยันอ่าน – หาความรู้ 3. ขจัดความโกรธและรับมือกับความเครียด 4. มีสติและปัญญาในการมองโลกพิจารณาสรรพสิ่งด้วยใจ 5. รู้คุณค่าและความหมายของชีวิตตนเอง – ผู้อื่น - สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นดีเสมอ (คิดทางบวก / สร้างสรรค์) - รู้เท่าทันอารมณ์ และแสดงออกให้เหมาะสม เวลา สถานที่ และบุคคล - ลดความสมบูรณ์ของชีวิตรู้จักยืดหยุ่น แนวทางก้าวไกลในงาน - มาทำงานอย่างพร้อมที่จะแก้ปัญหา มิใช่มาพร้อมกับปัญหา - ทำงานนอกเหนือขอบเขตของงานที่กำหนด ไม่ปฏิเสธงาน - ไม่หยุดนิ่ง กล้าคิด กล้าทำสิ่งใหม่ ๆ เมื่อพลาดก็ไม่ท้อถอย - พร้อมเสมอต่องานที่ได้รับมอบหมาย - มีความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน - ผลงานมีคุณภาพมากกว่าที่คาดหวัง…คนอื่น/ผู้ร่วมงาน - มีแนวคิดและมองสิ่งต่าง ๆ ในแง่มุมที่ดีงาม – สร้างสรรค์ “อย่าสร้างความเจ็บปวดให้กับชีวิต” “ความดี – ความเลว อยู่ที่เราคิดและตัดสิน” พุทธศาสนากล่าวถึงเรื่องความฉลาดทางอารมณ์ไว้ว่าอย่างไร พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตโต) อธิบายถึง ความฉลาดทางอารมณ์ว่า อารมณ์ก็คือสภาพจิต ที่โยงไปถึงพฤติกรรมในความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เพราะอารมณ์หรือสภาพจิตนั้นอาศัยพฤติกรรมเป็นช่องทางสื่อสารแสดงออกเมื่ออารมณ์หรือสภาพจิตได้รับการดูแลพัฒนา ชี้ช่อง นำทาง ขยายขอบเขตและปลดปล่อยด้วยปัญญา ให้สื่อสารแสดงออกอย่างได้ผลดี ด้วยพฤติกรรมทางกาย วาจา ก็นับได้ว่าระบบความสัมพันธ์แห่งพฤติกรรม จิตใจ และปัญญา เข้ามาประสานกัน บรรจบเป็นองค์รวมซึ่งเมื่อดำเนินไปอย่างถูกต้องก็จะอยู่ในภาวะสมดุล ให้เกิดผลดีทั้งแก่ตนและคนอื่น ตลอดถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งหมด พระราชวรมุนี(ประยูร ธมมจิตโต) อธิบายการบดี มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ให้ความหมายของความฉลาดทางอารมณ์ว่า คือการใช้ปัญญากำกับอารมณ์ที่ออกมาให้มีเหตุผล เป็นการแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมาในแต่ละสถานการณ์ โดยถือว่าอารมณ์หรือความรู้สึกนั้นเป็นพลังให้เกิดความประพฤติ ซึ่งถ้าพลังขาดปัญญากำกับก็เป็นพลังบอด ปัญญาจึงเป็นตัวที่จะกำกับชีวิตของเราให้การแสดงออกเป็นไปในทางถูกต้อง ซึ่งถ้าพิจารณาในความหมายนี้ ทั้งความสามารถทางเชาวน์ปัญญาและความสามารถทางอารมณ์มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง การคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ (Creative thinking) เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมและใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ ได้แก่ ความคิดนั้นต้องเป็นสิ่งใหม่ (New, Original) ใช้การได้ (Workable) และมีความเหมาะสม (Appropriate) ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้ 2 ทางด้วยกัน ได้แก่ 1. เริ่มจากจินตนาการแล้วย้อนกลับสู่สภาพความเป็นจริง เกิดจากการที่เรานำความฝันและจินตนาการ ซึ่งเป็นเพียงความคิด ความใฝ่ฝันที่ยังไม่เป็นจริง แต่เกิดความปรารถนาอย่าง แรงกล้าที่จะทำให้ความฝันนั้นเป็นจริง 2. เริ่มจากความรู้ แล้วคิดต่อยอดสู่สิ่งใหม่ เกิดจากการนำข้อมูลหรือความรู้ที่มีอยู่มาคิดต่อยอดหรือคิดเพิ่ม ฐานข้อมูลที่มีอยู่จะเป็นเหมือน “ตัวเขี่ยความคิด” ให้เราคิดในเรื่องใหม่ๆ การคิดเชิงสร้างสรรค์ หมายถึง การขยายขอบเขตความคิดออกไปจากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่ สู่ความคิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น การคิดเชิงสร้างสรรค์เป็นการคิดที่มีลักษณะเป็นกระบวนการ (Process) มักประกอบไปด้วย ขั้นตอนสำคัญ 3 ขั้นตอน ได้แก่ กำหนดเป้าหมายการคิด การแสวงหาแนวคิดใหม่ และการประเมินและคัดเลือกแนวคิด องค์ประกอบที่ช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ เป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะกำหนดว่าแต่ละคนมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับทัศนคติและบุคลิกลักษณะความสามารถทางสติปัญญา (กำหนดขอบเขตของปัญหา การใช้จินตนาการ การคัดเลือกอย่างมี ยุทธศาสตร์ การประเมินอย่างมีประสิทธิภาพ) ความรู้ รูปแบบการคิด แรงจูงใจ และ สภาพแวดล้อม เหตุผลความจำเป็นที่ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ เนื่องจากความคิดสร้างสรรค์ ช่วยให้เราแก้ปัญหาได้ลงตัวกับปัญหา ก่อให้เกิดนวัตกรรมที่ไม่หยุดยั้ง ช่วยให้เราได้สิ่งที่”ดีกว่า”แทนการจมอยู่กับ สิ่งเดิมๆ และเป็นองค์ประกอบสำคัญของความฉลาด ในการสร้างสรรค์ (creative intelligence) การวิเคราะห์ (analytical intelligence) และการปฏิบัติจริง (practical intelligence) สถานะทางความคิดของคนส่วนใหญ่ในสังคมที่จะกำหนดรูปแบบ และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ มีอิทธิพลมากจากแหล่งใหญ่ๆ ได้แก่ 1. บริบทสังคมไทย • สังคมพึ่งพิงผู้ใหญ่มากกว่าพึ่งพิงตนเอง • ระบบการศึกษาสอนให้จำมากกว่าสอนให้คิด • สังคมให้คุณค่าความดังมากกว่าความสร้างสรรค์ • สังคมให้คุณค่าความเหมือนมากกว่าความแตกต่าง • สังคมไทยดำเนินการตามสถานการณ์ ไม่ช่างคิด • สังคมลงโทษคนคิดสร้างสรรค์ด้วยการลอกเลียน 2. ความเป็นตัวเรา • การตอบสนองตามความเคยชิน • มองตัวเองไม่มีความคิดสร้างสรรค์ • เต็มไปด้วยความคิดแง่ลบ • ความกลัวว่าตัวเองจะเป็นแกะดำ • กลัวต่อความผิดพลาด ล้มเหลว • ยึดติดกับความรู้ ความเชี่ยวชาญมากเกินไป • ยึดติดกรอบความคิดเดิม การฝึกมองในมุมที่แตกต่าง หรือการแหวกม่านประเพณี ทางความคิดจะช่วยพัฒนาความคิด สร้างสรรค์ได้อย่างดี โดยฝึกมองต่างมุม สร้างจินตนาการอิสระ ขยายขอบเขตของความเป็นไปได้ ตั้งคำถามแบบมองต่างมุม เป็นคนไม่พอใจอะไรง่ายๆ ด้วยคำถาม “ทำไม” กระตุ้นความคิดด้วย คำถาม”อะไรจะเกิดขึ้น ถ้า” มองมุมตรงข้ามตั้งคำถามและหาคำตอบ เชื่อมโยงสิ่งที่ไม่คุ้นเคย คิดทางลัด ค้นหาข้อบกพร่องเพื่อพัฒนา และคิดเองทำเอง เทคนิคในการแก้ปัญหาและพัฒนางานต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ที่ช่วยให้ค้นพบแนวคิดใหม่ๆ นอกกรอบความซ้ำซากเดิมๆ ก่อนที่จะนำไปสู่การค้นพบทางออกของปัญหา ได้แก่ 1. หาความคิดใหม่ที่หลากหลายด้วยการระดมสมอง (Brainstorming) เป็นเทคนิคการระดมความคิดแปลกๆใหม่ๆ เป็นการแก้ปัญหาในองค์กรที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 2. ทำของเก่าให้เป็นของใหม่ โดยการพิจารณา 9 แนวทาง ได้แก่ เอาไปใช้อย่างอื่น ดัดแปลง ใช้อย่างอื่น ปรับเปลี่ยน เพิ่ม,ขยาย ลด,หด ทดแทน จัดใหม่ สลับ และผสม,รวม ได้หรือไม่ เป็นเทคนิคที่ช่วยในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ 3. ขยายขอบเขตปัญหาจากรูปธรรมสู่นามธรรมแล้วค่อยคิด คือไม่คิดในเรื่องที่กำลังคิดอยู่แต่ คิดในความเป็นนามธรรมของเรื่องนั้นที่มีอยู่ในสิ่งทั้งปวง เนื่องจากนามธรรมของปัญหาสามารถนำไปสู่การสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆ เทคนิคนี้ได้มีการนำไปใช้ร่วมกับการระดมสมอง แต่จะแตกต่างกับวิธีการระดมสมองคือ ไม่มีการชี้แจงปัญหาอย่างละเอียดก่อนล่วงหน้า แต่จะกล่าวถึงปัญหาในแนวกว้างๆ 4. ปรับสภาพแวดล้อมและเวลาให้เหมาะสมสำหรับการคิด การอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบเดียวกันนานๆ อาจจำกัดความคิดสร้างสรรค์ และเวลาก็มีความสำคัญต่อการคิด ในบางเวลาจะคิดได้ดี และในบางเรื่องการจำกัดเวลาช่วยกระตุ้นความคิดได้ แต่บางเรื่องจำเป็นต้องให้เวลาในการคิด 5. กลับสิ่งที่จะคิด แล้วลองคิดในมุมกลับ เป็นเครื่องที่ช่วยให้มองมุมอีกมุมหนึ่งที่เราไม่เคยคิดที่จะมองมาก่อน และการคิดแบบกลับด้านจะทำให้ไม่ยึดติดกับรูปแบบการคิดเดิมๆ ที่เคยชิน เป็นการช่วยกระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ๆ ที่คิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้มาก่อน 6. จับคู่ตรงข้าม เพื่อหักมุมสู่สิ่งใหม่ เป็นวิธีการหาสิ่งที่อยู่ตรงข้าม ในลักษณะขัดแย้ง (conflict) เพื่อก่อให้เกิดการหักมุมความคาดหวังที่คนทั่วๆ ไปไม่คิดว่าจะเป็น กลายเป็นสิ่งสร้างสรรค์ใหม่ เช่น มิตร ศัตรู 7. คิดแหวกวงความน่าจะเป็น ย้อนกลับมาหาความเป็นไปได้ เป็นการเชื่อมโยงถึงความเป็นไปได้โดยแสวงหาแนวคิดใหม่ จากการคิดนอกกรอบของตรรกศาสตร์ที่มีตัวเลือกว่าถูก-ผิด ใช่-ไม่ใช่ แต่พยายามหาคำตอบที่แหวกกฎเกณฑ์ต่างๆ ให้มากที่สุด แล้วจากนั้นพยายาม ดัดแปลงความคิดนั้นให้ทำได้จริงในทางปฏิบัติ 8. หาสิ่งไม่เชื่อมโยง เป็นตัวเขี่ยความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดการค้นพบสิ่งใหม่ เพื่อตอบปัญหาที่คิดอยู่ให้เห็นทางออกของปัญหาที่สร้างสรรค์ และปฏิบัติได้จริง โดยตัวเขี่ยความคิด หาได้จากเปิดหนังสือ และเปิดพจนานุกรม 9. ใช้เทคนิคการสังเคราะห์ส่วนประกอบ เป็นการเขียนรายการของแนวคิดที่เกี่ยวกับลักษณะหรือแง่มุมของสิ่งที่ต้องการตอบออกมาเขียนไว้ในแกนหนึ่ง และเขียนรายการของแนวคิดที่เกี่ยวกับลักษณะหรือแง่มุมของสิ่งที่ต้องการตอบออกมาแล้วเขียนไว้อีกแกนหนึ่ง ผลที่ได้คือ ช่วงตัด (matrix) ระหว่างรายการของแนวคิดทั้งสอง 10. ใช้การเปรียบเทียบ เพื่อกระตุ้นมุมมองใหม่ๆ เทคนิคนี้ได้รับความนิยมในวงการอุตสาหกรรมและองค์กรที่ต้องการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ วิธีการรวมกันขององค์ประกอบที่แตกต่างและไม่เกี่ยวข้องกันในลักษณะของการเทียบเคียง หรืออุปมาอุปไมย เนื่องจากปัญหาที่ไม่คุ้นเคยจะถูกทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเมื่อเทียบเคียงกับสิ่งที่คนทั่วไปคุ้นเคย เพราะทำให้เห็นภาพชัดขึ้น ในทางตรงกันข้าม ปัญหาที่คุ้นเคยมากเกินไป จนกลายเป็นอุปสรรคทำให้เราไม่สามารถคิดอะไรใหม่ๆ ได้ การอุปมาหรือเทียบเคียงในลักษณะที่เราไม่คุ้นเคย จะช่วยกระตุ้นให้เราคิดในมุมที่แตกต่างได้ โดยเปรียบเทียบตนเองกับสิ่งอื่น เปรียบเทียบสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่งโดยตรง ดังนั้น คนที่สร้างสรรค์ ต้องเริ่มต้นด้วยการสร้างทัศนคติที่เอื้อต่อการสร้างความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเป็นหลักการให้สามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้โดย 9 อย่า หรือสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง และ 9 ต้อง หรือจำเป็นต้องพัฒนาให้เกิดขึ้น ดังนี้ 1. อย่าคิดแง่ลบ ต้องคิดแง่บวก 2. อย่าชอบพวกมากลากไป ต้องลองหัวเดียวกระเทียมลีบดูบ้าง 3. อย่าปิดตัวเองในวงแคบ ต้องเปิดรับสถานการณ์ใหม่ 4. อย่ารักสบายทำไปเรื่อยๆ ต้องลงแรง บากบั่น มุ่งความสำเร็จ 5. อย่ากลัว ต้องกล้าเสี่ยง 6. อย่าหมดกำลังใจเมื่อไม่พบคำตอบ ต้องอดทนต่อความคลุมเครือ 7. อย่าท้อใจกับความผิดพลาด ต้องเรียนรู้จากความล้มเหลว 8. อย่าละทิ้งความคิดใดๆ จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไร้ประโยชน์ ต้องชะลอการตัดสินใจ 9. อย่ากลัวการเผยแพร่ผลงาน ต้องกล้าเผยแพร่ผลงาน “ ทัศนคติจะเป็นตัวบ่งบอกตั้งแต่ต้นว่าเราเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์มากน้อย หรือไม่สร้างสรรค์เลย ทัศนคติที่ไม่ถูกต้องจะเป็นอุปสรรคสำคัญให้เราไม่สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้ แม้จะ รู้เทคนิควิธีคิดสร้างสรรค์มากมายเพียงใด ดังนั้นในก้าวแรกเราจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขและเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีอยู่ให้สมกับการเป็นนักคิดสร้างสรรค์เสียก่อน การคิดสร้างสรรค์นำไปสู่การพัฒนาสติปัญญาของตนเอง พัฒนางาน และการพัฒนาสังคม ” (ที่มาการคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์) " เพื่อการแก้ไขปัญหา สร้างสิ่งใหม่ ก้าวไกลเกินฝัน " การฝึกการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ : โดยกระบวนการพัฒนา จิตเหนือสำนึก การพัฒนาของ มนุษย์นั้น จะต้องพัฒนา 3 ด้าน คือ ร่างกาย , จิตวิญญาณ และสมอง การพัฒนาสมองโดยการฝึกให้คิด แบบสร้างสรรค์ เป็นการพัฒนาที่ง่าย และมี พลังอย่างยิ่งในการที่จะนำความสำเร็จมาสู่ผู้ที่สามารถพัฒนาได้ กระบวนการฝึกการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วยการฝึก ดังต่อไปนี้ 1. การใช้สมองซึกขวาเชื่อมโยงกับสมองซีกซ้าย 2. การฝึกการคิดนอกกรอบ 3. การฝึกการคิดทางบวก 4. การฝึกการคิดแบบริเริ่ม คล่องตัว ยืดหยุ่น และละเอียดลออ ฯลฯ และที่สำคัญยิ่ง คือ การฝึกดึงเอาพลังจิตเหนือสำนึก (Super Conscious) ขึ้นมาทำงานใสถานการณ์ ต่าง ๆ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญใน การพัฒนาสร้างสรรค์ ผลงาน ที่แปลกใหม่ และมีคุณค่า ท่านจะได้ทราบว่า ความคิดสร้างสรรค์ มิใช่พรสวรรค์ แต่เป็นสิ่งที่ทุกคน สามารถฝึกและพัฒนาได้ การฝึกก็ไม่ยาก สนุก และใช้เวลาเพียง 2 วัน โดยผ่านกระบวนการพัฒนาทางจิตเหนือสำนึก และการคิด แบบ Problem Solving " ท่านจะสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างฉับพลัน ถูกต้อง ท่านจะสามารถพัฒนางานและชีวิตได้อย่างต่อเนื่องท่านจะมีความหลากหลายทางความคิดอย่างไม่สิ้นสุด แต่มีคุณค่ายิ่ง เมื่อท่านผ่านกระบวนการคิดแบบสร้างสรรค์ " แมรี่ โอมีโอรา ได้กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์ เป็นความคิดที่เกิดจากจิตอันปราดเปรียวและรวดเร็ว สามารถจับหัวใจประเด็นของปัญหาจากข้อเท็จจริง คำพูด แผนภูมิ ความคิดเห็นต่างๆแล้วนำมาสร้างเป็นข้อเสนออย่างมีพลัง มีความสดใสใหม่ โน้มน้าวจิตใจของผู้พบเห็น องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ เป็นความคิดที่มีลักษณะอเนกนัย ซึ่งประกอบด้วย 1. ความคิดริเริ่ม (Originality) มีลักษณะแปลกใหม่แตกต่างจากของเดิม / คิดดัดแปลง ประยุกต์เป็นความคิดใหม่ 2. ความคิดคล่องตัว (Fluency) 2.1 ด้านถ้อยคำ (Word Fluency) หลากหลาย ใช้ประโยชน์ได้และไม่ซ้ำแบบผู้อื่น 2.2 ด้านความสัมพันธ์ (Associational Fluency) จากสิ่งที่คิดริเริ่มออกมาได้อย่างเหมาะสม 2.3 ด้านการแสดงออก (Expressional Fluency) เป็นความคิดที่สามารถนำเอา ความคิดริเริ่มนั้นมา แสดงออก ให้เห็นเป็น รูปภาพได้อย่างรวดเร็ว 2.4 ความคิดคล่องด้านความคิด (Ideational Fluency) เป็นการสร้างความคิดให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คิดได้ทันที ที่ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) มีความเป็นอิสระคิดได้หลายๆอย่าง 4. ความคิดสวยงามละเอียดละออ (Elaboration) มีความรอบคอบ มีความคิดสวยงาม ด้านคุณภาพ มีความประณีต ในความคิดสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีคุณภาพในทุกๆด้าน กระบวนการสร้างความคิดสร้างสรรค์ James Webb Young ได้เสนอแนวความคิด 5 ขั้นตอน 1. ขั้นรวบรวมวัตถุดิบ 1.1 วัตถุดิบเฉพาะ เป็นข้อมูลวัตถุดิบต่างที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องที่ต้องการประชาสัมพันธ์ 1.2 วัตถุดิบทั่วไป เป็นข้อมูลวัตถุดิบทั่วๆไปทั้งในส่วนขององค์การ และสภาพแวดล้อม เพื่อนำมาประกอบการสร้าง ความคิดสร้างสรรค์ ให้สมบูรณ์ 2. ขั้นบดย่อยวัตถุดิบ เป็นขั้นการนำข้อมูลวัตถุดิบต่างๆ ที่ได้เก็บรวบรวมมาได้ นำมาแจกแจง พิจารณาวิเคราะห์ หาความสัมพันธ์ ความเกี่ยวข้องกันของข้อมูล 3. ขั้นความคิดฟักตัว 4. ขั้นกำเนิดความคิด 5. ขั้นปรับแต่งและพัฒนา ก่อนไปใช้ปฏิบัติจะนำเสนอความคิดสู่การวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อการปรับแต่ง และพัฒนาความคิด ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เป็นจริงผลผลิตจากความคิดสร้างสรรค์ นิวแวล ชอล์ และ ซิมสัน ได้เสนอหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ 1. เป็นผลผลิตที่แปลกใหม่และมีค่าต่อผู้คิด สังคมและวัฒนธรรม 2. เป็นผลผลิตที่เป็นไปตามปรากฏการณ์นิยมในเชิงที่ว่ามีความคิดดัดแปลงหรือยกเลิก ความคิดที่เคยยอมรับกัน มาก่อน 3. เป็นผลผลิตซึ่งได้รับจากการกระตุ้นอย่างสูงและมั่นคงด้วยระยะยาว หรือความพยายามอย่างสูง 4. เป็นผลผลิตที่ได้จากการประมวลปัญหาซึ่งค่อนข้างจะคลุมเครือและไม่แจ่มชัด ระดับความคิดสร้างสรรค์ 1. ความคิดสร้างสรรค์ระดับต้น เป็นความคิดที่มีอิสระ แปลกใหม่ ยังไม่คำนึงถึงคุณภาพและการนำไปประยุกต์ใช้ 2. ความคิดสร้างสรรค์ระดับกลาง คำนึงถึงผลผลิตทางคุณภาพนำไปประยุกต์ใช้งานได้ 3. ความคิดสร้างสรรค์ระดับสูง สรุปสิ่งที่ค้นพบเป็นรูปธรรมนำไปใช้ในการสร้างหลักการ ทฤษฎีที่เป็นสากล ยอมรับโดยทั่วไป กระบวนการดำเนินการการพิจารณาความคิด 1. ประเมินค่าของความคิด 2. การปรับแต่งความคิด 3. การนำความคิดไปปฏิบัติให้เกิดผล (ที่มา http://www.novabizz.com) ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ มนุษย์ เราพยายามที่จะแสวงหาความรู้ความจริงจากสิ่งต่างๆ รอบตัว จากความรู้นั้นได้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ขึ้นมากมาย คนบางกลุ่มศึกษาหาความรู้จากธรรมชาติรอบตัว บางกลุ่มศึกษาจากธรรมชาติในตัวมนุษย์นี่เอง พวกเขาพยายามที่จะวิเคราะห์ ทดสอบ เพื่อให้ได้รู้จักธรรมชาติของตัวเอง คนที่ค้นพบความรู้เหล่านี้มักจะเป็นนักคิดที่มุ่งมั่นแน่วแน่ จริงจัง เพียรพยายามค้นคว้าทดลองหาคำตอบหลายๆ รูปแบบ เป็นคนที่คิดไม่เหมือนใคร และเมื่อได้ข้อมูลที่มากเพียงพอจึงจะลงความเห็นเป็นคำตอบที่เหมาะสม น่าเป็นไปได้ และดีที่สุดในขณะนั้นๆ ทอร์แรนซ์(Torrance)* บอกว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการทางจิตในระดับสูง ซึ่งจะพบในคนที่มีแรงจูงใจ สร้างสรรค์ มีความจริงจัง และมีทักษะที่จำเป็นในการสร้างสรรค์นั้นก่อนจะตอบคำถามที่ว่าความ คิดสร้างสรรค์มาจากไหน มาดูต้นตอ คือ ความสามารถในการคิดหรือสติปัญญาของคนเรากันก่อน แนวคิดเกี่ยวกับสติปัญญาของกิลฟอร์ด(Gilford)* บอกไว้ดังนี้ 1. Cognition หมายถึง การค้นพบ การค้นพบซ้ำ และการรับรู้ในความรู้ที่พบนั้น 2. Memory หมายถึง ความสามารถที่จะจดจำความรู้นั้นได้ 3. Convergent thinking หมายถึง การคิดหาผลลัพธ์หรือคำตอบได้ถูกต้อง(หรืออาจจะผิดพลาด) ตอบปัญหาซึ่งมีคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียวเท่านั้น 4. Divergent thinking การคิดหลายๆ รูปแบบในการหาคำตอบ และมีหลายคำตอบที่ใช้ได้กับคำถามหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 5. Evaluation การตัดสินใจเลือกสิ่งที่เหมาะสม ดีที่สุด เหมาะกับสถานการณ์จากข้อมูลที่ได้รับมากที่สุด แนวคิดตามทฤษฏีดังกล่าว บ่งชี้ว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นผลรวมของความสามารถทั้งหมดของสติปัญญา ซึ่งให้ผลลัพธ์ออกมาหลายรูปแบบ อาจจะออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ วิธีการใหม่ หรือกระบวนการใหม่ก็ตาม เป็นการทำงานของทุกส่วนของสมองที่ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีระบบ หรือจะพูดให้เข้าใจง่ายขึ้นคือ เป็นความสามารถในการรับรู้ปัญหา ใช้ความรู้ความสามารถทำความเข้าใจที่มาที่ไปของปัญหานั้น รู้จักแยะแยะความยากง่าย หาหนทางแก้ไข ตรวจสอบผลและขยายผลเมื่อสำเร็จและมีผู้สรุปว่า ความคิดในลักษณะที่เป็นความคิดคล่อง คิดยืดหยุ่น คิดริเริ่ม เป็นองค์ประกอบสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ ทอร์แรนซ์ กล่าวว่า “ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง กระบวนการที่บุคคลไวต่อปัญหา ข้อบกพร่อง ช่องว่างในด้านความรู้ สิ่งที่ขาดหายไป หรือสิ่งที่ไม่ประสานกันและไวต่อการแยกแยะ สิ่งต่างๆ ไวต่อการค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหา ไวต่อการเดาหรือการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับข้อบกพร่อง ทดสอบและทดสอบอีกครั้งเกี่ยวกับสมมติฐานจนในที่สุดสามารถน าเอาผลที่ได้ไปแสดงให้ปรากฎแก่ผู้อื่นได้” กิลฟอร์ด กล่าวว่า “ความคิดสร้างสรรค์เป็ นความสามารถทางสมองในการคิดหลายทิศทาง ซึ่งมีองค์ประกอบความสามารถในการริเริ่ม ความคล่องในการคิด ความยืดหยุ่นในการคิด และความสามารถในการแต่งเติมและให้ค าอธิบายใหม่ที่เป็ นการติดตามหลักเหตุผลเพื่อหาค าตอบที่ถูกต้องเพียงค าตอบเดียวแต่องค์ประกอบที่ส าคัญที่สุดของความคิดสร้างสรรค์คือความคิดริเริ่ม นอกจากนี้กิลฟอร์ดเชื่อว่า ความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่พรสวรรค์ที่บุคคลมีแต่เป็นคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวบุคคลซึ่งมีมากน้อยไม่เท่ากัน และบุคคลแสดงออกมาในระดับต่างกัน”นอกจากนี้กิลฟอร์ด (Guilford, 1959 : 145 – 151, อ้างจาก กรรณิการ์ สุขุม , 2533 ได้ศึกษาลักษณะพื้นฐานของผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมาทั ้งหมด 5 ประการ ดังนี้ 1. ความรู้สึกไวต่อปัญหา หมายถึงบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์จะมีความสามารถในการจดจ าปัญหาต่างๆ รวมทั้งความสามารถในการเข้าถึงหรือการท าความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่เข้าใจผิด สิ่งที่ขาดข้อเท็จจริง สิ่งที่เป็ นมโนทัศน์ที่ผิดหรืออุปสรรคต่างๆ ที่ยังมืดมนอยู่ ซึ่งพอจะสรุปได้ว่า ความรู้สึกไวต่อปัญหาของบุคคลเป็ นสิ่งที่ส าคัญที่สุดเพราะบุคคลจะไม่สามารถแก้ปัญหาจนกว่าเขาจะได้รู้ว่าปัญหานั้นคืออะไร หรืออย่างน้อยเขาจะต้องรู้ว่าเขาก าลังประสบปัญหาอยู่ 2. ความคล่องในการคิดหมายถึง บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์จะมีความสามารถในการผลิตแนวความคิดจ านวนมากในเวลาอันรวดเร็ว แล้วเลือกแนวความคิดที่ดีที่สุดมาใช้แก้ปัญหา สิ่งที่แสดงลักษณะพิเศษของความคล่องในการคิดนอกจากการผลิตแนวความคิดที่มากมายและรวดเร็วแล้ว แนวความคิดที่ผลิตขึ นมาใหม่นั้นควรจะเป็ นแนวความคิดที่แปลงใหม่ และดีกว่าแนวความคิดที่อยู่ในปัจจุบัน นอกจากนั้น บุคคลที่ได้ชื่อว่ามีความคล่องในการคิด จะต้องมีความสามารถปรับเปลี่ยนทิศทางในการคิดได้เป็ นอย่างดี43 3.ความคิดริเริ่ม หมายถึง บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์จะมีความสามารถในการค้นหาแนวทางใหม่ๆหรือวิธีการแปลงๆแตกต่างกันออกไปมาใช้ในการแก้ปัญหา ความคิดริเริ่มเป็ นสิ่งที่จ าเป็ นอย่างยิ่งโดยเฉพาะในวงการธุรกิจ ผู้บริหารจำเป็ นที่จะต้องแสวงหาแนวทางใหม่ๆ มาแก้ปัญหาที่เปลี่ยนแปรไป นอกจากจะต้องแสวงหาแนวทางใหม่ๆ แล้ว ยังจำเป็ นจะต้องปรับปรุงแนวทางใหม่ๆ เหล่านี้มาช่วยแก้ไขปัญหาที่คิดขึ้นในสภาพการณ์ใหม่ๆ ดังนั้น นักบริหารจำเป็นจะต้องสร้าง“ความคิดริเริ่ม”ให้เกิดขึ้นที่กล่าวว่าความคิดริเริ่มเป็ นสิ่งที่จำเป็นสำหรับนักบริหารในวงการธุรกิจ ก็เนื่องมาจากว่าการประกอบธุรกิจนั้นมีการแข่งขันกันมาก โดยเฉพาะในด้านการผลิตสินค้าให้เป็ นที่ต้องการของตลาดให้มีความแปลกใหม่คุณภาพดีและราคาถูก ซึ่งความคิดริเริ่มจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้มาก 4. ความยืดหยุ่นในการคิด หมายถึง บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์จะมีความสามารถในการหาวิธีการหลายๆวิธีมาแก้ไขปัญหาแทนที่จะใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งเพียงวิธีเดียว บุคคลที่มีความยืดหยุ่นในการคิดจะจดจ าวิธีแก้ปัญหาที่เคยใช้ไม่ได้ผลทั้งนี้ เพื่อที่จะไม่น ามาใช้ซ้ำอีก แล้วพยายามเลือกหาวิธีการใหม่ที่คิดว่าแก้ปัญหาได้มาแทนซึ่งความยืดหยุ่นในการคิดจะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความคล่องในการคิดนั่นคือ ความยืดหยุ่นในการคิดและความคล่องในการคิดจะเป็ นความสามารถของบุคคลในการหาวิธีการคิดหลายๆ วิธีเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา เป็ นความจริงที่ว่า บุคคลสร้างแนวความคิดหรือวิธีการแก้ไขปัญหาได้ 20 – 30 วิธี เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาซึ่งจะได้ผลดีกว่าบุคคลที่หาวิธีการแก้ไขปัญหาเพียง 2 – 3 วิธีและใช้ไม่ได้ผล ดังนั้นถ้าบุคคลจะพัฒนาหรือปรับปรุงความยืดหยุ่นในการคิด ก็จะกระท าได้โดยการพยายามหาวิธีการแก้ปัญหาหลายๆ วิธีและวิเคราะห์ปัญหาในหลายมุมมอง ซึ่งจะช่วยให้เขาพัฒนาความยืดหยุ่นทางการคิดได้เป็ นอย่างดี 5. แรงจูงใจ หมายถึง บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงมักมีแรงจูงใจสูง เพราะแรงจูงใจเป็ นลักษณะ สำคัญของบุคคลในการที่จะแสงตนว่าเป็ นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ แรงจูงใจนี้สามารถทำให้บุคคลกล่าวแสดงความพิเศษที่ไม่เหมือนใครออกมาอย่างเต็มที่ หรืออาจจะมากกว่าคนอื่นๆ บุคคลที่มีแรงจูงใจสูงนี้จะให้ความสนใจในการหาแนวทางแก้ปัญหาด้วยความ กระตือรือร้น และสิ่งที่ผลักดันให้เกิดความกระตือรือร้น ก็คือ แรงจูงใจเนื่องจากแรงจูงใจเป็ นสิ่งที่ส าคัญของการตระเตรียมปัญหา เราพบว่าความส าเร็จในชีวิตส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับแรงจูงใจ เทยเลอร์และฮอล์แลนด์ ชี้ให้เห็นว่าคนที่มีความคิดสร้างสรรค์มักจะมีแรงจูงใจสูงในการที่จะท าให้ผลผลิตดีขึ ้นด้วย44 ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ อี พอล ทอร์แรนซ์ (E. PaulTorrance)นิยามความคิดสร้างสรรค์ว่าเป็ นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา หรือสิ่งที่บกพร่องขาดหายไปแล้วรวบรวมความคิดตั้งเป็ นสมมติฐานขึ้น ต่อจากนั้นก็ท าการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อทดสอบสมมติฐานนั้นกระบวนการเกิดความคิดสร้างสรรค์ตามทฤษฎีของทอร์แรนซ์ สามารถแบ่งออกเป็ น 5 ขั้นดังนี้ 1. การค้นหาข้อเท็จจริง (Fact Finding) เริ่มจากการความรู้สึกกังวล สับสนวุ่นวาย แต่ยังไม่สามารถหาปัญหาได้ว่าเกิดจากอะไร ต้องคิดว่าสิ่งที่ท าให้เกิดความเครียดคืออะไร 2. การค้นพบปัญหา (Problem – Finding) เมื่อคิดจนเข้าใจจะสามารถบอกได้ว่าปัญหาต้นตอคืออะไร 3. กล้าค้นพบความคิด (Ideal – Finding) คิดและตั้งสมมติฐาน ตลอดจนรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อทดสอบความคิด 4. การค้นพบค าตอบ (Solution – Finding) ทดสอบสมมติฐานจนพบค าตอบ 5. การยอมรับจากการค้นพบ (Acceptance – Finding) ยอมรับค าตอบที่ค้นพบและคิดต่อว่าการค้นพบจะน าไปสู่หนทางที่จะท าให้เกิดแนวความคิดใหม่ต่อไปที่เรียกว่า การท้าทายในทิศทางใหม่ (New Challenge) บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ (Creative Person)หมายถึง ลักษณะพฤติกรรมของบุคคลที่แสดงออกมา แมคินนอน (Mackinnon, 1960) ได้ศึกษาคุณลักษณะของผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ พบว่าผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์จะเป็ นผู้ที่ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา มีความสามารถในการใช้สมาธิ มีความสามารถในการพินิจวิเคราะห์ ความคิดถี่ถ้วนเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและมีความสามารถในการสอบสวน ค้นหารายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างละเอียดกว้างขวาง คุณลักษณะอีกประการหนึ่งก็คือ เป็ นผู้ที่เปิ ดรับประสบการณ์ต่างๆ อย่างไม่หลีกเลี่ยง (Openness to Experience) ชอบแสดงออกมามากกว่าที่จะเก็บกดไว้และยังกล่าวเพิ่มเติมว่า สถาปนิกที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงมักเป็นคนที่รับรู้สิ่งต่างๆ ได้ดีกว่าสถาปนิกที่มีความคิดสร้างสรรค์ต่ำ กรีสวอลด์ (Griswald, 1966)ยังพบว่าบุคคลดังกล่าวจะมองเห็นลู่ทางที่จะแก้ปัญหาได้ดีกว่า เนื่องจากมีความตั้งใจจริง มีการรับรู้เร็วและง่าย และมีแรงจูงใจสูง45 ฟรอมม์ (Fromm, 1963) กล่าวถึงลักษณะของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ไว้ค่อนข้างละเอียดดังนี้ 1. มีความรู้สึกทึ่ง ประหลายใจที่พบเห็นของใหม่ที่น่าทึ่ง (Capacity of be puzzled) หรือประหลาดใจ สนใจสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ หรือของใหม่ๆ 2. มีสมาธิสูง (Ability to Concentrate) การที่จะสร้างสิ่งใดก็ได้ คิดอะไรออกก็ต้องไตร่ตรองในเรื่องนั ้นเป็ นเวลานาน ผู้ที่สร้างสรรค์จ าเป็ นจะต้องมีความสามารถท าจิตใจให้เป็ นสมาธิ 3. สามารถที่จะยอมรับสิ่งที่ไม่แน่นอนและเป็ นสิ่งที่เป็ นข้อขัดแย้งและความตึงเครียดได้ (Ability to accept conflict and tension) 4. มีความเต็มใจที่จะท าสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ทุกวัน (Wllingness to be born everyday) คือ มีความกล้าหายและศรัทธาที่จะผจญต่อสิ่งแปลงใหม่ทุกวันบารอนและเวลซ์ (Baron and Welsh, 1952) พบว่าคนที่มีความคิดสร้างสรรค์นั้นชอบคิดอย่างซับซ้อน และสนุกตื่นเต้นกับการค้นคว้าสิ่งต่างๆ ตลอดเวลา แกริสัน (Garison, 1954) ได้อธิบายถึงลักษณะของผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี ้ 1. เป็ นคนที่สนใจในปัญหา ยอมรับความเปลี่ยนแปลง ไม่ถอยหนีปัญหาที่จะเกิดขึ ้นแต่กล้าที่จะเผชิญปัญหา กระตือรือร้น ที่จะแก้ไขปัญหาตลอดจนหาทางปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพัฒนาตนและงานอยู่เสมอ 2. เป็ นคนมีความสนใจกว้างขวาง ทันต่อเหตุการณ์รอบด้านต้องการการเอาใจใส่ในการศึกษาหาความรู้จากแหล่งต่างๆ เพิ่มเติมอยู่เสมอพร้อมทั ้งยอมรับข้อคิดเห็นจากข้อเขียนที่มีสาระประโยชน์ และน าข้อมูลเหล่านั้นมาประกอบใช้พิจารณาปรับปรุงพัฒนางานของตน 3. เป็ นคนที่ชอบคิดหาทางแก้ปัญหาได้หลายๆ ทาง เตรียมทางเลือกส าหรับแก้ไขปัญหา ไว้มากกว่า 1 วิธีเสมอ ทั้งนี้เพื่อจะช่วยให้มีความคล่องตัวและประสบผลส าเร็จมากขึ ้น เพราะการเตรียมทางแก้ไว้หลายๆ ทางย่อมสะดวกในการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้และยังเป็ นการประหยัดเวลาและเพิ่มก าลังใจในการแก้ไขปัญหาด้วย 4. เป็ นคนที่มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจหรือสุขภาพกายดีสุขภาพจิตก็ดีนั่นเองทั้งนี้เพราะมีการพักผ่อนหย่อนใจอย่างเพียงพอ และมีความสนใจต่อสิ่งใหม่ที่พบ และยังเป็ นช่างซักถามและจดจ าได้ดี ท าให้สามารถน าข้อมูลที่จดจ ามาใช้ประโยชน์ได้ดี จึงท าให้งานด าเนินไปได้ด้วยดี46 5.เป็ นคนที่ยอมรับและเชื่อในบรรยากาศและสภาพแวดล้อมว่ามีผลกระทบต่อความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้น การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมว่า มีผลกระทบต่อความคิดสร้างสรรค์ดังนั้น การจับรรยากาศ สถานที่ สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม จะสามารถขจัดสิ่งรบกวนและอุปสรรค ท าให้การพัฒนาการคิดสร้างสรรค์เป็ นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทอร์แรนซ์ ได้สรุปลักษณะของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงจากผลการศึกษาของสเตนน์และเฮนซ์ (Stein and Heinze, 1690) ซึ่งได้ศึกษาบุคลิกภาพของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์สูง โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ซึ่งเป็ นแบบวัดบุคลิกภาพ Minnesota Multiphasic Personality Inventory (MMPI), Thematic Apperceprtion (TAT), แบบวัดบุคลิกภาพของรอร์ชาจ (Rorschach) และอื่นๆ ซึ่งได้สรุปบุคลิกภาพที่ส าคัญๆ ของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงไว้ 46 ประการ ดังนี้ 1. มีความสามารถในการตัดสินใจ 2. มีความเป็ นอิสระในด้านการคิด 3. มีอารมณ์อ่อนไหวและเป็ นคนอ่อนโยน 4. มีความกล้าที่จะคิดในสิ่งที่แปลงใหม่ 5. มีแนวคิดค่อนข้างซับซ้อน 6. มีความคิดเห็นรุนแรง 7. มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง 8. มีความพยายามที่จะท างานยากๆ หรืองานที่ต้องแก้ปัญหา 9. มีความจ าแม่นย า 10. มีความรู้สึกไวต่อสิ่งสวยงาม 11. มีความซื่อสัตย์และรักความเป็ นธรรม 12. มีความเป็ นอิสระในการตัดสินใจ 13. มีความตั้งใจจริง 14. มีความสามารถในการหยั่งรู้ 15. มักจะกล้าหาญและชอบการผจญภัย 16. มักจะใช้เวลาให้เป็ นประโยชน์ 17. มักจะคาดคะเนหรือเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า 18. มักจะช่วยเหลือและให้ความรู้แก่ผู้อื่น47 19. มักจะต่อต้านในสิ่งที่ไม่เห็นด้วย 20. มักจะท าผิดข้อบังคับและกฎเกณฑ์ 21. มักจะวิเคราะห์วิจารณ์สิ่งที่พบเห็น 22. มักจะท างานผิดพลาด 23. มักจะท าในสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ 24. มักจะรักสันโดษ 25. มักจะเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นมากกว่าประโยชน์ของตนเอง 26. มักให้ความสนใจกับทุกสิ่งที่อยู่รอบตัว 27. มักจะอยากรู้อยากเห็น 28. มักจะยอมรับในสิ่งที่ไม่เป็ นระเบียบ 29. มักจะไม่ท าตามหรือเลียนแบบผู้อื่น 30. มักจะหมกมุ่นในปัญหา 31. มักจะดื้อดึงและหัวแข็ง 32. มักจะช่างซักถาม 33. มักจะไม่สนใจในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ 34. มักจะไม่ยอมรับความคิดของผู้อื่นโดยง่าย 35. มักจะกล้าแสดงความคิดเห็นที่ไม่ตรงกับผู้อื่น 36. มักจะรักและเต็มใจเสี่ยง 37. มักจะไม่เบื่อที่จะท ากิจกรรม 38. มักจะไม่ชอบท าตัวเด่น 39. มักจะมีความสามารถในการหยั่งรู้ 40. มักจะพอใจในผลงานที่ท้าทาย 41. มักจะไม่เคยเป็ นศัตรูของใคร 42. มักจะต่อต้านกฎระเบียบต่างๆ ที่ไม่ถูกต้อง 43. มักจะวางเป้ าหมายให้กับชีวิตตนเอง 44. มักจะต่อต้านการกระท าที่รุนแรงต่างๆ 45. มักจะจริงใจกับทุกๆ คน 46. มักจะเลี้ยงตนเองได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น48 ผลผลิตสร้างสรรค์ (Creative Product)ลักษณะของผลผลิตนั้น โดยเนื้อแท้เป็นโครงสร้างหรือรูปแบบของความคิดที่ได้แสดงกลุ่ม ความหมายใหม่ออกมาเป็ นอิสระต่อความคิดหรือสิ่งของที่ผลิตขึ้น ซึ่งเป็ นไปได้ทั้งรูปธรรมและนามธรรม นิวเวลล์ ชอว์ และซิมป์ สัน (Newell, show and Simpson, 1963) ได้พิจารณาผลผลิตอันใดอันหนึ่งที่จัดเป็ นผลผลิตของความคิดสร้างสรรค์ โดยอาศัยหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ 1. เป็ นผลผลิตที่แปลงใหม่และมีค่าต่อผู้คิดสังคมและวัฒนธรรม 2. เป็ นผลผลิตที่ไม่เป็ นไปตามปรากฎการณ์นิยมในเชิงที่ว่ามีการคิดดัดแปลงหรือยกเลิกผลผลิต หรือความคิดที่เคยยอมรับกันมาก่อน 3. เป็ นผลผลิตซึ่งได้รับจากการกระตุ้นอย่าสูงและมั่นคง ด้วยระยะยาวหรือความพยายามอย่างสูง 4. เป็ นผลผลิตที่ได้จากการประมวลปัญหา ซึ่งค่อนข้างจะคลุมเครือและไม่แจ่มชัด ส าหรับเรื่องคุณภาพของผลผลิตสร้างสรรค์นั้น เทเลอร์ (Tayler, 1964) ได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ของคนว่าไม่จำเป็ นต้องเป็ นขั้นสูงสุดยอดหรือการค้นคว้าประดิษฐ์ของใหม่ขึ้นมาเสมอไป แต่ผลของความคิดสร้างสรรค์อาจจะอยู่ในขั้นใดขั้นหนึ่งต่อไปนี้โดยแบ่งผลผลิตสร้างสรรค์ไว้เป็ นขั้นๆ ดังนี้ 1. การแสดงออกอย่างอิสระ ในขั้นนี้ไม่จ าเป็ นต้องอาศัยความคิดริเริ่มและทักษะขั้นสูงแต่อย่างใดเป็ นเพียงแต่กล้าแสดงออกอย่างอิสระ 2. ผลิตงานออกมาโดยที่งานนั้นอาศัยบางประการแต่ไม่จ าเป็ นต้องเป็ นสิ่งใหม่ 3. ขั้นสร้างสรรค์เป็ นขั้นที่แสดงถึงความคิดใหม่ของบุคคลไม่ได้ลอกเลียนมาจากใคร แม้ว่างานนั้นอาจจะมีคนอื่นคิดเอาไว้แล้วก็ตาม 4. ขั้นคิดประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ เป็ นขั้นที่สามารถคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้น โดยไม่ซ้ำแบบใคร 5. เป็ นขั้นการพัฒนาผลงานในขั้นที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 6. เป็ นขั้นความคิดสร้างสรรค์สูงสุด สามารถคิดสิ่งที่เป็ นนามธรรมขั้นสูงได้ เช่น ชาร์ลส์ ดาร์วิน คิดค้นทฤษฎีวิวัฒนาการ ไอสไตน์ คิดทฤษฎีสัมพันธภาพขึ้น เป็ นต้น เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ 1. เทคนิคความกล้าที่จะริเริ่ม จากการวิจัยพบว่า ความคิดสร้างสรรค์สามารถปลูกฝังและส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์สูงขึ้นได้ ด้วยการถามค าถาม และให้โอกาสได้คิดค าตอบในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เป็ นที่ยอมรับของผู้อื่น สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นได้ แม้บุคคลที่มีความคิดว่าตนเองไม่มีความคิดสร้างสรรค์ก็สามารถสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นด้วยการฝึ กฝน 2. เทคนิคการสร้างความคิดใหม่ เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้การแก้ไขปัญหา สมิท (Smith, 1958) ได้เสนอวิธีการสร้างความคิดใหม่โดยการให้บุคคลแจกแจงแนวทางที่สามารถใช้ในการแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งมา 10 แนวทาง จากนั้นจึงแบ่งแนวทางเหล่านั้นออกเป็ นแนวทางย่อยๆ ลงไปอีก โดยเหตุผลที่ว่าบุคคลมักจะปฏิเสธไม่ยอมรับความคิดแรกหรือสิ่งแรกผ่านเข้ามาในจิตใจ แต่จะพยายามบังคับให้จิตใจแสดงทางเลือกอื่นๆ อีก หลักการของสมิธ มีลักษณะเป็ นผสมผสานหรือการคัดเลือกค าตอบ หรือทางเลือกต่างๆ แล้วสร้างขึ ้นเป็ นค าตอบหรือทางเลือกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา 3. เทคนิคการระดมพลังสมอง เป็นเทคนิควิธีหนึ่งในการแก้ปัญหาของออสบอร์น (Alex Osborn) จุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้บุคคลมีความคิดหลายทาง คิดได้คล่องในช่วงเวลาจ ากัด โดยการให้บุคคลเป็ นกลุ่มหรือรายบุคคลก็ได้ จดรายการความคิดต่างๆ ที่คิดได้โดยๆ ไม่ค านึงถึงการประเมินความคิด แต่เน้นปริมาณความคิด คิดให้ได้มาก คิดให้แปลง หลังจากได้รวบรวมความคิดต่างๆ แล้ว จึงค่อยประเมินเลือกเอาความคิดที่ดีที่สุดมาใช้ในการแก้ปัญหาและจัดล าดับทางเลือกหรือทางแก้ปัญหารองๆ ไว้ด้วยหลักเกณฑ์ในการระดมสมอง 3.1 ประวิงการตัดสินใจเมื่อบุคคลเสนอความคิดขึ้นมา จะไม่มีการวิพากษ์ วิจารณ์ หรือตัดสินความคิดใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็ นความคิดที่เห็นว่าดี มีคุณภาพ หรืออาจมีประโยชน์น้อยก็ตามการตัดสินใจยังไม่กระทำในตอนเริ่มต้นคิด 3.2 อิสระทางความคิดบุคคลมีอิสระที่จะคิดหาค าตอบ หรือเสนอความคิดความคิดยิ่งแปลกแตกต่างจากผู้อื่นยิ่งเป็ นความคิดที่ดี เพราะความคิดแปลกแยกอาจน าไปสู่ความคิดริเริ่ม 3.3 ปริมาณความคิดบุคคลยิ่งคิดได้มาก ได้เร็ว ยิ่งเป็นที่ต้องการส่งเสริมและกระตุ้นให้บุคคล คิดมากๆ ได้ยิ่งดี50 3.4 การปรุงแต่งความคิดความคิดที่ได้เสนอไว้ทั้งหมด น ามาประมวลกันแล้วพิจารณา ตัดสินจัดล าดับความส าคัญของความคิดโดยใช้เกณฑ์ก าหนดในเรื่องของเวลา บุคคลงบประมาณ ประโยชน์ เป็นต้น จากการทดลองใช้วิธีระดมสมองของพานส์ และมีโด ในการหาวิธีการแก้ปัญหาปรากฏว่า กลุ่มที่ ใช้เทคนิคระดมพลังสมอง มีความคิดแก้ปัญหาได้มาก และได้ผลกว่ากลุ่มที่ออกความคิดเห็นเฉพาะความคิดที่ดีและเกี่ยวเนื่องกันเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับผลการทดลองของทอร์แรนซ์ ที่ท าการทดลองกับนิสิตระดับปริญญาโท จ านวน 100 คน โดยให้นิสิตกลุ่มที่1อ่านบทความแล้วหาที่ติข้อบกพร่องของบทความ ส่วนนิสิตกลุ่มที่ 2 อ่านแล้วคิดเพิ่มเติม หลังจากนั้นให้นิสิตทั้ง 2 กลุ่ม คิดหาวิธีการแก้ปัญหาจากบทเรียน ปรากฏว่า นิสิตกลุ่มที่ 2 มีความคิดเกี่ยวกับปัญหาและโครงงานที่จะท าได้มากและกว้างขวางกว่ากลุ่มที่ 1 4. เทคนิคอุปมาอุปไมยความเหมือน เป็ นวิธีการที่กอร์ดอน (James Gordon) คิดขึ้นโดยใช้หลักการคิด 2 ประการ คือ “ท าสิ่งที่คุ้นเคยให้เป็ นสิ่งแปลกใหม่” และ“ท าสิ่งที่แปลงใหม่ให้เป็ นสิ่งที่คุ้นเคย” กล่าวคือ การคิดจากสิ่งที่บุคคลคุ้นเคย รู้จัก ไม่รู้สิ่งที่แปลกใหม่ หรือยังไม่คุ้นเคย และในท านองเดียวกัน ก็อาจคิดจากสิ่งที่แปลกใหม่ไม่คุ้นเคย ไม่รู้สิ่งธรรมดาหรือคุ้นเคย ซึ่งจากความคิดลักษณะนี ้ ท าให้นักคิดสร้างสรรค์สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่ได้มาก ตัวอย่างเช่น “การคิดเข็มฉีดยา” ก็เกิดความคิดจากการที่ถูกยุงกัดและดูดเลือดขึ้นมา เป็ นต้นการคิดจากสิ่งที่คุ้นเคยไปสู่สิ่งแปลกใหม่ และคิดจากสิ่งแปลกใหม่ไปสู่สิ่งคุ้นเคย ท าได้โดยใช้การเปรียบเทียบอุปมาอุปไมย จากรูปลักษณะหรือหน้าที่ของสิ่งที่คิดวิธีการนี้มักจะเน้นการแสดงความคิดและอารมณ์ผสมผสานเพื่อให้เกิดการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์โดยการใช้ลักษณะความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของสิ่งของ ซึ่งการคิดลักษณะเช่นนี้ทำให้ความคิดเจริญงอกงามบุคคลสามารถเข้าใจสิ่งใหม่ๆ ได้โดยการเปรียบเทียบกับสิ่งเก่าที่เป็ นที่รู้จักกันดีแล้ว ตัวอย่างเช่น สมัยก่อน เราเรียกรถไฟว่า “ม้าเหล็ก” และพยายามอ้างถึงสิ่งที่รู้จักอยู่ตลอดเวลา เช่น มักจะพูดว่า “ค้อนมีหัว” “โต๊ะมีขา” “ถนนมีไหล่” เป็ นต้น51 ตัวอย่าง วิธีการคิดอุปมาอุปไมย “สหภาพแรงงาน” ย้อนกลับไปใน ค.ศ. 1930 สหภาพแรงงานเปรียบเทียบได้กับสาวสวยอายุ 21 ปี เธอมีรูปร่างหน้าตาดี บุคลิกชวนมอง และเธอมีแรงดึงดูดให้คนเป็ นจ านวนมากกว่าปกติถึง 40 ปอนด์ ใบหน้าเหี่ยวย่นและรูปร่างไม่เอาไหนเลย แต่ปัญหาก็คือ เธอยังคิดเธออายุเพียง 21 ปี เท่านั้น วิธีการคิดอุปมาอุปไมย จากลักษณะความเหมือนมีดังนี้ 1. เปรียบเทียบความเหมือนโดยตรง (Direct Analog) เป็ นเปรียบเทียบในรูปลักษณะที่เป็ นจริงทั้งความรู้และเทคโนโลยีในสิ่งที่น ามาพิจารณา ตัวอย่างเช่น Sir March Isumbard Brunel สังเกตหนอนชนิดหนึ่งที่ขุดรูอยู่เป็นทางยาวคล้ายๆ ท่อตามต้นไม้ ตัวเขาเองกำลังคิดสร้างท่อน ้าใต้ดินอยู่ จึงคิดเปรียบเทียบท่อน ถ้าใหญ่ และรังของหนอนมีลักษณะคล้ายกัน แต่มีวิธีการสร้างรังของหนอนเป็ นที่น่าสังเกตเพราะมันมีอวัยวะที่ใช้ขุดไชเข้าไปในเนื้อเป็ นรูปยาวคล้ายรังหนอนได้เหมือนกัน การเปรียบเทียบลักษณะนี้ท าให้เขาประดิษฐ์เครื่องขุดท่อใต้ดินได้ส าเร็จ 2. การเปรียบเทียบความรู้สึกของตนเอง (Personal Analog) การน าเอาสิ่งของสถานการณ์เข้ามาเป็นความรู้สึกของตนเอง โดยท าให้ตนเองเข้ามามีบทบาทไปตามสถานการณ์นั้น อาจจะทำให้ตัวเราสามารถหาทางแก้ปัญหาได้ เช่น นักเคมี อาจคิดเทียบตัวเองเป็ นเหมือนโมเลกุลของธาตุชนิดหนึ่งที่พยายามท าปฏิกิริยาของธาตุอื่น ฟาราเดย์ได้พยายามท าความเหมือนของตนเองให้เข้าไปอยู่ในใจกลางของสารน าไฟฟ้ าเพื่อที่จะท าให้เห็นลักษณะของอะตอมได้โดยสร้างภาพความคิด หรือเคคคูล (Kekule) พยายามคิดว่าตนเองมีความรู้สึกเหมือนงูที่ก าลังกินหางตนเอง ขณะที่เขากำลังคิดถึงลักษณะโมเลกุลของเบนซิงริง ซึ่งมีความน่าจะเป็ นมากกว่าโมเลกุลของคาร์บอนที่มีอะตอมจับกันเป็นลูกโซ่ เป็นต้น 3. การเปรียบเทียบกับสัญลักษณ์ (Symbolic Analog) เป็ นการเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ หรือปัญหาหรือสถานการณ์ให้เป็ นไปในลักษณะของสัญลักษณ์ ซึ่งอาจเป็ นการใช้ภาษาแต่งเป็ นโคลง ฉันท์กาพย์ กลอน หรือ ข้อความบรรยายแสดงออกซึ่งความมีสุนทรียภาพ การใช้สัญลักษณ์ในการเปรียบเทียบมักจะได้ความคิดที่ฉับพลันทันที และได้ภาพพจน์ชัดเจน 4. การเปรียบเทียบโดยใช้ความคิดฝัน (Fantastic Analog) ทุกคนมีความปรารถนาหรือความใฝ่ ฝันในบางสิ่งบางอย่างซ่อนเร้นอยู่ภายในใจเสมอ บางครั้งความคิดฝันนั้นอาจถ่ายทอดออกมาเป็ นสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณค่า ในบางครั้งความคิดฝันอาจน าไปสู่วิธีการแก้ปัญหาที่แท้จริงได้โดยเราไม่พะวงว่าความคิดนั้นจะต้องเป็ นจริงเสมอไป52การใช้กระบวนการอุปมาอุปไมยเพื่อเสริมสร้างพลังทางความคิดสร้างสรรค์จ าเป็ นจะต้องมีการฝึ กเปรียบเทียบความคิดเปรียบเทียบ เพื่อน าสิ่งที่แปลงใหม่เข้าสู่แนวความคิดในการแก้ไขปัญหา หรือสร้างสรรค์ผลงานที่มนุษย์ต้องการเพื่อการด ารงชีวิตที่ดีขึ้นขั้นตอนการฝึ กการคิดเปรียบเทียบอุปมาอุปไมย ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่แนวคิด เปรียบเทียบสิ่งที่กำหนดให้ว่าเหมือนอะไร เช่น คำถาม ที่เหลาดินสอเหมือนกับอะไร คำตอบ รถตัดหญ้า เครื่องบด ปลาหมึก กว้าน สมอเรือ ขั้นที่ 2 เปรียบเทียบโดยตรงเปรียบเทียบ ได้ว่าเหมือนอย่างไร เช่น รถตัดหญ้าเหมือนที่เหลาดินสออย่างไร ขั้นที่ 3 เปรียบเทียบกับความรู้สึกของตนเองใช้ความรู้สึกตนเอง เช่น ถ้าเป็นต้นหญ้าท่านจะรู้สึกอย่างไร ขั้นที่ 4 เปรียบเทียบว่าเหมือนอย่างหนึ่ง แต่ไม่เหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง เช่นหยดน้ำฝนเหมือนน น้ำตา แต่ไม่เหมือนเมฆ เป็ นต้น 5. เทคนิคการคิดอย่างมีประสิทธิภาพการคิดอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสู่การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เป็ นความคิดของ เอ็ดเวิด เดอ โบโน (Edward De Bono) นักจิตวิทยาและศาสตราจารย์ ทางเภสัชแห่งมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ได้เสนอกระบวนการคิดไว้ 7 ขั้นตอน ปรากฎว่า เป็นที่นิยมใช้แพร่หลายและให้ได้ผลดี เดอโบโน ยังได้กล่าวไว้ว่า การคิดอย่างสร้างสรรค์นั้นเกิดจาก การคิดแก้ปัญหาในชีวิตประจ าวัน โดยใช้เครื่องฝึกคิด 7 ขั้น ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพการคิดอย่างสร้างสรรค์ของบุคคลได้ และเดอ โบโน ยังได้จัดให้มีการคิดอย่างสร้าง ขั้นที่ 1 ให้สนใจทั้งด้านบวกและด้านลบ หรือเรียกย่อๆ ว่า PMI ขั้นแรกนี้ให้เริ่มคิด มองสิ่งต่างๆ ให้กว้างขวาง โดยไม่จ ากัดเฉพาะสิ่งใดสิ่งหนึ่งก่อน ตัวอย่างเช่น ให้ท่านมองดูรอบๆ ห้องที่นั่งอยู่แล้วบอกว่า มีอะไรบ้างที่มีสีแดง เสร็จแล้วให้หลับตาแล้วถามตนเองว่า มีอะไรบ้างที่เป็ นสีเขียว แล้วลืมมอง ดูรอบๆ อีกครั้งหนึ่ง จะพบว่าบุคคลจะตอบสิ่งที่เป็ นสีเขียวได้น้อยมาก ทั้งนี้เพราะบุคคลได้รับคำสั่ง แรกให้ดูสีแดงจึงไม่สนใจสังเกตสีอื่นๆ ซึ่งเขากล่าวว่าเป็ นการคิดที่ไม่รอบคอบ และไม่กว้างขวาง จึงได้เสนอเทคนิค PMI โดยการตั้งเป็ นปัญหาหรือค าถามขึ้นมา ตัวอย่างเช่น ในการอภิปรายถกเถียง53 เรื่องของการออกแบบสร้างรถประจ าทางขึ้นใหม่ โดยมีผู้เสนอว่าควรออกแบบชนิดที่ไม่ต้องมีที่นั่งเลย โดยผู้โดยสารไหนก็ได้ ท่านมีความคิดเห็นต่อข้อเสนอดังกล่าวอย่างไรและทำไมการฝึ กความคิดแบบ PMI คือ พยายามคิดและเขียนรายการที่เป็ นรายการที่เป็นทั้งส่วนที่ดี และส่วนที่ไม่ดีของข้อเสนอให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ รวมทั้งข้อคิดที่เป็ นกลางๆแต่น่าสนใจจะพบว่าจะได้ทั้งข้อดีและข้อไม่ดีหลายข้ออย่างน้อยอาจคิดได้ 8 – 10 ข้อ ในช่อง 3-4 นาที จุดมุ่งหมายของการฝึ กคิด PMI ก็เพื่อให้บุคคลเป็ นคนใจกว้างในการคิด มากกว่าที่จะคิดแบบ เฉพาะเจาะจง หรือติดอยู่กับแนวคิดที่เป็ นอคติขิงตน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า การฝึ ก PMI เป็ นการขยายความตั้งใจ ความสนใจให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ป้ องกันไม่ให้บุคคลยึดมั่นในสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยไม่คิดถึงสิ่งอื่นๆ ขั้นที่ 2 ให้พิจารณาองค์ประกอบทั ้งหมด (Considering all factors) หรือเรียกย่อเรียกว่า CAF ในขั้นนี้มีจุดมุ่งหมายให้แน่ใจว่าได้คิดถึงทุกๆ สิ่ง คิดถึงทุกๆ ด้านที่เห็นว่า ส าคัญที่จะช่วยในการตัดสินใจ ตัวอย่าง เช่น ถ้า จะซื้อบ้านใหม่สักหลังหนึ่ง การคิด CAF ก็ด้วยการตั้งคำถามกับองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับบ้าน เป็ นต้นว่า ขนาดของบ้าน ราคาทิศทาง บริเวณท าเลที่ตั้ง การระบายน้ำ เป็ นต้น ซึ่งคงไม่มองเฉพาะความสวยงามมีหลายห้องสีสันถูกใจเพียงเท่านั้น ขั้นที่ 3 การพิจารณาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา และล าดับที่จะเกิดขึ้น (Consequences and sequel) หรือเรียกว่า C&S ท าให้เห็นแนวทางความเป็ นไปได้หลายๆ ทาง หรือหลายแง่มุม กระบวนการนี้จะช่วยในการตัดสินใจว่าทางใดดีที่สุดเทคนิคที่เดอ โบโน ใช้นั้นก็คือ จินตนาการถึงผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 4 ระยะ คือ ระยะทันทีทันใดหลังกระท า ระยะสั้น ระยะยาว คือตั้งแต่ 25 ปี ขึ้นไป ตัวอย่างเช่น คำถามว่า “อะไรจะเกิดขึ้นถ้าเราใช้น้ำามันหมดแล้ว” อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าเราใช้เครื่องจักรแทน แรงงาน มนุษย์ในโรงงานทั้งหมด จึงจินตนาการถึงสิ่งที่เกิดมาตามลำดับ การฝึ ก C&Sจะเกิดทักษณะนำไป ประยุกต์วิธีการตัดสินใจในชีวิตได้ ขั้นที่ 4 คิดถึงจุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายปลายทาง หรือวัตถุประสงค์ เรียกย่อๆ ว่า AGO คือวิธีการ ที่จะให้คิดดีขึ้น คือ การฝึ กปฏิบัติเขียนรายการเหตุผลให้มากกว่าการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ ตัวอย่างเช่น ในการเล่นเทนนิส ชายผู้หนึ่งมักแพ้เสมอ เพราะเขาพยายาทตีลูกตบอยู่เสมอ ทำให้ลูกติดตาข่ายประจ า แม้ว่าเขาจะคิดถึง “การชนะ” เป็นจุดมุ่งหมายปลายทางก็ตาม แต่เขากลับทำใจในจุดหมายหนึ่ง คือ ปรารถนาที่จะตีลูกอย่างวิเศษหรือให้มองดูว่า “เก่ง” ในการตีลูกตบเป็นต้น การที่จุดมุ่งหมายอื่นเข้ามาแทรก จึงไม่สามารถถึงจุดมุ่งหมายเดิม คือ การชนะในการเล่นเทนนิสได้ เป็ นต้น ขั้นที่ 5 สิ่งสำคัญเป็ นอันดับแรก (First important priority) หรือเรียกย่อๆ ว่า PIP เป็ นการช่วยให้ บุคคลประเมินทางเลือกที่มีอยู่หลายทาง แล้วตัดสินใจเลือกทางที่ดีที่สุด เช่น การตัดสินใจซื้อของบางอย่าง เราก็คงค านึงถึงความจ าเป็ นที่สุดเป็ นอันดับแรกจึงตัดสินใจเป็ นต้น ส่วนใหญ่คนเรามักจะตัดสินใจท าอะไรจากความรู้สึก ซึ่งไม่ใช่ความคิด ขั้นที่ 6 ทางเลือก ทางที่อาจเป็ นไปได้ หรือการเลือก เรียกย่อว่า APC ช่วยค้นหาทางเลือกที่เป็ นไปได้ เช่น ในการคิดค้นการท าหลอดไฟฟ้ าของเอดิสัน แสดงให้เห็นทางเลือกหลายๆ ทาง คือ เขาพยายามใช้วัสดุ แปลกๆไปกว่าที่คนอื่นเคยคิดว่าสามารถท าไส้หลอดไฟฟ้ าได้นับพันๆ ชนิด รวมทั้งจุกไม้คอร์ก เชือกสายเบ็ด จนในที่สุดประสบความส าเร็จจากเส้นใยคาร์บอน เป็นต้น ขั้นที่ 7 ความคิดเห็นจากด้านอื่นๆ หรือเรียกว่า OPV เป็ นการมองความคิดจากภายนอก หรือทำเสมือนว่าคนภายนอกคิดอย่างไรต่อนั้นๆ หรือมองปัญหาในแง่ของคนอื่น หรือเป็นการมองปัญหาโดย “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ซึ่งจะช่วยให้มองปัญหาและแก้ปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น เจ้าของรถยนต์ไปซื้อวิทยุติดรถยนต์เครื่องใหม่ ซึ่งผู้ขายแนะน าว่าดีที่สุด เหมาะสมที่สุด แต่เมื่อน ามาติดตั้งจริงๆ แล้ว มิได้มีคุณภาพดีกว่าเดิมเจ้าของรถยนต์โมโหแล้วและไปทวงเงินคืน แต่เขาลองสมมติว่า ถ้าเขาเป็ นคนขายวิทยุ เขาจะพบว่า ในวันหนึ่งๆ ของคนขายต้องพบปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของวิทยุเป็นจำนวนมากราย ซึ่งอาจผิดพลาดได้ ดังนั้นเขาจึงเปลี่ยนใจ โดยน าเครื่องไปแลกเครื่องใหม่ที่มีคุณภาพดีกว่าซึ่งผู้ขายก็ไม่ได้คิดเงินเพิ่ม ก็เป็ นการแก้ปัญหาที่ดีหากได้ลองคิดอย่างมีประสิทธิภาพ 7 ขั้น คิดถึงทุกๆ ด้าน มองปัญหาให้ครองคลุม คิดถึงผลที่จะเกิดตามมา ยึดจุดประสงค์ปลายทางไว้ให้มั่น ว่าอะไรเป็ นสิ่งที่ส าคัญอันดับหนึ่ง คิดถึงทางเลือกที่จะเป็ นไปได้ อะไรที่คนอื่นเขาคิด แล้วคงช่วยในการคิดมีประสิทธิภาพและเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ เอกสารอ้างอิง อารี พันธ์มณี (2540), คิดอย่างสร้างสรรค์, ต้นอ้อ แกรมมี จ ากัด: กรุงเทพฯ “………..” เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์: Thinking for success สืบค้นจาก http://elearning.aru.ac.th/2513302/soc06/topic12/linkfile/print5.htm -บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ (Creative Person), -ผลผลิตสร้างสรรค์ (Creative Product) -เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ http://www.gotoknow.org/posts/490213

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น